การพิจารณาเรื่องขัดรัฐธรรมนูญ โดย วีรพงษ์ รามางกูร

แสดงความคิดเห็น

นายวีรพงษ์ รามางกูร หมู่นี้มีเรื่องที่ฝ่ายค้านทั้งในสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภายื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างกฎหมายต่างๆ ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ข่าวที่ผู้คนคอยติดตามด้วยความระทึกใจก็เห็นจะเป็นเรื่องที่จะวินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี 2557 ซึ่งผ่านสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ กับอีกเรื่องหนึ่งก็คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เปลี่ยนองค์ประกอบของวุฒิสภาและให้วุฒิสภาสิ้นสุดลงเมื่อมีการเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภาใหม่ ว่าเป็นการกระทำที่จะล้มล้างระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขหรือไม่ ที่แปลกศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับไว้พิจารณาแล้ว

ที่คนตื่นเต้นและคอยติดตามเรื่อง พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี ก็คงด้วยเหตุผลว่าเป็นเรื่องใหม่ เพราะการจัดสรรงบประมาณเมื่อผ่านรัฐสภาแล้วก็เป็นอันจบกัน นำขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ ไม่มีหน่วยงานใดนำไปฟ้องร้องต่อศาลหรือองค์กรอิสระว่าขัดรัฐธรรมนูญ

ประเด็น ที่ว่าขัดรัฐธรรมนูญเพราะรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มีบทบัญญัติในมาตรา 168 วรรค 8 ว่า "รัฐต้องจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับการบริหารงานโดยอิสระของรัฐสภา ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ" และวรรค 9 บัญญัติไว้ว่า "ในการพิจารณางบประมาณรายจ่ายของรัฐสภา ศาล และองค์กรตามวรรคแปด หากหน่วยงานนั้นเห็นว่างบประมาณ รายจ่ายที่ได้รับจัดสรรนั้นได้ไม่เพียงพอ ให้สามารถเสนอคำขอแปรญัตติต่อคณะกรรมาธิการได้โดยตรง"

สำหรับงบ ประมาณของรัฐสภาและงบประมาณของศาลยุติธรรมก็จะมีสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา และกระทรวงยุติธรรม ซึ่งทำงานทางธุรการให้ศาล จึงไม่มีปัญหา เพราะหน่วยงานทั้งสองทำงานใกล้ชิดกับรัฐบาลอยู่แล้ว ผ่านทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและประธานรัฐสภา

แต่ศาลรัฐ ธรรมนูญก็ดี ศาลปกครองก็ดี ป.ป.ช.ก็ดี ก.ล.ต.ก็ดี ไม่มีรัฐมนตรีคอยดูแล แต่ก็ไม่น่าจะเป็นอะไร เพราะก็เห็นทำงานราบรื่นกันมาตลอด

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

งบประมาณ ของกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานต่างๆ ปกติก็จะต้องผ่านสำนักงบประมาณ กลั่นกรองทั้งยอดเงินและรายละเอียด เช่น ตั้งราคาสิ่งของที่จะจัดซื้อจัดจ้างสูงหรือต่ำกว่า "ราคากลาง" เกินไปหรือไม่ ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ก็จะส่งเจ้าหน้าที่ไปชี้แจงกับสำนักงบประมาณ ไปทำการตกลงกับสำนักงบประมาณ ความสามารถของหัวหน้าหน่วยงานก็คือ สามารถหางบประมาณการดำเนินงานตามภาระหน้าที่และตามความคิดริเริ่มของตนให้ เป็นผลสำเร็จ แต่สำนักงบประมาณก็มีหน้าที่ดูแลให้การตั้งงบประมาณของหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งศาลต่างๆ และองค์กรอิสระมีความสมเหตุสมผลและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การ ที่รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 บัญญัติไว้เช่นนั้น ก็คงจะป้องกันมิให้รัฐบาลหรือรัฐสภา กลั่นแกล้งไม่ตั้งงบประมาณให้เพียงพอ จนไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กระบวนการจัดสรรงบประมาณ ก็วางไว้ดีแล้ว ปัญหาที่สำนักงบประมาณซึ่งขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี หรือกรรมาธิการการงบประมาณ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน และมีรัฐมนตรีช่วยว่าการ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเป็นรองประธาน ก็จะทำหน้าที่พิจารณาคำแปรญัตติ เมื่อ พ.ร.บ.งบประมาณผ่านวาระแรกขึ้นรับหลักการในสภาผู้แทนราษฎรแล้ว

เรื่อง ที่เกิดขึ้นเข้าใจว่าทางสำนักงบประมาณคงจะไปตัดทอนงบประมาณของศาลรัฐธรรมนูญ และหรือศาลปกครองและองค์กรอิสระอื่นๆ หรือไม่ สำนักงบประมาณได้ให้โอกาสฝ่ายธุรการของศาลและองค์กรอิสระมาชี้แจงทำการตกลง หรือไม่ หรือศาลและองค์กรอิสระต่างๆ เหล่านั้นไม่เห็นด้วยกับสำนักงบประมาณ

เมื่อ ผ่านสำนักงบประมาณก็ต้องผ่านคณะรัฐมนตรีแล้วจึงเข้าสภา งบประมาณของศาลและองค์กรอิสระเหล่านี้คงจะถูกตัดทอนลงบ้างจากสำนักงบประมาณ เข้าสู่สภา ซึ่งก็ยังมีอีกช่องทางหนึ่งก็คือ ศาลต่างๆ รวมทั้งองค์กรอิสระได้ทำเรื่องขอแปรญัตติมายังกรรมาธิการโดยตรงหรือไม่ หรือทำมาแล้วแต่กรรมาธิการงบประมาณ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน ซึ่งโดยปกติก็จะมาประชุมในวันเปิดการประชุมกับวันปิดการประชุมเท่านั้น ระหว่างพิจารณาคำแปรญัตติก็จะให้รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นรองประธานอีกคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุมแทน

เรื่องจึง ไม่น่าจะเกิด หากทุกฝ่ายดำเนินการไปตามกระบวนการพิจารณา พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี คือ มีการชี้แจงทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ จนเป็นที่พอใจทั้งสองฝ่าย

ถ้ายังไม่พอใจ ศาลและหน่วยงานอิสระก็ยังสามารถทำเรื่องขอแปรญัตติโดยตรง ถึงกรรมาธิการงบประมาณสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งหน่วยงานอื่นของกระทรวง ทบวง กรม และศาลยุติธรรมเองก็ทำไม่ได้

เมื่อถึงขั้นพิจารณาของกรรมาธิการ หน่วยงานอิสระเจ้าของคำแปรญัตติก็จะได้รับเชิญให้เข้ามาชี้แจง ถ้ากรรมาธิการเห็นด้วยก็ผ่านไป ถ้าไม่เห็นด้วย กรรมาธิการก็จะมีคำชี้แจงว่าเพราะเหตุใด เพียงแต่จะสงวนคำแปรญัตติไปอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรวาระสองไม่ได้เท่านั้น

จึงไม่เข้าใจว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ว่าได้จัดสรรงบประมาณ "ให้เพียงพอ" หรือไม่ เพราะประเด็น "ให้เพียงพอ" น่าจะได้พูดคุยกันแล้ว ทั้งในระดับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานกับสำนักงบประมาณ และในระดับกรรมาธิการงบประมาณ ไม่น่าต้องมาถึงศาล

ตามที่ ฟังมาว่า ศาลและหน่วยงานอิสระได้แจ้งสำนักงบประมาณแล้ว และได้ทำเรื่องแปรญัตติโดยตรงต่อกรรมาธิการงบประมาณแล้ว แต่ไม่มีโอกาสเข้าไปชี้แจงในขั้นกรรมาธิการ ไม่ได้รับเชิญให้ไปชี้แจง หรือไม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปชี้แจง

ถ้าเป็นไปตามนั้นก็เท่ากับเป็นข้อ บกพร่องของสำนักงบประมาณและหรือกรรมาธิการงบประมาณ ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีรัฐมนตรีคลังเป็นประธาน รัฐมนตรีช่วยและผู้อำนวยการงบประมาณเป็นรองประธาน เกี่ยวพันไปถึงรัฐบาล

แต่ การจะวินิจฉัยว่ารัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้ไม่เพียงพอ ก็มีปัญหาอีกว่าใครจะเป็นผู้วินิจฉัยว่าเพียงพอหรือไม่ เพราะในระบอบประชาธิปไตย สภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลเงินภาษีอากรที่รัฐจัดเก็บ หน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้ใช้ภาษีอากรของราษฎรไม่ควรเป็นผู้วินิจฉัยว่าตนได้ งบประมาณเพียงพอหรือไม่ ประชาชนผู้เสียภาษีอากรผ่านทางผู้แทนของตนเท่านั้นที่มีอำนาจว่า "ให้เพียงพอ" หรือไม่

รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหามากจริงๆ

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1380799437&grpid=01&catid=&subcatid= (ขนาดไฟล์: 167)

มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ต.ค.56

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 4/10/2556 เวลา 03:19:58 ดูภาพสไลด์โชว์ การพิจารณาเรื่องขัดรัฐธรรมนูญ โดย วีรพงษ์ รามางกูร

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายวีรพงษ์ รามางกูรหมู่นี้มีเรื่องที่ฝ่ายค้านทั้งในสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภายื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างกฎหมายต่างๆ ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ข่าวที่ผู้คนคอยติดตามด้วยความระทึกใจก็เห็นจะเป็นเรื่องที่จะวินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี 2557 ซึ่งผ่านสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ กับอีกเรื่องหนึ่งก็คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เปลี่ยนองค์ประกอบของวุฒิสภาและให้วุฒิสภาสิ้นสุดลงเมื่อมีการเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภาใหม่ ว่าเป็นการกระทำที่จะล้มล้างระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขหรือไม่ ที่แปลกศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับไว้พิจารณาแล้ว ที่คนตื่นเต้นและคอยติดตามเรื่อง พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี ก็คงด้วยเหตุผลว่าเป็นเรื่องใหม่ เพราะการจัดสรรงบประมาณเมื่อผ่านรัฐสภาแล้วก็เป็นอันจบกัน นำขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ ไม่มีหน่วยงานใดนำไปฟ้องร้องต่อศาลหรือองค์กรอิสระว่าขัดรัฐธรรมนูญ ประเด็น ที่ว่าขัดรัฐธรรมนูญเพราะรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มีบทบัญญัติในมาตรา 168 วรรค 8 ว่า "รัฐต้องจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับการบริหารงานโดยอิสระของรัฐสภา ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ" และวรรค 9 บัญญัติไว้ว่า "ในการพิจารณางบประมาณรายจ่ายของรัฐสภา ศาล และองค์กรตามวรรคแปด หากหน่วยงานนั้นเห็นว่างบประมาณ รายจ่ายที่ได้รับจัดสรรนั้นได้ไม่เพียงพอ ให้สามารถเสนอคำขอแปรญัตติต่อคณะกรรมาธิการได้โดยตรง" สำหรับงบ ประมาณของรัฐสภาและงบประมาณของศาลยุติธรรมก็จะมีสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา และกระทรวงยุติธรรม ซึ่งทำงานทางธุรการให้ศาล จึงไม่มีปัญหา เพราะหน่วยงานทั้งสองทำงานใกล้ชิดกับรัฐบาลอยู่แล้ว ผ่านทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและประธานรัฐสภา แต่ศาลรัฐ ธรรมนูญก็ดี ศาลปกครองก็ดี ป.ป.ช.ก็ดี ก.ล.ต.ก็ดี ไม่มีรัฐมนตรีคอยดูแล แต่ก็ไม่น่าจะเป็นอะไร เพราะก็เห็นทำงานราบรื่นกันมาตลอด อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย งบประมาณ ของกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานต่างๆ ปกติก็จะต้องผ่านสำนักงบประมาณ กลั่นกรองทั้งยอดเงินและรายละเอียด เช่น ตั้งราคาสิ่งของที่จะจัดซื้อจัดจ้างสูงหรือต่ำกว่า "ราคากลาง" เกินไปหรือไม่ ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ก็จะส่งเจ้าหน้าที่ไปชี้แจงกับสำนักงบประมาณ ไปทำการตกลงกับสำนักงบประมาณ ความสามารถของหัวหน้าหน่วยงานก็คือ สามารถหางบประมาณการดำเนินงานตามภาระหน้าที่และตามความคิดริเริ่มของตนให้ เป็นผลสำเร็จ แต่สำนักงบประมาณก็มีหน้าที่ดูแลให้การตั้งงบประมาณของหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งศาลต่างๆ และองค์กรอิสระมีความสมเหตุสมผลและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การ ที่รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 บัญญัติไว้เช่นนั้น ก็คงจะป้องกันมิให้รัฐบาลหรือรัฐสภา กลั่นแกล้งไม่ตั้งงบประมาณให้เพียงพอ จนไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการจัดสรรงบประมาณ ก็วางไว้ดีแล้ว ปัญหาที่สำนักงบประมาณซึ่งขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี หรือกรรมาธิการการงบประมาณ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน และมีรัฐมนตรีช่วยว่าการ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเป็นรองประธาน ก็จะทำหน้าที่พิจารณาคำแปรญัตติ เมื่อ พ.ร.บ.งบประมาณผ่านวาระแรกขึ้นรับหลักการในสภาผู้แทนราษฎรแล้ว เรื่อง ที่เกิดขึ้นเข้าใจว่าทางสำนักงบประมาณคงจะไปตัดทอนงบประมาณของศาลรัฐธรรมนูญ และหรือศาลปกครองและองค์กรอิสระอื่นๆ หรือไม่ สำนักงบประมาณได้ให้โอกาสฝ่ายธุรการของศาลและองค์กรอิสระมาชี้แจงทำการตกลง หรือไม่ หรือศาลและองค์กรอิสระต่างๆ เหล่านั้นไม่เห็นด้วยกับสำนักงบประมาณ เมื่อ ผ่านสำนักงบประมาณก็ต้องผ่านคณะรัฐมนตรีแล้วจึงเข้าสภา งบประมาณของศาลและองค์กรอิสระเหล่านี้คงจะถูกตัดทอนลงบ้างจากสำนักงบประมาณ เข้าสู่สภา ซึ่งก็ยังมีอีกช่องทางหนึ่งก็คือ ศาลต่างๆ รวมทั้งองค์กรอิสระได้ทำเรื่องขอแปรญัตติมายังกรรมาธิการโดยตรงหรือไม่ หรือทำมาแล้วแต่กรรมาธิการงบประมาณ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน ซึ่งโดยปกติก็จะมาประชุมในวันเปิดการประชุมกับวันปิดการประชุมเท่านั้น ระหว่างพิจารณาคำแปรญัตติก็จะให้รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นรองประธานอีกคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุมแทน เรื่องจึง ไม่น่าจะเกิด หากทุกฝ่ายดำเนินการไปตามกระบวนการพิจารณา พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี คือ มีการชี้แจงทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ จนเป็นที่พอใจทั้งสองฝ่าย ถ้ายังไม่พอใจ ศาลและหน่วยงานอิสระก็ยังสามารถทำเรื่องขอแปรญัตติโดยตรง ถึงกรรมาธิการงบประมาณสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งหน่วยงานอื่นของกระทรวง ทบวง กรม และศาลยุติธรรมเองก็ทำไม่ได้ เมื่อถึงขั้นพิจารณาของกรรมาธิการ หน่วยงานอิสระเจ้าของคำแปรญัตติก็จะได้รับเชิญให้เข้ามาชี้แจง ถ้ากรรมาธิการเห็นด้วยก็ผ่านไป ถ้าไม่เห็นด้วย กรรมาธิการก็จะมีคำชี้แจงว่าเพราะเหตุใด เพียงแต่จะสงวนคำแปรญัตติไปอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรวาระสองไม่ได้เท่านั้น จึงไม่เข้าใจว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ว่าได้จัดสรรงบประมาณ "ให้เพียงพอ" หรือไม่ เพราะประเด็น "ให้เพียงพอ" น่าจะได้พูดคุยกันแล้ว ทั้งในระดับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานกับสำนักงบประมาณ และในระดับกรรมาธิการงบประมาณ ไม่น่าต้องมาถึงศาล ตามที่ ฟังมาว่า ศาลและหน่วยงานอิสระได้แจ้งสำนักงบประมาณแล้ว และได้ทำเรื่องแปรญัตติโดยตรงต่อกรรมาธิการงบประมาณแล้ว แต่ไม่มีโอกาสเข้าไปชี้แจงในขั้นกรรมาธิการ ไม่ได้รับเชิญให้ไปชี้แจง หรือไม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปชี้แจง ถ้าเป็นไปตามนั้นก็เท่ากับเป็นข้อ บกพร่องของสำนักงบประมาณและหรือกรรมาธิการงบประมาณ ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีรัฐมนตรีคลังเป็นประธาน รัฐมนตรีช่วยและผู้อำนวยการงบประมาณเป็นรองประธาน เกี่ยวพันไปถึงรัฐบาล แต่ การจะวินิจฉัยว่ารัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้ไม่เพียงพอ ก็มีปัญหาอีกว่าใครจะเป็นผู้วินิจฉัยว่าเพียงพอหรือไม่ เพราะในระบอบประชาธิปไตย สภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลเงินภาษีอากรที่รัฐจัดเก็บ หน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้ใช้ภาษีอากรของราษฎรไม่ควรเป็นผู้วินิจฉัยว่าตนได้ งบประมาณเพียงพอหรือไม่ ประชาชนผู้เสียภาษีอากรผ่านทางผู้แทนของตนเท่านั้นที่มีอำนาจว่า "ให้เพียงพอ" หรือไม่ รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหามากจริงๆ ขอบคุณ… http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1380799437&grpid=01&catid=&subcatid= มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...