'ปลอม'ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มจุดตายรื้อฟื้นสภาผัวเมีย'ปลอม'ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพิ่มจุดตายรื้อฟื้นสภาผัวเมีย

แสดงความคิดเห็น

กลายเป็นประเด็นใหม่ที่น่าติดตามเพิ่มขึ้นไปอีก เมื่อ "คำนูณ สิทธิสมาน" ส.ว.สรรหา กลุ่ม 40 ส.ว. ได้เปิดประเด็นสำคัญกรณีที่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่มา ส.ว. หลังจาก "อุดมเดช รัตนเสถียร" และคณะยื่นร่างแก้ไขฯ ต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 20 มีนาคม 2556 เลขรับ 20/2556 เวลา 13.05 น. ไปแล้ว

แต่กลับพบว่าร่างที่สำเนามาแจกให้สมาชิกรัฐสภา ในการพิจารณารับหลักการในวาระ 1 เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2556 มีข้อความในสาระสำคัญไม่ตรงกับตัวร่างจริง ทั้งที่เป็นเลขรับตรงกันคือ 20 มีนาคม 2556 โดยมีถึง 3 จุดที่มีความแตกต่าง คือ 1.ข้อความในส่วนของหลักการ ร่างสำเนามีการเพิ่มคำว่า "มาตรา 116 วรรคสอง" เข้าไป 2.ข้อความในมาตรา 5 แก้ไขมาตรา 115 ข้อความในมาตรา 115 (9) แตกต่างกัน โดยร่างสำเนามีการเติมประโยค "...ซึ่งมิใช่สมาชิกวุฒิสภา" เข้าไป 3.ในร่างสำเนามีการเติมมาตรา 6 ใหม่แทรกเข้าไป เป็นการแก้ไขมาตรา 116 วรรคสอง เติมคำว่า "...ซึ่งมิใช่สมาชิกวุฒิสภา" เข้าไป

จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่า ภายหลังที่ยื่นการแก้ไขต่อประธานสภาไปแล้ว ผู้เสนอร่างและคณะเพิ่งคิดได้ จึงแอบไปแก้ไขเพิ่มเติมต่อสำนักเลขาธิการสภาให้ครอบคลุมเนื้อหา เพื่อเปิดทางให้ ส.ว.ชุดปัจจุบันสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ทันที เพราะหากไม่มีการเพิ่มเติมเนื้อหาดังกล่าวเข้ามา การแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจจะไม่มีผลสมบูรณ์ หรืออาจทำให้เกิดข้อถกเถียงทางกฎหมายได้ ว่าวุฒิสภาชุดปัจจุบันจะลงสมัครรับเลือกตั้งต่อเนื่องได้หรือไม่

เรื่องนี้ทางฝ่ายผู้เสนอร่างคือ นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของ ส.ว. เห็นว่าเรื่องดังกล่าวไม่น่าจะเป็นสาระสำคัญ และที่มีผลให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตกไปได้ หรือเป็นโมฆะแต่อย่างใด

ยืนยันว่ากระบวนการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ดำเนินการอย่างถูกต้องตาม รัฐธรรมนูญ และที่สำคัญร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาและลงมติของรัฐสภา ถึง 3 วาระ และการกลั่นกรองในชั้นของคณะกรรมาธิการที่มีนายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย เป็นประธานมาแล้ว

"ส่วนตัวสงสัยว่าทำไมไม่มีการพูดถึงประเด็นนี้ตั้งแต่การอภิปรายในรัฐสภา แต่กลับมาพูดกันภายหลังจากรัฐสภาให้ความเห็นชอบไปแล้ว จึงอาจมองได้ว่าเป็นความพยายามเพื่อต้องการอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับการ พิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งคิดว่าในเมื่อฝ่ายนิติบัญญัติมีมติไปแล้ว ถือว่าทุกอย่างสิ้นสุดแล้ว อะไรจะมาใหญ่ไปกว่ามติของรัฐสภาไม่ได้"อุดมเดช กล่าวระบุขณะที่ "คำนูณ" แม้จะยอมรับว่าในชั้นรับหลักการในวาระ 1 ยังไม่สามารถตรวจสอบพบการปลอมแปลงเอกสารดังกล่าวก็จริง แต่พอตรวจสอบพบและกำลังจะใช้สิทธิในวาระ 2 ในการพิจารณาในมาตรา 5 แต่กลับถูกเสียงข้างมากปิดปากการอภิปราย

แต่ถึงจะไม่สามารถทำให้รัฐสภารับทราบก็จริง แต่ตัวเองก็ยื่นประเด็นดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญไว้พิจารณาร่วมกับประเด็น อื่นๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามช่องทางมาตรา 68 โดยส่วนตัวเขาเชื่อว่าเป็นสาระสำคัญอาจทำให้กฎหมายตกไป แต่ศาลรัฐธรรมนูญจะเห็นอย่างไรถือเป็นดุลพินิจ

พร้อมกับตั้งข้อสังเกตว่า สาเหตุที่ผู้เสนอร่างต้องไปแก้ไขภายหลังการยื่นร่างไปแล้ว เพราะไม่สามารถรอไปถึงชั้น กมธ.วิสามัญได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มประเด็นนอกเหลือหลักการแก้ไข ที่วัตถุประสงค์หลักคือให้วุฒิสภามีแต่การเลือกตั้งเท่านั้น

แต่หากไปเพิ่มเติมในภายหลังเพื่อให้วุฒิสภาลงสมัครรับเลือกตั้งได้ต่อ เนื่องโดยไม่จำกัดจำนวนวาระ ก็จะเป็นการขยายหลักการและขัดต่อแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 50 ที่จำกัดวาระวุฒิสภาไม่สามารถลงสมัครติดต่อกันได้

สอดรับกับ "รสนา โตสิตระกูล" ส.ว.กทม. กลุ่ม 40 ส.ว. กล่าวว่า สาเหตุแห่งการเร่งรีบ ไม่ยอมถอนเรื่องไปแก้ไขให้ถูกต้องและนำเสนอต่อรัฐสภาใหม่ เพราะกลัวว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จไม่ทันต้นปี 57 และเพื่อเอื้อประโยชน์ต่างตอบแทนให้แก่วุฒิสภาสายเลือกตั้งชุดนี้ได้ทัน

อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นความเห็นทางด้านกฎหมายที่ฝ่ายสนับสนุนและฝ่าย ต้านมองคนละมุม สุดท้ายคงเป็นหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งจะต้องตัดสินว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือ ไม่ มาตรา 68 วรรค 1 ตอนท้าย ในประเด็นเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็น ไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่กว่าจะไปถึงจุดนั้น อย่างน้อยวันนี้สังคมก็รับทราบแล้วว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องที่มาของ ส.ว.นั้นมีปัญหาตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

ไม่นับปัญหาที่เห็นประจักษ์อีกมาก อาทิ การทำลายดุลยภาพของรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้มี ส.ว.สรรหาตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจ การแก้ไขรัฐสภามีอำนาจกระทำได้ หรือต้องผ่านความเห็นของประชาชนหรือไม่

การปิดปากไม่ให้ฝ่ายค้านได้อภิปรายในการแปรญัตติสงวนความคิดเห็น ผลประโยชน์ขัดกันในประเด็นที่ถูกมองว่ากรณีวุฒิสภาเลือกตั้งแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้ตัวสามารถดำรงตำแหน่งวุฒิสภา และยังสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ พร้อมทั้งรื้อฟื้นสภาผัว-เมีย และยังมีการเสียบบัตรลงคะแนนแก้ไขรัฐธรรมนูญแทนกันอีก

ปัญหาความไม่ชอบในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเยอะแยะไปหมด แต่ทำไม "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกฯ ยังจะกล้าหาญนำของไม่ดีขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีก

ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1747126

ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ต.ค.56

ที่มา: ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 2/10/2556 เวลา 02:47:37

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กลายเป็นประเด็นใหม่ที่น่าติดตามเพิ่มขึ้นไปอีก เมื่อ "คำนูณ สิทธิสมาน" ส.ว.สรรหา กลุ่ม 40 ส.ว. ได้เปิดประเด็นสำคัญกรณีที่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่มา ส.ว. หลังจาก "อุดมเดช รัตนเสถียร" และคณะยื่นร่างแก้ไขฯ ต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 20 มีนาคม 2556 เลขรับ 20/2556 เวลา 13.05 น. ไปแล้ว แต่กลับพบว่าร่างที่สำเนามาแจกให้สมาชิกรัฐสภา ในการพิจารณารับหลักการในวาระ 1 เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2556 มีข้อความในสาระสำคัญไม่ตรงกับตัวร่างจริง ทั้งที่เป็นเลขรับตรงกันคือ 20 มีนาคม 2556 โดยมีถึง 3 จุดที่มีความแตกต่าง คือ 1.ข้อความในส่วนของหลักการ ร่างสำเนามีการเพิ่มคำว่า "มาตรา 116 วรรคสอง" เข้าไป 2.ข้อความในมาตรา 5 แก้ไขมาตรา 115 ข้อความในมาตรา 115 (9) แตกต่างกัน โดยร่างสำเนามีการเติมประโยค "...ซึ่งมิใช่สมาชิกวุฒิสภา" เข้าไป 3.ในร่างสำเนามีการเติมมาตรา 6 ใหม่แทรกเข้าไป เป็นการแก้ไขมาตรา 116 วรรคสอง เติมคำว่า "...ซึ่งมิใช่สมาชิกวุฒิสภา" เข้าไป จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่า ภายหลังที่ยื่นการแก้ไขต่อประธานสภาไปแล้ว ผู้เสนอร่างและคณะเพิ่งคิดได้ จึงแอบไปแก้ไขเพิ่มเติมต่อสำนักเลขาธิการสภาให้ครอบคลุมเนื้อหา เพื่อเปิดทางให้ ส.ว.ชุดปัจจุบันสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ทันที เพราะหากไม่มีการเพิ่มเติมเนื้อหาดังกล่าวเข้ามา การแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจจะไม่มีผลสมบูรณ์ หรืออาจทำให้เกิดข้อถกเถียงทางกฎหมายได้ ว่าวุฒิสภาชุดปัจจุบันจะลงสมัครรับเลือกตั้งต่อเนื่องได้หรือไม่ เรื่องนี้ทางฝ่ายผู้เสนอร่างคือ นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของ ส.ว. เห็นว่าเรื่องดังกล่าวไม่น่าจะเป็นสาระสำคัญ และที่มีผลให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตกไปได้ หรือเป็นโมฆะแต่อย่างใด ยืนยันว่ากระบวนการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ดำเนินการอย่างถูกต้องตาม รัฐธรรมนูญ และที่สำคัญร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาและลงมติของรัฐสภา ถึง 3 วาระ และการกลั่นกรองในชั้นของคณะกรรมาธิการที่มีนายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย เป็นประธานมาแล้ว "ส่วนตัวสงสัยว่าทำไมไม่มีการพูดถึงประเด็นนี้ตั้งแต่การอภิปรายในรัฐสภา แต่กลับมาพูดกันภายหลังจากรัฐสภาให้ความเห็นชอบไปแล้ว จึงอาจมองได้ว่าเป็นความพยายามเพื่อต้องการอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับการ พิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งคิดว่าในเมื่อฝ่ายนิติบัญญัติมีมติไปแล้ว ถือว่าทุกอย่างสิ้นสุดแล้ว อะไรจะมาใหญ่ไปกว่ามติของรัฐสภาไม่ได้"อุดมเดช กล่าวระบุขณะที่ "คำนูณ" แม้จะยอมรับว่าในชั้นรับหลักการในวาระ 1 ยังไม่สามารถตรวจสอบพบการปลอมแปลงเอกสารดังกล่าวก็จริง แต่พอตรวจสอบพบและกำลังจะใช้สิทธิในวาระ 2 ในการพิจารณาในมาตรา 5 แต่กลับถูกเสียงข้างมากปิดปากการอภิปราย แต่ถึงจะไม่สามารถทำให้รัฐสภารับทราบก็จริง แต่ตัวเองก็ยื่นประเด็นดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญไว้พิจารณาร่วมกับประเด็น อื่นๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามช่องทางมาตรา 68 โดยส่วนตัวเขาเชื่อว่าเป็นสาระสำคัญอาจทำให้กฎหมายตกไป แต่ศาลรัฐธรรมนูญจะเห็นอย่างไรถือเป็นดุลพินิจ พร้อมกับตั้งข้อสังเกตว่า สาเหตุที่ผู้เสนอร่างต้องไปแก้ไขภายหลังการยื่นร่างไปแล้ว เพราะไม่สามารถรอไปถึงชั้น กมธ.วิสามัญได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มประเด็นนอกเหลือหลักการแก้ไข ที่วัตถุประสงค์หลักคือให้วุฒิสภามีแต่การเลือกตั้งเท่านั้น แต่หากไปเพิ่มเติมในภายหลังเพื่อให้วุฒิสภาลงสมัครรับเลือกตั้งได้ต่อ เนื่องโดยไม่จำกัดจำนวนวาระ ก็จะเป็นการขยายหลักการและขัดต่อแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 50 ที่จำกัดวาระวุฒิสภาไม่สามารถลงสมัครติดต่อกันได้ สอดรับกับ "รสนา โตสิตระกูล" ส.ว.กทม. กลุ่ม 40 ส.ว. กล่าวว่า สาเหตุแห่งการเร่งรีบ ไม่ยอมถอนเรื่องไปแก้ไขให้ถูกต้องและนำเสนอต่อรัฐสภาใหม่ เพราะกลัวว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จไม่ทันต้นปี 57 และเพื่อเอื้อประโยชน์ต่างตอบแทนให้แก่วุฒิสภาสายเลือกตั้งชุดนี้ได้ทัน อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นความเห็นทางด้านกฎหมายที่ฝ่ายสนับสนุนและฝ่าย ต้านมองคนละมุม สุดท้ายคงเป็นหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งจะต้องตัดสินว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือ ไม่ มาตรา 68 วรรค 1 ตอนท้าย ในประเด็นเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็น ไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่กว่าจะไปถึงจุดนั้น อย่างน้อยวันนี้สังคมก็รับทราบแล้วว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องที่มาของ ส.ว.นั้นมีปัญหาตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ไม่นับปัญหาที่เห็นประจักษ์อีกมาก อาทิ การทำลายดุลยภาพของรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้มี ส.ว.สรรหาตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจ การแก้ไขรัฐสภามีอำนาจกระทำได้ หรือต้องผ่านความเห็นของประชาชนหรือไม่ การปิดปากไม่ให้ฝ่ายค้านได้อภิปรายในการแปรญัตติสงวนความคิดเห็น ผลประโยชน์ขัดกันในประเด็นที่ถูกมองว่ากรณีวุฒิสภาเลือกตั้งแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้ตัวสามารถดำรงตำแหน่งวุฒิสภา และยังสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ พร้อมทั้งรื้อฟื้นสภาผัว-เมีย และยังมีการเสียบบัตรลงคะแนนแก้ไขรัฐธรรมนูญแทนกันอีก ปัญหาความไม่ชอบในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเยอะแยะไปหมด แต่ทำไม "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกฯ ยังจะกล้าหาญนำของไม่ดีขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีก ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1747126 ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...