ผ่าปมร้อน-นายกรัฐมนตรีทูลเกล้าฯ แก้รัฐธรรมนูญ

แสดงความคิดเห็น

กรณี พรรคประชาธิปัตย์และเครือข่ายเคลื่อนไหวคัดค้านการนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาของส.ว. ที่ผ่านการลงมติวาระ 3 ขึ้นทูลเกล้าฯ

โดยงัดมาตรา 154 ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เพื่อระงับกระบวนการประกาศให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีผลบังคับใช้นั้น

กลาย เป็นที่จับตาและวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่า การยื่นร้องดังกล่าวสามารถทำได้หรือไม่ และหากทำไม่ได้นายกฯจะมีความผิดตามมาด้วยหรือไม่

อย่างไรก็ตาม นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการ นายกฯ รวมถึงแกนนำพรรคเพื่อไทย ยืนยันถึงขั้นตอนการนำร่างแก้ไขดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯภายใน 20 วัน หลังจากรัฐสภาลงมติวาระ 3 ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 150

ธีระ สุธีวรางกูร

คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

หากร่าง รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมประเด็นที่มาของ ส.ว. ผ่านการลงมติวาระ 3 นายกรัฐมนตรีสามารถนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯถวาย ตามมาตรา 291 (7)

ที่ ระบุว่า เมื่อมีการลงมติตามหลักเกณฑ์และวิธีการของมาตรา 291 แล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย และให้นำบทบัญญัติ มาตรา 150 และมาตรา 151 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

โดย มาตรา 150 บัญญัติว่า ร่างพ.ร.บ.ที่ได้ รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายภายใน 20 วัน นับแต่วันที่ ได้รับร่างพ.ร.บ. นั้นจากรัฐสภา เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย

และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

ซึ่ง นายกรัฐมนตรีสามารถนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายได้ตั้งแต่วันแรกที่ได้รับร่างจากประธานรัฐสภา แต่ไม่เกิน 20 วัน หากนายกรัฐมนตรีไม่ยื่นก็จะถูกครหาว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เนื่องจากกฎหมายระบุไว้แล้ว

ดังนั้นกรณีที่มีผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 154 จึงไม่สามารถกระทำได้

เนื่อง จากมาตรา 154 ได้บัญญัติเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ. ว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่การลงมติวาระ 3 เป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นคนละส่วนกัน

ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มีอำนาจรับเรื่องไปวินิจฉัยได้ เพราะนายกรัฐมนตรีไม่ได้กระทำผิดตามรัฐธรรมนูญ

หาก ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องไปวินิจฉัย แล้วมีคำสั่งยับยั้งการนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ศาลรัฐธรรมนูญกระทำผิดตามรัฐธรรมนูญแน่นอน

รวมถึงผู้ที่มาหยุดยั้งการทำหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีด้วย

พิชิต ชื่นบาน

ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย

การ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนั้น มีการบัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษ โดย ม.291 กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเอาไว้

ซึ่ง ตั้งแต่ที่สมาชิกรัฐสภายื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่อง ที่มาส.ว. จนผ่านวาระที่ 1 และ 2 กระทั่งเข้าสู่การลงมติในวาระที่ 3 เมื่อวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมานั้น

ยืนยันว่าขั้นตอนทุกอย่างชอบด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว

อย่าง ไรก็ตาม ในส่วนที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาส.ว.นั้น ยังยืนยันจุดเดิมว่าเป็นขอบเขตอำนาจของสมาชิกรัฐสภาที่จะดำเนินการ

และรัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเรื่องนี้

ดัง นั้นหลังสมาชิกรัฐสภาโหวตผ่านวาระ 3 แล้ว จึงมั่นใจว่าจะไม่เข้า ม.154 ตามที่พรรคประชาธิปัตย์ยื่นคำร้อง ผมเชื่อว่าไม่มีอะไรมาทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาส.ว. สะดุดลงได้

เพราะ หากย้อนกลับไปดูกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องของพรรคประชาธิปัตย์ มีข้อน่าสังเกตว่าผู้ร้องในคดีนี้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ 2 ประเด็น คือ

1.ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องโดยพิจารณาวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68

และ 2.ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว เพื่อไม่ให้สมาชิกรัฐสภาสามารถเดินหน้าลงมติในวาระ 3 เหมือนเมื่อคราวที่เราแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ

แต่ มาครั้งนี้ศาลรัฐธรรมนูญกลับไม่คุ้มครองชั่วคราว ดังนั้นเมื่อศาลรัฐธรรมนูญปฏิเสธคำขอของผู้ร้อง ถือว่าไม่มีกลไกหรือองค์กรใดที่จะมายับยั้ง

ดัง นั้นการดำเนินการต้องเดินหน้าต่อไป ซึ่งอยากให้รีบดำเนินการเพราะยังต้องมีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญอีก เพื่อให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้งของประชาชนอย่างแท้จริง

ยืน ยันว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาส.ว.ครั้งนี้ไม่เข้า ม.154 เพราะบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมเป็นกฎหมายลำดับสูงสุด ต่างจากการออกพระราชบัญญัติธรรมดาทั่วไป

และ เมื่อศาลไม่คุ้มครองชั่วคราว เท่ากับว่าผู้ร้องเป็นฝ่ายกระทำผิดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเสียเอง ซึ่งฝ่ายกฎหมายอยู่ระหว่างการหารือกันว่า

จะยื่นถอดถอนผู้ที่ขัดขวางกระบวนการดังกล่าวด้วย

พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

เมื่อ การแก้รัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของส.ว. ผ่านการลงมติวาระ 3 ไปแล้ว ไม่แปลกใจที่จะมีส.ส.ฝ่ายค้าน และกลุ่ม 40 ส.ว.สรรหาที่กำลังจะเสียประโยชน์ เพราะในอนาคตที่มาของ ส.ว.ต้องมาจากการเลือกตั้ง ยึดโยงกับประชาชน

ปม ปัญหาที่ว่าฝ่ายค้านและ 40 ส.ว. จะยื่นฟ้องศาลรัฐธรรมนูญว่าขัด ม.154 เพื่อให้มีการระงับกระบวนการประกาศให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้นั้น ไม่สามารถนำมาบังคับใช้ได้กับกรณีร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ

เพราะ ม.154 บัญญติไว้ให้ใช้กับการขอระงับร่างพ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีสถานะต่ำกว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญ

ขณะ เดียวกันในทางหลักการ การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติอันชอบธรรมอยู่แล้ว ฝ่ายตุลาการไม่สามารถก้าวล่วงหรือขยายอำนาจการตีความได้

เพราะ ฉะนั้นเมื่อรัฐสภาลงมติวาระ 3 เรียบร้อยแล้ว จะต้องทำให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ตามรัฐธรรมนูญ ม.150 ซึ่งให้อำนาจนายกรัฐมนตรีต้องนำเสนอขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน

ถ้าทุกฝ่ายยึดหลักการทางกฎหมาย เชื่อว่านายกฯสามารถดำเนินการได้อย่างไม่ต้องมีความกังวลใดๆ ถึงสถานะตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี

เพียง แต่อาจจะมีความพยายามจากฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลที่จะดึงตุลาการภิวัฒน์มาใช้ ทำให้สังคมไทยเกิดทางตัน และทำให้เกิดการเมืองของมวลชนทั้งสองฝ่ายขึ้นมากดดันกันเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ฝ่ายรัฐบาลไม่อยากให้เกิดขึ้น

ขณะ นี้สังคมไทยกำลังประสบภาวะวิกฤตรัฐธรรมนูญ อันเนื่องมาจากการเขียนรัฐธรรมนูญปี཮ ที่บิดเบี้ยว ทำให้หลักการถ่วงดุลอำนาจเสียไป จนเอื้อให้นำมาสู่องค์กรตุลาการพยายามขยายอำนาจของตัวเองอย่างไม่ชอบธรรม

หากไม่หยุดการใช้อำนาจที่ไม่ชอบธรรมดังกล่าว ต่อให้กระบวนการของฝ่ายนิติบัญญัติเดินหน้าต่อไป สังคมก็จะยังอยู่ในความคับข้องใจ

หรือกังวลใจกันอยู่แบบนี้

ขอบคุณ http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE1EUTNPRGMzTkE9PQ== (ขนาดไฟล์: 167)

ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 ก.ย.56

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 30/09/2556 เวลา 04:02:03

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กรณี พรรคประชาธิปัตย์และเครือข่ายเคลื่อนไหวคัดค้านการนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาของส.ว. ที่ผ่านการลงมติวาระ 3 ขึ้นทูลเกล้าฯ โดยงัดมาตรา 154 ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เพื่อระงับกระบวนการประกาศให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีผลบังคับใช้นั้น กลาย เป็นที่จับตาและวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่า การยื่นร้องดังกล่าวสามารถทำได้หรือไม่ และหากทำไม่ได้นายกฯจะมีความผิดตามมาด้วยหรือไม่ อย่างไรก็ตาม นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการ นายกฯ รวมถึงแกนนำพรรคเพื่อไทย ยืนยันถึงขั้นตอนการนำร่างแก้ไขดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯภายใน 20 วัน หลังจากรัฐสภาลงมติวาระ 3 ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 150 ธีระ สุธีวรางกูร คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ หากร่าง รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมประเด็นที่มาของ ส.ว. ผ่านการลงมติวาระ 3 นายกรัฐมนตรีสามารถนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯถวาย ตามมาตรา 291 (7) ที่ ระบุว่า เมื่อมีการลงมติตามหลักเกณฑ์และวิธีการของมาตรา 291 แล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย และให้นำบทบัญญัติ มาตรา 150 และมาตรา 151 มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดย มาตรา 150 บัญญัติว่า ร่างพ.ร.บ.ที่ได้ รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายภายใน 20 วัน นับแต่วันที่ ได้รับร่างพ.ร.บ. นั้นจากรัฐสภา เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ ซึ่ง นายกรัฐมนตรีสามารถนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายได้ตั้งแต่วันแรกที่ได้รับร่างจากประธานรัฐสภา แต่ไม่เกิน 20 วัน หากนายกรัฐมนตรีไม่ยื่นก็จะถูกครหาว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เนื่องจากกฎหมายระบุไว้แล้ว ดังนั้นกรณีที่มีผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 154 จึงไม่สามารถกระทำได้ เนื่อง จากมาตรา 154 ได้บัญญัติเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ. ว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่การลงมติวาระ 3 เป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นคนละส่วนกัน ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มีอำนาจรับเรื่องไปวินิจฉัยได้ เพราะนายกรัฐมนตรีไม่ได้กระทำผิดตามรัฐธรรมนูญ หาก ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องไปวินิจฉัย แล้วมีคำสั่งยับยั้งการนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ศาลรัฐธรรมนูญกระทำผิดตามรัฐธรรมนูญแน่นอน รวมถึงผู้ที่มาหยุดยั้งการทำหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีด้วย พิชิต ชื่นบาน ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย การ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนั้น มีการบัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษ โดย ม.291 กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเอาไว้ ซึ่ง ตั้งแต่ที่สมาชิกรัฐสภายื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่อง ที่มาส.ว. จนผ่านวาระที่ 1 และ 2 กระทั่งเข้าสู่การลงมติในวาระที่ 3 เมื่อวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมานั้น ยืนยันว่าขั้นตอนทุกอย่างชอบด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว อย่าง ไรก็ตาม ในส่วนที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาส.ว.นั้น ยังยืนยันจุดเดิมว่าเป็นขอบเขตอำนาจของสมาชิกรัฐสภาที่จะดำเนินการ และรัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเรื่องนี้ ดัง นั้นหลังสมาชิกรัฐสภาโหวตผ่านวาระ 3 แล้ว จึงมั่นใจว่าจะไม่เข้า ม.154 ตามที่พรรคประชาธิปัตย์ยื่นคำร้อง ผมเชื่อว่าไม่มีอะไรมาทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาส.ว. สะดุดลงได้ เพราะ หากย้อนกลับไปดูกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องของพรรคประชาธิปัตย์ มีข้อน่าสังเกตว่าผู้ร้องในคดีนี้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ 2 ประเด็น คือ 1.ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องโดยพิจารณาวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 และ 2.ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว เพื่อไม่ให้สมาชิกรัฐสภาสามารถเดินหน้าลงมติในวาระ 3 เหมือนเมื่อคราวที่เราแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ แต่ มาครั้งนี้ศาลรัฐธรรมนูญกลับไม่คุ้มครองชั่วคราว ดังนั้นเมื่อศาลรัฐธรรมนูญปฏิเสธคำขอของผู้ร้อง ถือว่าไม่มีกลไกหรือองค์กรใดที่จะมายับยั้ง ดัง นั้นการดำเนินการต้องเดินหน้าต่อไป ซึ่งอยากให้รีบดำเนินการเพราะยังต้องมีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญอีก เพื่อให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้งของประชาชนอย่างแท้จริง ยืน ยันว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาส.ว.ครั้งนี้ไม่เข้า ม.154 เพราะบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมเป็นกฎหมายลำดับสูงสุด ต่างจากการออกพระราชบัญญัติธรรมดาทั่วไป และ เมื่อศาลไม่คุ้มครองชั่วคราว เท่ากับว่าผู้ร้องเป็นฝ่ายกระทำผิดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเสียเอง ซึ่งฝ่ายกฎหมายอยู่ระหว่างการหารือกันว่า จะยื่นถอดถอนผู้ที่ขัดขวางกระบวนการดังกล่าวด้วย พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อ การแก้รัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของส.ว. ผ่านการลงมติวาระ 3 ไปแล้ว ไม่แปลกใจที่จะมีส.ส.ฝ่ายค้าน และกลุ่ม 40 ส.ว.สรรหาที่กำลังจะเสียประโยชน์ เพราะในอนาคตที่มาของ ส.ว.ต้องมาจากการเลือกตั้ง ยึดโยงกับประชาชน ปม ปัญหาที่ว่าฝ่ายค้านและ 40 ส.ว. จะยื่นฟ้องศาลรัฐธรรมนูญว่าขัด ม.154 เพื่อให้มีการระงับกระบวนการประกาศให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้นั้น ไม่สามารถนำมาบังคับใช้ได้กับกรณีร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะ ม.154 บัญญติไว้ให้ใช้กับการขอระงับร่างพ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีสถานะต่ำกว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญ ขณะ เดียวกันในทางหลักการ การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติอันชอบธรรมอยู่แล้ว ฝ่ายตุลาการไม่สามารถก้าวล่วงหรือขยายอำนาจการตีความได้ เพราะ ฉะนั้นเมื่อรัฐสภาลงมติวาระ 3 เรียบร้อยแล้ว จะต้องทำให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ตามรัฐธรรมนูญ ม.150 ซึ่งให้อำนาจนายกรัฐมนตรีต้องนำเสนอขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน ถ้าทุกฝ่ายยึดหลักการทางกฎหมาย เชื่อว่านายกฯสามารถดำเนินการได้อย่างไม่ต้องมีความกังวลใดๆ ถึงสถานะตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี เพียง แต่อาจจะมีความพยายามจากฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลที่จะดึงตุลาการภิวัฒน์มาใช้ ทำให้สังคมไทยเกิดทางตัน และทำให้เกิดการเมืองของมวลชนทั้งสองฝ่ายขึ้นมากดดันกันเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ฝ่ายรัฐบาลไม่อยากให้เกิดขึ้น ขณะ นี้สังคมไทยกำลังประสบภาวะวิกฤตรัฐธรรมนูญ อันเนื่องมาจากการเขียนรัฐธรรมนูญปี཮ ที่บิดเบี้ยว ทำให้หลักการถ่วงดุลอำนาจเสียไป จนเอื้อให้นำมาสู่องค์กรตุลาการพยายามขยายอำนาจของตัวเองอย่างไม่ชอบธรรม หากไม่หยุดการใช้อำนาจที่ไม่ชอบธรรมดังกล่าว ต่อให้กระบวนการของฝ่ายนิติบัญญัติเดินหน้าต่อไป สังคมก็จะยังอยู่ในความคับข้องใจ หรือกังวลใจกันอยู่แบบนี้ ขอบคุณ … http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE1EUTNPRGMzTkE9PQ== ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...