หน้าเดิน-รัฐธรรมนูญ โดย เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์

แสดงความคิดเห็น

วันที่ 28 กันยายน ที่ประชุมรัฐสภาจะมีการลงคะแนนเสียงวาระที่สาม การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 291 กรณีที่มาของวุฒิสมาชิก หลังผ่านวาระที่สองแล้วให้รอไว้ 15 วัน ตั้งแต่วันที่ 13-27 กันยายน

การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สาม ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่า กึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

การออก เสียงในวาระที่สามครั้งนี้ ไม่น่ามีปัญหา เนื่องจากไม่ต้องมีการอภิปราย เว้นแต่อาจให้มีการนับองค์ประชุมที่ต้องครบ และการออกเสียงต้องมีคะแนนเห็นชอบเกินกว่ากึ่งหนึ่ง การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจึงผ่านวาระนี้ได้

เมื่อผ่านวาระที่สามไปแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ ให้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย โดยให้นำบทบัญญัติมาตรา 150 และ 151 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

หมาย ความว่า ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายภายใน 20 วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภา เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

หาก พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่

ถ้า รัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิก ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อ พระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็น กฎหมายเสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

แน่นอน ว่า ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในวาระที่สามควรจะผ่านจากสมาชิกทั้งสองสภาด้วย เสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่ง เพราะเสียงของสมาชิกฝ่ายรัฐบาลกับเสียงของสมาชิกวุฒิสภาบางส่วนที่เห็นด้วย กับการแก้ไขเพิ่มเติมครั้งนี้เกินกว่าอยู่แล้ว

แต่เมื่อผ่านวาระที่ สามไปแล้ว ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกวุฒิสภาสรรหาคงต้องนำส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่า ขัดกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ว่าด้วยญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐหรือไม่

หากศาลรัฐธรรมนูญเห็นด้วยตามที่พรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกวุฒิสภานำเสนอให้พิจารณา ก็เป็นอันว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต้องตกไป

แต่ หากศาลรัฐธรรมนูญไม่รับพิจารณา ร่างรัฐธรรมนูญก็เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนด ซึ่งเชื่อว่าหากเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนด นับจากนี้ไปอีกอย่างน้อย 20 วัน และภายในไม่เกิน 90 วันนับจากที่นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่มาของสมาชิกวุฒิสภา น่าจะนำมาใช้ได้ทันทีเมื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดนี้พ้นวาระ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2557

เมื่อเป็นเช่นนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ชุดใหม่) จะกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่ 200 คน ได้ภายในไม่เกินเดือนเมษายน พฤษภาคมปีหน้า

ผลการเลือกตั้งสมาชิก วุฒิสภาชุดที่สามจะเป็นอย่างไร ขึ้นกับเสียงของพี่น้องคนไทยทั้งผู้ที่เรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภามาจากการ เลือกตั้งทั้งหมด ทั้งผู้ที่ต้องการให้สมาชิกวุฒิสภาส่วนหนึ่งมาจากการสรรหา

โดยเฉพาะเสียงที่นินทากันว่า "สภาผัวเมีย" จะมีโอกาสเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ขอฝากให้คิด

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1380276965&grpid=&catid=02&subcatid=0207 (ขนาดไฟล์: 167)

มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ก.ย.56

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 28/09/2556 เวลา 02:35:42

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

วันที่ 28 กันยายน ที่ประชุมรัฐสภาจะมีการลงคะแนนเสียงวาระที่สาม การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 291 กรณีที่มาของวุฒิสมาชิก หลังผ่านวาระที่สองแล้วให้รอไว้ 15 วัน ตั้งแต่วันที่ 13-27 กันยายน การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สาม ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่า กึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา การออก เสียงในวาระที่สามครั้งนี้ ไม่น่ามีปัญหา เนื่องจากไม่ต้องมีการอภิปราย เว้นแต่อาจให้มีการนับองค์ประชุมที่ต้องครบ และการออกเสียงต้องมีคะแนนเห็นชอบเกินกว่ากึ่งหนึ่ง การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจึงผ่านวาระนี้ได้ เมื่อผ่านวาระที่สามไปแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ ให้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย โดยให้นำบทบัญญัติมาตรา 150 และ 151 มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมาย ความว่า ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายภายใน 20 วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภา เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ หาก พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้า รัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิก ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็น กฎหมายเสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว แน่นอน ว่า ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในวาระที่สามควรจะผ่านจากสมาชิกทั้งสองสภาด้วย เสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่ง เพราะเสียงของสมาชิกฝ่ายรัฐบาลกับเสียงของสมาชิกวุฒิสภาบางส่วนที่เห็นด้วย กับการแก้ไขเพิ่มเติมครั้งนี้เกินกว่าอยู่แล้ว แต่เมื่อผ่านวาระที่ สามไปแล้ว ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกวุฒิสภาสรรหาคงต้องนำส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่า ขัดกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ว่าด้วยญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐหรือไม่ หากศาลรัฐธรรมนูญเห็นด้วยตามที่พรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกวุฒิสภานำเสนอให้พิจารณา ก็เป็นอันว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต้องตกไป แต่ หากศาลรัฐธรรมนูญไม่รับพิจารณา ร่างรัฐธรรมนูญก็เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนด ซึ่งเชื่อว่าหากเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนด นับจากนี้ไปอีกอย่างน้อย 20 วัน และภายในไม่เกิน 90 วันนับจากที่นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่มาของสมาชิกวุฒิสภา น่าจะนำมาใช้ได้ทันทีเมื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดนี้พ้นวาระ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2557 เมื่อเป็นเช่นนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ชุดใหม่) จะกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่ 200 คน ได้ภายในไม่เกินเดือนเมษายน พฤษภาคมปีหน้า ผลการเลือกตั้งสมาชิก วุฒิสภาชุดที่สามจะเป็นอย่างไร ขึ้นกับเสียงของพี่น้องคนไทยทั้งผู้ที่เรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภามาจากการ เลือกตั้งทั้งหมด ทั้งผู้ที่ต้องการให้สมาชิกวุฒิสภาส่วนหนึ่งมาจากการสรรหา โดยเฉพาะเสียงที่นินทากันว่า "สภาผัวเมีย" จะมีโอกาสเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ขอฝากให้คิด ขอบคุณ … http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1380276965&grpid=&catid=02&subcatid=0207 มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...