ลุ้นระทึก "พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน" ฝ่าด่านสุดท้าย...ศาลรัฐธรรมนูญ

แสดงความคิดเห็น

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

ด่านต่อไปของร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม และขนส่งของประเทศ พ.ศ. ...หรือ พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท ตามปฏิทินที่รัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" และพรรคเพื่อไทยวางไว้ว่า หลังได้รับการเห็นชอบจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร จะเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภา (ส.ว.) โดยให้เวลา ส.ว.ปรับแก้บวก-ลบไม่เกิน 60 วัน หรือไม่เกิน 2 เดือน

เป็น การคาดหมายในมุมบวกว่า หาก ส.ว.ไม่ได้แก้ไขเนื้อในร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้านมากจนเกินไป การผลักดันร่างกฎหมายดังกล่าวจะแล้วเสร็จทั้งกระบวนการ และสามารถประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ได้ภายในเดือนพฤศจิกายน นี้ แต่หากแก้ไขหลายมาตราก็จะบังคับใช้ภายในเดือนธันวาคม

ปชป.เอาแน่ยื่นศาล รธน.ตีความ

แต่ สมมติฐานข้างต้น รัฐบาลมิได้นำปัจจัยที่ฝ่ายตรงข้ามอย่าง "พรรคประชาธิปัตย์" เตรียมนำร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้านยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 หรือไม่ เนื่อง จากฝ่ายค้านตั้งธงไว้แต่ต้นว่า หากร่างกฎหมายดังกล่าวผ่านกระบวนการรัฐสภา ขั้นต่อไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญทันที เพราะมองว่าโครงการ 2 ล้านล้าน สามารถใช้จ่ายได้ตาม งบประมาณปกติ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินผ่าน พ.ร.บ.เงินกู้

ดัง เช่น "กรณ์ จาติกวณิช" รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่า ไม่ควรทำอะไรล่อแหลมต่อการขัดต่อรัฐธรรมนูญ และเพื่อให้เกิดความโปร่งใสตรวจสอบได้ รัฐบาลควรหันกลับไปใช้เงินงบประมาณ โดยรัฐบาลสามารถเสนองบประมาณกลางปีเข้ามา ตามวงเงินที่จำเป็นต้องใช้ในปีงบประมาณ 2557 อาจ จะของบประมาณเพิ่มเติมจากงบประมาณประจำปีอีก 1.2 แสนล้านบาท รัฐบาลมีเสียงท่วมท้นในสภา วิธีนี้สามารถมีเงินให้คมนาคมเบิกจ่ายได้ตามแผนงานเมื่อถึงปี 2558 ก็ยังสามารถกู้ยืมระบบงบประมาณได้อีก พูดง่าย ๆ ทุกโครงการเดินหน้าได้

พ.ร.บ. 2 ล้านล้านต้องลุ้นอีกยาว

สอดคล้องกับหัวขบวน 40 ส.ว.อย่าง "คำนูณ สิทธิสมาน" ส.ว.สรรหา ที่มองว่าร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 แน่นอน เพราะในรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 ระบุว่า การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบ ประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ หรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนรัฐบาลจะจ่ายไปก่อนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ กรณีเช่นว่านี้ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายชดใช้เงินคงคลังในพระราชบัญญัติโอน เงินงบประมาณรายจ่าย พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณถัดไป ทั้งนี้ ให้กำหนดแหล่งที่มาของรายได้เพื่อชดใช้รายจ่ายที่ได้ใช้เงินคงคลังจ่ายไปก่อนแล้วด้วย

"การ จ่ายเงินแผ่นดินออกไปจะจ่ายโดยกฎหมายฉบับอื่นไม่ได้เลย ต้องอาศัยอำนาจตามกฎหมาย 4 ฉบับนี้เท่านั้น กฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทไม่ได้เป็นไปตามกฎหมาย 4 ฉบับอย่างไรก็ขัด"

ทั้ง ปฏิกิริยาจากพรรคประชาธิปัตย์ และปฏิกิริยาจาก ส.ว.สรรหา สอดคล้องกัน ดังนั้น แม้ร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้านจะผ่านรัฐสภา รัฐบาลยังต้องลุ้นอีกยาวว่าจะฝ่าด่านศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่

โฟกัสด่านหินศาล รธน.

หากมองในองคาพยพของศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีหน้าที่ชี้ขาดว่าร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้านจะขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้นใน เวลานี้ แม้การลาออกของ "วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์" จากการเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะทำให้รัฐบาลและพรรคเพื่อไทยหายใจหายคอโล่งขึ้นบ้าง เพราะ "วสันต์" ถูกพรรคเพื่อไทยโจมตีตลอดว่าเป็นฝ่ายปฏิปักษ์กับรัฐบาล แต่ เมื่อที่ประชุมคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีองค์ประชุมประกอบด้วย 1.นายไพโรจน์ วายุภาพ ประธานศาลฎีกา เป็นประธานกรรมการสรรหา 2.นายหัสวุฒิ วิ ฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครอง 3.นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา 4.นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน และ 5.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน เป็นกรรมการสรรหาได้ มีมติ 4 ต่อ 1 เลือก "ศ.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ" ศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ อาจทำให้รัฐบาล ต้องลุ้นหนักกว่ายุคที่ศาลรัฐธรรมนูญมี "วสันต์" เป็น 1 ใน 9 องค์คณะตุลาการ

เพราะ "ศ.ทวีเกียรติ" เป็นหนึ่งในสมาชิก "กลุ่มสยามประชาภิวัฒน์" อันประกอบด้วย อาจารย์ 5 สถาบัน คือ 1.สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 2.ม.สุโขทัยธรรมาธิราช 3.ม.ธรรมศาสตร์ 4.ม.รังสิต และ 5.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งถูกมองว่าเป็นการรวมกลุ่มของนักวิชาการที่ยืน อยู่ฝ่ายตรงข้าม "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร"

นัก วิชาการรัฐศาสตร์บางคนจึงวิเคราะห์ว่า การที่ ศ.ทวีเกียรติ ได้รับเลือกเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ไม่ได้เป็นผลดีต่อรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" เพราะ "ศ.ทวีเกียรติ" มีแนวคิดคนละฟากกับรัฐบาล ต่างจากนายวสันต์แม้จะถูกมองว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล แต่การลงมติของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา หลายครั้งนายวสันต์เป็นเสียงข้างน้อยที่เห็นตรงกับพรรคเพื่อไทย

ชี้ช่องโหว่ปมข้อกฎหมาย

ล่า สุด "วสันต์" ชี้จุดโหว่-ส่งสัญญาณเตือน ผ่านเวทีสัมมนา "ระบบนิติรัฐกับทางออกของประเทศไทย" โดยฟันธงว่า การเดินหน้าร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน สุ่มเสี่ยงขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 169

"โครงการ รถไฟความเร็วสูงที่จะกู้เงินตาม พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ถามว่าจะทำรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ต้องขุดลงใต้ดินผ่านอุทยานฯ ป่าสงวนฯ ชุมชนไหนบ้าง รัฐก็ตอบไม่ได้ พูดอย่างเดียวจะเอาเงินกู้โดยการกู้เงินเอามาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รัฐระบุเป็นโครงการ 7 ปี เฉลี่ยรายปีต้องใช้งบฯ ปีละ 3 แสนล้านบาท ทำไมไม่กู้ผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณฯ คำตอบคือ ถ้าทำตาม พ.ร.บ.งบประมาณฯ การยื่นคำขอในแต่ละปีต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจน ถูกตรวจสอบได้ง่าย จึงเลี่ยงจะถูกตรวจสอบ ถือว่าขัดรัฐธรรมนูญตามมาตรา 169 ถ้าเรื่องนี้ผ่านไปได้ ต่อไปรัฐบาลจะไม่เลือกใช้การกู้ผ่านวิธีการงบประมาณแล้ว"

นับจากนี้ ไม่ว่ารัฐบาล "ยิ่งลักษณ์" และพรรคเพื่อไทยจะอ้างว่า การเบิกจ่ายและใช้เงินกู้ตามร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท

ไม่ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 เพราะเงินกู้ดังกล่าวแยกจากกฎหมายเงินคงคลังและงบประมาณ ไม่เกี่ยวกับเงินงบประมาณแผ่นดิน 4 ฉบับที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และ ในอดีตก็มีกฎหมายว่าด้วยการให้อำนาจกู้เงินเพื่อใช้เฉพาะด้าน มีนิติวิธีการบัญญัติอนุญาตให้ไม่ต้องนำเงินที่ได้มาจากการกู้นี้ส่งคลังก็ ตาม แต่บรรทัดสุดท้ายร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน ต้องลุ้นกันยาว ๆ ที่ศาลรัฐธรรมนูญอยู่ดี

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1379926831 (ขนาดไฟล์: 143)

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ก.ย.56

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 24/09/2556 เวลา 03:51:19 ดูภาพสไลด์โชว์ ลุ้นระทึก "พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน" ฝ่าด่านสุดท้าย...ศาลรัฐธรรมนูญ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ด่านต่อไปของร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม และขนส่งของประเทศ พ.ศ. ...หรือ พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท ตามปฏิทินที่รัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" และพรรคเพื่อไทยวางไว้ว่า หลังได้รับการเห็นชอบจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร จะเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภา (ส.ว.) โดยให้เวลา ส.ว.ปรับแก้บวก-ลบไม่เกิน 60 วัน หรือไม่เกิน 2 เดือน เป็น การคาดหมายในมุมบวกว่า หาก ส.ว.ไม่ได้แก้ไขเนื้อในร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้านมากจนเกินไป การผลักดันร่างกฎหมายดังกล่าวจะแล้วเสร็จทั้งกระบวนการ และสามารถประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ได้ภายในเดือนพฤศจิกายน นี้ แต่หากแก้ไขหลายมาตราก็จะบังคับใช้ภายในเดือนธันวาคม ปชป.เอาแน่ยื่นศาล รธน.ตีความ แต่ สมมติฐานข้างต้น รัฐบาลมิได้นำปัจจัยที่ฝ่ายตรงข้ามอย่าง "พรรคประชาธิปัตย์" เตรียมนำร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้านยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 หรือไม่ เนื่อง จากฝ่ายค้านตั้งธงไว้แต่ต้นว่า หากร่างกฎหมายดังกล่าวผ่านกระบวนการรัฐสภา ขั้นต่อไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญทันที เพราะมองว่าโครงการ 2 ล้านล้าน สามารถใช้จ่ายได้ตาม งบประมาณปกติ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินผ่าน พ.ร.บ.เงินกู้ ดัง เช่น "กรณ์ จาติกวณิช" รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่า ไม่ควรทำอะไรล่อแหลมต่อการขัดต่อรัฐธรรมนูญ และเพื่อให้เกิดความโปร่งใสตรวจสอบได้ รัฐบาลควรหันกลับไปใช้เงินงบประมาณ โดยรัฐบาลสามารถเสนองบประมาณกลางปีเข้ามา ตามวงเงินที่จำเป็นต้องใช้ในปีงบประมาณ 2557 อาจ จะของบประมาณเพิ่มเติมจากงบประมาณประจำปีอีก 1.2 แสนล้านบาท รัฐบาลมีเสียงท่วมท้นในสภา วิธีนี้สามารถมีเงินให้คมนาคมเบิกจ่ายได้ตามแผนงานเมื่อถึงปี 2558 ก็ยังสามารถกู้ยืมระบบงบประมาณได้อีก พูดง่าย ๆ ทุกโครงการเดินหน้าได้ พ.ร.บ. 2 ล้านล้านต้องลุ้นอีกยาว สอดคล้องกับหัวขบวน 40 ส.ว.อย่าง "คำนูณ สิทธิสมาน" ส.ว.สรรหา ที่มองว่าร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 แน่นอน เพราะในรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 ระบุว่า การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบ ประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ หรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนรัฐบาลจะจ่ายไปก่อนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ กรณีเช่นว่านี้ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายชดใช้เงินคงคลังในพระราชบัญญัติโอน เงินงบประมาณรายจ่าย พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณถัดไป ทั้งนี้ ให้กำหนดแหล่งที่มาของรายได้เพื่อชดใช้รายจ่ายที่ได้ใช้เงินคงคลังจ่ายไปก่อนแล้วด้วย "การ จ่ายเงินแผ่นดินออกไปจะจ่ายโดยกฎหมายฉบับอื่นไม่ได้เลย ต้องอาศัยอำนาจตามกฎหมาย 4 ฉบับนี้เท่านั้น กฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทไม่ได้เป็นไปตามกฎหมาย 4 ฉบับอย่างไรก็ขัด" ทั้ง ปฏิกิริยาจากพรรคประชาธิปัตย์ และปฏิกิริยาจาก ส.ว.สรรหา สอดคล้องกัน ดังนั้น แม้ร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้านจะผ่านรัฐสภา รัฐบาลยังต้องลุ้นอีกยาวว่าจะฝ่าด่านศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ โฟกัสด่านหินศาล รธน. หากมองในองคาพยพของศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีหน้าที่ชี้ขาดว่าร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้านจะขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้นใน เวลานี้ แม้การลาออกของ "วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์" จากการเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะทำให้รัฐบาลและพรรคเพื่อไทยหายใจหายคอโล่งขึ้นบ้าง เพราะ "วสันต์" ถูกพรรคเพื่อไทยโจมตีตลอดว่าเป็นฝ่ายปฏิปักษ์กับรัฐบาล แต่ เมื่อที่ประชุมคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีองค์ประชุมประกอบด้วย 1.นายไพโรจน์ วายุภาพ ประธานศาลฎีกา เป็นประธานกรรมการสรรหา 2.นายหัสวุฒิ วิ ฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครอง 3.นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา 4.นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน และ 5.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน เป็นกรรมการสรรหาได้ มีมติ 4 ต่อ 1 เลือก "ศ.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ" ศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ อาจทำให้รัฐบาล ต้องลุ้นหนักกว่ายุคที่ศาลรัฐธรรมนูญมี "วสันต์" เป็น 1 ใน 9 องค์คณะตุลาการ เพราะ "ศ.ทวีเกียรติ" เป็นหนึ่งในสมาชิก "กลุ่มสยามประชาภิวัฒน์" อันประกอบด้วย อาจารย์ 5 สถาบัน คือ 1.สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 2.ม.สุโขทัยธรรมาธิราช 3.ม.ธรรมศาสตร์ 4.ม.รังสิต และ 5.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งถูกมองว่าเป็นการรวมกลุ่มของนักวิชาการที่ยืน อยู่ฝ่ายตรงข้าม "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" นัก วิชาการรัฐศาสตร์บางคนจึงวิเคราะห์ว่า การที่ ศ.ทวีเกียรติ ได้รับเลือกเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ไม่ได้เป็นผลดีต่อรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" เพราะ "ศ.ทวีเกียรติ" มีแนวคิดคนละฟากกับรัฐบาล ต่างจากนายวสันต์แม้จะถูกมองว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล แต่การลงมติของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา หลายครั้งนายวสันต์เป็นเสียงข้างน้อยที่เห็นตรงกับพรรคเพื่อไทย ชี้ช่องโหว่ปมข้อกฎหมาย ล่า สุด "วสันต์" ชี้จุดโหว่-ส่งสัญญาณเตือน ผ่านเวทีสัมมนา "ระบบนิติรัฐกับทางออกของประเทศไทย" โดยฟันธงว่า การเดินหน้าร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน สุ่มเสี่ยงขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 "โครงการ รถไฟความเร็วสูงที่จะกู้เงินตาม พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ถามว่าจะทำรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ต้องขุดลงใต้ดินผ่านอุทยานฯ ป่าสงวนฯ ชุมชนไหนบ้าง รัฐก็ตอบไม่ได้ พูดอย่างเดียวจะเอาเงินกู้โดยการกู้เงินเอามาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รัฐระบุเป็นโครงการ 7 ปี เฉลี่ยรายปีต้องใช้งบฯ ปีละ 3 แสนล้านบาท ทำไมไม่กู้ผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณฯ คำตอบคือ ถ้าทำตาม พ.ร.บ.งบประมาณฯ การยื่นคำขอในแต่ละปีต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจน ถูกตรวจสอบได้ง่าย จึงเลี่ยงจะถูกตรวจสอบ ถือว่าขัดรัฐธรรมนูญตามมาตรา 169 ถ้าเรื่องนี้ผ่านไปได้ ต่อไปรัฐบาลจะไม่เลือกใช้การกู้ผ่านวิธีการงบประมาณแล้ว" นับจากนี้ ไม่ว่ารัฐบาล "ยิ่งลักษณ์" และพรรคเพื่อไทยจะอ้างว่า การเบิกจ่ายและใช้เงินกู้ตามร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท ไม่ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 เพราะเงินกู้ดังกล่าวแยกจากกฎหมายเงินคงคลังและงบประมาณ ไม่เกี่ยวกับเงินงบประมาณแผ่นดิน 4 ฉบับที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และ ในอดีตก็มีกฎหมายว่าด้วยการให้อำนาจกู้เงินเพื่อใช้เฉพาะด้าน มีนิติวิธีการบัญญัติอนุญาตให้ไม่ต้องนำเงินที่ได้มาจากการกู้นี้ส่งคลังก็ ตาม แต่บรรทัดสุดท้ายร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน ต้องลุ้นกันยาว ๆ ที่ศาลรัฐธรรมนูญอยู่ดี ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1379926831 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...