กระแสโลกถึงไทย ตรา"กฎหมายคู่ชีวิต"

แสดงความคิดเห็น

กระแสโลกถึงไทย ตรา"กฎหมายคู่ชีวิต"

กระแสการเรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศยังเป็นประเด็นอย่างต่อเนื่อง

หลัง จากที่หลายประเทศเริ่มอนุมัติการสมรสของชาวเกย์และเลสเบี้ยนตามที่เป็นข่าว ให้ชาวไทยได้เห็นผ่านตากันบ้าง ก็ถึงตาประเทศไทยแล้วที่จะเดินหน้าสู่สิทธิการสมรสของคนเพศเดียวกัน โดยคณะกรรมาธิการการกฎหมายยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนของรัฐสภาไทยเปิดเผยใน ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า จะเสนอร่าง "กฎหมายคู่ชีวิต" สำหรับคนเพศเดียวกันให้สภาพิจารณาเร็วๆ นี้

ร่าง กฎหมายดังกล่าวจะให้สิทธิคู่ชีวิตอย่างเท่าเทียมโดยไม่จำกัดทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิตัดสินใจทางการแพทย์ในกรณีคู่ชีวิตป่วยไข้ สิทธิการรับศพ สิทธิจัดการทรัพย์สิน ต่างจากที่ผ่านมา คู่ชีวิตที่เป็นเพศเดียวกัน จะไม่ได้สิทธิเหล่านี้เพราะกฎหมายไม่รองรับ

ถึงแม้ร่างกฎหมายดัง กล่าวจะไม่ใช่กฎหมายสมรสเพศเดียวกัน (gay marriage) เหมือนอย่างในบางประเทศและสหรัฐอเมริกาบางรัฐ โดยจะเป็นเพียงกฎหมายรับรองคู่ชีวิต หรือที่เรียกว่า civil partnership เท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติหลายๆ อย่างก็ใกล้เคียงการสมรสอย่างสมบูรณ์

ความคืบหน้านี้ทำให้นักวิเคราะห์พากันจับตาดูว่า ไทย จะเป็นชาติแรกในอาเซียนที่รับรองสิทธิคู่ชีวิตของคนเพศเดียวกันหรือไม่

ป ระเทศไทยมีชื่อเสียงว่า ไม่เคร่งครัดหรือต่อต้านความหลากหลายทางเพศ ดังที่เห็นได้จากการมีอยู่ของทั้งเกย์คิง เกย์ควีน กะเทย ทอม ดี้ ฯลฯ ในสังคมไทย โดยเฉพาะกะเทย หรือ "สาวประเภทสอง" เป็นที่รู้จักของคน ทั่วโลก

ต่าง จากในหลายประเทศทั่วโลก ที่มีขบวน การต่อต้านชาวเกย์อย่างจริงจัง เช่น ที่โด่งดังอยู่ขณะนี้คือรัสเซีย ซึ่งเพิ่งผ่านกฎหมายห้ามนำเสนอข่าวเกี่ยวกับชาวเกย์ในเชิงบวก และ มีเหตุการณ์ทำร้ายหรือฆาตกรรมชาวเกย์เกิดขึ้นบ่อยครั้งด้วย

สำหรับใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลายประเทศมีลักษณะอนุรักษนิยมหรือเคร่งศาสนา ทำให้ชุมชนของชาว "LGBT" จึงมีลักษณะไม่เปิดเผยตัวเองมากนัก หรือไม่ค่อยมีความคืบหน้าด้านความเท่าเทียมในกฎหมาย เช่นในพม่า กัมพูชา หรือฟิลิปปินส์ ซึ่งนิกายคาทอลิกยังมีอิทธิพลสูง

ขณะเดียวกัน ประเทศมุสลิมในอาเซียนอย่างอินโดนีเซียและมาเลเซียก็ไม่เปิดกว้างนักต่อชาว เกย์หรือเลสเบี้ยน โดยมาเลเซียมีกฎหมายห้ามการร่วมเพศของคนเพศเดียวกันตามหลักศาสนาอิสลาม ซึ่งกำหนดโทษไว้ที่ปรับเงิน 5,000 ริงกิต จำคุก 3 ปี โบยตี 6 ที หรือทั้งจำทั้งปรับทั้งโบย

แม้แต่ อันวาร์ อิบราฮิม ผู้นำฝ่ายค้านมาเลเซียชื่อดัง ก็ยังเคยถูกดำเนินคดีในข้อหานี้มาแล้ว (แต่ศาลยกฟ้อง)

ด้าน อินโดนีเซียก็กำลังอยู่ภายใต้บรรยา กาศการผงาดขึ้นของกลุ่มอิสลามสายเคร่งต่างๆ ที่มีท่าทีต่อต้านชาวเกย์มากขึ้น ซึ่งผลสำรวจความคิดเห็นสำนักหนึ่งระบุว่า ชาวอิเหนากว่าร้อยละ 90 มองว่าการรักเพศเดียวกันเป็นสิ่งไม่เหมาะสม

ทั้ง นี้ สิงคโปร์มีชื่อเสียงด้านความเคลื่อนไหวของกลุ่ม LGBT โดยในแต่ละปีจะมีกิจกรรมแสดงพลังชื่อ "ชุมนุมสีชมพู" ที่ชาวเกย์ เลสเบี้ยน สตรีข้ามเพศ ฯลฯ มารวมตัวกันนับหมื่นชีวิต อีกทั้งรัฐบาลสิงคโปร์อนุญาตการชุมนุมดังกล่าว จากที่ปกติจะเข้มงวดเรื่องการเดินขบวนหรือชุมนุมในประเด็นอื่นๆ

แต่ สิงคโปร์เองยังมีกฎหมายห้ามการร่วมเพศของคนเพศเดียวกันเหมือนมาเลเซีย และยังมีกระแสเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมาย ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

นอก จากไทยแล้ว อีก "ม้ามืด" ทางด้านสิทธิ LGBT คือ เวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์อย่างเคร่งครัด มีการปราบปรามสิทธิเสรีภาพบ่อยครั้ง แต่กลับค่อนข้างเปิดกว้างทางด้านความหลากหลายทางเพศ โดยมีการจัดกิจกรรม "เกย์ ไพรด์ พาเหรด" ในแต่ละปี และมีการเสนอกฎหมายคู่ชีวิตของคนเพศเดียวกันเหมือนอย่างในประเทศไทยด้วย

ความเคลื่อนไหวประเด็น LGBT ในอาเซียน จึงเข้มข้นและหลากมิติ ไม่แพ้ภูมิภาคอื่นๆ ของโลก

ทั้งนี้ มีรายงานว่าบรรยากาศความเปิดกว้างต่อชาว LGBT ในสังคมไทย เป็นประโยชน์มหาศาลต่อการท่องเที่ยวของไทยด้วย

หนังสือ พิมพ์นิวยอร์กไทมส์ระบุว่า ประเทศไทยเป็นชาติที่ชาวเกย์ในหลายประเทศชื่นชอบมาเที่ยวเป็นอันดับต้นๆ มากกว่าสหรัฐอเมริกาหรืออาร์เจนตินาเสียอีก เพราะรู้สึกว่าปลอดภัยจากกระแสต่อต้าน ชาวเกย์แบบในประเทศอื่นๆ

รายงานดังกล่าวประเมินว่า การท่องเที่ยวของชาวเกย์ในไทยตลอดช่วงปี 2555 ได้สร้างเม็ดเงินประมาณ 48,000 ล้านบาท

ด้าน องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ก็โปรโมตความได้เปรียบของไทยนี้ ผ่านแคมเปญ "Go Thai, Be Free" ที่โฆษณาเชิญชวนให้ชาวต่างชาติเกย์และเลสเบี้ยนเดินทางมาเที่ยวประเทศไทย ซึ่งก็ประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง

ขณะเดียวกัน เมื่อวันวาเลนไทน์ปีที่ผ่านมา ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้เปิดช่องตรวจคนเข้าเมืองพิเศษสำหรับคู่รักและคู่ แต่งงานต่างชาติ ซึ่งก็ครอบคลุมถึงคู่รักเพศเดียวกันด้วย สร้างความปลื้มใจให้แก่นักท่องเที่ยว LGBT จำนวนมาก

ต้องรอดูว่า กฎหมายคู่ชีวิตของคนเพศเดียวกันจะผ่านการรับรองจากรัฐสภาไทยหรือไม่

เชื่อ ได้ว่า ถึงแม้รัฐสภาไทยจะแบ่งเป็น 2 ขั้วตรงข้ามในประเด็นร้อนอย่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 หรือพ.ร.บ.กู้ยืม 2 ล้านล้านบาท แต่ประเด็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานอย่างกฎหมายคู่ชีวิตข้างต้น น่าจะได้รับการสนับสนุนจากตัวแทนประชาชนจากทั้งสองฝ่ายในสภา

ขอบคุณ http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09UYzRPRFl3Tnc9PQ==&sectionid= (ขนาดไฟล์: 167)

ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ก.ย.56

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 22/09/2556 เวลา 03:09:06 ดูภาพสไลด์โชว์ กระแสโลกถึงไทย ตรา"กฎหมายคู่ชีวิต"

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กระแสโลกถึงไทย ตรา\"กฎหมายคู่ชีวิต\" กระแสการเรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศยังเป็นประเด็นอย่างต่อเนื่อง หลัง จากที่หลายประเทศเริ่มอนุมัติการสมรสของชาวเกย์และเลสเบี้ยนตามที่เป็นข่าว ให้ชาวไทยได้เห็นผ่านตากันบ้าง ก็ถึงตาประเทศไทยแล้วที่จะเดินหน้าสู่สิทธิการสมรสของคนเพศเดียวกัน โดยคณะกรรมาธิการการกฎหมายยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนของรัฐสภาไทยเปิดเผยใน ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า จะเสนอร่าง "กฎหมายคู่ชีวิต" สำหรับคนเพศเดียวกันให้สภาพิจารณาเร็วๆ นี้ ร่าง กฎหมายดังกล่าวจะให้สิทธิคู่ชีวิตอย่างเท่าเทียมโดยไม่จำกัดทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิตัดสินใจทางการแพทย์ในกรณีคู่ชีวิตป่วยไข้ สิทธิการรับศพ สิทธิจัดการทรัพย์สิน ต่างจากที่ผ่านมา คู่ชีวิตที่เป็นเพศเดียวกัน จะไม่ได้สิทธิเหล่านี้เพราะกฎหมายไม่รองรับ ถึงแม้ร่างกฎหมายดัง กล่าวจะไม่ใช่กฎหมายสมรสเพศเดียวกัน (gay marriage) เหมือนอย่างในบางประเทศและสหรัฐอเมริกาบางรัฐ โดยจะเป็นเพียงกฎหมายรับรองคู่ชีวิต หรือที่เรียกว่า civil partnership เท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติหลายๆ อย่างก็ใกล้เคียงการสมรสอย่างสมบูรณ์ ความคืบหน้านี้ทำให้นักวิเคราะห์พากันจับตาดูว่า ไทย จะเป็นชาติแรกในอาเซียนที่รับรองสิทธิคู่ชีวิตของคนเพศเดียวกันหรือไม่ ป ระเทศไทยมีชื่อเสียงว่า ไม่เคร่งครัดหรือต่อต้านความหลากหลายทางเพศ ดังที่เห็นได้จากการมีอยู่ของทั้งเกย์คิง เกย์ควีน กะเทย ทอม ดี้ ฯลฯ ในสังคมไทย โดยเฉพาะกะเทย หรือ "สาวประเภทสอง" เป็นที่รู้จักของคน ทั่วโลก ต่าง จากในหลายประเทศทั่วโลก ที่มีขบวน การต่อต้านชาวเกย์อย่างจริงจัง เช่น ที่โด่งดังอยู่ขณะนี้คือรัสเซีย ซึ่งเพิ่งผ่านกฎหมายห้ามนำเสนอข่าวเกี่ยวกับชาวเกย์ในเชิงบวก และ มีเหตุการณ์ทำร้ายหรือฆาตกรรมชาวเกย์เกิดขึ้นบ่อยครั้งด้วย สำหรับใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลายประเทศมีลักษณะอนุรักษนิยมหรือเคร่งศาสนา ทำให้ชุมชนของชาว "LGBT" จึงมีลักษณะไม่เปิดเผยตัวเองมากนัก หรือไม่ค่อยมีความคืบหน้าด้านความเท่าเทียมในกฎหมาย เช่นในพม่า กัมพูชา หรือฟิลิปปินส์ ซึ่งนิกายคาทอลิกยังมีอิทธิพลสูง ขณะเดียวกัน ประเทศมุสลิมในอาเซียนอย่างอินโดนีเซียและมาเลเซียก็ไม่เปิดกว้างนักต่อชาว เกย์หรือเลสเบี้ยน โดยมาเลเซียมีกฎหมายห้ามการร่วมเพศของคนเพศเดียวกันตามหลักศาสนาอิสลาม ซึ่งกำหนดโทษไว้ที่ปรับเงิน 5,000 ริงกิต จำคุก 3 ปี โบยตี 6 ที หรือทั้งจำทั้งปรับทั้งโบย แม้แต่ อันวาร์ อิบราฮิม ผู้นำฝ่ายค้านมาเลเซียชื่อดัง ก็ยังเคยถูกดำเนินคดีในข้อหานี้มาแล้ว (แต่ศาลยกฟ้อง) ด้าน อินโดนีเซียก็กำลังอยู่ภายใต้บรรยา กาศการผงาดขึ้นของกลุ่มอิสลามสายเคร่งต่างๆ ที่มีท่าทีต่อต้านชาวเกย์มากขึ้น ซึ่งผลสำรวจความคิดเห็นสำนักหนึ่งระบุว่า ชาวอิเหนากว่าร้อยละ 90 มองว่าการรักเพศเดียวกันเป็นสิ่งไม่เหมาะสม ทั้ง นี้ สิงคโปร์มีชื่อเสียงด้านความเคลื่อนไหวของกลุ่ม LGBT โดยในแต่ละปีจะมีกิจกรรมแสดงพลังชื่อ "ชุมนุมสีชมพู" ที่ชาวเกย์ เลสเบี้ยน สตรีข้ามเพศ ฯลฯ มารวมตัวกันนับหมื่นชีวิต อีกทั้งรัฐบาลสิงคโปร์อนุญาตการชุมนุมดังกล่าว จากที่ปกติจะเข้มงวดเรื่องการเดินขบวนหรือชุมนุมในประเด็นอื่นๆ แต่ สิงคโปร์เองยังมีกฎหมายห้ามการร่วมเพศของคนเพศเดียวกันเหมือนมาเลเซีย และยังมีกระแสเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมาย ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง นอก จากไทยแล้ว อีก "ม้ามืด" ทางด้านสิทธิ LGBT คือ เวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์อย่างเคร่งครัด มีการปราบปรามสิทธิเสรีภาพบ่อยครั้ง แต่กลับค่อนข้างเปิดกว้างทางด้านความหลากหลายทางเพศ โดยมีการจัดกิจกรรม "เกย์ ไพรด์ พาเหรด" ในแต่ละปี และมีการเสนอกฎหมายคู่ชีวิตของคนเพศเดียวกันเหมือนอย่างในประเทศไทยด้วย ความเคลื่อนไหวประเด็น LGBT ในอาเซียน จึงเข้มข้นและหลากมิติ ไม่แพ้ภูมิภาคอื่นๆ ของโลก ทั้งนี้ มีรายงานว่าบรรยากาศความเปิดกว้างต่อชาว LGBT ในสังคมไทย เป็นประโยชน์มหาศาลต่อการท่องเที่ยวของไทยด้วย หนังสือ พิมพ์นิวยอร์กไทมส์ระบุว่า ประเทศไทยเป็นชาติที่ชาวเกย์ในหลายประเทศชื่นชอบมาเที่ยวเป็นอันดับต้นๆ มากกว่าสหรัฐอเมริกาหรืออาร์เจนตินาเสียอีก เพราะรู้สึกว่าปลอดภัยจากกระแสต่อต้าน ชาวเกย์แบบในประเทศอื่นๆ รายงานดังกล่าวประเมินว่า การท่องเที่ยวของชาวเกย์ในไทยตลอดช่วงปี 2555 ได้สร้างเม็ดเงินประมาณ 48,000 ล้านบาท ด้าน องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ก็โปรโมตความได้เปรียบของไทยนี้ ผ่านแคมเปญ "Go Thai, Be Free" ที่โฆษณาเชิญชวนให้ชาวต่างชาติเกย์และเลสเบี้ยนเดินทางมาเที่ยวประเทศไทย ซึ่งก็ประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง ขณะเดียวกัน เมื่อวันวาเลนไทน์ปีที่ผ่านมา ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้เปิดช่องตรวจคนเข้าเมืองพิเศษสำหรับคู่รักและคู่ แต่งงานต่างชาติ ซึ่งก็ครอบคลุมถึงคู่รักเพศเดียวกันด้วย สร้างความปลื้มใจให้แก่นักท่องเที่ยว LGBT จำนวนมาก ต้องรอดูว่า กฎหมายคู่ชีวิตของคนเพศเดียวกันจะผ่านการรับรองจากรัฐสภาไทยหรือไม่ เชื่อ ได้ว่า ถึงแม้รัฐสภาไทยจะแบ่งเป็น 2 ขั้วตรงข้ามในประเด็นร้อนอย่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 หรือพ.ร.บ.กู้ยืม 2 ล้านล้านบาท แต่ประเด็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานอย่างกฎหมายคู่ชีวิตข้างต้น น่าจะได้รับการสนับสนุนจากตัวแทนประชาชนจากทั้งสองฝ่ายในสภา ขอบคุณ … http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09UYzRPRFl3Tnc9PQ==§ionid= ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...