ศาลอเมริกาตัดสิน กด “Like” คือสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก

แสดงความคิดเห็น

สัญลักษณ์ กด Like

เอเอฟพี-ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐฯประกาศ การกดปุ่ม Like บนเฟซบุ๊ก คือสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญ หลังเกิดกรณีลูกจ้างคนหนึ่งถูกไล่ออกเพราะกด “Like” สิ่งที่ขัดใจนายจ้างของเขา

เมื่อวานนี้(18)ศาลอุทธรณ์เมืองริชมอนด์ ในรัฐเวอร์จิเนีย ได้ประกาศคำตัดสินในคดีที่พนักงานประจำสำนักงานผู้ปกครองเทศมณฑลแห่งหนึ่ง อ้างว่าเขาถูกไล่ออกจากงานเนื่องจากกด “Like” พรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับเจ้านาย

“การแสดงออกของเขาจัดได้ว่าเป็นการแสดงความคิดเห็น” ศาลระบุ ในเอกสารคำพิพากษาความยาว 81 หน้า ที่ส่งกลับไปให้ศาลชั้นต้นเพื่อทบทวนคดีนี้

“กล่าวโดยสรุปคือการกด “ Like” เพจหาเสียงของ ผู้สมัครทางการเมือง คือการสื่อสารให้ทราบว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กคนนั้นให้การสนับสนุนผู้สมัครคนดังกล่าว โดยการนำตัวเองเข้าไปมีส่วนร่วม

“ดังนั้น การใช้อินเทอร์เน็ต จึงเปรียบได้กับการแสดงจุดยืนทางการเมืองในบ้านตนเอง ซึ่งศาลสูงสุดได้รับรองแล้วว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นประเภทหนึ่ง”

สหภาพเสรีภาพพลเมืองอเมริกัน(ACLU)และเฟซบุ๊ก ได้ยื่นหนังสือสนับสนุน ว่าการกด “Like” คือการแสดงออกที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ

ACLU ระบุว่าการกด “Like” บนเฟซบุ๊ก คือการสื่อสารอย่างชัดเจน ซึ่งมีคนรับรู้เป็นล้านๆคนจากผู้ใช้เฟซบุ๊กและผู้ที่ไม่ได้ใช้ มันเป็นการกระทำที่ไม่มีสิ่งใดแอบแฝง และเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ที่ได้รับการรับรองจาก รัฐธรรมนูญ ที่มาภาพ www.govloop.com

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000118385 (ขนาดไฟล์: 185)

ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.ย.56

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 20/09/2556 เวลา 03:50:04 ดูภาพสไลด์โชว์ ศาลอเมริกาตัดสิน กด “Like” คือสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สัญลักษณ์ กด Like เอเอฟพี-ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐฯประกาศ การกดปุ่ม Like บนเฟซบุ๊ก คือสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญ หลังเกิดกรณีลูกจ้างคนหนึ่งถูกไล่ออกเพราะกด “Like” สิ่งที่ขัดใจนายจ้างของเขา เมื่อวานนี้(18)ศาลอุทธรณ์เมืองริชมอนด์ ในรัฐเวอร์จิเนีย ได้ประกาศคำตัดสินในคดีที่พนักงานประจำสำนักงานผู้ปกครองเทศมณฑลแห่งหนึ่ง อ้างว่าเขาถูกไล่ออกจากงานเนื่องจากกด “Like” พรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับเจ้านาย “การแสดงออกของเขาจัดได้ว่าเป็นการแสดงความคิดเห็น” ศาลระบุ ในเอกสารคำพิพากษาความยาว 81 หน้า ที่ส่งกลับไปให้ศาลชั้นต้นเพื่อทบทวนคดีนี้ “กล่าวโดยสรุปคือการกด “ Like” เพจหาเสียงของ ผู้สมัครทางการเมือง คือการสื่อสารให้ทราบว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กคนนั้นให้การสนับสนุนผู้สมัครคนดังกล่าว โดยการนำตัวเองเข้าไปมีส่วนร่วม “ดังนั้น การใช้อินเทอร์เน็ต จึงเปรียบได้กับการแสดงจุดยืนทางการเมืองในบ้านตนเอง ซึ่งศาลสูงสุดได้รับรองแล้วว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นประเภทหนึ่ง” สหภาพเสรีภาพพลเมืองอเมริกัน(ACLU)และเฟซบุ๊ก ได้ยื่นหนังสือสนับสนุน ว่าการกด “Like” คือการแสดงออกที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ACLU ระบุว่าการกด “Like” บนเฟซบุ๊ก คือการสื่อสารอย่างชัดเจน ซึ่งมีคนรับรู้เป็นล้านๆคนจากผู้ใช้เฟซบุ๊กและผู้ที่ไม่ได้ใช้ มันเป็นการกระทำที่ไม่มีสิ่งใดแอบแฝง และเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ที่ได้รับการรับรองจาก รัฐธรรมนูญ ที่มาภาพ www.govloop.com ขอบคุณ... http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000118385 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...