ส.ว.สรรหา ซัด"นิคม" ท้าทายอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ

แสดงความคิดเห็น

เมื่อเวลา 10.00 น. ในการประชุมวุฒิสภาซึ่งมีนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา ได้หารือว่า จากการให้สัมภาษณ์ของประธานวุฒิสภาเกี่ยวกับการให้ความเห็นของศาลรัฐธรรมนูญ หากมีคำสั่งออกมาให้รัฐสภาระงับการลงมติในวาระ 3 ออกไปก่อนก็จะประสานงานให้ประธานรัฐสภาเปิดประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อยืนยัน สิทธิ์ในการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป ตนคิดว่าเป็นตรงนี้เป็นปัญหาที่จะต้องทบทวนว่าในฐานะประธานเป็นองค์กร นิติบัญญัติ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญมีอำนาจรองรับไว้ชัดเจน ถือว่าท่านท้ารบกับศาลรัฐธรรมนูญ หมายความว่าต่อไปนี้จะไม่ยอมรับ ซึ่งความจริงท่านได้ลงชื่อร่วมกับส.ส.และส.ว.จำนวน 312 คน ไม่ยอมรับคำร้องตามมาตรา 68 แล้วและครั้งนี้ก็เป็นอีกปรากฎการณ์หนึ่ง หากเป็นอย่างนี้ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม หรือร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ท่านก็ไม่ยอมรับหากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมา รวมทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ที่จะมีส.ส.ร.ก็จะไม่ยอมรับใช่หรือไม่ เพราะฉะนั้นมีโอกาสที่จะทำให้เกิดปัญหาไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน ซึ่งจะสุ่มเสี่ยงต่อการทำหน้าที่อย่างสง่างาม และสมศักดิศรี จึงขอให้ทบทวนด้วย

ด้านนายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า การที่ประธานวุฒิสภาบอกว่าอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจตุลาการไม่ควรก้าวก่าย กัน และการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐสภา รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการตรวจสอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตนเห็นด้วยครึ่งหนึ่ง เพราะในมาตรา 68 ซึ่งเป็นบทบัญญัติซึ่งคู่กับมาตรา 69 ที่มีขึ้นเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ และควรอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่18-22/2555 วันที่ 13 ก.ค. 55 โดยเฉพาะข้อความสำคัญในหน้า 23 ที่กล่าวว่า "เห็นว่าอำนาจในการก่อตั้งองค์กรสูงสุดทางการเมือง หรืออำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของประชาชนที่มาโดยตรงในการให้กำเนิดรัฐ ธรรมนูญโดยถือว่าอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญที่ก่อตั้งระบบกฎหมาย และองค์กรทั้งหลายในการใช้อำนาจทางการเมืองการปกครอง เมื่อองค์กรที่ถูกจัดตั้งมีเพียงอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญให้ไว้ และอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้องค์กรนั้นใช้อำนาจที่ได้ รับมอบหมายมาจากรัฐธรรมนูญนั่นเองกลับไปแก้รัฐธรรมนูญนั้นเหมือนการใช้อำนาจ แก้กฎหมายธรรมดา" ซึ่งเป็นการกล่าวถึงการอำนาจก่อตั้งองค์กรทางการเมือง หรืออำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญขึ้นในครั้งแรก สมัยรัชกาลที่ 5 เคยใช้คำว่าอำนาจตั้งแผ่นดิน เป็นอำนาจที่อยู่เหนืออำนาจนิติบัญญัติและอำนาจตุลาการ รัฐสภาจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราอย่างไรก็ได้ แต่ต้องไม่ไปทำลายหลักการสำคัญที่สถาปนารัฐธรรมนูญ หรืออำนาจตั้งแผ่นดินวางไว้ มาตรา 68 คือบทบัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ตรงนี้

นายคำนูณกล่าวว่า ทั้งนี้ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยอย่างไร คือการทำหน้าที่ ไม่ใช่การแทรกแซงก้าวก่าย การทำงานของรัฐสภา ซึ่งตนจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญก็เพื่อให้เกิดความชัดแจน บรรทัดฐานว่าอย่างไร แค่ไหน คือการกระทำขัดมาตรา 68 หรือคือการกระทำทำลายหลักการสำคัญของการสถาปนารัฐธรรมนูญ หรืออำนาจตั้งแผ่นดินวางไว้ ผมไม่ได้คัดค้านการให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด แต่คัดค้านการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติอาจทำให้วุฒิสภาหมดสภาพความป็นสภาตรวจสอบ สภาที่มาขององค์กรอิสระที่เป็นกลาง และสงสัยว่านี่คือการทำลายหลักการสำคัญที่อำนาจตั้งแผ่นดินวางไว้หรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอย่างไรตนเคารพและจบเพียงแค่นั้น จะไม่มีการยกพวกไปล้อมศาลรัฐธรรมนูญ

ขณะที่น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. กล่าวว่า มีเอกสารประชาสัมพันธ์ที่ลงในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาซึ่งมีรายชื่อของสมาชิกรัฐสภาจำนวน 312 คน ที่ระบุว่าไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ได้ใช้หัวเรื่อง และที่อยู่ลงท้ายว่าเป็นคณะรัฐสภา และที่อยู่รัฐสภา ซึ่งอาจสร้างความเข้าใจผิดให้ประชาชนได้ว่าเป็นสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดที่คัด ค้านอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งที่มีแค่สมาชิกบางส่วนเท่านั้น ประกอบกับที่ประธานวุฒิสภาได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าจะไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐ ธรรมนูญ จึงมองว่าเป็นการสุ่มเสี่ยงที่จะชัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 และมาตรา 123 และขอถามว่าเอกสารดังกล่าวใช้เงินของใคร รัฐสภาใช่หรือไม่ ดังนั้นจึงอยากให้มีการแก้ไขด้วย

ขอบคุณ... http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=695647&lang=T&cat=

เนชั่นแชลแนลออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ก.ย.56

ที่มา: เนชั่นแชลแนลออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 17/09/2556 เวลา 02:47:09

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เมื่อเวลา 10.00 น. ในการประชุมวุฒิสภาซึ่งมีนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา ได้หารือว่า จากการให้สัมภาษณ์ของประธานวุฒิสภาเกี่ยวกับการให้ความเห็นของศาลรัฐธรรมนูญ หากมีคำสั่งออกมาให้รัฐสภาระงับการลงมติในวาระ 3 ออกไปก่อนก็จะประสานงานให้ประธานรัฐสภาเปิดประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อยืนยัน สิทธิ์ในการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป ตนคิดว่าเป็นตรงนี้เป็นปัญหาที่จะต้องทบทวนว่าในฐานะประธานเป็นองค์กร นิติบัญญัติ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญมีอำนาจรองรับไว้ชัดเจน ถือว่าท่านท้ารบกับศาลรัฐธรรมนูญ หมายความว่าต่อไปนี้จะไม่ยอมรับ ซึ่งความจริงท่านได้ลงชื่อร่วมกับส.ส.และส.ว.จำนวน 312 คน ไม่ยอมรับคำร้องตามมาตรา 68 แล้วและครั้งนี้ก็เป็นอีกปรากฎการณ์หนึ่ง หากเป็นอย่างนี้ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม หรือร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ท่านก็ไม่ยอมรับหากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมา รวมทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ที่จะมีส.ส.ร.ก็จะไม่ยอมรับใช่หรือไม่ เพราะฉะนั้นมีโอกาสที่จะทำให้เกิดปัญหาไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน ซึ่งจะสุ่มเสี่ยงต่อการทำหน้าที่อย่างสง่างาม และสมศักดิศรี จึงขอให้ทบทวนด้วย ด้านนายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า การที่ประธานวุฒิสภาบอกว่าอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจตุลาการไม่ควรก้าวก่าย กัน และการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐสภา รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการตรวจสอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตนเห็นด้วยครึ่งหนึ่ง เพราะในมาตรา 68 ซึ่งเป็นบทบัญญัติซึ่งคู่กับมาตรา 69 ที่มีขึ้นเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ และควรอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่18-22/2555 วันที่ 13 ก.ค. 55 โดยเฉพาะข้อความสำคัญในหน้า 23 ที่กล่าวว่า "เห็นว่าอำนาจในการก่อตั้งองค์กรสูงสุดทางการเมือง หรืออำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของประชาชนที่มาโดยตรงในการให้กำเนิดรัฐ ธรรมนูญโดยถือว่าอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญที่ก่อตั้งระบบกฎหมาย และองค์กรทั้งหลายในการใช้อำนาจทางการเมืองการปกครอง เมื่อองค์กรที่ถูกจัดตั้งมีเพียงอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญให้ไว้ และอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้องค์กรนั้นใช้อำนาจที่ได้ รับมอบหมายมาจากรัฐธรรมนูญนั่นเองกลับไปแก้รัฐธรรมนูญนั้นเหมือนการใช้อำนาจ แก้กฎหมายธรรมดา" ซึ่งเป็นการกล่าวถึงการอำนาจก่อตั้งองค์กรทางการเมือง หรืออำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญขึ้นในครั้งแรก สมัยรัชกาลที่ 5 เคยใช้คำว่าอำนาจตั้งแผ่นดิน เป็นอำนาจที่อยู่เหนืออำนาจนิติบัญญัติและอำนาจตุลาการ รัฐสภาจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราอย่างไรก็ได้ แต่ต้องไม่ไปทำลายหลักการสำคัญที่สถาปนารัฐธรรมนูญ หรืออำนาจตั้งแผ่นดินวางไว้ มาตรา 68 คือบทบัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ตรงนี้ นายคำนูณกล่าวว่า ทั้งนี้ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยอย่างไร คือการทำหน้าที่ ไม่ใช่การแทรกแซงก้าวก่าย การทำงานของรัฐสภา ซึ่งตนจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญก็เพื่อให้เกิดความชัดแจน บรรทัดฐานว่าอย่างไร แค่ไหน คือการกระทำขัดมาตรา 68 หรือคือการกระทำทำลายหลักการสำคัญของการสถาปนารัฐธรรมนูญ หรืออำนาจตั้งแผ่นดินวางไว้ ผมไม่ได้คัดค้านการให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด แต่คัดค้านการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติอาจทำให้วุฒิสภาหมดสภาพความป็นสภาตรวจสอบ สภาที่มาขององค์กรอิสระที่เป็นกลาง และสงสัยว่านี่คือการทำลายหลักการสำคัญที่อำนาจตั้งแผ่นดินวางไว้หรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอย่างไรตนเคารพและจบเพียงแค่นั้น จะไม่มีการยกพวกไปล้อมศาลรัฐธรรมนูญ ขณะที่น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. กล่าวว่า มีเอกสารประชาสัมพันธ์ที่ลงในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาซึ่งมีรายชื่อของสมาชิกรัฐสภาจำนวน 312 คน ที่ระบุว่าไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ได้ใช้หัวเรื่อง และที่อยู่ลงท้ายว่าเป็นคณะรัฐสภา และที่อยู่รัฐสภา ซึ่งอาจสร้างความเข้าใจผิดให้ประชาชนได้ว่าเป็นสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดที่คัด ค้านอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งที่มีแค่สมาชิกบางส่วนเท่านั้น ประกอบกับที่ประธานวุฒิสภาได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าจะไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐ ธรรมนูญ จึงมองว่าเป็นการสุ่มเสี่ยงที่จะชัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 และมาตรา 123 และขอถามว่าเอกสารดังกล่าวใช้เงินของใคร รัฐสภาใช่หรือไม่ ดังนั้นจึงอยากให้มีการแก้ไขด้วย ขอบคุณ... http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=695647&lang=T&cat= เนชั่นแชลแนลออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...