ชำแหละ 3 ปม - รัฐบาลส่อขัดรัฐธรรมนูญ

แสดงความคิดเห็น

วันนี้การหักล้างเอาชนะกันด้วยประเด็นทางข้อกฎหมาย เป็นเรื่องแหลมคมอย่างยิ่งในการต่อสู้ทางการเมือง

ความ เห็นของนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ อดีตประธาน ศาลรัฐธรรมนูญ ที่ระบุรัฐบาลกระทำขัดรัฐธรรมนูญใน 3 เรื่อง ทั้งการไม่แถลงผลงานปีละครั้งต่อรัฐสภา การดำเนินแผนบริหารจัดการน้ำ โครงการรับจำนำข้าว

นำมาซึ่งข้อวิจารณ์ที่แตกเป็น 2 ฝ่าย ขณะที่นักกฎหมายวิเคราะห์ปมดังกล่าว ทั้งในแง่มุมกฎหมาย และผลกระทบทางการเมือง

นันทวัฒน์ บรมานันท์

คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ

บทบาท ของนายวสันต์ เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ ค่อนข้างชัดเจนว่ามีลักษณะที่มองรัฐบาลในด้านลบ อีกทั้งเมื่อลาออกจากตำแหน่งก็ยังคงแสดงความคิดในเชิงลบ ซึ่งจะทำให้สังคมเชื่อได้ว่านายวสันต์ค่อนข้างเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลชุดนี้

ตลอด เวลาที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์บริหารประเทศมา 2 ปี แทบไม่สามารถดำเนินนโยบายใดๆ ได้อย่างสะดวก เพราะถูกคัดค้านจากฝ่ายค้านหรือองค์กรอิสระตลอดเวลา อีกทั้งมีการเคลื่อนไหวนอกรัฐสภาของมวลชนที่ต่อต้านรัฐบาล

จึงคิดว่ายังไม่ถึงเวลาที่นายวสันต์จะออกมาพูดในลักษณะนี้ เพราะยิ่งจะเป็นการเพิ่มความแตกแยกให้มากขึ้นไป หรือถ้ามีความต้องการจะออกมาพูดก็ต้องแน่ใจแล้วจริงๆ ว่ารัฐบาลมีความผิดตามข้อกล่าวหา ด้วยการนำหลักฐานเอกสารต่างๆ มายืนยัน

นายวสันต์ในฐานะประชาชนมีสิทธิจะดำเนินการตรวจสอบหากพบว่ามีการกระทำผิด หรืออาจส่งข้อมูลต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ใช้กลไกตรวจสอบต่อไป เป็นสิ่งที่สามารถทำได้

แต่ต้องไม่ลืมว่า นายวสันต์เป็นบุคคลที่เวลาพูดอะไรแล้วมีคนเชื่อ มีคนรับฟัง โดยเฉพาะฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล เชื่อได้ว่าคงหยิบยกคำพูดของนายวสันต์มาใช้โจมตีรัฐบาล

การออกมาพูดบนเวทีอภิปรายในลักษณะนี้เหมือนกับเป็นการโยนระเบิดไว้ ฉะนั้นหากจะออกมาเปิดเผยว่ารัฐบาลมีความผิดต้องนำหลักฐานที่พิสูจน์ได้มา ประกอบด้วย

อีกทั้งยังจำเป็นที่ต้องใช้กระบวนการตามขั้นตอนกฎหมายเพื่อมายืนยันว่าข้อกล่าวหานั้นเป็นจริง รัฐบาลผิดจริง จึงจะเหมาะสมมากกว่า

ใน ทางกลับกัน ฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาลก็จะตั้งข้อสงสัยว่าหากนายวสันต์มีมุมมองต่อรัฐบาล เช่นนี้ แล้วครั้งที่ยังดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญจะทำหน้าที่อย่างเป็นกลาง หรือไม่ ก็จะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กร การพูดในลักษณะนี้ มีแต่เสียกับเสีย

รัฐบาล ควรออกมาชี้แจงต่อกรณีดังกล่าว ต้องหาคำตอบให้สังคมรับรู้ว่าข้อกล่าวหานั้นถูกหรือผิด ส่วนจะเชื่อหรือไม่นั้นต้องให้ประชาชนเป็นผู้พิจารณาเอง

ยุทธพร อิสรชัย

คณบดีรัฐศาสตร์ มสธ.

กรณี นี้เป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าต้องให้ทั้ง 2 ฝ่ายมีกระบวนการตรวจสอบซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจ

แต่ สภาพบังคับทางกฎหมายไม่ได้มีบทลงโทษว่าหากรัฐบาลไม่แถลงผลงานต่อรัฐสภาจะถือ ว่ามีความผิด แต่ก็ถูกตรวจสอบได้จากฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งกระทู้ถาม หรือการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

การที่นายวสันต์ออกมาแสดงความเห็นนั้นเป็นการมองตามประมวลกฎหมายอาญา แต่นี่คือการกระทำทางการเมืองถือว่าเป็นกฎหมายมหาชน

ส่วนเรื่องการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนั้น ถ้ามองในกรอบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์คือการเอาอสังหาริมทรัพย์มาครอบครอง เป็นกฎหมายเอกชน

แต่ การรับจำนำข้าวคือนโยบายทางการเมือง เป็นนโยบายที่ยึดหลักผลประโยชน์ส่วนรวมไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง วิธีการดำเนินการต่างๆ จะแตกต่างกับการดำเนินการของเอกชน เพราะฉะนั้นต้องไปดูความหมายของการรับจำนำว่าเป็นไปเพื่อธุรกิจหรือทำเพื่อ ช่วยเหลือเกษตรกร

เช่น เดียวกับโครงการบริหารน้ำ 3.5 แสนล้านบาท การกู้เงินของรัฐบาลนั้นเป็นสัญญาการกู้ทางการปกครอง ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้รับ ผิดชอบที่ต้องยึดตามกฎหมายที่เป็นประโยชน์สาธารณะ

การ ที่นายวสันต์ออกมาให้ความเห็นที่ขัดแย้งกับรัฐบาลนั้น เหมือนกับเป็นการมองแว่นคนละกรอบ การมองของนายวสันต์เป็นมุมมองของตุลาการแบบศาลรัฐธรรมนูญ

แต่มุมมองของรัฐบาลเป็นกรอบของกฎหมายมหาชน และใช้วิธีการแบบทางการปกครองเพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งจะแตกต่างกับวิธีการทางแพ่งและพาณิชย์ทั่วไป และยังมีฝ่ายนิติบัญญัติคอยตรวจสอบความโปร่งใสทุกขั้นตอนอยู่แล้ว

การ ที่นายวสันต์ออกมาโจมตีรัฐบาลเช่นนี้แล้วฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลจะหยิบยกคำพูด ดังกล่าวไปใช้ต่อสู้เชิง วาทกรรมทางการเมือง ถือเป็นเรื่องปกติของการเมืองในปัจจุบันนี้

นาย วสันต์ก็มีสิทธิ์ที่จะออกมาพูด เพราะไม่ได้อยู่ในตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือตำแหน่งที่ให้คุณให้โทษทางการเมือง พูดในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เชื่อว่าคำพูดนี้คงไม่สามารถไปจุดกระแสให้มีคนออกมาโจมตีรัฐบาลเพิ่มขึ้น

แต่รัฐบาลเองก็ต้องรับฟังและนำข้อกล่าวหานี้ไปพิจารณาว่ามีโอกาสที่จะเกิดตาม ข้อกล่าวหาหรือไม่ เหมือนเป็นการให้รัฐบาลระมัดระวังตัวเองและป้องกันไม่ให้มีการใช้กฎหมายไป ผิดทาง

พนัส ทัศนียานนท์

อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มธ.

การรายงานผลการดำเนินงาน 1 ปี คือแนวนโยบายแห่งรัฐ เป็นแนวทางของรัฐธรรมนูญไม่ได้บังคับอะไร

การไม่แถลงผลงานรอบ 1 ปี ต่อสภา หมายความว่าไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น ที่ผ่านมาหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรอิสระเช่นป.ป.ช. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนก็ไม่ได้รายงานผลการปฏิบัติงานตามเวลาพอดี บางองค์กรผ่านไป 3-4 ปี ยังไม่ได้แถลงก็มี

ซึ่ง ไม่ได้เป็นปัญหาอะไร แนวทางปฏิบัติทางการเมืองของเราเป็นแบบนี้ บางทีความล่าช้าก็อาจมีเหตุผล อาจเนื่องจากข้อมูลมีมาก ส่วนการจะยื่นถอดถอนทำได้ แต่ถ้าทำก็ต้องทำแบบเดียวกันกับองค์กรต่างๆ ที่แถลงผลงานล่าช้าเหมือนกัน

การ จะยื่นถอดถอนรัฐบาลจากเรื่องนี้ เมื่อตีความเจตนารมณ์ของการถอดถอนจะพบว่าต้องเป็นเรื่องที่ร้ายแรง การไม่แถลงผลงาน ไม่ได้หมายความว่าการบริหารราชการแผ่นดินล้มเหลว

และ หากตีความเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่บางมาตรากำหนดกรอบเวลาการทำงาน จะพบว่าเพื่อกระตุ้นให้เร่งรีบทำงาน ไม่ได้มุ่งหวังให้มีการถอดถอน ส.ว.ก็เคยมีปัญหาล่าช้าในการสรรหา กกต. ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร

ข้อคิดเห็นที่ว่าจึงเป็นเพียงการจับผิดรัฐบาลเท่านั้น เพราะใช้แค่เพียงสามัญ สำนึกก็เข้าใจได้แล้ว

ส่วนการอ้างว่ากฎหมายนิรโทษกรรมส่อขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 ที่ว่าด้วยหลักความเสมอภาค เพราะจะยกเว้นบุคคลใดบุคคลหนึ่งไม่ได้ต้องนิรโทษทั้งหมดนั้น ก็ไม่ใช่

การ นิรโทษกรรมสามารถยกเว้นบุคคลได้อยู่แล้ว เพราะตามหลักยุติธรรม ผู้ถูกลงโทษมีความผิด ซึ่งแต่ละคนมีสถานะความผิดหนัก-เบา แตกต่างกันไปตามประมวลกฎหมายอาญาที่ระบุระดับความผิด

อย่าง "พวกอั้งยี่" หัวหน้ากลุ่มโจร ก็จะโดนโทษหนัก ผู้สมรู้ร่วมคิด ผู้ร่วมขบวนการก็รับโทษคนละระดับ การกำหนดให้การนิรโทษนั้นยกเว้นบุคคลระดับแกนนำจึงเป็นสิ่งที่สามารถทำได้

หากใช้ตรรกะเหมือนที่นายวสันต์ ตีความ กฎหมายอาญาของไทยทั้งฉบับที่กำหนดบทลงโทษแตกต่างกันหลายระดับก็จะใช้ไม่ได้ จะขัดหลักความเสมอภาคกันตามรัฐธรรมนูญมาตรา 30

ขอบคุณ http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09EZ3pOREE0Tnc9PQ== (ขนาดไฟล์: 167)

ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ก.ย.56

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 11/09/2556 เวลา 04:52:37

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

วันนี้การหักล้างเอาชนะกันด้วยประเด็นทางข้อกฎหมาย เป็นเรื่องแหลมคมอย่างยิ่งในการต่อสู้ทางการเมือง ความ เห็นของนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ อดีตประธาน ศาลรัฐธรรมนูญ ที่ระบุรัฐบาลกระทำขัดรัฐธรรมนูญใน 3 เรื่อง ทั้งการไม่แถลงผลงานปีละครั้งต่อรัฐสภา การดำเนินแผนบริหารจัดการน้ำ โครงการรับจำนำข้าว นำมาซึ่งข้อวิจารณ์ที่แตกเป็น 2 ฝ่าย ขณะที่นักกฎหมายวิเคราะห์ปมดังกล่าว ทั้งในแง่มุมกฎหมาย และผลกระทบทางการเมือง นันทวัฒน์ บรมานันท์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ บทบาท ของนายวสันต์ เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ ค่อนข้างชัดเจนว่ามีลักษณะที่มองรัฐบาลในด้านลบ อีกทั้งเมื่อลาออกจากตำแหน่งก็ยังคงแสดงความคิดในเชิงลบ ซึ่งจะทำให้สังคมเชื่อได้ว่านายวสันต์ค่อนข้างเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลชุดนี้ ตลอด เวลาที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์บริหารประเทศมา 2 ปี แทบไม่สามารถดำเนินนโยบายใดๆ ได้อย่างสะดวก เพราะถูกคัดค้านจากฝ่ายค้านหรือองค์กรอิสระตลอดเวลา อีกทั้งมีการเคลื่อนไหวนอกรัฐสภาของมวลชนที่ต่อต้านรัฐบาล จึงคิดว่ายังไม่ถึงเวลาที่นายวสันต์จะออกมาพูดในลักษณะนี้ เพราะยิ่งจะเป็นการเพิ่มความแตกแยกให้มากขึ้นไป หรือถ้ามีความต้องการจะออกมาพูดก็ต้องแน่ใจแล้วจริงๆ ว่ารัฐบาลมีความผิดตามข้อกล่าวหา ด้วยการนำหลักฐานเอกสารต่างๆ มายืนยัน นายวสันต์ในฐานะประชาชนมีสิทธิจะดำเนินการตรวจสอบหากพบว่ามีการกระทำผิด หรืออาจส่งข้อมูลต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ใช้กลไกตรวจสอบต่อไป เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ แต่ต้องไม่ลืมว่า นายวสันต์เป็นบุคคลที่เวลาพูดอะไรแล้วมีคนเชื่อ มีคนรับฟัง โดยเฉพาะฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล เชื่อได้ว่าคงหยิบยกคำพูดของนายวสันต์มาใช้โจมตีรัฐบาล การออกมาพูดบนเวทีอภิปรายในลักษณะนี้เหมือนกับเป็นการโยนระเบิดไว้ ฉะนั้นหากจะออกมาเปิดเผยว่ารัฐบาลมีความผิดต้องนำหลักฐานที่พิสูจน์ได้มา ประกอบด้วย อีกทั้งยังจำเป็นที่ต้องใช้กระบวนการตามขั้นตอนกฎหมายเพื่อมายืนยันว่าข้อกล่าวหานั้นเป็นจริง รัฐบาลผิดจริง จึงจะเหมาะสมมากกว่า ใน ทางกลับกัน ฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาลก็จะตั้งข้อสงสัยว่าหากนายวสันต์มีมุมมองต่อรัฐบาล เช่นนี้ แล้วครั้งที่ยังดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญจะทำหน้าที่อย่างเป็นกลาง หรือไม่ ก็จะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กร การพูดในลักษณะนี้ มีแต่เสียกับเสีย รัฐบาล ควรออกมาชี้แจงต่อกรณีดังกล่าว ต้องหาคำตอบให้สังคมรับรู้ว่าข้อกล่าวหานั้นถูกหรือผิด ส่วนจะเชื่อหรือไม่นั้นต้องให้ประชาชนเป็นผู้พิจารณาเอง ยุทธพร อิสรชัย คณบดีรัฐศาสตร์ มสธ. กรณี นี้เป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าต้องให้ทั้ง 2 ฝ่ายมีกระบวนการตรวจสอบซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจ แต่ สภาพบังคับทางกฎหมายไม่ได้มีบทลงโทษว่าหากรัฐบาลไม่แถลงผลงานต่อรัฐสภาจะถือ ว่ามีความผิด แต่ก็ถูกตรวจสอบได้จากฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งกระทู้ถาม หรือการอภิปรายไม่ไว้วางใจ การที่นายวสันต์ออกมาแสดงความเห็นนั้นเป็นการมองตามประมวลกฎหมายอาญา แต่นี่คือการกระทำทางการเมืองถือว่าเป็นกฎหมายมหาชน ส่วนเรื่องการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนั้น ถ้ามองในกรอบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์คือการเอาอสังหาริมทรัพย์มาครอบครอง เป็นกฎหมายเอกชน แต่ การรับจำนำข้าวคือนโยบายทางการเมือง เป็นนโยบายที่ยึดหลักผลประโยชน์ส่วนรวมไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง วิธีการดำเนินการต่างๆ จะแตกต่างกับการดำเนินการของเอกชน เพราะฉะนั้นต้องไปดูความหมายของการรับจำนำว่าเป็นไปเพื่อธุรกิจหรือทำเพื่อ ช่วยเหลือเกษตรกร เช่น เดียวกับโครงการบริหารน้ำ 3.5 แสนล้านบาท การกู้เงินของรัฐบาลนั้นเป็นสัญญาการกู้ทางการปกครอง ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้รับ ผิดชอบที่ต้องยึดตามกฎหมายที่เป็นประโยชน์สาธารณะ การ ที่นายวสันต์ออกมาให้ความเห็นที่ขัดแย้งกับรัฐบาลนั้น เหมือนกับเป็นการมองแว่นคนละกรอบ การมองของนายวสันต์เป็นมุมมองของตุลาการแบบศาลรัฐธรรมนูญ แต่มุมมองของรัฐบาลเป็นกรอบของกฎหมายมหาชน และใช้วิธีการแบบทางการปกครองเพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งจะแตกต่างกับวิธีการทางแพ่งและพาณิชย์ทั่วไป และยังมีฝ่ายนิติบัญญัติคอยตรวจสอบความโปร่งใสทุกขั้นตอนอยู่แล้ว การ ที่นายวสันต์ออกมาโจมตีรัฐบาลเช่นนี้แล้วฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลจะหยิบยกคำพูด ดังกล่าวไปใช้ต่อสู้เชิง วาทกรรมทางการเมือง ถือเป็นเรื่องปกติของการเมืองในปัจจุบันนี้ นาย วสันต์ก็มีสิทธิ์ที่จะออกมาพูด เพราะไม่ได้อยู่ในตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือตำแหน่งที่ให้คุณให้โทษทางการเมือง พูดในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เชื่อว่าคำพูดนี้คงไม่สามารถไปจุดกระแสให้มีคนออกมาโจมตีรัฐบาลเพิ่มขึ้น แต่รัฐบาลเองก็ต้องรับฟังและนำข้อกล่าวหานี้ไปพิจารณาว่ามีโอกาสที่จะเกิดตาม ข้อกล่าวหาหรือไม่ เหมือนเป็นการให้รัฐบาลระมัดระวังตัวเองและป้องกันไม่ให้มีการใช้กฎหมายไป ผิดทาง พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มธ. การรายงานผลการดำเนินงาน 1 ปี คือแนวนโยบายแห่งรัฐ เป็นแนวทางของรัฐธรรมนูญไม่ได้บังคับอะไร การไม่แถลงผลงานรอบ 1 ปี ต่อสภา หมายความว่าไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น ที่ผ่านมาหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรอิสระเช่นป.ป.ช. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนก็ไม่ได้รายงานผลการปฏิบัติงานตามเวลาพอดี บางองค์กรผ่านไป 3-4 ปี ยังไม่ได้แถลงก็มี ซึ่ง ไม่ได้เป็นปัญหาอะไร แนวทางปฏิบัติทางการเมืองของเราเป็นแบบนี้ บางทีความล่าช้าก็อาจมีเหตุผล อาจเนื่องจากข้อมูลมีมาก ส่วนการจะยื่นถอดถอนทำได้ แต่ถ้าทำก็ต้องทำแบบเดียวกันกับองค์กรต่างๆ ที่แถลงผลงานล่าช้าเหมือนกัน การ จะยื่นถอดถอนรัฐบาลจากเรื่องนี้ เมื่อตีความเจตนารมณ์ของการถอดถอนจะพบว่าต้องเป็นเรื่องที่ร้ายแรง การไม่แถลงผลงาน ไม่ได้หมายความว่าการบริหารราชการแผ่นดินล้มเหลว และ หากตีความเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่บางมาตรากำหนดกรอบเวลาการทำงาน จะพบว่าเพื่อกระตุ้นให้เร่งรีบทำงาน ไม่ได้มุ่งหวังให้มีการถอดถอน ส.ว.ก็เคยมีปัญหาล่าช้าในการสรรหา กกต. ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร ข้อคิดเห็นที่ว่าจึงเป็นเพียงการจับผิดรัฐบาลเท่านั้น เพราะใช้แค่เพียงสามัญ สำนึกก็เข้าใจได้แล้ว ส่วนการอ้างว่ากฎหมายนิรโทษกรรมส่อขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 ที่ว่าด้วยหลักความเสมอภาค เพราะจะยกเว้นบุคคลใดบุคคลหนึ่งไม่ได้ต้องนิรโทษทั้งหมดนั้น ก็ไม่ใช่ การ นิรโทษกรรมสามารถยกเว้นบุคคลได้อยู่แล้ว เพราะตามหลักยุติธรรม ผู้ถูกลงโทษมีความผิด ซึ่งแต่ละคนมีสถานะความผิดหนัก-เบา แตกต่างกันไปตามประมวลกฎหมายอาญาที่ระบุระดับความผิด อย่าง "พวกอั้งยี่" หัวหน้ากลุ่มโจร ก็จะโดนโทษหนัก ผู้สมรู้ร่วมคิด ผู้ร่วมขบวนการก็รับโทษคนละระดับ การกำหนดให้การนิรโทษนั้นยกเว้นบุคคลระดับแกนนำจึงเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ หากใช้ตรรกะเหมือนที่นายวสันต์ ตีความ กฎหมายอาญาของไทยทั้งฉบับที่กำหนดบทลงโทษแตกต่างกันหลายระดับก็จะใช้ไม่ได้ จะขัดหลักความเสมอภาคกันตามรัฐธรรมนูญมาตรา 30 ขอบคุณ … http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09EZ3pOREE0Tnc9PQ== ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...