กรมคุ้มครองสิทธิฯ เผยผลดำเนินงานช่วยเหลือแพะ-เหยื่อคดีอาญากว่า 200 ล้านบาท

แสดงความคิดเห็น

พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กรมคุ้มครองสิทธิฯ เผยผลการดำเนินงานเชิงรุกยอดผู้ขอใช้สิทธิเพิ่มกว่า 9 พันราย ระบุจ่ายเงินเยียวยาเหยื่อ-แพะคดีอาญาไปแล้วกว่า 200 ล้าน

เมื่อวันที่ 7 ก.ย. พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ แถลงผลการดำเนินงานด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพว่า ในรอบ 1 ปี กรมคุ้มครองสิทธิฯ มีผลงานสำคัญในด้านการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญานั้น พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวออกมานานเป็นเวลา 12 ปีแล้ว แต่พบว่ามีผู้เสียหายและเหยื่อที่มาขอใช้สิทธิเพียง 18.08 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ทางกรมคุ้มครองสิทธิฯ จึงดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิงรุกประสานผู้เสียหายและเหยื่อ รวมทั้งประสานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อให้แต่ละสถานีตำรวจช่วยแจ้ง สิทธิรับค่าชดเชยเยียวยากับผู้เสียหายที่เข้าแจ้งความ จึงทำให้รอบปีที่ผ่านมามีผู้ยื่นคำขอใช้สิทธิ์เพิ่มขึ้นเป็น 33.37 เปอร์เซ็นต์

พ.ต.อ.ณรัชต์กล่าวว่า ในรอบปีงบประมาณจนถึงวันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมามีสถิติผู้ยื่นคำขอใช้สิทธิแล้วเกือบ 9,000 ราย คิดเป็นเงินช่วยเหลือ 228 ล้านบาท โดยแยกเป็นผู้เสียหายและเหยื่อจำนวน 8,201 ราย และจำเลยหรือแพะในคดีอาญา 715 ราย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ถือว่ากรมคุ้มครองสิทธิฯ หรือรัฐบาลยังคงติดค้างหนี้เงินที่ต้องนำมาช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับสิทธิ์ ตามพ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาอีกประมาณ 50 ล้านบาท ในขณะที่กรมฯ ได้รับงบช่วยเหลือดังกล่าววงเงินเพียง 200 ล้านบาทต่อปี จึงพิจารณาของบฯ เพิ่มเติมจากรัฐบาลในงบประมาณสำหรับการดำเนินการดังกล่าว

อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิฯ กล่าวต่อว่า สำหรับการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุทางการเมืองในช่วงปีที่ผ่านมา แบ่งเป็นหลายส่วน ทั้งเงินช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วยเหลือเยียวยาด้านการ เงินตามหลักมนุษยธรรม ส่วนกลุ่มผู้ถูกดำเนินคดีจากเหตุทางการเมืองปี 2548-2553 ล่าสุดพิจารณาจ่ายเงินไปแล้ว 176 ราย รวมเป็นเงินกว่า 55 ล้านบาท นอกจากนี้ยังใช้เงินกองทุนยุติธรรมช่วยประกันตัวกลุ่มผู้ร่วมชุมนุมทางการ เมือง คือ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จำนวน 31ราย เป็นเงิน 45 ล้านบาท และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 52 ราย เป็นเงินกว่า 31 ล้านบาทด้วย

พ.ต.อ.ณรัชต์กล่าวอีกว่า รวมทั้งยังได้มีการดำเนินการจ่ายเงินเยียยวยาแก่ผู้ถูกดำเนินคดีจากเหตุทาง การเมือง พ.ศ. 2548-2553 ตามหลักมนุษยธรรม โดยล่าสุดได้พิจารณา จ่ายเงินไปแล้ว 176 ราย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 55,620,164 บาท นอกจากนี้ ยังใช้เงินกองทุนยุติธรรมช่วยประกันตัวกลุ่มผู้ร่วมชุมนุมทางการเมือง คือ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จำนวน 31 ราย เป็นเงิน 45 ล้านบาท และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 52 ราย เป็นเงินกว่า 31 ล้านบาท

นอกจากนี้ กรมคุ้มครองสิทธิฯ ยังได้ดำเนินการช่วยเหลือคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาโดยการจัดหาทนายความให้ ผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนจำนวน 309 คดี ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายตอบแทนทนายเกือบ 9 แสนบาท ตลอดจนดำเนินการคุ้มครองพยานปี 2556 (31 ส.ค.) มีผู้ยื่นคำร้อง 178 ราย ได้รับพิจารณาเข้าโปรแกรมคุ้มครองพยาน 83 ราย สิ้นสุดการคุ้มครอง 24 ราย และอยู่ระหว่างการคุ้มครอง 59 ราย ขณะที่ยกคำร้องขอความคุ้มครอง 38ราย และอยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริงในคำร้อง 57 ราย

ขอบคุณ ... http://manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9560000112756 (ขนาดไฟล์: 185)

ผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ก.ย.56

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 8/09/2556 เวลา 02:52:37 ดูภาพสไลด์โชว์ กรมคุ้มครองสิทธิฯ เผยผลดำเนินงานช่วยเหลือแพะ-เหยื่อคดีอาญากว่า 200 ล้านบาท

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพกรมคุ้มครองสิทธิฯ เผยผลการดำเนินงานเชิงรุกยอดผู้ขอใช้สิทธิเพิ่มกว่า 9 พันราย ระบุจ่ายเงินเยียวยาเหยื่อ-แพะคดีอาญาไปแล้วกว่า 200 ล้าน เมื่อวันที่ 7 ก.ย. พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ แถลงผลการดำเนินงานด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพว่า ในรอบ 1 ปี กรมคุ้มครองสิทธิฯ มีผลงานสำคัญในด้านการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญานั้น พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวออกมานานเป็นเวลา 12 ปีแล้ว แต่พบว่ามีผู้เสียหายและเหยื่อที่มาขอใช้สิทธิเพียง 18.08 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ทางกรมคุ้มครองสิทธิฯ จึงดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิงรุกประสานผู้เสียหายและเหยื่อ รวมทั้งประสานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อให้แต่ละสถานีตำรวจช่วยแจ้ง สิทธิรับค่าชดเชยเยียวยากับผู้เสียหายที่เข้าแจ้งความ จึงทำให้รอบปีที่ผ่านมามีผู้ยื่นคำขอใช้สิทธิ์เพิ่มขึ้นเป็น 33.37 เปอร์เซ็นต์ พ.ต.อ.ณรัชต์กล่าวว่า ในรอบปีงบประมาณจนถึงวันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมามีสถิติผู้ยื่นคำขอใช้สิทธิแล้วเกือบ 9,000 ราย คิดเป็นเงินช่วยเหลือ 228 ล้านบาท โดยแยกเป็นผู้เสียหายและเหยื่อจำนวน 8,201 ราย และจำเลยหรือแพะในคดีอาญา 715 ราย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ถือว่ากรมคุ้มครองสิทธิฯ หรือรัฐบาลยังคงติดค้างหนี้เงินที่ต้องนำมาช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับสิทธิ์ ตามพ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาอีกประมาณ 50 ล้านบาท ในขณะที่กรมฯ ได้รับงบช่วยเหลือดังกล่าววงเงินเพียง 200 ล้านบาทต่อปี จึงพิจารณาของบฯ เพิ่มเติมจากรัฐบาลในงบประมาณสำหรับการดำเนินการดังกล่าว อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิฯ กล่าวต่อว่า สำหรับการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุทางการเมืองในช่วงปีที่ผ่านมา แบ่งเป็นหลายส่วน ทั้งเงินช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วยเหลือเยียวยาด้านการ เงินตามหลักมนุษยธรรม ส่วนกลุ่มผู้ถูกดำเนินคดีจากเหตุทางการเมืองปี 2548-2553 ล่าสุดพิจารณาจ่ายเงินไปแล้ว 176 ราย รวมเป็นเงินกว่า 55 ล้านบาท นอกจากนี้ยังใช้เงินกองทุนยุติธรรมช่วยประกันตัวกลุ่มผู้ร่วมชุมนุมทางการ เมือง คือ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จำนวน 31ราย เป็นเงิน 45 ล้านบาท และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 52 ราย เป็นเงินกว่า 31 ล้านบาทด้วย พ.ต.อ.ณรัชต์กล่าวอีกว่า รวมทั้งยังได้มีการดำเนินการจ่ายเงินเยียยวยาแก่ผู้ถูกดำเนินคดีจากเหตุทาง การเมือง พ.ศ. 2548-2553 ตามหลักมนุษยธรรม โดยล่าสุดได้พิจารณา จ่ายเงินไปแล้ว 176 ราย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 55,620,164 บาท นอกจากนี้ ยังใช้เงินกองทุนยุติธรรมช่วยประกันตัวกลุ่มผู้ร่วมชุมนุมทางการเมือง คือ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จำนวน 31 ราย เป็นเงิน 45 ล้านบาท และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 52 ราย เป็นเงินกว่า 31 ล้านบาท นอกจากนี้ กรมคุ้มครองสิทธิฯ ยังได้ดำเนินการช่วยเหลือคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาโดยการจัดหาทนายความให้ ผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนจำนวน 309 คดี ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายตอบแทนทนายเกือบ 9 แสนบาท ตลอดจนดำเนินการคุ้มครองพยานปี 2556 (31 ส.ค.) มีผู้ยื่นคำร้อง 178 ราย ได้รับพิจารณาเข้าโปรแกรมคุ้มครองพยาน 83 ราย สิ้นสุดการคุ้มครอง 24 ราย และอยู่ระหว่างการคุ้มครอง 59 ราย ขณะที่ยกคำร้องขอความคุ้มครอง 38ราย และอยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริงในคำร้อง 57 ราย ขอบคุณ ... http://manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9560000112756 ผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...