วิปรัฐบาลยัน แจงมติแก้รัฐธรรมนูญที่มาส.ว.ถูกต้อง

แสดงความคิดเห็น

นายอุดมเดช รัตนเสถียร ที่ปรึกษาคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวว่า การลงมติโหวตมาตรา 5 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของส.ว.เมื่อคืนวันที่ 4 ก.ย.ที่ผ่านมาถือเป็นการลงมติให้ความเห็นชอบผ่านมาตราดังกล่าวไปเรียบร้อย แล้ว ไม่ใช่การเสนอขอปิดการอภิปรายตามที่ฝ่ายค้านเข้าใจ ในช่วงนั้นมีผู้เสนอขอปิดการอภิปรายเพราะเห็นว่าอภิปรายมายาวนาน และประเด็นวนเวียนซ้ำซาก ซึ่งนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ที่ทำหน้าที่ประธานในการประชุม ก็ถามความเห็นที่ประชุมแล้วว่ามีใครเห็นเป็นอย่างอื่นหรือไม่ แต่พรรคประชาธิปัตย์มัวแต่ประท้วง ไม่ยอมเสนอญัตติให้มีการเปิดอภิปรายต่อ จึงถือว่าไม่มีใครเห็นเป็นอย่างอื่น ยอมรับการปิดการอภิปราย เมื่อนายนิคมเช็คองค์ประชุมแล้วครบ ก็ถามที่ประชุมว่าใครเห็นด้วยกับร่างแก้ไขของกรรมาธิการฯ เสียงข้างมาก ซึ่งที่ประชุมก็ให้ความเห็นชอบ ดังนั้นถือว่าเป็นการโหวตผ่านมาตรา5 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์จะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ารัฐบาล ทำผิดกฎหมายนั้น ก็คงไม่เป็นไร เพราะถึงอย่างไรฝ่ายค้านก็จะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว แต่เรื่องการทำหน้าที่ในสภาฯ เป็นเรื่องของสมาชิก ให้ไปเปิดกฎหมายดูได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยหรือไม่ ถ้ายังตะแบงอยู่ก็จะเสี่ยงกับศรัทธาของประชาชน เมื่อถามว่า ก่อนหน้านี้นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา เคยวินิจฉัยว่าไม่สามารถรวบรัดตัดสิทธิการอภิปรายของสมาชิกที่เข้าชื่อขอแปร ญัตติได้ นายอุดมเดชกล่าวว่า เป็นความเห็นของนายสมศักดิ์ที่อาจจะสับสน ซึ่งจะถูกหรือผิดก็เป็นอีกเรื่อง แม้ผู้สงวนคำแปรญัตติยังอภิปรายไม่ครบทุกคน แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องให้พูดหมดทุกคน ถ้ามีผู้ขอแปรญัตติ 600 คนแล้วต้องได้พูดทุกคนก็คงไม่ต้องออกกฎหมายอะไรแล้ว ที่ผ่านมาเราให้โอกาสพรรคประชาธิปัตย์มามากพอแล้ว แต่ก็ยังอภิปรายวนเวียนซ้ำซาก เราก็ต้องรักษาภาพลักษณ์องค์กรไว้ ไม่ใช่การหักคอลงมติ

ด้านนายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของส.ว. กล่าวว่า ยืนยันว่าการลงมติโหวตมาตรา 5 เมื่อคืนวันที่ 4ก.ย.ที่ผ่านมาเป็นการลงมติอย่างถูกต้อง ไม่ได้รวบรัด และไม่ขัดรัฐธรรมนูญแน่นอน ซึ่งข้อบังคับการประชุมก็ระบุว่าสมาชิกหรือประธานในที่ประชุมสามารถเสนอขอ ปิดการอภิปรายได้ ถ้าไม่มีใครเห็นเป็นอย่างอื่นก็ให้ลงมติโหวตได้เลย หากพรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยกับการขอปิดการอภิปราย ต้องเสนอญัตติให้เปิดอภิปรายต่อ ไม่สามารถมาอ้างได้ว่าผู้สงวนคำแปรญัตติยังพูดไม่ครบทุกคน เพราะที่ผ่านมาอภิปรายวนเวียนซ้ำซากกันมาตลอด

ขณะที่นายพายัพ ปั้นเกตุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นผู้เสนอญัตติขอปิดการอภิปรายมาตรา 5 นั้น เนื่องจากเห็นว่าการอภิปรายมาตราดังกล่าวแสดงเหตุผลมารอบด้านจนเริ่มซ้ำ ประเด็นจึงเสนอปิดอภิปราย ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน มีผู้รับรองครบถ้วน และเป็นความคิดของตัวเอง ไม่มีใบสั่งจากใคร ส่วนกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ระบุว่า ยังมีผู้สงวนคำแปรญัตติยังอภิปรายไม่ครบทุกคนนั้น ทำไมพรรคประชาธิปัตย์ไม่เสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายต่อ มัวแต่ประท้วงกันอยู่ได้

ขอบคุณ... http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=694580

เนชั่นแชลแนลออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ก.ย.56

ที่มา: เนชั่นแชลแนลออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 6/09/2556 เวลา 04:19:36

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายอุดมเดช รัตนเสถียร ที่ปรึกษาคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวว่า การลงมติโหวตมาตรา 5 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของส.ว.เมื่อคืนวันที่ 4 ก.ย.ที่ผ่านมาถือเป็นการลงมติให้ความเห็นชอบผ่านมาตราดังกล่าวไปเรียบร้อย แล้ว ไม่ใช่การเสนอขอปิดการอภิปรายตามที่ฝ่ายค้านเข้าใจ ในช่วงนั้นมีผู้เสนอขอปิดการอภิปรายเพราะเห็นว่าอภิปรายมายาวนาน และประเด็นวนเวียนซ้ำซาก ซึ่งนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ที่ทำหน้าที่ประธานในการประชุม ก็ถามความเห็นที่ประชุมแล้วว่ามีใครเห็นเป็นอย่างอื่นหรือไม่ แต่พรรคประชาธิปัตย์มัวแต่ประท้วง ไม่ยอมเสนอญัตติให้มีการเปิดอภิปรายต่อ จึงถือว่าไม่มีใครเห็นเป็นอย่างอื่น ยอมรับการปิดการอภิปราย เมื่อนายนิคมเช็คองค์ประชุมแล้วครบ ก็ถามที่ประชุมว่าใครเห็นด้วยกับร่างแก้ไขของกรรมาธิการฯ เสียงข้างมาก ซึ่งที่ประชุมก็ให้ความเห็นชอบ ดังนั้นถือว่าเป็นการโหวตผ่านมาตรา5 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์จะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ารัฐบาล ทำผิดกฎหมายนั้น ก็คงไม่เป็นไร เพราะถึงอย่างไรฝ่ายค้านก็จะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว แต่เรื่องการทำหน้าที่ในสภาฯ เป็นเรื่องของสมาชิก ให้ไปเปิดกฎหมายดูได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยหรือไม่ ถ้ายังตะแบงอยู่ก็จะเสี่ยงกับศรัทธาของประชาชน เมื่อถามว่า ก่อนหน้านี้นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา เคยวินิจฉัยว่าไม่สามารถรวบรัดตัดสิทธิการอภิปรายของสมาชิกที่เข้าชื่อขอแปร ญัตติได้ นายอุดมเดชกล่าวว่า เป็นความเห็นของนายสมศักดิ์ที่อาจจะสับสน ซึ่งจะถูกหรือผิดก็เป็นอีกเรื่อง แม้ผู้สงวนคำแปรญัตติยังอภิปรายไม่ครบทุกคน แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องให้พูดหมดทุกคน ถ้ามีผู้ขอแปรญัตติ 600 คนแล้วต้องได้พูดทุกคนก็คงไม่ต้องออกกฎหมายอะไรแล้ว ที่ผ่านมาเราให้โอกาสพรรคประชาธิปัตย์มามากพอแล้ว แต่ก็ยังอภิปรายวนเวียนซ้ำซาก เราก็ต้องรักษาภาพลักษณ์องค์กรไว้ ไม่ใช่การหักคอลงมติ ด้านนายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของส.ว. กล่าวว่า ยืนยันว่าการลงมติโหวตมาตรา 5 เมื่อคืนวันที่ 4ก.ย.ที่ผ่านมาเป็นการลงมติอย่างถูกต้อง ไม่ได้รวบรัด และไม่ขัดรัฐธรรมนูญแน่นอน ซึ่งข้อบังคับการประชุมก็ระบุว่าสมาชิกหรือประธานในที่ประชุมสามารถเสนอขอ ปิดการอภิปรายได้ ถ้าไม่มีใครเห็นเป็นอย่างอื่นก็ให้ลงมติโหวตได้เลย หากพรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยกับการขอปิดการอภิปราย ต้องเสนอญัตติให้เปิดอภิปรายต่อ ไม่สามารถมาอ้างได้ว่าผู้สงวนคำแปรญัตติยังพูดไม่ครบทุกคน เพราะที่ผ่านมาอภิปรายวนเวียนซ้ำซากกันมาตลอด ขณะที่นายพายัพ ปั้นเกตุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นผู้เสนอญัตติขอปิดการอภิปรายมาตรา 5 นั้น เนื่องจากเห็นว่าการอภิปรายมาตราดังกล่าวแสดงเหตุผลมารอบด้านจนเริ่มซ้ำ ประเด็นจึงเสนอปิดอภิปราย ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน มีผู้รับรองครบถ้วน และเป็นความคิดของตัวเอง ไม่มีใบสั่งจากใคร ส่วนกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ระบุว่า ยังมีผู้สงวนคำแปรญัตติยังอภิปรายไม่ครบทุกคนนั้น ทำไมพรรคประชาธิปัตย์ไม่เสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายต่อ มัวแต่ประท้วงกันอยู่ได้ ขอบคุณ... http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=694580 เนชั่นแชลแนลออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...