ความเห็นต่างส.ว.เลือกตั้ง

แสดงความคิดเห็น

นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ส.ว.ชลบุรี

เสียงข้างมากโหวตผ่าน:เจออีกหลายด่าน“สกัด”

ประชุมร่วมรัฐสภาถกมาราธอนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของ ส.ว.ในวาระที่ 2 มีสมาชิกอภิปรายสนับสนุนและคัดค้านกันอย่างกว้างขวาง

ฝ่าย ที่สนับสนุนมี นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ส.ว.ชลบุรี ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิ) ให้สัมภาษณ์ “ทีมข่าวการเมือง” โดยย้อนไปถึงต้นกำเนิดของประเทศที่ใช้ระบบสภาเดี่ยวส่วนใหญ่มีจำนวนประชากร น้อย ประเทศที่ใช้ระบบสภาคู่มีจำนวนประชากรมาก

ประเทศไทยใช้ระบบสภา คู่มาตลอด ยกเว้นในช่วงปฏิวัติที่มีสภาเดี่ยว ส.ว.มีที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดเกิดขึ้นครั้งแรกปี 2543 และครั้งที่สองปี 2549 วุฒิสภาชุดนี้ยังไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ก็ถูกปฏิวัติ คมช. (คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ) ตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีรัฐธรรมนูญปี 2550 กำหนดให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน และ ส.ว.มาจากการสรรหา รวมทั้งหมดมี ส.ว.จำนวน 150 คน

มาวันนี้ผมต้อง พยายามอธิบายให้ประชาชนเข้าใจถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า สมัยพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลได้แก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของ ส.ส. ผมเป็นคนหนึ่งที่ลงชื่อสนับสนุน มาครั้งนี้ผมก็ลงชื่อสนับสนุนโดยไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะรัฐบาลปฏิบัติตามนโยบายที่หาเสียงไว้

แม้รัฐบาลจะหนักใจที่หยิบ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 1 ใน 3 ฉบับ นำฉบับไหนขึ้นมาพิจารณาก็ถูกโจมตี ถูกตั้งข้อครหา ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ดีกว่าปล่อยให้เกิดความขัดแย้งนอกสภา

โดย เฉพาะประเด็นที่ถูกโจมตีมาก สังคมให้ความสนใจ อาทิ คุณสมบัติบุคคลที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว. เปิดกว้างให้โอกาสทุกฝ่าย ส.ว.ชุดนี้หมดวาระไม่ต้องเว้นวรรค ปลดล็อกให้ ส.ส.หรือสมาชิกพรรคการเมือง ไม่ต้องเว้นวรรค ไม่ตัดสิทธิ์บุพการี คู่สมรส หรือบุตรของ ส.ส. สามารถลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว.ได้

ผมเชื่อว่าวันนี้ประชาชนมีความคิด รู้ ฉลาด เมื่อเข้าคูหาจะรู้ว่าต้องเลือกใคร หากคนในครอบครัว ส.ส.ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว. ประชาชนในพื้นที่จะต้องดูว่าผู้สมัครมีความรู้ความสามารถจริงหรือไม่ ถ้าไม่เก่งจริงก็สอบตก ตรงนี้ต้องวัดดวง วัดใจประชาชน

ประเด็น ส.ว.มีที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด 200 คน การได้ ส.ว.มาจากแบบเดียวกันทั้งหมด จะทำให้รัฐบาลบริหารประเทศไปได้ ประเทศชาติเดินหน้า เนื่องจาก ส.ว.ถูกสปอตไลต์ส่องจับอยู่ตลอดเวลา จะต้องทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ยึดประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นที่ตั้ง ถ้าขาดความเที่ยงธรรม การเลือกตั้งครั้งต่อไปก็ไม่ได้รับเลือกกลับเข้ามา

แต่หากให้ ส.ว.มีที่มาเหมือนเดิม คือมาจากการเลือกตั้งจำนวนหนึ่งและมาจากการสรรหาจำนวนหนึ่ง จะทำให้ประเทศชาติติดหล่ม

ที่ มาของ ส.ว.ต้องเลือกเอาแบบใดแบบหนึ่ง หากต้องการให้มาจากประชาชนก็มาจากการ เลือกตั้งทั้งหมด หากจะให้มาจากสรรหาก็ต้องสรรหาทั้งหมด แต่ไม่เห็นด้วยที่จะให้ผู้แทนจาก 7 องค์กรตามรัฐธรรมนูญเข้ามาเป็นกรรมการคัดเลือก ไม่อยากให้แปดเปื้อน พอคัดเลือกเสร็จจะถูกสังคมตั้งข้อครหาเลือกพวกพ้อง เมื่อกลับไปทำหน้าที่หลักจะขาดความน่าเชื่อถือ ถูกมองว่าวางตัวไม่เป็นกลาง

ผลัด กันเกาหลัง ฝ่ายค้านกล่าวหาพรรคร่วมรัฐบาลและ ส.ว. ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร นายสุรชัย ออกตัวว่าคงเข้าใจกันว่า ส.ว.เลือกตั้งจับมือรัฐบาลเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ ส.ว.เลือกตั้งลงสมัครต่อได้ ขณะเดียวกันรัฐบาลไม่ต้องการให้มี ส.ว.สรรหา ความจริงคิดไปกันเอง ไม่ใช่อย่างนั้น

“ทีมข่าวการเมือง” ถามถึงการปฏิวัติปี 49 สาเหตุหนึ่งมาจากการเมืองแทรกแซง ส.ว. แทรกแซงการสรรหาองค์กรอิสระ หากให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด การเมืองจะกลับไปสู่วงจรเดิม มีการกินรวบองค์กรอิสระ เมื่อแก้ไขประเด็นนี้จะต้องระวังฝ่ายอำมาตย์อย่างไร นายสุรชัย บอกว่า คงกินรวบองค์กรอิสระไม่ได้และฝ่ายอำมาตย์ก็แทรกแซงไม่ได้ เพราะ ส.ว.เลือกตั้งไม่สังกัดพรรคการเมือง มีอิสระในความคิด ทำตามหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญกำหนด

แต่ถึงอย่างไรการแก้ไขประเด็นที่มา ของ ส.ว.เมื่อมีความเห็นหลากหลาย ในที่สุดจะต้องตัดสินโดยการโหวต เราต้องเคารพเสียงข้างมากและรับฟังเสียงข้างน้อย แม้มีฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เตรียมยื่นเรื่องให้องค์กรอิสระตรวจสอบ เชื่อมั่นองค์กรอิสระคงจะให้ความเป็นธรรม เพื่อให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้

สุดท้ายเชื่อมั่น ส.ว.สรรหาและ ส.ว.เลือกตั้งบางส่วนจะไม่ลงคะแนนให้ แต่มั่นใจว่า ส.ว.เลือกตั้ง 30–40 คน ผนึกเสียงพรรคร่วมรัฐบาลที่ยังเหนียวแน่นโหวต ผ่านแก้ไขรัฐธรรม- นูญวาระที่ 3 ไปได้

อีกมุมมองเป็นหนึ่งในกลุ่ม 40 ส.ว. พล.อ.อ.วีรวิท คงศักดิ์ ส.ว.สรรหา บอกว่า การทำหน้าที่ของวุฒิสภาในอดีตที่ผ่านมาไม่มีปัญหา การทำงานในรัฐสภาใช้เหตุ ใช้ผล เกิดความเป็นเอกภาพ เพราะไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมาก เป็นรัฐบาลผสม

ตราบใดมีพรรคการเมืองได้เสียงข้างมากพรรคเดียว มันจะเป็นอำนาจเผด็จการ มีข้อดีคือการบริหารประเทศไปได้รวดเร็ว สามารถแก้ไขหรือออกกฎหมายได้อย่างรวดเร็ว ข้อเสียคือถ้ารัฐบาลใช้อำนาจโดยไม่ชอบ แก้ไขกฎหมายเพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง

ระบบรัฐสภาเกือบทุก ประเทศทั่วโลกจึงออกแบบให้ ส.ว.มีที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีความรู้ มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญหลากหลายอาชีพ ให้เข้าไปกลั่นกรองกฎหมายหรือคอยเบรกหรือแนะนำสภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐบาลใน เรื่องนั้นๆ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน

ส.ว.ต้อง เป็นกลาง มีอิสระ ตามคำนิยาม ส.ว.ต้องมีความอิ่มในตัวเอง เมื่อปฏิบัติหน้าที่จะ “ขอไม่ได้” “สั่งไม่ได้” และ “ซื้อไม่ได้” เพราะวุฒิสภามีอำนาจถอดถอน แต่งตั้งบุคคลตามรัฐธรรมนูญกำหนด

ฉะนั้น หลักการที่มาของ ส.ว.และ ส.ส.หากมีที่มาแบบเดียวกัน จะได้บุคคลที่เกี่ยวพันกับการเมืองเข้ามา บุคคลที่เชี่ยวชาญด้านต่างๆ หรือ ส.ว.เลือกตั้งที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ คงไม่มีช่องทางไปแข่งขันกับคนที่เกี่ยวพันทางการเมือง และจะได้ ส.ว.ที่อยู่ใต้อำนาจของรัฐบาล ผมไม่ได้หมายความว่าวิธีการสรรหา ส.ว.ดีกว่าการเลือกตั้ง แต่อย่างน้อยคณะกรรมการสรรหา ส.ว.จะเป็นผู้รับรองความประพฤติ ถ้าคัดเลือกได้คนไม่ดีก็จะเสียคน

ปัญหา ที่จะตามมาอีกเมื่อ ส.ว.หมดวาระพร้อมกันหมด ตรงช่วงจังหวะที่รัฐบาลยุบสภา หากมีวาระงานที่พิเศษที่สำคัญ เช่น จำเป็นต้องประกาศสงคราม รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐบาลรักษาการต้องขอมติจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อไม่มีสภาผู้แทนราษฎรก็ให้วุฒิสภาทำหน้าที่แทน

เมื่อไม่มีวุฒิสภา จะเกิดอะไรขึ้น ดังนั้นต้องกำหนดให้ ส.ว.หมดวาระเหลื่อมเวลาทีละครึ่งของจำนวน ส.ว.ทั้งหมด เพื่อเป็นพี่เลี้ยงให้ ส.ว.ชุดใหม่และปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่องตามหลักปฏิบัติของวุฒิสภา ทั่วโลก

หัวใจสำคัญจำเป็นต้องมี ส.ว.สรรหา เพราะเป็นทายาทของ คมช. หรือเป็นทายาทฝ่ายอำมาตย์ พล.อ.อ.วีรวิท บอกว่า เรื่องนี้สมควรพูดด้วยเหตุและผล ไม่เช่นนั้น ส.ส.ชุดปัจจุบันที่มาจากรัฐธรรมนูญปี 50 ก็ต้องเป็นทายาท คมช.เช่นกัน ส.ว.สรรหามาดำรงตำแหน่งไม่ได้เกี่ยวกับ คมช.

ถ้าสังคมไทยไม่ เปลี่ยน ความคิดเสียใหม่ ถ้าขืนโต้เถียงตามความคิดตัวเอง ขาดวุฒิภาวะ เถียงเหมือนเด็กๆ ประเทศไทยคงจะปรองดองกันยาก

และ ประเด็นที่ผมไม่เห็นด้วยมากที่สุดคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีผลประโยชน์ทับซ้อน มีธงล่วงหน้าให้เสร็จตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ออกมาบังคับใช้เมื่อไหร่ ส.ว.เลือกตั้งที่ร่วมลงชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีโอกาสถูกฟ้อง แต่ใครจะไปฟ้องผมไม่ทราบ

ทั้งยื่นให้ ป.ป.ช. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) ฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ตรวจสอบ

ตามลำดับฐานทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ เข้าข่ายมีผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นการใช้อำนาจออกกฎหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง และการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม เปิดช่องให้ ส.ส.บัญชีรายชื่อลาออกมาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว.ได้

ดังนั้น ถึงเวลานี้แล้วรัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญไปพร้อมกับเวทีสภาปฏิรูปการเมืองไม่ ได้ ต้องหยุดแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อน อย่าเร่งรีบเกินไปจะไม่ตกผลึก ในที่สุดรัฐธรรมนูญออกมาจะเป็นปัญหาในทางปฏิบัติได้

รัฐบาลควรจะนำ เรื่องนี้ไปพูดในสภาปฏิรูปการเมืองให้ตกผลึก ถึงอย่างไรผลสรุปสุดท้ายสภาปฏิรูปก็เดินหน้ายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้สอด คล้องกับความต้องการของสังคม

ถ้าเดินตามเส้นทางนี้ ระหว่างทางคงไม่มีม็อบออกมาต่อต้าน. “ทีมข่าวการเมือง”

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/pol/wikroh/367098

ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ก.ย.56

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 4/09/2556 เวลา 04:44:16 ดูภาพสไลด์โชว์ ความเห็นต่างส.ว.เลือกตั้ง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ส.ว.ชลบุรี เสียงข้างมากโหวตผ่าน:เจออีกหลายด่าน“สกัด” ประชุมร่วมรัฐสภาถกมาราธอนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของ ส.ว.ในวาระที่ 2 มีสมาชิกอภิปรายสนับสนุนและคัดค้านกันอย่างกว้างขวาง ฝ่าย ที่สนับสนุนมี นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ส.ว.ชลบุรี ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิ) ให้สัมภาษณ์ “ทีมข่าวการเมือง” โดยย้อนไปถึงต้นกำเนิดของประเทศที่ใช้ระบบสภาเดี่ยวส่วนใหญ่มีจำนวนประชากร น้อย ประเทศที่ใช้ระบบสภาคู่มีจำนวนประชากรมาก ประเทศไทยใช้ระบบสภา คู่มาตลอด ยกเว้นในช่วงปฏิวัติที่มีสภาเดี่ยว ส.ว.มีที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดเกิดขึ้นครั้งแรกปี 2543 และครั้งที่สองปี 2549 วุฒิสภาชุดนี้ยังไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ก็ถูกปฏิวัติ คมช. (คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ) ตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีรัฐธรรมนูญปี 2550 กำหนดให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน และ ส.ว.มาจากการสรรหา รวมทั้งหมดมี ส.ว.จำนวน 150 คน มาวันนี้ผมต้อง พยายามอธิบายให้ประชาชนเข้าใจถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า สมัยพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลได้แก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของ ส.ส. ผมเป็นคนหนึ่งที่ลงชื่อสนับสนุน มาครั้งนี้ผมก็ลงชื่อสนับสนุนโดยไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะรัฐบาลปฏิบัติตามนโยบายที่หาเสียงไว้ แม้รัฐบาลจะหนักใจที่หยิบ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 1 ใน 3 ฉบับ นำฉบับไหนขึ้นมาพิจารณาก็ถูกโจมตี ถูกตั้งข้อครหา ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ดีกว่าปล่อยให้เกิดความขัดแย้งนอกสภา โดย เฉพาะประเด็นที่ถูกโจมตีมาก สังคมให้ความสนใจ อาทิ คุณสมบัติบุคคลที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว. เปิดกว้างให้โอกาสทุกฝ่าย ส.ว.ชุดนี้หมดวาระไม่ต้องเว้นวรรค ปลดล็อกให้ ส.ส.หรือสมาชิกพรรคการเมือง ไม่ต้องเว้นวรรค ไม่ตัดสิทธิ์บุพการี คู่สมรส หรือบุตรของ ส.ส. สามารถลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว.ได้ ผมเชื่อว่าวันนี้ประชาชนมีความคิด รู้ ฉลาด เมื่อเข้าคูหาจะรู้ว่าต้องเลือกใคร หากคนในครอบครัว ส.ส.ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว. ประชาชนในพื้นที่จะต้องดูว่าผู้สมัครมีความรู้ความสามารถจริงหรือไม่ ถ้าไม่เก่งจริงก็สอบตก ตรงนี้ต้องวัดดวง วัดใจประชาชน ประเด็น ส.ว.มีที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด 200 คน การได้ ส.ว.มาจากแบบเดียวกันทั้งหมด จะทำให้รัฐบาลบริหารประเทศไปได้ ประเทศชาติเดินหน้า เนื่องจาก ส.ว.ถูกสปอตไลต์ส่องจับอยู่ตลอดเวลา จะต้องทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ยึดประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นที่ตั้ง ถ้าขาดความเที่ยงธรรม การเลือกตั้งครั้งต่อไปก็ไม่ได้รับเลือกกลับเข้ามา แต่หากให้ ส.ว.มีที่มาเหมือนเดิม คือมาจากการเลือกตั้งจำนวนหนึ่งและมาจากการสรรหาจำนวนหนึ่ง จะทำให้ประเทศชาติติดหล่ม ที่ มาของ ส.ว.ต้องเลือกเอาแบบใดแบบหนึ่ง หากต้องการให้มาจากประชาชนก็มาจากการ เลือกตั้งทั้งหมด หากจะให้มาจากสรรหาก็ต้องสรรหาทั้งหมด แต่ไม่เห็นด้วยที่จะให้ผู้แทนจาก 7 องค์กรตามรัฐธรรมนูญเข้ามาเป็นกรรมการคัดเลือก ไม่อยากให้แปดเปื้อน พอคัดเลือกเสร็จจะถูกสังคมตั้งข้อครหาเลือกพวกพ้อง เมื่อกลับไปทำหน้าที่หลักจะขาดความน่าเชื่อถือ ถูกมองว่าวางตัวไม่เป็นกลาง ผลัด กันเกาหลัง ฝ่ายค้านกล่าวหาพรรคร่วมรัฐบาลและ ส.ว. ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร นายสุรชัย ออกตัวว่าคงเข้าใจกันว่า ส.ว.เลือกตั้งจับมือรัฐบาลเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ ส.ว.เลือกตั้งลงสมัครต่อได้ ขณะเดียวกันรัฐบาลไม่ต้องการให้มี ส.ว.สรรหา ความจริงคิดไปกันเอง ไม่ใช่อย่างนั้น “ทีมข่าวการเมือง” ถามถึงการปฏิวัติปี 49 สาเหตุหนึ่งมาจากการเมืองแทรกแซง ส.ว. แทรกแซงการสรรหาองค์กรอิสระ หากให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด การเมืองจะกลับไปสู่วงจรเดิม มีการกินรวบองค์กรอิสระ เมื่อแก้ไขประเด็นนี้จะต้องระวังฝ่ายอำมาตย์อย่างไร นายสุรชัย บอกว่า คงกินรวบองค์กรอิสระไม่ได้และฝ่ายอำมาตย์ก็แทรกแซงไม่ได้ เพราะ ส.ว.เลือกตั้งไม่สังกัดพรรคการเมือง มีอิสระในความคิด ทำตามหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญกำหนด แต่ถึงอย่างไรการแก้ไขประเด็นที่มา ของ ส.ว.เมื่อมีความเห็นหลากหลาย ในที่สุดจะต้องตัดสินโดยการโหวต เราต้องเคารพเสียงข้างมากและรับฟังเสียงข้างน้อย แม้มีฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เตรียมยื่นเรื่องให้องค์กรอิสระตรวจสอบ เชื่อมั่นองค์กรอิสระคงจะให้ความเป็นธรรม เพื่อให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้ สุดท้ายเชื่อมั่น ส.ว.สรรหาและ ส.ว.เลือกตั้งบางส่วนจะไม่ลงคะแนนให้ แต่มั่นใจว่า ส.ว.เลือกตั้ง 30–40 คน ผนึกเสียงพรรคร่วมรัฐบาลที่ยังเหนียวแน่นโหวต ผ่านแก้ไขรัฐธรรม- นูญวาระที่ 3 ไปได้ อีกมุมมองเป็นหนึ่งในกลุ่ม 40 ส.ว. พล.อ.อ.วีรวิท คงศักดิ์ ส.ว.สรรหา บอกว่า การทำหน้าที่ของวุฒิสภาในอดีตที่ผ่านมาไม่มีปัญหา การทำงานในรัฐสภาใช้เหตุ ใช้ผล เกิดความเป็นเอกภาพ เพราะไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมาก เป็นรัฐบาลผสม ตราบใดมีพรรคการเมืองได้เสียงข้างมากพรรคเดียว มันจะเป็นอำนาจเผด็จการ มีข้อดีคือการบริหารประเทศไปได้รวดเร็ว สามารถแก้ไขหรือออกกฎหมายได้อย่างรวดเร็ว ข้อเสียคือถ้ารัฐบาลใช้อำนาจโดยไม่ชอบ แก้ไขกฎหมายเพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง ระบบรัฐสภาเกือบทุก ประเทศทั่วโลกจึงออกแบบให้ ส.ว.มีที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีความรู้ มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญหลากหลายอาชีพ ให้เข้าไปกลั่นกรองกฎหมายหรือคอยเบรกหรือแนะนำสภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐบาลใน เรื่องนั้นๆ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ส.ว.ต้อง เป็นกลาง มีอิสระ ตามคำนิยาม ส.ว.ต้องมีความอิ่มในตัวเอง เมื่อปฏิบัติหน้าที่จะ “ขอไม่ได้” “สั่งไม่ได้” และ “ซื้อไม่ได้” เพราะวุฒิสภามีอำนาจถอดถอน แต่งตั้งบุคคลตามรัฐธรรมนูญกำหนด ฉะนั้น หลักการที่มาของ ส.ว.และ ส.ส.หากมีที่มาแบบเดียวกัน จะได้บุคคลที่เกี่ยวพันกับการเมืองเข้ามา บุคคลที่เชี่ยวชาญด้านต่างๆ หรือ ส.ว.เลือกตั้งที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ คงไม่มีช่องทางไปแข่งขันกับคนที่เกี่ยวพันทางการเมือง และจะได้ ส.ว.ที่อยู่ใต้อำนาจของรัฐบาล ผมไม่ได้หมายความว่าวิธีการสรรหา ส.ว.ดีกว่าการเลือกตั้ง แต่อย่างน้อยคณะกรรมการสรรหา ส.ว.จะเป็นผู้รับรองความประพฤติ ถ้าคัดเลือกได้คนไม่ดีก็จะเสียคน ปัญหา ที่จะตามมาอีกเมื่อ ส.ว.หมดวาระพร้อมกันหมด ตรงช่วงจังหวะที่รัฐบาลยุบสภา หากมีวาระงานที่พิเศษที่สำคัญ เช่น จำเป็นต้องประกาศสงคราม รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐบาลรักษาการต้องขอมติจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อไม่มีสภาผู้แทนราษฎรก็ให้วุฒิสภาทำหน้าที่แทน เมื่อไม่มีวุฒิสภา จะเกิดอะไรขึ้น ดังนั้นต้องกำหนดให้ ส.ว.หมดวาระเหลื่อมเวลาทีละครึ่งของจำนวน ส.ว.ทั้งหมด เพื่อเป็นพี่เลี้ยงให้ ส.ว.ชุดใหม่และปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่องตามหลักปฏิบัติของวุฒิสภา ทั่วโลก หัวใจสำคัญจำเป็นต้องมี ส.ว.สรรหา เพราะเป็นทายาทของ คมช. หรือเป็นทายาทฝ่ายอำมาตย์ พล.อ.อ.วีรวิท บอกว่า เรื่องนี้สมควรพูดด้วยเหตุและผล ไม่เช่นนั้น ส.ส.ชุดปัจจุบันที่มาจากรัฐธรรมนูญปี 50 ก็ต้องเป็นทายาท คมช.เช่นกัน ส.ว.สรรหามาดำรงตำแหน่งไม่ได้เกี่ยวกับ คมช. ถ้าสังคมไทยไม่ เปลี่ยน ความคิดเสียใหม่ ถ้าขืนโต้เถียงตามความคิดตัวเอง ขาดวุฒิภาวะ เถียงเหมือนเด็กๆ ประเทศไทยคงจะปรองดองกันยาก และ ประเด็นที่ผมไม่เห็นด้วยมากที่สุดคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีผลประโยชน์ทับซ้อน มีธงล่วงหน้าให้เสร็จตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ออกมาบังคับใช้เมื่อไหร่ ส.ว.เลือกตั้งที่ร่วมลงชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีโอกาสถูกฟ้อง แต่ใครจะไปฟ้องผมไม่ทราบ ทั้งยื่นให้ ป.ป.ช. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) ฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ตรวจสอบ ตามลำดับฐานทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ เข้าข่ายมีผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นการใช้อำนาจออกกฎหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง และการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม เปิดช่องให้ ส.ส.บัญชีรายชื่อลาออกมาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว.ได้ ดังนั้น ถึงเวลานี้แล้วรัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญไปพร้อมกับเวทีสภาปฏิรูปการเมืองไม่ ได้ ต้องหยุดแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อน อย่าเร่งรีบเกินไปจะไม่ตกผลึก ในที่สุดรัฐธรรมนูญออกมาจะเป็นปัญหาในทางปฏิบัติได้ รัฐบาลควรจะนำ เรื่องนี้ไปพูดในสภาปฏิรูปการเมืองให้ตกผลึก ถึงอย่างไรผลสรุปสุดท้ายสภาปฏิรูปก็เดินหน้ายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้สอด คล้องกับความต้องการของสังคม ถ้าเดินตามเส้นทางนี้ ระหว่างทางคงไม่มีม็อบออกมาต่อต้าน. “ทีมข่าวการเมือง” ขอบคุณ...

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...