"อดุลย์"ใช้กฎหมาย-หลักสากล หวั่นม็อบยางบานปลาย ดีเดย์3ก.ย.แตกหัก!

แสดงความคิดเห็น

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

คงเป็นเหตุการณ์บ้านเมืองไทยที่ไม่มีใครอยากให้ความวุ่นวายในอดีตย้อนกลับมาอีกครั้ง

การ ชุมนุมเคลื่อนไหวฝ่าฝืนกฎหมายใช้ “กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย” เข้าปิดล้อมสถานที่ราชการ ทำเนียบรัฐบาล รัฐสภา ปิดสนามบิน ปิดถนน ปิดทางรถไฟ เป็นความย่อยยับเสียหายภาพรวมประเทศ

การชุมนุมกลุ่มหลากสี เป็นอดีตที่ทำความบอบช้ำอย่างมากให้กับคนไทยทั้งประเทศ

ความ ขัดแย้งของกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองใช้ความเดือดร้อนคนส่วนใหญ่มาเป็น เครื่องมือต่อรองกดดันทุกรูปแบบ จนเสียหายย่อยยับทั้งระบบเศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย และความเชื่อมั่นของประเทศ

ไม่มีใครได้ประโยชน์จากการชุมนุมนอกจากเป็นการทำลายกันเองของกลุ่มนักการเมือง

ความ เดือดร้อนของพี่น้องประชาชนมักจะถูกนักการเมืองนำมาเป็นเครื่องมือดิสเครดิต ฝ่ายตรงข้าม ล่าสุดคนไทยต้องลุ้นกับการชุมนุมประท้วงของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางและสวน ปาล์มน้ำมัน ชุมนุมปิดถนนสายเอเชีย บริเวณสี่แยกควนหนองหงส์ และปิดเส้นทางรถไฟใน ต.บ้านตูล อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช ส่งผลให้เส้นทางคมนาคมในพื้นที่ภาคใต้เป็นอัมพาต ผู้ที่ใช้ถนน รถไฟได้รับผลกระทบอย่างหนัก

ระบบการขนส่งสินค้าอาหารทะเล ซึ่งเป็นหัวใจหลักของพี่น้องภาคใต้ต้องหยุดชะงักทันที

โรงเรียนในพื้นที่ อ.ชะอวด ต้องปิดการเรียนชั่วคราวทันที 4 โรงเรียน

โรง พยาบาลในพื้นที่ได้รับผลกระทบอย่างมากกับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหนักเข้า รักษาตัวที่รพ.ประจำจังหวัด และปัญหาขาดแคลนยาและเวชภัณฑ์ เนื่องจากระบบขนส่งในภาคใต้ถูกตัดขาดจากกลุ่มผู้ชุมนุม

ชาวเกษตรกรสวนยางพาราและน้ำมันปาล์ม นัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 3 กันยายนนี้

กลุ่มม็อบชาวเกษตรกรสวนยางพาราและน้ำมันปาล์ม

ขยาย พื้นที่ทั่วประเทศ ภาคเหนือที่ จ.อุตรดิตถ์ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ จ.นครราชสีมา ภาคกลางและภาคตะวันออกมาชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาล

ข่มขู่ปิดถนนสายหลักทั่วประเทศเพื่อ “ปิดประเทศ” ต่อรองกับฝ่ายรัฐบาล

หลายฝ่ายพยายามหาทางคลี่คลายสถานการณ์ก่อนบานปลาย

นายก สมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย ได้เรียกร้องขอให้กลุ่มผู้ชุมนุมเปิดถนนและเส้นทางรถไฟ กลุ่มชาว อ.ชะอวด ได้ออกมาเคลื่อนไหวอ้างว่า ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นคนนอกพื้นที่ให้หยุดประท้วงทำความเดือดร้อน ถ้าไม่ทำตามจะมีการระดมพี่น้องชาวอำเภอชะอวดขับไล่ออกนอกพื้นที่

เจ้าหน้าที่ต้องแยกผู้ชุมนุมเป็น 2 ฝ่าย คือ กลุ่มเกษตรกรสวนยางที่ได้รับความเดือดร้อนจริง กับกลุ่มคนนอกพื้นที่เป็นกลุ่มที่เข้ามาชุมนุมเพื่อหวังผลทางการเมือง มีนักการเมืองเข้ามาหนุนหลัง

เป็นเรื่องที่หวั่นบานปลายของกลุ่มมวลชนออกมาประจันหน้ากันเอง

หลายฝ่ายต้องเจรจาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้วยสันติวิธีเพื่อไม่ให้มีเหตุรุนแรง

พล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. ได้มอบหมาย พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รอง ผบ.ตร. และ พล.ต.ท.ยงยุทธ เจริญวานิช ผบช.ภ.8 เข้ามารับผิดชอบการชุมนุมใช้ ศปก.ตร.ติดตามสถานการณ์ของภาค 8 และ ภ.จ.นครศรีธรรมราช กำชับให้ ผบช.ทุกภาคเตรียมพร้อมเพื่อแก้ไขสถานการณ์ชุมนุมทั่วประเทศ

ม็อบสวนยางพาราประท้วงใช้รถบรรทุกขวางรางรถไฟ

มอบ หมาย พล.ต.ท.สฤษฎ์ชัย เอนกเวียง ผบช.ส. ประสาน บก.สส.ทุกภาค ติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์ใกล้ชิด ใช้กลไกผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่เจรจาตามหลักสากล

พล.ต.อ.อดุลย์ได้สั่ง ให้ ผบช.น. ผบช.ภ.3 และ ผบช.ภ.6 เตรียมความพร้อมกำลังพลในการปฏิบัติการรักษาความสงบเรียบร้อย กรณีกลุ่มผู้ชุมนุมมีการยกระดับการชุมนุมปิดเส้นทางทั่วประเทศ

เป็นการปฏิบัติที่เป็นระบบ ตามขั้นตอนกฎหมาย

ตามนโยบาย ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี หลีกเลี่ยงการใช้กำลัง ใช้กลไกการเจรจาทำความเข้าใจ ใช้ช่องทางฝ่ายปกครอง ที่อยู่ใกล้ชิดกลุ่มผู้ชุมนุม เพื่อให้ยกเลิกการชุมนุมปิดถนนและเส้นทางรถไฟ

ได้จัดเจ้าหน้าที่ ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่ใช้ถนนเลี่ยงเส้นทางที่มีการปิดจราจร สืบสวนสอบสวนดำเนิน มาตรการทางกฎหมายกับแกนนำผู้ที่กระทำผิดกฎหมาย หรือกลุ่มที่ก่อเหตุรุนแรง

มี การกำหนดพื้นที่จัดตั้งจุดตรวจโดยรอบ พื้นที่ชุมนุม ตรวจค้นอาวุธที่อาจจะใช้ก่อเหตุรุนแรงและ “กลุ่มมือที่ 3” ที่คิดฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์ หวังผลประโยชน์ทางการเมือง

โดยมอบอำนาจเด็ดขาดให้ ผบช.ภ.8 สั่งกำลังและประเมินสถานการณ์เพื่อความเป็นเอกภาพ

หากรุนแรงเกินกว่าที่จะใช้กฎหมายปกติให้เสนอเพื่อยกระดับการใช้กฎหมายพิเศษ

การชุมนุมเพื่อเรียกร้องความชอบธรรมเป็นเรื่องที่กระทำได้ภายใต้กรอบของกฎหมาย

แต่ การปิดถนน ปิดทางรถไฟ ทำให้เกิดความเสียหาย ประชาชนคนอื่นที่ไม่รู้เรื่องได้รับความเดือดร้อน เป็นเรื่องที่เป็นการละเมิดสิทธิคนอื่นและเข้าข่ายต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย

โดยเฉพาะกลุ่มแกนนำ ผู้ที่อยู่เบื้องหลังการชุมนุมซึ่งเป็นต้นเหตุของความวุ่นวายในประเทศ

กลุ่มม็อบชาวเกษตรกรสวนยางพาราและน้ำมันปาล์ม

เป็นการนำมวลชนออกมาเพื่อให้เกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่เพื่อขยายผลเป็นเรื่องการเมือง

ผู้ที่ตกที่นั่งลำบากหลบเลี่ยงความรับผิดชอบไม่ได้ คือเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติ

ทั้งที่เป็นการปฏิบัติหน้าที่รักษากฎหมาย รักษากฎกติกาของบ้านเมือง

เป็น ความเดือดร้อนของคนส่วนใหญ่ที่เรียกร้องให้ใช้กฎหมายเพื่อดำเนินการกับผู้ ที่ใช้ “กฎหมู่” แม้การปฏิบัติจะเป็นไปตามหลักสากล แต่ทุกครั้งที่มีการใช้กฎหมาย จะมีการเรียกร้องเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ

แต่ไม่เคยดำเนินการกับผู้ที่อยู่เบื้องหลัง “จัดฉาก” นำมวลชนออกมาได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

เป็น ความเจ็บปวดที่อดีตตำรวจหลายคนได้รู้สึกถึงความไม่เป็นธรรม ตำรวจเป็น “เบี้ยล่าง” ของผู้ชุมนุมที่มีการเมืองหนุนหลัง ทั้งที่ได้ทุ่มเทเสียสละทำตามหน้าที่รักษากฎหมาย เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบภาพรวมของประเทศ

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. ที่ยังไม่ได้รับความชอบธรรมจากการชุมนุม

เป็นบทเรียนสำคัญของตำรวจในเรื่องการชุมนุมประท้วง…

สถานการณ์ครั้งนี้ไม่ได้ต่างจากการชุมนุมในอดีตที่ผ่านมา

เป็นการแตกหักของกลุ่มการเมืองที่เอาความเดือดร้อนพี่น้องมาเป็นเครื่องต่อรอง

ต้อง ยอมรับความเป็นนักบริหารของ พล.ต.อ.อดุลย์ ที่ได้ให้ความสำคัญในการปรับยุทธวิธีในการควบคุมฝูงชนตามหลักสากล ที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่รักษาสันติภาพของประเทศต่างๆทั่วโลก

เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ชุมนุมประท้วงทางการเมือง

สิ่งที่ พล.ต.อ.อดุลย์ยืนยันโดยตลอดว่า ผู้ชุมนุมเป็นคนไทยไม่ใช่ศัตรูของตำรวจ

ไม่ต้องการให้เผชิญหน้าโดยตรงระหว่างผู้ชุมนุมกับตำรวจ

แต่อาศัยการสืบสวนหาผู้ที่อยู่เบื้องหลังที่เป็นต้นเหตุของความวุ่นวายเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ย้ำกับ “ทีมข่าวอาชญากรรม” ว่า

“การ ชุมนุมเป็นเรื่องที่ยึดหลักสำคัญ 3 เรื่อง คือ หลักการบังคับใช้กฎหมาย หลักนิติธรรมการควบคุมสถานการณ์ปฏิบัติตามขั้นตอนที่เป็นสากล การใช้กำลังเข้าควบคุมเพื่อทำให้สถานการณ์ดีขึ้น มีขั้นตอนใช้กำลังต้องประกาศก่อน และต้องมีความชอบธรรมและสังคมยอมรับได้”

“จะ ต้องเป็นเรื่องที่ทำให้สังคมมีความวุ่นวายสับสน มีความเดือดร้อน กระทบผู้คนส่วนใหญ่ในประเทศ จำเป็นต้องเข้าแก้ไขสถานการณ์ทันที ในการปฏิบัติกำชับตำรวจให้อดทนอดกลั้นให้มากที่สุดในการปฏิบัติหน้าที่ เพราะการชุมนุมเป็นสิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ชุมนุมได้ตามกฎหมาย แต่การชุมนุมต้องไม่ละเมิดสิทธิคนอื่น ฝ่าฝืนกระทำผิดกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย การจับกุมหรือการผลักดันฝูงชนต้องเป็นมาตรฐานสากล และเคารพสิทธิมนุษยชนตามหลักของ UN”

“หลักการชุมนุมในส่วนภูมิภาคตาม กฎหมายเป็นอำนาจของ ผวจ. เป็นผู้รับผิดชอบ ในการแก้ไขปัญหา มีกลไกปกครองท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตำรวจ อัยการ ทุกอย่างขึ้นกับ ผวจ. แต่ในส่วนของตำรวจได้มีการติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด โดยใช้ ศปก.ตร.เป็นเครื่องมือติดตามประเมินสถานการณ์ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติ แก้ไขสถานการณ์ที่มีความรุนแรงเกิดขึ้น การนัดชุมนุมใหญ่ของกลุ่มเกษตรกรสวนยางและสวนปาล์มทั่วประเทศ ในวันที่ 3 กันยายน ได้เรียกประชุม ผบช.ภ.6 และ ผบช.ภ.3 ซึ่งเป็นจุดนัดชุมนุม เพื่อเตรียมความพร้อม มีอะไรที่เกี่ยวข้อง บทบาทของตำรวจจะต้องทำให้ดีที่สุด คำนึงถึงความเสียหายของประเทศเป็นหลัก”

เป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง ทิศทางการเมืองที่หวังผลแตกหัก ให้เปลี่ยนแปลงทางการเมือง

เป็นอีกภารกิจที่หนักอึ้งของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ต้องประคับประคองประเทศ.

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/region/trialweek/366978

ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ส.ค.56

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 1/09/2556 เวลา 02:18:22 ดูภาพสไลด์โชว์  "อดุลย์"ใช้กฎหมาย-หลักสากล หวั่นม็อบยางบานปลาย ดีเดย์3ก.ย.แตกหัก!

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ คงเป็นเหตุการณ์บ้านเมืองไทยที่ไม่มีใครอยากให้ความวุ่นวายในอดีตย้อนกลับมาอีกครั้ง การ ชุมนุมเคลื่อนไหวฝ่าฝืนกฎหมายใช้ “กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย” เข้าปิดล้อมสถานที่ราชการ ทำเนียบรัฐบาล รัฐสภา ปิดสนามบิน ปิดถนน ปิดทางรถไฟ เป็นความย่อยยับเสียหายภาพรวมประเทศ การชุมนุมกลุ่มหลากสี เป็นอดีตที่ทำความบอบช้ำอย่างมากให้กับคนไทยทั้งประเทศ ความ ขัดแย้งของกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองใช้ความเดือดร้อนคนส่วนใหญ่มาเป็น เครื่องมือต่อรองกดดันทุกรูปแบบ จนเสียหายย่อยยับทั้งระบบเศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย และความเชื่อมั่นของประเทศ ไม่มีใครได้ประโยชน์จากการชุมนุมนอกจากเป็นการทำลายกันเองของกลุ่มนักการเมือง ความ เดือดร้อนของพี่น้องประชาชนมักจะถูกนักการเมืองนำมาเป็นเครื่องมือดิสเครดิต ฝ่ายตรงข้าม ล่าสุดคนไทยต้องลุ้นกับการชุมนุมประท้วงของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางและสวน ปาล์มน้ำมัน ชุมนุมปิดถนนสายเอเชีย บริเวณสี่แยกควนหนองหงส์ และปิดเส้นทางรถไฟใน ต.บ้านตูล อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช ส่งผลให้เส้นทางคมนาคมในพื้นที่ภาคใต้เป็นอัมพาต ผู้ที่ใช้ถนน รถไฟได้รับผลกระทบอย่างหนัก ระบบการขนส่งสินค้าอาหารทะเล ซึ่งเป็นหัวใจหลักของพี่น้องภาคใต้ต้องหยุดชะงักทันที โรงเรียนในพื้นที่ อ.ชะอวด ต้องปิดการเรียนชั่วคราวทันที 4 โรงเรียน โรง พยาบาลในพื้นที่ได้รับผลกระทบอย่างมากกับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหนักเข้า รักษาตัวที่รพ.ประจำจังหวัด และปัญหาขาดแคลนยาและเวชภัณฑ์ เนื่องจากระบบขนส่งในภาคใต้ถูกตัดขาดจากกลุ่มผู้ชุมนุม ชาวเกษตรกรสวนยางพาราและน้ำมันปาล์ม นัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 3 กันยายนนี้ กลุ่มม็อบชาวเกษตรกรสวนยางพาราและน้ำมันปาล์ม ขยาย พื้นที่ทั่วประเทศ ภาคเหนือที่ จ.อุตรดิตถ์ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ จ.นครราชสีมา ภาคกลางและภาคตะวันออกมาชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาล ข่มขู่ปิดถนนสายหลักทั่วประเทศเพื่อ “ปิดประเทศ” ต่อรองกับฝ่ายรัฐบาล หลายฝ่ายพยายามหาทางคลี่คลายสถานการณ์ก่อนบานปลาย นายก สมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย ได้เรียกร้องขอให้กลุ่มผู้ชุมนุมเปิดถนนและเส้นทางรถไฟ กลุ่มชาว อ.ชะอวด ได้ออกมาเคลื่อนไหวอ้างว่า ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นคนนอกพื้นที่ให้หยุดประท้วงทำความเดือดร้อน ถ้าไม่ทำตามจะมีการระดมพี่น้องชาวอำเภอชะอวดขับไล่ออกนอกพื้นที่ เจ้าหน้าที่ต้องแยกผู้ชุมนุมเป็น 2 ฝ่าย คือ กลุ่มเกษตรกรสวนยางที่ได้รับความเดือดร้อนจริง กับกลุ่มคนนอกพื้นที่เป็นกลุ่มที่เข้ามาชุมนุมเพื่อหวังผลทางการเมือง มีนักการเมืองเข้ามาหนุนหลัง เป็นเรื่องที่หวั่นบานปลายของกลุ่มมวลชนออกมาประจันหน้ากันเอง หลายฝ่ายต้องเจรจาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้วยสันติวิธีเพื่อไม่ให้มีเหตุรุนแรง พล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. ได้มอบหมาย พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รอง ผบ.ตร. และ พล.ต.ท.ยงยุทธ เจริญวานิช ผบช.ภ.8 เข้ามารับผิดชอบการชุมนุมใช้ ศปก.ตร.ติดตามสถานการณ์ของภาค 8 และ ภ.จ.นครศรีธรรมราช กำชับให้ ผบช.ทุกภาคเตรียมพร้อมเพื่อแก้ไขสถานการณ์ชุมนุมทั่วประเทศ ม็อบสวนยางพาราประท้วงใช้รถบรรทุกขวางรางรถไฟ มอบ หมาย พล.ต.ท.สฤษฎ์ชัย เอนกเวียง ผบช.ส. ประสาน บก.สส.ทุกภาค ติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์ใกล้ชิด ใช้กลไกผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่เจรจาตามหลักสากล พล.ต.อ.อดุลย์ได้สั่ง ให้ ผบช.น. ผบช.ภ.3 และ ผบช.ภ.6 เตรียมความพร้อมกำลังพลในการปฏิบัติการรักษาความสงบเรียบร้อย กรณีกลุ่มผู้ชุมนุมมีการยกระดับการชุมนุมปิดเส้นทางทั่วประเทศ เป็นการปฏิบัติที่เป็นระบบ ตามขั้นตอนกฎหมาย ตามนโยบาย ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี หลีกเลี่ยงการใช้กำลัง ใช้กลไกการเจรจาทำความเข้าใจ ใช้ช่องทางฝ่ายปกครอง ที่อยู่ใกล้ชิดกลุ่มผู้ชุมนุม เพื่อให้ยกเลิกการชุมนุมปิดถนนและเส้นทางรถไฟ ได้จัดเจ้าหน้าที่ ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่ใช้ถนนเลี่ยงเส้นทางที่มีการปิดจราจร สืบสวนสอบสวนดำเนิน มาตรการทางกฎหมายกับแกนนำผู้ที่กระทำผิดกฎหมาย หรือกลุ่มที่ก่อเหตุรุนแรง มี การกำหนดพื้นที่จัดตั้งจุดตรวจโดยรอบ พื้นที่ชุมนุม ตรวจค้นอาวุธที่อาจจะใช้ก่อเหตุรุนแรงและ “กลุ่มมือที่ 3” ที่คิดฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์ หวังผลประโยชน์ทางการเมือง โดยมอบอำนาจเด็ดขาดให้ ผบช.ภ.8 สั่งกำลังและประเมินสถานการณ์เพื่อความเป็นเอกภาพ หากรุนแรงเกินกว่าที่จะใช้กฎหมายปกติให้เสนอเพื่อยกระดับการใช้กฎหมายพิเศษ การชุมนุมเพื่อเรียกร้องความชอบธรรมเป็นเรื่องที่กระทำได้ภายใต้กรอบของกฎหมาย แต่ การปิดถนน ปิดทางรถไฟ ทำให้เกิดความเสียหาย ประชาชนคนอื่นที่ไม่รู้เรื่องได้รับความเดือดร้อน เป็นเรื่องที่เป็นการละเมิดสิทธิคนอื่นและเข้าข่ายต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยเฉพาะกลุ่มแกนนำ ผู้ที่อยู่เบื้องหลังการชุมนุมซึ่งเป็นต้นเหตุของความวุ่นวายในประเทศ กลุ่มม็อบชาวเกษตรกรสวนยางพาราและน้ำมันปาล์ม เป็นการนำมวลชนออกมาเพื่อให้เกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่เพื่อขยายผลเป็นเรื่องการเมือง ผู้ที่ตกที่นั่งลำบากหลบเลี่ยงความรับผิดชอบไม่ได้ คือเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติ ทั้งที่เป็นการปฏิบัติหน้าที่รักษากฎหมาย รักษากฎกติกาของบ้านเมือง เป็น ความเดือดร้อนของคนส่วนใหญ่ที่เรียกร้องให้ใช้กฎหมายเพื่อดำเนินการกับผู้ ที่ใช้ “กฎหมู่” แม้การปฏิบัติจะเป็นไปตามหลักสากล แต่ทุกครั้งที่มีการใช้กฎหมาย จะมีการเรียกร้องเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ แต่ไม่เคยดำเนินการกับผู้ที่อยู่เบื้องหลัง “จัดฉาก” นำมวลชนออกมาได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เป็น ความเจ็บปวดที่อดีตตำรวจหลายคนได้รู้สึกถึงความไม่เป็นธรรม ตำรวจเป็น “เบี้ยล่าง” ของผู้ชุมนุมที่มีการเมืองหนุนหลัง ทั้งที่ได้ทุ่มเทเสียสละทำตามหน้าที่รักษากฎหมาย เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบภาพรวมของประเทศ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. ที่ยังไม่ได้รับความชอบธรรมจากการชุมนุม เป็นบทเรียนสำคัญของตำรวจในเรื่องการชุมนุมประท้วง… สถานการณ์ครั้งนี้ไม่ได้ต่างจากการชุมนุมในอดีตที่ผ่านมา เป็นการแตกหักของกลุ่มการเมืองที่เอาความเดือดร้อนพี่น้องมาเป็นเครื่องต่อรอง ต้อง ยอมรับความเป็นนักบริหารของ พล.ต.อ.อดุลย์ ที่ได้ให้ความสำคัญในการปรับยุทธวิธีในการควบคุมฝูงชนตามหลักสากล ที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่รักษาสันติภาพของประเทศต่างๆทั่วโลก เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ชุมนุมประท้วงทางการเมือง สิ่งที่ พล.ต.อ.อดุลย์ยืนยันโดยตลอดว่า ผู้ชุมนุมเป็นคนไทยไม่ใช่ศัตรูของตำรวจ ไม่ต้องการให้เผชิญหน้าโดยตรงระหว่างผู้ชุมนุมกับตำรวจ แต่อาศัยการสืบสวนหาผู้ที่อยู่เบื้องหลังที่เป็นต้นเหตุของความวุ่นวายเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ย้ำกับ “ทีมข่าวอาชญากรรม” ว่า “การ ชุมนุมเป็นเรื่องที่ยึดหลักสำคัญ 3 เรื่อง คือ หลักการบังคับใช้กฎหมาย หลักนิติธรรมการควบคุมสถานการณ์ปฏิบัติตามขั้นตอนที่เป็นสากล การใช้กำลังเข้าควบคุมเพื่อทำให้สถานการณ์ดีขึ้น มีขั้นตอนใช้กำลังต้องประกาศก่อน และต้องมีความชอบธรรมและสังคมยอมรับได้” “จะ ต้องเป็นเรื่องที่ทำให้สังคมมีความวุ่นวายสับสน มีความเดือดร้อน กระทบผู้คนส่วนใหญ่ในประเทศ จำเป็นต้องเข้าแก้ไขสถานการณ์ทันที ในการปฏิบัติกำชับตำรวจให้อดทนอดกลั้นให้มากที่สุดในการปฏิบัติหน้าที่ เพราะการชุมนุมเป็นสิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ชุมนุมได้ตามกฎหมาย แต่การชุมนุมต้องไม่ละเมิดสิทธิคนอื่น ฝ่าฝืนกระทำผิดกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย การจับกุมหรือการผลักดันฝูงชนต้องเป็นมาตรฐานสากล และเคารพสิทธิมนุษยชนตามหลักของ UN” “หลักการชุมนุมในส่วนภูมิภาคตาม กฎหมายเป็นอำนาจของ ผวจ. เป็นผู้รับผิดชอบ ในการแก้ไขปัญหา มีกลไกปกครองท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตำรวจ อัยการ ทุกอย่างขึ้นกับ ผวจ. แต่ในส่วนของตำรวจได้มีการติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด โดยใช้ ศปก.ตร.เป็นเครื่องมือติดตามประเมินสถานการณ์ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติ แก้ไขสถานการณ์ที่มีความรุนแรงเกิดขึ้น การนัดชุมนุมใหญ่ของกลุ่มเกษตรกรสวนยางและสวนปาล์มทั่วประเทศ ในวันที่ 3 กันยายน ได้เรียกประชุม ผบช.ภ.6 และ ผบช.ภ.3 ซึ่งเป็นจุดนัดชุมนุม เพื่อเตรียมความพร้อม มีอะไรที่เกี่ยวข้อง บทบาทของตำรวจจะต้องทำให้ดีที่สุด คำนึงถึงความเสียหายของประเทศเป็นหลัก” เป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง ทิศทางการเมืองที่หวังผลแตกหัก ให้เปลี่ยนแปลงทางการเมือง เป็นอีกภารกิจที่หนักอึ้งของ พล.ต.อ.อดุลย์

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...