“มาร์ค” หยันปาหี่ปฏิรูปแค่ปลายทางฉีกรัฐธรรมนูญ-ปชป.ขอถกสภา ปัญหาม็อบยางพารา

แสดงความคิดเห็น

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

หน.ปชป.ไม่คาดหวังเวทีปฏิรูปการเมือง อ้างไม่ลาออก ส.ส.เพราะยังต้องใช้เวทีสภาเคลื่อนไหว หวังมวลชน พธม.มาร่วมเวทีผ่าความจริงมากขึ้น “องอาจ” ชี้กว่าครึ่งเป็นฝ่ายรัฐบาล ตั้งธงชำเรารัฐธรรมนูญทั้งฉบับ อีกด้าน ปชป.ขอพิจารณากระทู้สดช่วยพี่น้องสวนยาง 29 ส.ค. แทนถกแก้รัฐธรรมนูญที่มา ส.ว.

วันนี้ (25 ส.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเวทีปฏิรูปการเมืองที่รัฐบาลจัดขึ้นในวันนี้ ว่ายังไม่สามารถคาดหวังอะไรได้ เพราะเป็นคนกลุ่มเดียวกับรัฐบาล และยังไม่มีการตอบรับข้อเสนอจากหลายกลุ่มที่เคยเสนอเพื่อลดความขัดแย้ง พร้อมทั้งเชื่อว่าเป้าหมายสุดท้ายของเวทีปฏิรูปการเมือง คือการรื้อรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ดังนั้นจึงยืนยันว่าจะเดืนหน้าคัดค้านต่อไป และจะไม่ลาออกจากการเป็น ส.ส.เพราะการทำหน้าที่ในสภายังมีความหมาย และมีความจำเป็นโดยมีหลายเรื่องที่รัฐบาลพยายามผลักดัน รวมทั้งร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จึงจะต้องใช้เวทีสภาในการคัดค้าน รวมถึงยังต้องใช้สิทธิของการเป็น ส.ส.ในการยื่นหลายประเด็นที่อาจส่อว่าขัดรัฐธรรมนูญ แต่ก็เคารพการตัดสินใจของแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และยืนยันเป็นการคัดค้านเพื่อไม่ให้เกิดการ “กินรวบ” ประเทศ ไม่ใช่เพื่อแย่งชิงอำนาจ ขณะเดียวกันจะใช้เวทีผ่าความจริงในการชี้แจงให้ข้อมูลกับประชาชน และหากมวลชนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเห็นว่าแนวทางของพรรคเป็นอีกแนว ทางที่จะช่วยยับยั้งความไม่ถูกต้อง ก็สามารถมาร่วมกัน

นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการที่รัฐบาลจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น เพื่อเป็นแนวทางในการจัดตั้งสภาปฏิรูปการเมือง ว่าพรรคประชาธิปัตย์พร้อมให้การร่วมมือในการสร้างความปรองดองและหาทางออกให้ ประเทศ แต่รัฐบาลต้องดำเนินการด้วยความตั้งใจ แต่นี่ผ่านมา 2 ปี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไม่เคยประสงค์ หรือมีจุดยืนที่จะดำเนินการ เป็นเพราะเห็นว่ามีมวลชนจำนวนมากออกมาต่อต้านการแก้รัฐธรรมนูญและกฎหมาย นิรโทษกรรม ใช่หรือไม่ ทั้งนี้เหตุใดรัฐบาลจึงไม่นำข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความ จริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.), สถาบันพระปกเกล้า ที่เคยศึกษาไว้ ตลอดจนข้อเสนอของนายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) และนายมาร์ตติ โอยวา กาเลวิ อะห์ติซาริ อดีตประธานาธิบดีของฟินแลนด์ ที่เคยให้ความเห็นมาใช้ในการปฏิรูป

“การจัดเวทีหาทางออกประเทศครั้งนี้ก็คงเป็นปาหี่ทางการเมืองเท่านั้น เพราะดูรายชื่อผู้ที่เข้าร่วมแล้ว 60% เป็นฝ่ายเดียวกับรัฐบาลหรือมีความคิดใกล้เคียงกัน อีก 20% เข้าร่วมเพราะเกรงใจรัฐบาล ส่วนอีก 20% มีแนวคิดทั่วไป ไม่มีอะไรชัดเจน เป็นไปได้ว่าการหาทางออกให้ประเทศรอบนี้เป็นการตั้งธงสร้างความชอบธรรมให้ รัฐบาลไปเพื่อแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และดันกฎหมายนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง การทำเช่นนี้คงหาทางออกให้ประเทศไม่ได้ และเป็นการหาทางออกฉุกเฉินให้คนทุกคนในรัฐบาลมากกว่า เพราะคนไทยจำนวนมากจะไม่ยอมให้รัฐบาลทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง” นายองอาจ กล่าว

นายองอาจ ยังกล่าวว่า ในสัปดาห์หน้า รัฐสภาจะมีการนัดประชุมในวันที่อังคาร 27 ส.ค. ถึงวันที่ 29 ส.ค.รวม 3 วัน เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มา ส.ว.ต่อ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง น่าจะเปิดให้วันที่ 29 ส.ค.ประชุมสภาตามปกติ เพื่อที่จะได้พิจารณาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยเฉพาะปัญหาของเกษตรกร เช่น ชาวสวนยางที่ออกมาชุมนุม เนื่องจากเดือดร้อนจากราคาตกต่ำ ดังนั้นจึงขอเรียกร้องไปยังรัฐบาล โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีที่บอกตลอดเวลาว่าจะใช้เวทีสภาในการแก้ไขปัญหา ให้มีการประชุมสภาตามปกติในวันพฤหัสบดีที่ 29 ส.ค.นี้ เพื่อที่จะได้หาทางออกให้กับเกษตรกร ซึ่งรัฐบาลจะต้องเร่งแก้ไขโดยด่วนก่อนที่จะมีการชุมนุมทั่วประเทศในวันที่ 3 ก.ย.

สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว.พรรคประชาธิปัตย์ได้แปรญัตติจำนวนหลายร้อยคน และยังไม่ได้อภิปรายอีกมาก เช่น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี ซึ่งไม่สามารถจบได้ภายใน 2-3 วัน ดังนั้นรัฐบาลก็ยังมีเวลาอีกมากก็สามารถพิจารณาต่อในวันพุธในสัปดาห์ต่อๆ ไปได้หรือต้องการเร่งให้เสร็จที่ทุกคนเข้าใจกัน ทั้งนี้พรรคก็จะทำหน้าที่ชี้แจงให้ประชาชนเห็นว่าการแก้รัฐธรรมนูญนี้จะนำไป สู่ปัญหาทางการเมืองไทย เพราะอำนาจหน้าที่ของ ส.ว.จะถูกเบี่ยงเบนไป โดยเฉพาะหน้าที่สำคัญคือการแต่งตั้งองค์กรอิสระ และถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดังนั้นการตรวจสอบ ถ่วงดุล หรือการรักษาความเป็นกลางจะมีปัญหาอย่างแน่นอนจึงทำให้เราได้แปรญัตติ และคัดค้านในการแก้ไขเรื่องนี้

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000106263 (ขนาดไฟล์: 185)

ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ส.ค.56

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 27/08/2556 เวลา 04:33:04 ดูภาพสไลด์โชว์ “มาร์ค” หยันปาหี่ปฏิรูปแค่ปลายทางฉีกรัฐธรรมนูญ-ปชป.ขอถกสภา ปัญหาม็อบยางพารา

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ หน.ปชป.ไม่คาดหวังเวทีปฏิรูปการเมือง อ้างไม่ลาออก ส.ส.เพราะยังต้องใช้เวทีสภาเคลื่อนไหว หวังมวลชน พธม.มาร่วมเวทีผ่าความจริงมากขึ้น “องอาจ” ชี้กว่าครึ่งเป็นฝ่ายรัฐบาล ตั้งธงชำเรารัฐธรรมนูญทั้งฉบับ อีกด้าน ปชป.ขอพิจารณากระทู้สดช่วยพี่น้องสวนยาง 29 ส.ค. แทนถกแก้รัฐธรรมนูญที่มา ส.ว. วันนี้ (25 ส.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเวทีปฏิรูปการเมืองที่รัฐบาลจัดขึ้นในวันนี้ ว่ายังไม่สามารถคาดหวังอะไรได้ เพราะเป็นคนกลุ่มเดียวกับรัฐบาล และยังไม่มีการตอบรับข้อเสนอจากหลายกลุ่มที่เคยเสนอเพื่อลดความขัดแย้ง พร้อมทั้งเชื่อว่าเป้าหมายสุดท้ายของเวทีปฏิรูปการเมือง คือการรื้อรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ดังนั้นจึงยืนยันว่าจะเดืนหน้าคัดค้านต่อไป และจะไม่ลาออกจากการเป็น ส.ส.เพราะการทำหน้าที่ในสภายังมีความหมาย และมีความจำเป็นโดยมีหลายเรื่องที่รัฐบาลพยายามผลักดัน รวมทั้งร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จึงจะต้องใช้เวทีสภาในการคัดค้าน รวมถึงยังต้องใช้สิทธิของการเป็น ส.ส.ในการยื่นหลายประเด็นที่อาจส่อว่าขัดรัฐธรรมนูญ แต่ก็เคารพการตัดสินใจของแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และยืนยันเป็นการคัดค้านเพื่อไม่ให้เกิดการ “กินรวบ” ประเทศ ไม่ใช่เพื่อแย่งชิงอำนาจ ขณะเดียวกันจะใช้เวทีผ่าความจริงในการชี้แจงให้ข้อมูลกับประชาชน และหากมวลชนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเห็นว่าแนวทางของพรรคเป็นอีกแนว ทางที่จะช่วยยับยั้งความไม่ถูกต้อง ก็สามารถมาร่วมกัน นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการที่รัฐบาลจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น เพื่อเป็นแนวทางในการจัดตั้งสภาปฏิรูปการเมือง ว่าพรรคประชาธิปัตย์พร้อมให้การร่วมมือในการสร้างความปรองดองและหาทางออกให้ ประเทศ แต่รัฐบาลต้องดำเนินการด้วยความตั้งใจ แต่นี่ผ่านมา 2 ปี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไม่เคยประสงค์ หรือมีจุดยืนที่จะดำเนินการ เป็นเพราะเห็นว่ามีมวลชนจำนวนมากออกมาต่อต้านการแก้รัฐธรรมนูญและกฎหมาย นิรโทษกรรม ใช่หรือไม่ ทั้งนี้เหตุใดรัฐบาลจึงไม่นำข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความ จริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.), สถาบันพระปกเกล้า ที่เคยศึกษาไว้ ตลอดจนข้อเสนอของนายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) และนายมาร์ตติ โอยวา กาเลวิ อะห์ติซาริ อดีตประธานาธิบดีของฟินแลนด์ ที่เคยให้ความเห็นมาใช้ในการปฏิรูป “การจัดเวทีหาทางออกประเทศครั้งนี้ก็คงเป็นปาหี่ทางการเมืองเท่านั้น เพราะดูรายชื่อผู้ที่เข้าร่วมแล้ว 60% เป็นฝ่ายเดียวกับรัฐบาลหรือมีความคิดใกล้เคียงกัน อีก 20% เข้าร่วมเพราะเกรงใจรัฐบาล ส่วนอีก 20% มีแนวคิดทั่วไป ไม่มีอะไรชัดเจน เป็นไปได้ว่าการหาทางออกให้ประเทศรอบนี้เป็นการตั้งธงสร้างความชอบธรรมให้ รัฐบาลไปเพื่อแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และดันกฎหมายนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง การทำเช่นนี้คงหาทางออกให้ประเทศไม่ได้ และเป็นการหาทางออกฉุกเฉินให้คนทุกคนในรัฐบาลมากกว่า เพราะคนไทยจำนวนมากจะไม่ยอมให้รัฐบาลทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง” นายองอาจ กล่าว นายองอาจ ยังกล่าวว่า ในสัปดาห์หน้า รัฐสภาจะมีการนัดประชุมในวันที่อังคาร 27 ส.ค. ถึงวันที่ 29 ส.ค.รวม 3 วัน เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มา ส.ว.ต่อ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง น่าจะเปิดให้วันที่ 29 ส.ค.ประชุมสภาตามปกติ เพื่อที่จะได้พิจารณาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยเฉพาะปัญหาของเกษตรกร เช่น ชาวสวนยางที่ออกมาชุมนุม เนื่องจากเดือดร้อนจากราคาตกต่ำ ดังนั้นจึงขอเรียกร้องไปยังรัฐบาล โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีที่บอกตลอดเวลาว่าจะใช้เวทีสภาในการแก้ไขปัญหา ให้มีการประชุมสภาตามปกติในวันพฤหัสบดีที่ 29 ส.ค.นี้ เพื่อที่จะได้หาทางออกให้กับเกษตรกร ซึ่งรัฐบาลจะต้องเร่งแก้ไขโดยด่วนก่อนที่จะมีการชุมนุมทั่วประเทศในวันที่ 3 ก.ย. สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว.พรรคประชาธิปัตย์ได้แปรญัตติจำนวนหลายร้อยคน และยังไม่ได้อภิปรายอีกมาก เช่น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี ซึ่งไม่สามารถจบได้ภายใน 2-3 วัน ดังนั้นรัฐบาลก็ยังมีเวลาอีกมากก็สามารถพิจารณาต่อในวันพุธในสัปดาห์ต่อๆ ไปได้หรือต้องการเร่งให้เสร็จที่ทุกคนเข้าใจกัน ทั้งนี้พรรคก็จะทำหน้าที่ชี้แจงให้ประชาชนเห็นว่าการแก้รัฐธรรมนูญนี้จะนำไป สู่ปัญหาทางการเมืองไทย เพราะอำนาจหน้าที่ของ ส.ว.จะถูกเบี่ยงเบนไป โดยเฉพาะหน้าที่สำคัญคือการแต่งตั้งองค์กรอิสระ และถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดังนั้นการตรวจสอบ ถ่วงดุล หรือการรักษาความเป็นกลางจะมีปัญหาอย่างแน่นอนจึงทำให้เราได้แปรญัตติ และคัดค้านในการแก้ไขเรื่องนี้ ขอบคุณ... http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000106263 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...