สว.กร้าวฟ้องทุกศาล ฟันแก๊งโหวตแก้รธน.

แสดงความคิดเห็น

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 16 สิงหาคม ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ซึ่งมี นายสาย กังกเวคิน สว.สรรหา เป็นประธาน ได้จัดเสวนาให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่อง “แก้รัฐธรรมนูญที่มาสว. : แผนเผด็จการรัฐสภาควบคุมองค์กรศาลและองค์กรอิสระ”

โดย นายคำนูน สิทธิสมาน สว.สรรหา กล่าวว่า การที่สภานำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณา วาระที่ 2 ในวันที่ 20 สิงหาคม เป็นการเร่งดำเนินการอย่างจวนตัว เพราะ สว.เลือกตั้งชุดปัจจุบันจะหมดวาระในต้นเดือนมีนาคม 2557 ขณะที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ก็ห้าม สว.ลงเลือกตั้งติดต่อกันเกิน 2 สมัย ดังนั้นจึงต้องเร่งรีบผลักดันการแก้ไขประเด็นนี้ให้เสร็จภายใน เดือนสิงหาคม

“หากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นนี้ผ่านความเห็นชอบ ก็จะทำให้สภาผัวเมียกลับมาอีกครั้ง ส่วนผู้ที่เป็น สส. หรือรัฐมนตรี เมื่อพ้นจากตำแหน่งก็สามารถลงสมัครได้ทันทีโดยไม่ต้องเว้นวรรค 5 ปีเหมือนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งเรื่องนี้มีความสำคัญ”

นายคำนูน กล่าวอีกว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมีลักษณะหลอกลวง 3 ประเด็น คือ 1.หลอกลวงว่าเป็นประชาธิปไตย 2.หลอกลวงเป็นสภาฯกลั่นกรอง และ 3.หลอกลวงว่ามีองค์กรอิสระ ทั้งนี้ตนเกรงว่า หากวุฒิสภาเป็นส่วนหนึ่งของการเมือง ก็เกรงว่า อาจทำให้องค์กรอิสระจะถูกชักจูงให้ดำเนินไปตามการเมือง

“ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เปิดโอกาสให้ฝ่ายการเมืองครอบครองสภาสูง และเปิดโอกาสให้ฝ่ายการเมืองส่งคนของตนมาทำหน้าที่ในองค์กรอิสระ ดังนั้นจึงขอให้ประชาชนจับตาดูในเรื่องนี้ต่อไป” นายคำนูน ย้ำ

นายวันชัย สอนศิริ สว.สรรหา กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เป็นการแก้ข้อบกพร่องรัฐธรรมนูญปี 40 โดยการถอดบทเรียนข้อบกพร่องมาอุดรอยรั่ว ทั้งนี้มองว่า ขนาดปัจจุบันมี สว.สรรหา ก็ยังมีพรรคการเมือง กลุ่มผู้มีอำนาจเข้ามาแทรกแซง ดังนั้นที่รัฐบาลอ้างว่า การแก้รัฐธรรมนูบฉบับนี้เพื่อยึดโยงกับประชาชน จึงเป็นคำหลอกลวงประชาชนว่า เป็นประชาธิไตย แต่อันที่จริงแล้วเป็นการนำเอาสว.มาเป็นลูกไก่ในกำมือเท่านั้น

น.ส.รสนา โตสิตระกูล กล่าวว่า การแก้รัฐธรมนูญฉบับนี้เป็นการแก้เพื่อเพิ่มอำนาจฝ่ายบริหาร ทำให้อำนาจในการตรวจสอบลดลง นอกจากนี้ในประเด็นเรื่องที่มาสว.นั้นตนเห็นว่า สว.ควรมีที่มาแตกต่างจากส.ส. เพราะถ้ามีที่มาเช่นเดียวกัน จะทำให้สว.ถูกรวบอำนาจในการทำหน้าที่ และทำให้ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย แต่จะนำไปสู่การครอบครองทั้ง 2 สภา ซึ่งจะเป็นการทำลายกระบวนการในการตรวจสอบถ่วงดุลทั้งหมด สิ่งที่เกิดขึ้น คือ การรวบอำนาจแบบเบ็ดเสร็จภายใต้เสื้อคลุมที่เรียกว่าอำนาจอธิปไตย ดังนั้นหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบจากสภาตนจะเป็นผู้ยื่น ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาเรื่องนี้

พล.อ.อ.วีรวิท คงศักดิ์ สว.สรรหากล่าวว่า การออกรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่ผิดตำรารัฐศาตร์ รัฐบาลพยายามทำให้สว.และสส.มีการเลือกตั้งที่เหมือนกัน ทั้งที่ตามหลักสากลที่มาของสส.และสว.ต้องต่างกัน จึงมองว่ากฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่มีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน โดยเฉพาะเรื่องสภาผัวเมียนั้นชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์โดย ตรง ดังนั้นใครที่รับหลักการเรื่องนี้ขอให้เตรียมตัวขึ้นศาลได้เลย

นายสมชาย แสวงการ สว.สรรหา กล่าวว่า วันนี้เราจะต้องมาพิจารณาว่า เราจะมี 2 สภาหรือสภาเดียว ถ้าจะมี 2 สภาเราต้องมาพิจารณาว่า สส.และสว.ควรมีลักษณะอย่างไร สิ่งที่จะเกิดขึ้นถ้าสว.ถูกควบคุมก็จะทำให้องค์กรอิสระไม่สามารถทำ หน้าที่ได้ และถูกถอดถอนโดยฝ่ายการเมืองเข้ามาครอบงำได้อย่างแน่นอน

“ตรงนี้เราจะต้องมาต่อสู้อย่างถึงที่สุด ซึ่งเราจะยื่นเรื่องนี้ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมถึงทุกๆ ศาลอย่างแน่นอน” นายสมชาย กล่าว

วันเดียวกัน นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า เมื่อคืนวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา ตนและแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ อาทิ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรค คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช และนายกษิต ภิรมณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ได้นัดหารือกับ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และแกนนำคนอื่นๆ บางส่วน เพราะเห็นว่าต่างมีเป้าหมายเดียวกัน คือ คัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่จะลบล้างความผิดโดยเฉพาะคดีอาญา ทุจริต การหมิ่นสถาบัน และโค่นล้มระบอบทักษิณ

ทั้งนี้หลังจากการพูดคุย ก็เห็นในแนวทางเดียวกันว่า แม้ขณะนี้เราจะมีแนวทางวิธีการต่อสู้ที่แตกต่างกัน แต่มีเป้าหมายเดียวกัน ก็สามารถร่วมกันขับเคลื่อนไปด้วยกันได้ เพราะเชื่อว่าสุดท้ายแล้วแนวทางการต่อสู้ของทุกกลุ่มก็จะออกมาเป็น แนวทางเดียวกันที่เป็นเอกภาพ เพราะขณะนี้ประเทศชาติเกิดวิกฤติปัญหามากมาย

ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุใดจึงมีการเปิดเผยก่อนที่การเจรจาจะจบและนำไปสู่การรวมกลุ่ม เคลื่อนไหว นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า เพราะต้องการให้ความมั่นใจกับประชาชนเจ้าของประเทศที่ตาสว่างแล้ว และต้องการคัดค้านความไม่ถูกต้องในการทำลายหลักนิติรัฐและนิติธรรม เกิดความมั่นใจในการออกมาร่วมเคลื่อนไหว และคิดว่าในเวลาอันใกล้นี้จะมีตัวแทนของพรรคชุดใหญ่เจรจากับแกนนำ กลุ่มพันธมิตรฯต่อไป

วันเดียวกัน นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยความคืบหน้าการเดินสายเชิญบุคคลต่างๆ เข้าร่วมสภาปฏิรูปการเมืองตามแนวคิดของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า ขณะนี้มีผู้ที่ตอบรับเข้าร่วมแล้วประมาณ 20 คน ทั้งภาคการเมือง ธุรกิจ กลุ่มบุคคล เช่น อดีตนายกฯ อดีประธานรัฐสภา หัวหน้าพรรคการเมือง นักวิชาการ ภาคเอกชน

ส่วนบุคคลที่กำลังจะติดต่อเพิ่มเติม อยู่ระหว่างการประสานงาน เช่น พรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รวมทั้งสถาบันการศึกษา อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยจะเชิญอธิการบดี คณบดีของคณะใดคณะหนึ่ง สถาบันพระปกเกล้า สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เครือข่ายภาคประชาชนและองค์กรต่างๆ เช่น สภาทนายความ สภาสตรีแห่งชาติ สภาองค์กรลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย สภาเกษตรกรแห่งชาติ ผู้นำชุมชน สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย สื่อมวชน โดยรวมผู้เข้าร่วมน่าจะอยู่ที่ประมาณ 50-60 คน

ขอบคุณ http://www.ryt9.com/s/nnd/1715968

แนวหน้าออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ส.ค.56

ที่มา: แนวหน้าออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 17/08/2556 เวลา 04:11:19

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 16 สิงหาคม ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ซึ่งมี นายสาย กังกเวคิน สว.สรรหา เป็นประธาน ได้จัดเสวนาให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่อง “แก้รัฐธรรมนูญที่มาสว. : แผนเผด็จการรัฐสภาควบคุมองค์กรศาลและองค์กรอิสระ” โดย นายคำนูน สิทธิสมาน สว.สรรหา กล่าวว่า การที่สภานำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณา วาระที่ 2 ในวันที่ 20 สิงหาคม เป็นการเร่งดำเนินการอย่างจวนตัว เพราะ สว.เลือกตั้งชุดปัจจุบันจะหมดวาระในต้นเดือนมีนาคม 2557 ขณะที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ก็ห้าม สว.ลงเลือกตั้งติดต่อกันเกิน 2 สมัย ดังนั้นจึงต้องเร่งรีบผลักดันการแก้ไขประเด็นนี้ให้เสร็จภายใน เดือนสิงหาคม “หากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นนี้ผ่านความเห็นชอบ ก็จะทำให้สภาผัวเมียกลับมาอีกครั้ง ส่วนผู้ที่เป็น สส. หรือรัฐมนตรี เมื่อพ้นจากตำแหน่งก็สามารถลงสมัครได้ทันทีโดยไม่ต้องเว้นวรรค 5 ปีเหมือนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งเรื่องนี้มีความสำคัญ” นายคำนูน กล่าวอีกว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมีลักษณะหลอกลวง 3 ประเด็น คือ 1.หลอกลวงว่าเป็นประชาธิปไตย 2.หลอกลวงเป็นสภาฯกลั่นกรอง และ 3.หลอกลวงว่ามีองค์กรอิสระ ทั้งนี้ตนเกรงว่า หากวุฒิสภาเป็นส่วนหนึ่งของการเมือง ก็เกรงว่า อาจทำให้องค์กรอิสระจะถูกชักจูงให้ดำเนินไปตามการเมือง “ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เปิดโอกาสให้ฝ่ายการเมืองครอบครองสภาสูง และเปิดโอกาสให้ฝ่ายการเมืองส่งคนของตนมาทำหน้าที่ในองค์กรอิสระ ดังนั้นจึงขอให้ประชาชนจับตาดูในเรื่องนี้ต่อไป” นายคำนูน ย้ำ นายวันชัย สอนศิริ สว.สรรหา กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เป็นการแก้ข้อบกพร่องรัฐธรรมนูญปี 40 โดยการถอดบทเรียนข้อบกพร่องมาอุดรอยรั่ว ทั้งนี้มองว่า ขนาดปัจจุบันมี สว.สรรหา ก็ยังมีพรรคการเมือง กลุ่มผู้มีอำนาจเข้ามาแทรกแซง ดังนั้นที่รัฐบาลอ้างว่า การแก้รัฐธรรมนูบฉบับนี้เพื่อยึดโยงกับประชาชน จึงเป็นคำหลอกลวงประชาชนว่า เป็นประชาธิไตย แต่อันที่จริงแล้วเป็นการนำเอาสว.มาเป็นลูกไก่ในกำมือเท่านั้น น.ส.รสนา โตสิตระกูล กล่าวว่า การแก้รัฐธรมนูญฉบับนี้เป็นการแก้เพื่อเพิ่มอำนาจฝ่ายบริหาร ทำให้อำนาจในการตรวจสอบลดลง นอกจากนี้ในประเด็นเรื่องที่มาสว.นั้นตนเห็นว่า สว.ควรมีที่มาแตกต่างจากส.ส. เพราะถ้ามีที่มาเช่นเดียวกัน จะทำให้สว.ถูกรวบอำนาจในการทำหน้าที่ และทำให้ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย แต่จะนำไปสู่การครอบครองทั้ง 2 สภา ซึ่งจะเป็นการทำลายกระบวนการในการตรวจสอบถ่วงดุลทั้งหมด สิ่งที่เกิดขึ้น คือ การรวบอำนาจแบบเบ็ดเสร็จภายใต้เสื้อคลุมที่เรียกว่าอำนาจอธิปไตย ดังนั้นหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบจากสภาตนจะเป็นผู้ยื่น ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ พล.อ.อ.วีรวิท คงศักดิ์ สว.สรรหากล่าวว่า การออกรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่ผิดตำรารัฐศาตร์ รัฐบาลพยายามทำให้สว.และสส.มีการเลือกตั้งที่เหมือนกัน ทั้งที่ตามหลักสากลที่มาของสส.และสว.ต้องต่างกัน จึงมองว่ากฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่มีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน โดยเฉพาะเรื่องสภาผัวเมียนั้นชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์โดย ตรง ดังนั้นใครที่รับหลักการเรื่องนี้ขอให้เตรียมตัวขึ้นศาลได้เลย นายสมชาย แสวงการ สว.สรรหา กล่าวว่า วันนี้เราจะต้องมาพิจารณาว่า เราจะมี 2 สภาหรือสภาเดียว ถ้าจะมี 2 สภาเราต้องมาพิจารณาว่า สส.และสว.ควรมีลักษณะอย่างไร สิ่งที่จะเกิดขึ้นถ้าสว.ถูกควบคุมก็จะทำให้องค์กรอิสระไม่สามารถทำ หน้าที่ได้ และถูกถอดถอนโดยฝ่ายการเมืองเข้ามาครอบงำได้อย่างแน่นอน “ตรงนี้เราจะต้องมาต่อสู้อย่างถึงที่สุด ซึ่งเราจะยื่นเรื่องนี้ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมถึงทุกๆ ศาลอย่างแน่นอน” นายสมชาย กล่าว วันเดียวกัน นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า เมื่อคืนวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา ตนและแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ อาทิ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรค คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช และนายกษิต ภิรมณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ได้นัดหารือกับ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และแกนนำคนอื่นๆ บางส่วน เพราะเห็นว่าต่างมีเป้าหมายเดียวกัน คือ คัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่จะลบล้างความผิดโดยเฉพาะคดีอาญา ทุจริต การหมิ่นสถาบัน และโค่นล้มระบอบทักษิณ ทั้งนี้หลังจากการพูดคุย ก็เห็นในแนวทางเดียวกันว่า แม้ขณะนี้เราจะมีแนวทางวิธีการต่อสู้ที่แตกต่างกัน แต่มีเป้าหมายเดียวกัน ก็สามารถร่วมกันขับเคลื่อนไปด้วยกันได้ เพราะเชื่อว่าสุดท้ายแล้วแนวทางการต่อสู้ของทุกกลุ่มก็จะออกมาเป็น แนวทางเดียวกันที่เป็นเอกภาพ เพราะขณะนี้ประเทศชาติเกิดวิกฤติปัญหามากมาย ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุใดจึงมีการเปิดเผยก่อนที่การเจรจาจะจบและนำไปสู่การรวมกลุ่ม เคลื่อนไหว นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า เพราะต้องการให้ความมั่นใจกับประชาชนเจ้าของประเทศที่ตาสว่างแล้ว และต้องการคัดค้านความไม่ถูกต้องในการทำลายหลักนิติรัฐและนิติธรรม เกิดความมั่นใจในการออกมาร่วมเคลื่อนไหว และคิดว่าในเวลาอันใกล้นี้จะมีตัวแทนของพรรคชุดใหญ่เจรจากับแกนนำ กลุ่มพันธมิตรฯต่อไป วันเดียวกัน นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยความคืบหน้าการเดินสายเชิญบุคคลต่างๆ เข้าร่วมสภาปฏิรูปการเมืองตามแนวคิดของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า ขณะนี้มีผู้ที่ตอบรับเข้าร่วมแล้วประมาณ 20 คน ทั้งภาคการเมือง ธุรกิจ กลุ่มบุคคล เช่น อดีตนายกฯ อดีประธานรัฐสภา หัวหน้าพรรคการเมือง นักวิชาการ ภาคเอกชน ส่วนบุคคลที่กำลังจะติดต่อเพิ่มเติม อยู่ระหว่างการประสานงาน เช่น พรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รวมทั้งสถาบันการศึกษา อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยจะเชิญอธิการบดี คณบดีของคณะใดคณะหนึ่ง สถาบันพระปกเกล้า สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เครือข่ายภาคประชาชนและองค์กรต่างๆ เช่น สภาทนายความ สภาสตรีแห่งชาติ สภาองค์กรลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย สภาเกษตรกรแห่งชาติ ผู้นำชุมชน สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย สื่อมวชน โดยรวมผู้เข้าร่วมน่าจะอยู่ที่ประมาณ 50-60 คน ขอบคุณ http://www.ryt9.com/s/nnd/1715968 แนวหน้าออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...