สปสช.ขีดเส้นสิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินต้องถึงแก่ชีวิต

แสดงความคิดเห็น

สปสช.เตรียมเสนอแนวทางแก้ ปัญหา นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว ต่อคณะกรรมการร่วม 3 กองทุน เล็งขีดเส้นชัดเจนต้องเป็นฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต หากไม่ใช่ให้เข้าสิทธิฉุกเฉินแต่ละกองทุน พร้อมออกกฎหมายเพิ่มเติม บังคับ รพ.เอกชนห้ามบอกปัดไม่รับผู้ป่วย

นพ.สัมฤทธ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงกรณีประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ระบุว่า นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียวของรัฐบาลนั้นเป็นนโยบายที่ดี แต่ยังพบว่าการปฏิบัติมีปัญหา โดยเฉพาะการถูกเรียกเก็บเงินจากการรักษาพยาบาล ซึ่งไม่เป็นไปตามที่นโยบาย ว่า เรื่องนี้ รัฐบาล กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ สปสช.ทราบมาโดยตลอด และไม่ได้นิ่งนอนใจ ที่ผ่านมามีแนวทางแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กรมบัญชีกลาง และสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เมื่อวันที่ 1 ส.ค.ที่ผ่านมา มีข้อเสนอเพื่อพัฒนาระบบให้มีความยั่งยืน โดยหลักการสำคัญคือ ปิดช่องว่างที่มีของระบบต่างๆ ไม่ใช่ไปทดแทนระบบปกติที่มีของแต่ละกองทุน

นพ.สัมฤทธิ์ กล่าวอีกว่า มาตรการ สำคัญที่ต้องมี คือ 1.ให้มีกฎหมายรองรับ โดยมี สปสช.เป็นผู้จัดการระบบ 2.จำกัดขอบเขตของนโยบายนี้ไว้ที่ฉุกเฉินวิกฤตถึงแก่ชีวิต และมีมาตรการสนับสนุนและกำกับอย่างมีประสิทธิผล โดยผู้ป่วยต้องไม่ถูกปฏิเสธการให้บริการ และไม่ให้มีการเรียกเก็บเงินจากผู้ป่วยโดยตรง ทั้งนี้ แต่ละกองทุนยังต้องคงระบบการคุ้มครองและชดเชยบริการฉุกเฉินตามปกติสำหรับ กรณีไม่ใช่วิกฤต หรือไม่ได้ขอแจ้งใช้สิทธิขณะรับบริการ เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างในระบบและไม่เป็นการลิดรอนสิทธิประชาชน 3.ปรับเพิ่มค่าบริการสำหรับกรณีวิกฤตสีแดงให้เหมาะสม โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาอัตราใหม่ คาดว่าจะแล้วเสร็จ ก.ย.นี้ 4.ให้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล กำหนดให้สถานพยาบาลเอกชนต้องไม่ปฏิเสธการขอใช้สิทธิและเรียกเก็บค่ารักษาจาก ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตโดยตรง

นพ.สัมฤทธิ์ กล่าวต่อไปว่า 5.มีระบบ การแจ้งขอใช้สิทธิและระบบอนุมัติตั้งแต่เริ่มเข้ารับบริการ ซึ่ง สพฉ.จะกำหนดเกณฑ์และระบบการจำแนกระดับฉุกเฉิน และเกณฑ์เมื่อพ้นจากภาวะวิกฤต โดยระบบนี้จะคุ้มครองกรณีเป็นฉุกเฉินวิกฤต (สีแดง) ระบบจะออกเลขอนุมัติและโครงการนี้จ่ายให้ตามอัตราใหม่ที่จะตกลงกัน แต่หากเป็นกรณีฉุกเฉินที่ไม่ถึงกับวิกฤต จะส่งต่อข้อมูลไปยังกองทุนที่รับผิดชอบดูแลต่อไป และโรงพยาบาลต้องมีการแจ้งขอใช้สิทธิตั้งแต่เริ่มรับเข้าบริการวันแรก หากไม่ได้แจ้ง ก็ยังคงไปใช้สิทธิในระบบปกติของตนได้ 6.จัดให้มีการบริการสายด่วนให้คำปรึกษา และ 7.มีระบบการจัดการของแต่ละกองทุนเพื่อส่งผู้ป่วยกลับเข้าสู่ระบบปกติโดยความ สมัครใจเมื่อพ้นภาวะวิกฤตและฉุกเฉิน

“ทั้งหมดเป็นข้อเสนอที่จะนำไปหารือในคณะกรรมการร่วม 3 กองทุนปลายเดือนนี้ และนำเสนอต่อ บอร์ด สปสช. ก.ย.นี้ เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้พิจารณาและสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอต่อไป คาดว่าการดำเนินการตามข้อเสนอนี้น่าจะลดปัญหาที่มีได้ ในการนี้” รองเลขาธิการ สปสช.กล่าว

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000101647 (ขนาดไฟล์: 185)

ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ส.ค.56

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 16/08/2556 เวลา 04:35:44

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สปสช.เตรียมเสนอแนวทางแก้ ปัญหา นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว ต่อคณะกรรมการร่วม 3 กองทุน เล็งขีดเส้นชัดเจนต้องเป็นฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต หากไม่ใช่ให้เข้าสิทธิฉุกเฉินแต่ละกองทุน พร้อมออกกฎหมายเพิ่มเติม บังคับ รพ.เอกชนห้ามบอกปัดไม่รับผู้ป่วย นพ.สัมฤทธ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงกรณีประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ระบุว่า นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียวของรัฐบาลนั้นเป็นนโยบายที่ดี แต่ยังพบว่าการปฏิบัติมีปัญหา โดยเฉพาะการถูกเรียกเก็บเงินจากการรักษาพยาบาล ซึ่งไม่เป็นไปตามที่นโยบาย ว่า เรื่องนี้ รัฐบาล กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ สปสช.ทราบมาโดยตลอด และไม่ได้นิ่งนอนใจ ที่ผ่านมามีแนวทางแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กรมบัญชีกลาง และสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เมื่อวันที่ 1 ส.ค.ที่ผ่านมา มีข้อเสนอเพื่อพัฒนาระบบให้มีความยั่งยืน โดยหลักการสำคัญคือ ปิดช่องว่างที่มีของระบบต่างๆ ไม่ใช่ไปทดแทนระบบปกติที่มีของแต่ละกองทุน นพ.สัมฤทธิ์ กล่าวอีกว่า มาตรการ สำคัญที่ต้องมี คือ 1.ให้มีกฎหมายรองรับ โดยมี สปสช.เป็นผู้จัดการระบบ 2.จำกัดขอบเขตของนโยบายนี้ไว้ที่ฉุกเฉินวิกฤตถึงแก่ชีวิต และมีมาตรการสนับสนุนและกำกับอย่างมีประสิทธิผล โดยผู้ป่วยต้องไม่ถูกปฏิเสธการให้บริการ และไม่ให้มีการเรียกเก็บเงินจากผู้ป่วยโดยตรง ทั้งนี้ แต่ละกองทุนยังต้องคงระบบการคุ้มครองและชดเชยบริการฉุกเฉินตามปกติสำหรับ กรณีไม่ใช่วิกฤต หรือไม่ได้ขอแจ้งใช้สิทธิขณะรับบริการ เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างในระบบและไม่เป็นการลิดรอนสิทธิประชาชน 3.ปรับเพิ่มค่าบริการสำหรับกรณีวิกฤตสีแดงให้เหมาะสม โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาอัตราใหม่ คาดว่าจะแล้วเสร็จ ก.ย.นี้ 4.ให้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล กำหนดให้สถานพยาบาลเอกชนต้องไม่ปฏิเสธการขอใช้สิทธิและเรียกเก็บค่ารักษาจาก ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตโดยตรง นพ.สัมฤทธิ์ กล่าวต่อไปว่า 5.มีระบบ การแจ้งขอใช้สิทธิและระบบอนุมัติตั้งแต่เริ่มเข้ารับบริการ ซึ่ง สพฉ.จะกำหนดเกณฑ์และระบบการจำแนกระดับฉุกเฉิน และเกณฑ์เมื่อพ้นจากภาวะวิกฤต โดยระบบนี้จะคุ้มครองกรณีเป็นฉุกเฉินวิกฤต (สีแดง) ระบบจะออกเลขอนุมัติและโครงการนี้จ่ายให้ตามอัตราใหม่ที่จะตกลงกัน แต่หากเป็นกรณีฉุกเฉินที่ไม่ถึงกับวิกฤต จะส่งต่อข้อมูลไปยังกองทุนที่รับผิดชอบดูแลต่อไป และโรงพยาบาลต้องมีการแจ้งขอใช้สิทธิตั้งแต่เริ่มรับเข้าบริการวันแรก หากไม่ได้แจ้ง ก็ยังคงไปใช้สิทธิในระบบปกติของตนได้ 6.จัดให้มีการบริการสายด่วนให้คำปรึกษา และ 7.มีระบบการจัดการของแต่ละกองทุนเพื่อส่งผู้ป่วยกลับเข้าสู่ระบบปกติโดยความ สมัครใจเมื่อพ้นภาวะวิกฤตและฉุกเฉิน “ทั้งหมดเป็นข้อเสนอที่จะนำไปหารือในคณะกรรมการร่วม 3 กองทุนปลายเดือนนี้ และนำเสนอต่อ บอร์ด สปสช. ก.ย.นี้ เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้พิจารณาและสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอต่อไป คาดว่าการดำเนินการตามข้อเสนอนี้น่าจะลดปัญหาที่มีได้ ในการนี้” รองเลขาธิการ สปสช.กล่าว ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000101647 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...