สปส.เล็งย่นเวลา-เพิ่มสิทธิประโยชน์ เร่งให้เกิดสิทธิหลังส่งสมทบ 1 เดือน

แสดงความคิดเห็น

สปส.ตั้ง คณะทำงานศึกษาเพิ่มสิทธิ-ย่นเวลาเกิดสิทธิประโยชน์ เผยแนวโน้มส่งเงินสมทบ 1 เดือนให้ได้รับสิทธิรักษากรณีเจ็บป่วย จากเดิมต้องส่งเงินสมทบ 3 เดือน แจงเพิ่มสิทธิประโยชน์ต้องรอบคอบ คำนึงถึงความมั่นคงด้านการเงินของกองทุนในระยะยาว

นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงผลสำรวจของกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรีที่ขอเสนอให้รัฐบาลร่วมจ่ายเงิน สมทบจากปัจจุบัน 2.75% เพิ่มเป็น 5% และอยากให้เพิ่มสิทธิประโยชน์ในกรณีต่างๆ และให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทันที เมื่อจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม รวมทั้งอยากให้ออกบัตรรับรองสิทธ์ใบเดียวสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลได้กับ ทุกโรงพยาบาลในระบบประกันสังคมว่า ขณะนี้ สปส.ได้ตั้งคณะทำงานซึ่งมีนางสุพัชรี มีครุฑ รองเลขาธิการ สปส.เป็นประธานคณะทำงานเพื่อศึกษาเรื่องการเพิ่มสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนใน กรณีต่างๆ และระยะเวลาการเกิดสิทธิหลังเข้าเป็นผู้ประกันตน เนื่องจากก่อนหน้านี้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) ได้มอบนโยบายแก่ สปส.โดยต้องการให้ สปส.เพิ่มสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตนและให้เกิดสิทธิหลังเข้าเป็นผู้ประกัน ตนโดยเร็วที่สุด

เลขาธิการ สปส.กล่าวอีกว่า โดย ส่วนตัวเท่าที่ดูความเป็นไปได้ อาจจะย่นระยะเวลาการเกิดสิทธิได้ แต่ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นกรณีสิทธิประโยชน์ไป เช่น กรณีเจ็บป่วยจากเดิมเมื่อเข้าเป็นผู้ประกันตนและจ่ายเงินสมทบต่อเนื่อง 3 เดือนแล้วจึงเกิดสิทธิประโยชน์ กรณีรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ ซึ่งไม่ได้เกิดจากการทำงาน ก็ปรับเปลี่ยนเป็นต้องจ่ายเงินสมทบต่อเนื่องอย่างน้อย 1 เดือน แต่จะให้เร็วกว่านี้คงทำได้ยาก เนื่องจาก สปส.ต้องใช้เวลาในการบันทึกข้อมูลลงระบบคอมพิวเตอร์ ส่งต่อข้อมูลผู้ประกันตนไปยังโรงพยาบาลในระบบประกันสังคมและออกบัตรรับรอง สิทธิให้แก่ผู้ประกันตน หรือสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพของแรงงานต่างด้าวควรจะได้รับเป็นเงินบำเหน็จ เมื่อเดินทางกลับประเทศต้นทาง

“ก่อน ที่จะเพิ่มสิทธิประโยชน์ในเรื่องไหน สปส.จะต้องศึกษาผลกระทบให้ดีก่อนโดยคำนึงถึงความมั่นคงของกองทุนประกันสังคม ในระยะยาวเป็นหลัก หากจ่ายเงินออกไปโดยไม่สมเหตุสมผล หรือจ่ายออกไปมากในตอนนี้แล้ว ส่งผลผูกพันต่อกองทุนระยะยาวทำให้เงินกองทุนร่อยหรอลงไปจะสร้างความเดือด ร้อนแก่ผู้ประกันตนที่จะรับเงินสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพโดยเป็นเงินบำเหน็จ และเงินบำนาญ เดือดร้อนในอนาคตแต่ไม่ได้หมายความจะไม่เพิ่มสิทธิประโยชน์อะไรเลยเวลานี้ สปส.ได้ตั้งคณะทำงานศึกษาการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ทั้ง 7 กรณีโดยจะศึกษาเป็นรายกรณีสิทธิประโยชน์ไปเรื่องไหนเสร็จจะนำเข้าหารือบอร์ด สปส.หลังจากนั้นเสนอรัฐบาลเพราะรัฐบาลได้ร่วมจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนบาง ประเทศรัฐบาลไม่ได้ร่วมจ่ายเลยเพราะมองเป็นเรื่องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง แต่ประเทศไทยถือว่าโชคดีที่รัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบด้วย” เลขาธิการ สปส.กล่าว

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000100037 (ขนาดไฟล์: 185)

ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ส.ค.56

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 13/08/2556 เวลา 03:30:32

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สปส.ตั้ง คณะทำงานศึกษาเพิ่มสิทธิ-ย่นเวลาเกิดสิทธิประโยชน์ เผยแนวโน้มส่งเงินสมทบ 1 เดือนให้ได้รับสิทธิรักษากรณีเจ็บป่วย จากเดิมต้องส่งเงินสมทบ 3 เดือน แจงเพิ่มสิทธิประโยชน์ต้องรอบคอบ คำนึงถึงความมั่นคงด้านการเงินของกองทุนในระยะยาว นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงผลสำรวจของกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรีที่ขอเสนอให้รัฐบาลร่วมจ่ายเงิน สมทบจากปัจจุบัน 2.75% เพิ่มเป็น 5% และอยากให้เพิ่มสิทธิประโยชน์ในกรณีต่างๆ และให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทันที เมื่อจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม รวมทั้งอยากให้ออกบัตรรับรองสิทธ์ใบเดียวสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลได้กับ ทุกโรงพยาบาลในระบบประกันสังคมว่า ขณะนี้ สปส.ได้ตั้งคณะทำงานซึ่งมีนางสุพัชรี มีครุฑ รองเลขาธิการ สปส.เป็นประธานคณะทำงานเพื่อศึกษาเรื่องการเพิ่มสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนใน กรณีต่างๆ และระยะเวลาการเกิดสิทธิหลังเข้าเป็นผู้ประกันตน เนื่องจากก่อนหน้านี้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) ได้มอบนโยบายแก่ สปส.โดยต้องการให้ สปส.เพิ่มสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตนและให้เกิดสิทธิหลังเข้าเป็นผู้ประกัน ตนโดยเร็วที่สุด เลขาธิการ สปส.กล่าวอีกว่า โดย ส่วนตัวเท่าที่ดูความเป็นไปได้ อาจจะย่นระยะเวลาการเกิดสิทธิได้ แต่ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นกรณีสิทธิประโยชน์ไป เช่น กรณีเจ็บป่วยจากเดิมเมื่อเข้าเป็นผู้ประกันตนและจ่ายเงินสมทบต่อเนื่อง 3 เดือนแล้วจึงเกิดสิทธิประโยชน์ กรณีรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ ซึ่งไม่ได้เกิดจากการทำงาน ก็ปรับเปลี่ยนเป็นต้องจ่ายเงินสมทบต่อเนื่องอย่างน้อย 1 เดือน แต่จะให้เร็วกว่านี้คงทำได้ยาก เนื่องจาก สปส.ต้องใช้เวลาในการบันทึกข้อมูลลงระบบคอมพิวเตอร์ ส่งต่อข้อมูลผู้ประกันตนไปยังโรงพยาบาลในระบบประกันสังคมและออกบัตรรับรอง สิทธิให้แก่ผู้ประกันตน หรือสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพของแรงงานต่างด้าวควรจะได้รับเป็นเงินบำเหน็จ เมื่อเดินทางกลับประเทศต้นทาง “ก่อน ที่จะเพิ่มสิทธิประโยชน์ในเรื่องไหน สปส.จะต้องศึกษาผลกระทบให้ดีก่อนโดยคำนึงถึงความมั่นคงของกองทุนประกันสังคม ในระยะยาวเป็นหลัก หากจ่ายเงินออกไปโดยไม่สมเหตุสมผล หรือจ่ายออกไปมากในตอนนี้แล้ว ส่งผลผูกพันต่อกองทุนระยะยาวทำให้เงินกองทุนร่อยหรอลงไปจะสร้างความเดือด ร้อนแก่ผู้ประกันตนที่จะรับเงินสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพโดยเป็นเงินบำเหน็จ และเงินบำนาญ เดือดร้อนในอนาคตแต่ไม่ได้หมายความจะไม่เพิ่มสิทธิประโยชน์อะไรเลยเวลานี้ สปส.ได้ตั้งคณะทำงานศึกษาการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ทั้ง 7 กรณีโดยจะศึกษาเป็นรายกรณีสิทธิประโยชน์ไปเรื่องไหนเสร็จจะนำเข้าหารือบอร์ด สปส.หลังจากนั้นเสนอรัฐบาลเพราะรัฐบาลได้ร่วมจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนบาง ประเทศรัฐบาลไม่ได้ร่วมจ่ายเลยเพราะมองเป็นเรื่องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง แต่ประเทศไทยถือว่าโชคดีที่รัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบด้วย” เลขาธิการ สปส.กล่าว ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000100037 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...