วงเสวนา'กสม.'หวั่น เลือกที่มาส.ว.ใหม่ ทำ'สภาผัว-เมีย'รีเทิร์น

แสดงความคิดเห็น

เจิมศักดิ์-คมสัน-ไพบูลย์ กรรมการสิทธฯ จัดเวทีถกที่มา ส.ว. “เจิมศักดิ์” ชี้สภาสูงต้องตรวจสอบรัฐ ชี้ไม่ใช่ลูกน้อง ระบุเลือกตั้งไม่ได้ดีเสมอไป หวั่นสภา "ผัวเมีย" รีเทิร์น ...

วันที่ 9 ส.ค. 56 กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้จัดสัมมนา เรื่อง “เลือก ส.ว.แบบไหน ให้สิทธิคนไทยดีกว่า” โดยการพูดคุยเรื่องดังกล่าวมีผู้ร่วมอภิปราย ประกอบด้วย นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ส.ว.เลือกตั้งปี 2543 นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา นายคมสัน โพธิ์คง อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ นายอานิก อัมระนันทน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ และนายสิงห์ทอง บัวชุม อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคเพื่อไทย

โดยนายเจิมศักดิ์และนายคมสัน เห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ก่อนที่จะถามว่า ส.ว .ควรจะมีที่มาอย่างไร ควรที่จะย้อนถามกลับไปก่อนว่า อยากเห็นภาพรวมของรัฐสภา ภาพรวมของฝ่ายนิติบัญญัติเป็นอย่างไร แล้วถึงจะสามารถพูดถึงที่มาและคุณสมบัติของ ส.ว.ได้ เพราะไม่เช่นนั้นคำตอบจะขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของตัวเองเป็นหลัก

“ใน ฐานะที่เคยเป็น ส.ว.มา คิดว่าฝ่ายนิติบัญญัติต้องเป็นฝ่ายที่ออกกฎหมาย และตรวจสอบการทำหน้าที่ของฝ่ายบริหาร ไม่ใช่ลูกน้องรัฐบาล ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่าฝ่ายบริหารควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติได้ทั้งหมด และรัฐจะกลายเป็นรัฐที่ไม่มีนิติธรรม ไม่มีการคานและดุลกัน 3 อำนาจ ซึ่ง ส.ว.จะต้องตรวจสอบและถ่วงดุลฝ่ายบริหารได้” นายเจิมศักดิ์ ระบุ

พร้อม กันนี้ นายเจิมศักดิ์ ยังตั้งข้อสังเกตว่า คุณสมบัติของคนที่จะเป็นสภาฯ สูง ควรจะเป็นเช่นเดียวกับคุณสมบัติของ ส.ส.หรือไม่ ? และถ้ามีคุณสมบัติที่เหมือนกัน ความจำเป็นที่จะต้องมีสองสภาฯ ยังมีอยู่หรือไม่?

“ถ้าจะให้คุณสมบัติเหมือน ส.ส. ทำไมต้องมี 2 สภาฯ ก็ให้มีสภาฯ เดียวเลย และมีการแบ่งงานให้กับ ส.ส.ใหม่ แต่ถ้าอยากเห็น 2 สภาฯ นี้มีความแตกต่าง การได้มาก็ไม่ควรที่จะเหมือนกัน พวกเราจูนสมองไว้ว่าการเลือกตั้งเป็นของดี การไม่เลือกตั้งเป็นของเลว แต่ ส.ว.รุ่นผมมาจากการเลือกตั้งหมด ถามว่าดีไหม ถูกประชาชนด่าพ่อ ด่าแม่ ด่าสภาทาส สภาผัวเมีย เกิดขึ้นได้อย่างไร”

นายเจิมศักดิ์ กล่าวต่ออีกว่า หากวิธีการได้มาเหมือนกัน แม้ว่าจะกำหนดคุณสมบัติต่างกัน แต่พอเลือกจะได้คนพวกเดียวกันไหม ฐานเสียงเดียวกันไหม คนที่เป็นคนดี ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่เก่งการเลือกตั้ง คนพิการ คนชายขอบ คนตัวเล็กตัวน้อย ให้ลงเลือกตั้ง ให้ตายก็ไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ ในการพิจารณาของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 จึงมีการหยิบยกการเลือกตั้งตามสัดส่วนอาชีพ โดยให้ประชาชนไปจดทะเบียนกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง ขึ้นมาหารือเพื่อให้ได้ ส.ว. ที่มาจากตัวแทนอาชีพ แต่ด้วยกรอบเวลาที่จำกัดทำให้ “แนวคิด” นี้ต้องพับไป

ขณะที่ นายสมชาย ยอมรับว่า การปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ว. 1 ราย จะต้องใช้งบประมาณ 10 ล้านบาทต่อปี เมื่อรวมกับ ส.ส.แล้ว เท่ากับว่าใน 1 ปี จะต้องเสียงบประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท แต่ที่ผ่านมา ได้แต่วาทกรรม “ประชาธิปไตยที่ท่องว่ากินได้ และมาจากการเลือกตั้ง” เท่านั้น ทั้งที่ความเป็นจริง นักการเมืองของไทยเป็นนักจัดการการเลือกตั้ง เพื่อให้ตัวเองเข้ามาครอบครองผลประโยชน์

“สมัยที่ผมยังเป็นนักข่าว มี ส.ว.คนหนึ่งโทรศัพท์หานาย และบอกว่า คุมเสียง ส.ว.ไม่น้อยกว่า 120 คน และขอแลกเปลี่ยนกับบางโครงการ มีการต่อรองผลประโยชน์กันเรียบร้อย ตอนนั้นพบว่ามี ส.ว.กลุ่มหนึ่งลงคะแนนเหมือนกันหมด จากนั้นก็เข้าแถวเหมือนกับเป็นพนักงานบริษัทรับหุ้นจากบริษัทพลังงาน”

นาย สมชาย ระบุว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะมีการพิจารณากันในที่ประชุมรัฐสภา มีหลายประเด็นที่ไม่สบายใจ เพราะจะทำให้ที่มาของ ส.ว.กลับไปเหมือนปี 40 อาจจะมีการแบ่งการทำงานในครอบครัวก็ได้ พ่อเป็นรัฐมนตรี แม่เป็น ส.ว. ลูกเป็น ส.ส. ต่อไป ส.ส. จะลาออกมาลง ส.ว.ได้ ส.ส.ที่สอบตกก็มาได้ อันนี้เป็นประโยชน์สำหรับคนที่มีฐานเสียง หรือเมื่อมีการยุบสภา ส.ว.จะลาออกไปลงสมัครเป็น ส.ส.ก็ได้

“กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลงและ ส่งผลอย่างไร องค์กรอิสระมาจากการสรรหาและต้องผ่านที่ประชุมวุฒิสภา ทั้ง ป.ป.ช. กกต. ผู้ตรวจการแผ่นดิน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการอัยการ กรรมการตุลาการ ถ้า ส.ว.ถูกควบคุมโดยพฤตินัย ก็จะได้เหมือนกับ ป.ป.ช.ชุดหนึ่ง ที่พรรคการเมืองส่งมา และได้ กกต. ชุดที่มีคดีอยู่ในศาล สุดท้ายเรื่องการถอดถอนองค์กรต่างๆ เหล่านี้ จะถูกถอดถอนด้วยเสียง 2 ใน 3 ของวุฒิสภา ซึ่งความคิดเห็นในส่วนนี้ ตรงข้ามกับ “สิงห์ทอง” ที่เห็นว่า ส.ว.ควรมาจากการเลือกตั้ง เพราะจะได้มีความยึดโยงกับประชาชน เพราะหากเป็นการสรรหา จะได้แต่แม่ทัพ นายกอง จนประชาธิปไตยถูกทำลาย บางช่วงเวลา ส.ว.สรรหา ก็ไปทำหน้าที่ที่เป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาล ซึ่ง ส.ว.สรรหาเองก็มีการซื้อตำแหน่งเหมือนกับนักการเมืองทั่วไป" นายสมชาย กล่าว

สำหรับสาระสำคัญที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 115 มาตรา 116 วรรคสอง มาตรา 117 มาตรา 118 มาตรา 120 และมาตรา 241 วรรคหนึ่ง และยกเลิกมาตรา 113 และมาตรา 114 เกี่ยวกับที่มาของ ส.ว. ที่มี นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย เป็นประธาน ได้แก่ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง จำนวน 200 คน โดยใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 6 ปี โดยไม่จำเป็นต้องเว้นวรรค

ดังนั้น ผู้ที่อยู่ระหว่างดำรงตำแหน่งทางการเมือง และต้องการมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ว. สามารถลงสมัครได้ทันที พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้คู่สมรส บุตร ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สามารถมาลงสมัครเป็น ส.ว.ได้ ส่วน ส.ว.สรรหา ที่ปัจจุบันยังอยู่ในตำแหน่ง จะให้อยู่จนครบวาระที่เหลืออยู่

อย่างไรก็ดี ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า อาจจะทำให้วุฒิสภากลายเป็นสภาทาส สภาผัวเมีย หรือสภาหมอนข้าง เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในสมัยที่มีการใช้รัฐธรรมนูญปี 2540

ขอบคุณ … http://www.thairath.co.th/content/pol/362518

ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ส.ค.56

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 10/08/2556 เวลา 03:13:12 ดูภาพสไลด์โชว์  วงเสวนา'กสม.'หวั่น เลือกที่มาส.ว.ใหม่ ทำ'สภาผัว-เมีย'รีเทิร์น

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เจิมศักดิ์-คมสัน-ไพบูลย์กรรมการสิทธฯ จัดเวทีถกที่มา ส.ว. “เจิมศักดิ์” ชี้สภาสูงต้องตรวจสอบรัฐ ชี้ไม่ใช่ลูกน้อง ระบุเลือกตั้งไม่ได้ดีเสมอไป หวั่นสภา "ผัวเมีย" รีเทิร์น ... วันที่ 9 ส.ค. 56 กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้จัดสัมมนา เรื่อง “เลือก ส.ว.แบบไหน ให้สิทธิคนไทยดีกว่า” โดยการพูดคุยเรื่องดังกล่าวมีผู้ร่วมอภิปราย ประกอบด้วย นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ส.ว.เลือกตั้งปี 2543 นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา นายคมสัน โพธิ์คง อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ นายอานิก อัมระนันทน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ และนายสิงห์ทอง บัวชุม อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคเพื่อไทย โดยนายเจิมศักดิ์และนายคมสัน เห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ก่อนที่จะถามว่า ส.ว .ควรจะมีที่มาอย่างไร ควรที่จะย้อนถามกลับไปก่อนว่า อยากเห็นภาพรวมของรัฐสภา ภาพรวมของฝ่ายนิติบัญญัติเป็นอย่างไร แล้วถึงจะสามารถพูดถึงที่มาและคุณสมบัติของ ส.ว.ได้ เพราะไม่เช่นนั้นคำตอบจะขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของตัวเองเป็นหลัก “ใน ฐานะที่เคยเป็น ส.ว.มา คิดว่าฝ่ายนิติบัญญัติต้องเป็นฝ่ายที่ออกกฎหมาย และตรวจสอบการทำหน้าที่ของฝ่ายบริหาร ไม่ใช่ลูกน้องรัฐบาล ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่าฝ่ายบริหารควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติได้ทั้งหมด และรัฐจะกลายเป็นรัฐที่ไม่มีนิติธรรม ไม่มีการคานและดุลกัน 3 อำนาจ ซึ่ง ส.ว.จะต้องตรวจสอบและถ่วงดุลฝ่ายบริหารได้” นายเจิมศักดิ์ ระบุ พร้อม กันนี้ นายเจิมศักดิ์ ยังตั้งข้อสังเกตว่า คุณสมบัติของคนที่จะเป็นสภาฯ สูง ควรจะเป็นเช่นเดียวกับคุณสมบัติของ ส.ส.หรือไม่ ? และถ้ามีคุณสมบัติที่เหมือนกัน ความจำเป็นที่จะต้องมีสองสภาฯ ยังมีอยู่หรือไม่? “ถ้าจะให้คุณสมบัติเหมือน ส.ส. ทำไมต้องมี 2 สภาฯ ก็ให้มีสภาฯ เดียวเลย และมีการแบ่งงานให้กับ ส.ส.ใหม่ แต่ถ้าอยากเห็น 2 สภาฯ นี้มีความแตกต่าง การได้มาก็ไม่ควรที่จะเหมือนกัน พวกเราจูนสมองไว้ว่าการเลือกตั้งเป็นของดี การไม่เลือกตั้งเป็นของเลว แต่ ส.ว.รุ่นผมมาจากการเลือกตั้งหมด ถามว่าดีไหม ถูกประชาชนด่าพ่อ ด่าแม่ ด่าสภาทาส สภาผัวเมีย เกิดขึ้นได้อย่างไร” นายเจิมศักดิ์ กล่าวต่ออีกว่า หากวิธีการได้มาเหมือนกัน แม้ว่าจะกำหนดคุณสมบัติต่างกัน แต่พอเลือกจะได้คนพวกเดียวกันไหม ฐานเสียงเดียวกันไหม คนที่เป็นคนดี ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่เก่งการเลือกตั้ง คนพิการ คนชายขอบ คนตัวเล็กตัวน้อย ให้ลงเลือกตั้ง ให้ตายก็ไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ ในการพิจารณาของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 จึงมีการหยิบยกการเลือกตั้งตามสัดส่วนอาชีพ โดยให้ประชาชนไปจดทะเบียนกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง ขึ้นมาหารือเพื่อให้ได้ ส.ว. ที่มาจากตัวแทนอาชีพ แต่ด้วยกรอบเวลาที่จำกัดทำให้ “แนวคิด” นี้ต้องพับไป ขณะที่ นายสมชาย ยอมรับว่า การปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ว. 1 ราย จะต้องใช้งบประมาณ 10 ล้านบาทต่อปี เมื่อรวมกับ ส.ส.แล้ว เท่ากับว่าใน 1 ปี จะต้องเสียงบประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท แต่ที่ผ่านมา ได้แต่วาทกรรม “ประชาธิปไตยที่ท่องว่ากินได้ และมาจากการเลือกตั้ง” เท่านั้น ทั้งที่ความเป็นจริง นักการเมืองของไทยเป็นนักจัดการการเลือกตั้ง เพื่อให้ตัวเองเข้ามาครอบครองผลประโยชน์ “สมัยที่ผมยังเป็นนักข่าว มี ส.ว.คนหนึ่งโทรศัพท์หานาย และบอกว่า คุมเสียง ส.ว.ไม่น้อยกว่า 120 คน และขอแลกเปลี่ยนกับบางโครงการ มีการต่อรองผลประโยชน์กันเรียบร้อย ตอนนั้นพบว่ามี ส.ว.กลุ่มหนึ่งลงคะแนนเหมือนกันหมด จากนั้นก็เข้าแถวเหมือนกับเป็นพนักงานบริษัทรับหุ้นจากบริษัทพลังงาน” นาย สมชาย ระบุว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะมีการพิจารณากันในที่ประชุมรัฐสภา มีหลายประเด็นที่ไม่สบายใจ เพราะจะทำให้ที่มาของ ส.ว.กลับไปเหมือนปี 40 อาจจะมีการแบ่งการทำงานในครอบครัวก็ได้ พ่อเป็นรัฐมนตรี แม่เป็น ส.ว. ลูกเป็น ส.ส. ต่อไป ส.ส. จะลาออกมาลง ส.ว.ได้ ส.ส.ที่สอบตกก็มาได้ อันนี้เป็นประโยชน์สำหรับคนที่มีฐานเสียง หรือเมื่อมีการยุบสภา ส.ว.จะลาออกไปลงสมัครเป็น ส.ส.ก็ได้ “กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลงและ ส่งผลอย่างไร องค์กรอิสระมาจากการสรรหาและต้องผ่านที่ประชุมวุฒิสภา ทั้ง ป.ป.ช. กกต. ผู้ตรวจการแผ่นดิน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการอัยการ กรรมการตุลาการ ถ้า ส.ว.ถูกควบคุมโดยพฤตินัย ก็จะได้เหมือนกับ ป.ป.ช.ชุดหนึ่ง ที่พรรคการเมืองส่งมา และได้ กกต. ชุดที่มีคดีอยู่ในศาล สุดท้ายเรื่องการถอดถอนองค์กรต่างๆ เหล่านี้ จะถูกถอดถอนด้วยเสียง 2 ใน 3 ของวุฒิสภา ซึ่งความคิดเห็นในส่วนนี้ ตรงข้ามกับ “สิงห์ทอง” ที่เห็นว่า ส.ว.ควรมาจากการเลือกตั้ง เพราะจะได้มีความยึดโยงกับประชาชน เพราะหากเป็นการสรรหา จะได้แต่แม่ทัพ นายกอง จนประชาธิปไตยถูกทำลาย บางช่วงเวลา ส.ว.สรรหา ก็ไปทำหน้าที่ที่เป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาล ซึ่ง ส.ว.สรรหาเองก็มีการซื้อตำแหน่งเหมือนกับนักการเมืองทั่วไป" นายสมชาย กล่าว สำหรับสาระสำคัญที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 115 มาตรา 116 วรรคสอง มาตรา 117 มาตรา 118 มาตรา 120 และมาตรา 241 วรรคหนึ่ง และยกเลิกมาตรา 113 และมาตรา 114 เกี่ยวกับที่มาของ ส.ว. ที่มี นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย เป็นประธาน ได้แก่ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง จำนวน 200 คน โดยใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 6 ปี โดยไม่จำเป็นต้องเว้นวรรค ดังนั้น ผู้ที่อยู่ระหว่างดำรงตำแหน่งทางการเมือง และต้องการมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ว. สามารถลงสมัครได้ทันที พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้คู่สมรส บุตร ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สามารถมาลงสมัครเป็น ส.ว.ได้ ส่วน ส.ว.สรรหา ที่ปัจจุบันยังอยู่ในตำแหน่ง จะให้อยู่จนครบวาระที่เหลืออยู่ อย่างไรก็ดี ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า อาจจะทำให้วุฒิสภากลายเป็นสภาทาส สภาผัวเมีย หรือสภาหมอนข้าง เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในสมัยที่มีการใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 ขอบคุณ … http://www.thairath.co.th/content/pol/362518 ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...