คปก.ยื่นข้อเสนอนายกฯ แก้ไข รธน. ม.68, 237

แสดงความคิดเห็น

กรุงเทพฯ 5 ส.ค.- คปก.ยื่นข้อเสนอนายกรัฐมนตรี แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 กำหนดให้อัยการสูงสุดต้องพิจารณาเรื่องร้องเรียนการกระทำการอันเชื่อว่า เป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ภายใน 30 วันนับแต่รับเรื่อง และยกเลิก มาตรา 237 ยุบพรรคการเมือง จากการทำผิดของ ส.ส.-หัวหน้าพรรค- กรรมการบริหารพรรค ระบุ ไม่เป็นไปตามหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในทางพรรคการเมือง

นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ลงนามในหนังสือบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะ คปก. เรื่อง ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 68 และมาตรา237) เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาตามอำนาจหน้าที่ หลังจาก คปก. ได้พิจารณาศึกษาร่าง ทั้งจากข้อมูลทางวิชาการ และการรับฟังความคิดเห็นจากหลายภาคส่วน

คปก.มีความเห็นว่า ในกรณีที่มีบุคคลหรือพรรคการเมือง กระทำการอันเชื่อว่า เป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตามมาตรา 68 วรรคหนึ่ง ควรกำหนดให้ผู้ที่ทราบการกระทำ ต้องเสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุด ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเสียก่อน แต่หากอัยการสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่เป็นการกระทำที่ต้องห้าม ตามมาตรา 68 วรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำนั้น ย่อมมีสิทธิเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยตรงได้ อย่างไรก็ตาม คปก. มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า ควรกำหนดระยะเวลาในการเสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุด เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อเป็นกรอบระยะเวลาในการดำเนินการ โดยขอเสนอให้อัยการสูงสุดต้องพิจารณา และยื่นคำร้องขอต่อศาลรัฐธรรมนูญ ภายใน 30 วันนับแต่วันรับเรื่อง

ทั้งนี้ คปก. เห็นชอบกับหลักการที่ให้ยกเลิกวรรคท้ายของมาตรา 68 ที่เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารของพรรคการ เมืองที่ถูกยุบ เนื่องจากการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งได้มีบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มา ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 มาตรา 103 วรรคห้า และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 98 อีกทั้ง คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง อาจกระทบต่อคดีอาญา เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลและองค์กรอื่น ตามมาตรา 216 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญ

ขณะเดียวกัน คปก. เห็นว่า ควรยกเลิกมาตรา 237 เนื่องจากบทบัญญัติมุ่งลงโทษพรรคการเมือง ด้วยเหตุจากการกระทำผิดของผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือหัวหน้าพรรคการเมือง หรือกรรมการบริหารพรรคการเมือง ซึ่งเป็นเพียงกลุ่มบุคคลบางกลุ่มในพรรคการเมืองเท่านั้น การยุบพรรคการเมืองทั้งพรรค มีผลทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่สังกัดพรรคการเมืองนั้น และประชาชนที่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ต้องพ้นจากสถานภาพของพรรคการเมือง นั้นไปด้วย เป็นการลงโทษคนกลุ่มใหญ่ ซึ่งไม่ได้ร่วมรู้เห็น หรือมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด บทบัญญัติดังกล่าวจึงไม่เหมาะสม และไม่เป็นไปตามหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมือง

อีกทั้ง บทบัญญัติเกี่ยวกับการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ได้กำหนดไว้แล้วใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มา ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 มาตรา 103 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 98 จึงไม่จำเป็นต้องกำหนดบทบัญญัติดังกล่าวไว้อีก คปก. ขอเสนอให้ยกเลิกมาตรา 237 โดยแก้ไขร่างมาตรา 4 จาก “ให้ยกเลิกวรรคสองของมาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” เป็น “ให้ยกเลิกมาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”. -

ขอบคุณ... http://www.mcot.net/site/content?id=51ff5eca150ba0786e000178#.Uf_c7jcrWyg (ขนาดไฟล์: 175)

สำนักข่าวไทยออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ส.ค.56

ที่มา: สำนักข่าวไทยออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 6/08/2556 เวลา 04:01:24

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กรุงเทพฯ 5 ส.ค.- คปก.ยื่นข้อเสนอนายกรัฐมนตรี แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 กำหนดให้อัยการสูงสุดต้องพิจารณาเรื่องร้องเรียนการกระทำการอันเชื่อว่า เป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ภายใน 30 วันนับแต่รับเรื่อง และยกเลิก มาตรา 237 ยุบพรรคการเมือง จากการทำผิดของ ส.ส.-หัวหน้าพรรค- กรรมการบริหารพรรค ระบุ ไม่เป็นไปตามหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในทางพรรคการเมือง นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ลงนามในหนังสือบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะ คปก. เรื่อง ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 68 และมาตรา237) เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาตามอำนาจหน้าที่ หลังจาก คปก. ได้พิจารณาศึกษาร่าง ทั้งจากข้อมูลทางวิชาการ และการรับฟังความคิดเห็นจากหลายภาคส่วน คปก.มีความเห็นว่า ในกรณีที่มีบุคคลหรือพรรคการเมือง กระทำการอันเชื่อว่า เป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตามมาตรา 68 วรรคหนึ่ง ควรกำหนดให้ผู้ที่ทราบการกระทำ ต้องเสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุด ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเสียก่อน แต่หากอัยการสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่เป็นการกระทำที่ต้องห้าม ตามมาตรา 68 วรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำนั้น ย่อมมีสิทธิเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยตรงได้ อย่างไรก็ตาม คปก. มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า ควรกำหนดระยะเวลาในการเสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุด เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อเป็นกรอบระยะเวลาในการดำเนินการ โดยขอเสนอให้อัยการสูงสุดต้องพิจารณา และยื่นคำร้องขอต่อศาลรัฐธรรมนูญ ภายใน 30 วันนับแต่วันรับเรื่อง ทั้งนี้ คปก. เห็นชอบกับหลักการที่ให้ยกเลิกวรรคท้ายของมาตรา 68 ที่เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารของพรรคการ เมืองที่ถูกยุบ เนื่องจากการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งได้มีบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มา ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 มาตรา 103 วรรคห้า และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 98 อีกทั้ง คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง อาจกระทบต่อคดีอาญา เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลและองค์กรอื่น ตามมาตรา 216 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกัน คปก. เห็นว่า ควรยกเลิกมาตรา 237 เนื่องจากบทบัญญัติมุ่งลงโทษพรรคการเมือง ด้วยเหตุจากการกระทำผิดของผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือหัวหน้าพรรคการเมือง หรือกรรมการบริหารพรรคการเมือง ซึ่งเป็นเพียงกลุ่มบุคคลบางกลุ่มในพรรคการเมืองเท่านั้น การยุบพรรคการเมืองทั้งพรรค มีผลทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่สังกัดพรรคการเมืองนั้น และประชาชนที่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ต้องพ้นจากสถานภาพของพรรคการเมือง นั้นไปด้วย เป็นการลงโทษคนกลุ่มใหญ่ ซึ่งไม่ได้ร่วมรู้เห็น หรือมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด บทบัญญัติดังกล่าวจึงไม่เหมาะสม และไม่เป็นไปตามหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมือง อีกทั้ง บทบัญญัติเกี่ยวกับการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ได้กำหนดไว้แล้วใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มา ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 มาตรา 103 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 98 จึงไม่จำเป็นต้องกำหนดบทบัญญัติดังกล่าวไว้อีก คปก. ขอเสนอให้ยกเลิกมาตรา 237 โดยแก้ไขร่างมาตรา 4 จาก “ให้ยกเลิกวรรคสองของมาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” เป็น “ให้ยกเลิกมาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”. - ขอบคุณ... http://www.mcot.net/site/content?id=51ff5eca150ba0786e000178#.Uf_c7jcrWyg สำนักข่าวไทยออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...