8 องค์กรสิทธิฯ ค้านรัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ.มั่นคง คุมม็อบ

แสดงความคิดเห็น

สืบเนื่องจากกรณีรัฐบาลประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ในเขตพื้นที่เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 1-10 สิงหาคม นี้ ด้วยเหตุผลเพื่อดูแลความสงบ เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวจะมีการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยาม

(1 ส.ค.56) องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน 8 องค์กร ประกอบด้วย สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน, มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม, สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน, ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม, มูลนิธิผสานวัฒนธรรม, ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น, มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม และ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ออกแถลงการณ์คัดค้านการประกาศใช้ พ.ร.บ.มั่นคงของรัฐบาล โดยชี้ว่า การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงดังกล่าวไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และเป็นการกระทำที่ไม่เคารพรัฐธรรมนูญ พร้อมยืนยันว่า กลุ่มผู้ชุมนุมย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมภายใต้รัฐธรรมนูญ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

นอกจากนี้ องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนทั้ง 8 องค์กร ได้เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ในเขตต่างๆ และขอให้ใช้อำนาจบริหาร ตามเจตนารมณ์ของหลักนิติธรรมและหลักสิทธิมนุษยชน ในการจัดการกับการชุมนุมของประชาชนโดยเคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ

แถลงการณ์

การคัดค้านการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ในเขตพื้นที่เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556 โดยการอ้างเหตุว่า ได้มีกลุ่มบุคคลหลายกลุ่มปลุกระดมมวลชนให้เข้าร่วมการชุมนุม หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ซึ่งไม่เป็นไปตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันอาจทำให้เกิดความไม่สงบสุขในบ้านเมืองนั้น

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและองค์กรข้างท้ายนี้ ขอคัดค้านการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรดังกล่าว ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1.การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงของรัฐบาลไม่เป็นไปเจตนารมณ์ของกฎหมาย

โดยที่พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรของรัฐบาล พ.ศ. 2551 มาตรา 15 ได้ให้อำนาจรัฐบาลในการประกาศใช้กฎหมายนี้ได้ต้องเป็นกรณีที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มที่จะมีอยู่ต่อไปเป็นเวลานานทั้งอยู่ในอำนาจหน้าที่หรือความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานของรัฐหลายหน่วย โดยมีความมุ่งหมายเป็นการจัดการกับสถานการณ์ที่มีแนวโน้มที่จะจัดการไม่ได้โดยภาวะปกติ หรือโดยกลไกปกติ ดังนั้น การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงต้องมีเหตุเกิดขึ้นก่อนและเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มที่จะมีอยู่ต่อไปเป็นเวลานาน แต่การที่รัฐบาล อ้างเหตุว่า การชุมนุมของกองทัพประชาชนหรือฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลเป็นเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยยังไม่มีเหตุการณ์การชุมนุมเกิดขึ้นแต่อย่างใด จึงเป็นการใช้อำนาจเกินความจำเป็นและเกินสมควรสมควรแก่เหตุ เนื่องจากกลไกตามกฎหมายที่มีอยู่ตามปกติก็เพียงพอที่รัฐจะสามารถจัดการณ์ให้การชุมนุมเป็นไปอย่างสงบได้อยู่แล้ว จึงไม่มีเงื่อนไขที่จะประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงแต่อย่างใด การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงของรัฐบาลจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และขัดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ

2.การกระทำของรัฐบาลเป็นการไม่เคารพต่อรัฐธรรมนูญ

กลุ่มผู้ชุมนุมย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมภายใต้รัฐธรรมนูญ ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 63 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 ข้อ 21 การที่ประชาชนใช้เสรีภาพดังกล่าว รัฐบาลจะกล่าวอ้างว่าเป็นภัยคุกคามต่อรัฐบาลไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกล่าวอ้างเหตุผลว่าผู้ชุมนุมเป็นฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ถ้ารัฐบาลจัดการกับความเห็นที่แตกต่างด้วยการใช้มาตรการนี้ ย่อมเป็นการหยุดยั้งการใช้เสรีภาพของประชาชนโดยปกติ ซึ่งเป็นกลไกที่ไม่ควรมีและไม่อาจยอมรับได้ในสังคมประชาธิปไตย อีกทั้งการชุมนุมย่อมไม่ได้คุกคามต่อความอยู่รอดของชาติ หรือเป็นอาชญากรรมที่จะเป็นภัยต่อรัฐบาล

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและองค์กรข้างท้ายนี้ จึงขอเรียกร้องและขอเสนอแนะให้รัฐบาล

1.ยกเลิกการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ในเขตพื้นที่เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

2.ใช้อำนาจบริหาร ตามเจตนารมณ์ของหลักนิติธรรมและหลักสิทธิมนุษยชน ในการจัดการกับการชุมนุมของประชาชนโดยเคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ

ด้วยความเคารพในสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)

มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW)

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.)

ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ศกส.)

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF)

ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น

มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม (MAC)

มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.)

ขอบคุณ... http://www.prachatai.com/journal/2013/08/47967

ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ส.ค.56

ที่มา: ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 3/08/2556 เวลา 02:37:48

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สืบเนื่องจากกรณีรัฐบาลประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ในเขตพื้นที่เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 1-10 สิงหาคม นี้ ด้วยเหตุผลเพื่อดูแลความสงบ เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวจะมีการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยาม (1 ส.ค.56) องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน 8 องค์กร ประกอบด้วย สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน, มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม, สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน, ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม, มูลนิธิผสานวัฒนธรรม, ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น, มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม และ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ออกแถลงการณ์คัดค้านการประกาศใช้ พ.ร.บ.มั่นคงของรัฐบาล โดยชี้ว่า การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงดังกล่าวไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และเป็นการกระทำที่ไม่เคารพรัฐธรรมนูญ พร้อมยืนยันว่า กลุ่มผู้ชุมนุมย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมภายใต้รัฐธรรมนูญ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง นอกจากนี้ องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนทั้ง 8 องค์กร ได้เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ในเขตต่างๆ และขอให้ใช้อำนาจบริหาร ตามเจตนารมณ์ของหลักนิติธรรมและหลักสิทธิมนุษยชน ในการจัดการกับการชุมนุมของประชาชนโดยเคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ แถลงการณ์ การคัดค้านการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตามที่รัฐบาลได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ในเขตพื้นที่เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556 โดยการอ้างเหตุว่า ได้มีกลุ่มบุคคลหลายกลุ่มปลุกระดมมวลชนให้เข้าร่วมการชุมนุม หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ซึ่งไม่เป็นไปตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันอาจทำให้เกิดความไม่สงบสุขในบ้านเมืองนั้น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและองค์กรข้างท้ายนี้ ขอคัดค้านการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรดังกล่าว ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ 1.การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงของรัฐบาลไม่เป็นไปเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยที่พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรของรัฐบาล พ.ศ. 2551 มาตรา 15 ได้ให้อำนาจรัฐบาลในการประกาศใช้กฎหมายนี้ได้ต้องเป็นกรณีที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มที่จะมีอยู่ต่อไปเป็นเวลานานทั้งอยู่ในอำนาจหน้าที่หรือความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานของรัฐหลายหน่วย โดยมีความมุ่งหมายเป็นการจัดการกับสถานการณ์ที่มีแนวโน้มที่จะจัดการไม่ได้โดยภาวะปกติ หรือโดยกลไกปกติ ดังนั้น การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงต้องมีเหตุเกิดขึ้นก่อนและเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มที่จะมีอยู่ต่อไปเป็นเวลานาน แต่การที่รัฐบาล อ้างเหตุว่า การชุมนุมของกองทัพประชาชนหรือฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลเป็นเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยยังไม่มีเหตุการณ์การชุมนุมเกิดขึ้นแต่อย่างใด จึงเป็นการใช้อำนาจเกินความจำเป็นและเกินสมควรสมควรแก่เหตุ เนื่องจากกลไกตามกฎหมายที่มีอยู่ตามปกติก็เพียงพอที่รัฐจะสามารถจัดการณ์ให้การชุมนุมเป็นไปอย่างสงบได้อยู่แล้ว จึงไม่มีเงื่อนไขที่จะประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงแต่อย่างใด การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงของรัฐบาลจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และขัดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ 2.การกระทำของรัฐบาลเป็นการไม่เคารพต่อรัฐธรรมนูญ กลุ่มผู้ชุมนุมย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมภายใต้รัฐธรรมนูญ ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 63 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 ข้อ 21 การที่ประชาชนใช้เสรีภาพดังกล่าว รัฐบาลจะกล่าวอ้างว่าเป็นภัยคุกคามต่อรัฐบาลไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกล่าวอ้างเหตุผลว่าผู้ชุมนุมเป็นฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ถ้ารัฐบาลจัดการกับความเห็นที่แตกต่างด้วยการใช้มาตรการนี้ ย่อมเป็นการหยุดยั้งการใช้เสรีภาพของประชาชนโดยปกติ ซึ่งเป็นกลไกที่ไม่ควรมีและไม่อาจยอมรับได้ในสังคมประชาธิปไตย อีกทั้งการชุมนุมย่อมไม่ได้คุกคามต่อความอยู่รอดของชาติ หรือเป็นอาชญากรรมที่จะเป็นภัยต่อรัฐบาล ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและองค์กรข้างท้ายนี้ จึงขอเรียกร้องและขอเสนอแนะให้รัฐบาล 1.ยกเลิกการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ในเขตพื้นที่เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 2.ใช้อำนาจบริหาร ตามเจตนารมณ์ของหลักนิติธรรมและหลักสิทธิมนุษยชน ในการจัดการกับการชุมนุมของประชาชนโดยเคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ด้วยความเคารพในสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ศกส.) มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF) ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม (MAC) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) ขอบคุณ... http://www.prachatai.com/journal/2013/08/47967 ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...