กติกาเลือกตั้งอย่างนี้ไม่มีใครคุมได้

แสดงความคิดเห็น

ในที่สุดการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็น “ที่มาของ ส.ว.” ก็เสร็จสิ้นในชั้นกรรมาธิการ “ทีมข่าวการเมือง” ได้สัมภาษณ์ สามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ระหว่าง “ของปัจจุบัน” กับ “ของใหม่” ที่กำลังจะเกิดขึ้น

สาระสำคัญฉบับยกร่างที่แตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550

ที่มาของ ส.ว.ถ้าเปรียบเทียบระหว่างรัฐธรรมนูญ 2550 กับฉบับที่กำลังยกร่างใหม่ ส.ว. ปัจจุบันมาจาก 2 ส่วน คือมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนจังหวัดละ 1 คน และมาจากการสรรหา 73 คน รวมจำนวน 150 คน แต่ฉบับแก้ไขมีหลักการสำคัญคือให้มี ส.ว. มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนอย่างเดียว 200 คน ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง วิธีการคำนวณเอาจำนวนประชากรทั้งประเทศตั้งหารด้วย 200 จริง ๆ แล้วก็เหมือนการเลือกตั้ง ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 และความแตกต่างที่สำคัญ คือ ส.ว. ที่ครบวาระแล้วตามรัฐธรรมนูญ 2540 ต้องเว้นวรรค ห้ามเป็นติดต่อกัน แต่ฉบับแก้ไขเมื่อครบวาระ 6 ปีแล้ว จะลงสมัครต่อก็ได้ ไม่ได้ห้าม เหตุผลสำคัญเพราะเราถือว่าได้มอบให้ประชาชนเป็นคนตัดสิน ฉะนั้นจะเห็นว่าใครเหมาะสม ให้ใครเป็นกี่สมัย ก็อยู่ที่ประชาชน ขณะเดียวกันก็ไม่ห้ามกรณีเป็น บุพการี ลูกหลาน สามี ภรรยาของนักการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้ง เพราะเป็นอำนาจของประชาชนที่จะตัดสินใจ ส่วนเรื่องอำนาจหน้าที่ของ ส.ว. ไม่ได้เข้าไปแก้ไขแตะต้องเลย ยังเป็นเหมือนเดิมทุกอย่าง ทั้งอำนาจในการกลั่นกรองกฎหมาย แต่งตั้ง ถอดถอน การสรรหาองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ไม่ได้แก้ไข เพราะไม่อยู่ในหลักการขอแก้ไข หลักการแค่ให้ ส.ว. มาจากการเลือกตั้ง สำหรับที่มาของการให้มี ส.ว. เลือกตั้งจำนวน 200 คน เพราะมองว่าวันนี้เรามี ส.ส. รวมระบบเขต และบัญชีรายชื่อ 500 คน ดังนั้นน่าจะมี ส.ว. สักครึ่งหนึ่ง จึงมาลงตัวที่ 200 คน และรัฐธรรมนูญปี 2540 ก็เคยให้มี ส.ว. 200 คน คิดว่าเป็นตัวเลขที่เหมาะสมที่สุด

ส.ว.สรรหา และ ส.ว. เลือกตั้ง ครบวาระไม่พร้อมกัน เมื่อฉบับใหม่ประกาศบังคับใช้จะให้อยู่ต่อหรือสิ้นสถานะไป

ส.ว.เลือกตั้ง ให้อยู่ต่อจนครบวาระ ซึ่งจะครบในวันที่ 2 มี.ค.2557 แต่ ส.ว.สรรหา เนื่องจากมีการสรรหา ส.ว. รุ่น 2 ซึ่งยังไม่ครบวาระพร้อมกัน เราก็จะเขียนบทเฉพาะกาลรองรับวาระท่านเหล่านี้ให้อยู่จนสิ้นวาระ แต่ระหว่างที่ดำรงอยู่นี้ มีใครต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุผลตามรัฐธรรมนูญ เช่น ตาย ลาออก ต้องไม่มีการสรรหาใหม่ ดังนั้นในช่วงแรก ส.ว. ที่อยู่ตำแหน่งก็จะมีมากหน่อย

ส.ว.สรรหา ที่ยังให้ดำรงตำแหน่งจนครบวาระ มีอำนาจแตกต่างจาก ส.ว. ที่เลือกตั้งเข้ามาใหม่อย่างไร

ส.ว.สรรหาที่เราให้คงสถานภาพอยู่ เราก็ขอจำกัดอำนาจเฉพาะช่วงเปลี่ยนผ่าน คือระหว่างที่ ส.ว.เลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญ 2550 ครบวาระและกำลังจะมีการเลือกตั้ง ส.ว.เลือกตั้งใหม่ตามกติกาใหม่ ระหว่างนี้ ส.ว.สรรหา ที่คงอยู่ ไม่มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอน ต้องรอจนกระทั่ง ส.ว.เลือกตั้งเข้ามาทำหน้าที่ จึงจะได้อำนาจนั้นคืนกลับมา เพราะเราถือว่าเขามาจากการสรรหา และจำนวนที่มีอยู่ก็น้อย ส่วนอำนาจหน้าที่นอกเหนือจาก 2 อย่างนี้ก็ยังเป็นปกติ

กระบวนการพิจารณาในสภาหลังจากนี้เป็นอย่างไร

จะนำเสนอประธานรัฐสภา ซึ่งข้อบังคับระบุว่าเมื่อประธานรัฐสภาได้รับรายงานแล้ว ให้บรรจุเข้าวาระภายใน 15 วันในสมัยประชุม ดังนั้นจะนับหนึ่งเมื่อเริ่มเปิดสมัยประชุมคือวันที่ 1 ส.ค. ซึ่งไม่เกินวันที่ 15 ส.ค. ประธานจะต้องบรรจุวาระ ส่วนบรรจุวันไหนอย่างไรเป็นเรื่องของประธาน แต่ไม่จำเป็นต้องรอผลการศึกษาพิจารณาของ 2 คณะ เพราะต่างก็มีกรรมาธิการแยกกันดูแล กรรมาธิการไหนแล้วเสร็จก็ไปก่อน ซึ่งประเด็นที่มาของ ส.ว. คาดว่าจะเอาเข้าสภาพิจารณาก่อน เพราะมีเงื่อนเวลากำหนดว่า ส.ว. เลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2550 จะครบวาระ วันที่ 2 มี.ค. 2557 ฉะนั้นกว่าฉบับที่แก้ไขจะผ่านสภา ทูลเกล้าฯ ทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศบังคับใช้แล้วยังต้องทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ โดย กกต. ซึ่งเรากำหนดว่าต้องแล้วเสร็จภายใน 120 วันหรือ 4 เดือน ถ้าไล่ดู สมมุติเดือน ส.ค. พิจารณาวาระ 2 แล้วเสร็จ พักไว้ 15 วัน กลับมาโหวตวาระ 3 กว่าจะทูลเกล้าฯ ประกาศใช้ก็ประมาณต้นเดือน ก.ย. นับไปอีก 4 เดือน ทำกฎหมายประกอบ กว่าจะแล้วเสร็จก็เดือน ม.ค. 2557 นี่คืออย่างช้า ก็พอมีเวลาอีกเดือนกว่า ๆ ก่อนเลือกตั้ง

มีข้อสังเกตว่าพรรคเพื่อไทยจะใช้เรื่องฐานคะแนนมาชิงความได้เปรียบจากการให้มี ส.ว. เลือกตั้งทั้งหมด

ถ้าไปดูเรื่องการลงคะแนนไม่มีพรรคการเมืองใดมาชิงความได้เปรียบได้เพราะ ประชาชน 1 คนเลือก ส.ว.ได้คนเดียว สมมุติว่าจังหวัดหนึ่งมีฐานของพรรคเพื่อไทยมากที่สุด พรรคเพื่อไทยก็อาจได้คะแนนมาเป็นอันดับ 1 แต่ก็จะมีอันดับ 2-3-4 ที่กระจายตามส่วนอื่น ๆ คะแนนก็เฉลี่ยกันไป ส่วนที่มองว่าจะมีการจับเป็นกลุ่มเป็นก้อน ผมว่าวันนี้ใครจะไปบังคับประชาชนลำบาก ทำไม่ได้หรอกครับ คนที่ได้รับความนิยมมาก ถ้าเรามองในแง่ร้ายว่ามีการจัดตั้งดี มันก็จะดูดคะแนนจนสูงโด่งไปคนเดียว คนที่ไม่ตกอยู่ภายในอาณัติใครก็มีโอกาสที่จะได้คะแนนเฉลี่ยเป็นลำดับต่อ ๆ ไป

ประชาชนจะได้ประโยชน์อะไรจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นนี้

ตอบโจทย์ความเป็นประชาธิปไตย นี่คือหลักการพื้นฐาน ผู้เป็นตัวแทนปวงชนชาวไทยต้องยึดโยงกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย 2. คือเราก็กำหนดคุณสมบัติผู้มาทำหน้าที่ต้องสูงกว่า ส.ส. แล้วที่สำคัญวิธีการเลือกตั้งจะกระจาย จะทำให้เราได้ ส.ว.ที่มีความหลากหลายมาช่วยกันทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย แต่งตั้ง ถอดถอน ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เราก็คิดว่าประชาชนทั้งหลายที่เคยมีประสบการณ์เลือกตั้ง ส.ว. แบบนี้มาแล้ว เขาก็พอรู้ว่าควรเลือกใครและวันนี้การเมืองภาคประชาชน มีความตื่นตัวมากกว่าทุกยุคทุกสมัย แม้เราจะมองว่ามีความแตกแยกแต่ท่ามกลางวิกฤตินี้เราก็จะเห็นว่าเป็นโอกาสให้ ประชาชนทั้งสองฝ่ายได้ติดตาม เรียนรู้ สนใจการเมือง ฉะนั้นสิ่งที่เขาซึมซับเข้าไปจะทำให้เกิดปัญญา ความรู้ วิจารณญาณที่ดีว่าควรจะเลือกใคร ซึ่งก็จะโยงไปถึงที่ถาม ว่าแล้วจะไม่เป็นสภาผัว-เมีย เชื่อเถอะครับ วันนี้ประชาชนไม่เหมือน เมื่อก่อน ถ้าประชาชนเขามองดูว่าครอบครัวนี้ทำเพื่อตัวเอง ไม่ใช่ส่วนรวมก็เท่ากับฆ่าตัวตายทางการเมือง

เคยมีบทเรียนกรณีสภาผัว-เมีย ระบบตรวจสอบอ่อนแอ แก้รัฐธรรมนูญกลับไปใช้แบบเดิม จะแก้ปัญหาได้อย่างไร

ผมว่าเราต้องให้โอกาสในการเรียนรู้ของประชาชน และโอกาสการพัฒนาถ้าไม่ไปฉีกรัฐธรรมนูญ 2540 ทิ้งแล้วแก้สิ่งที่ไม่เหมาะสม ผมว่าในที่สุดมันจะเข้ารูปเข้ารอยเอง สหรัฐอเมริกาใช้เวลา 200 ปี เรามันเพิ่ง 80 ปี แล้วยังล้มลุกคลุกคลาน ฉะนั้นอย่าไปเกรงว่าจะอย่างนั้นอย่างนี้ ผมว่าถ้าเราให้โอกาส ก็จะมีบทเรียนซ้ำซากให้ประชาชนเรียนรู้ว่าควรจะทำอย่างไร ผมถามหน่อย ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 คนเขียนเราก็รู้ว่ามาจากไหน ผมก็ไม่อยากไปย้อน ถามว่าถอดถอนใครได้ไหม ผมว่าถ้าไม่ใช่เรื่องรุนแรงจริง ๆ ก็ไม่ได้ แล้วจะโทษ ส.ว. อย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องดูที่กระบวนการเริ่มต้นอย่าง ป.ป.ช. ชี้มูลแล้วส่งมาให้ ส.ว. ด้วย ซึ่ง ป.ป.ช. ถามว่าใครไปคุมท่านได้ ผมก็ยังไม่เห็นว่าถอดถอนใครได้เลย ผมว่ามันอยู่ที่ประเด็นมากกว่า ถ้าสาธารณะเอาด้วย ความผิดชัดแจ้ง ใครก็บิดเป็นอื่นไม่ได้ อย่าไปมองว่าการถอดถอน แต่งตั้ง เป็นอำนาจของ ส.ว. ทั้งหมด ส.ว. เพียงแค่นั่งรอเท่านั้น

มีข้อวิจารณ์ว่าซื้อใจ ส.ว.เลือกตั้งโดยไม่ห้ามลงสมัครเมื่อครบวาระ

หลักกฎหมายเราต้องยอมรับว่า ส.ว.สรรหามาจากรัฐธรรมนูญจะดีหรือจะถูกต้องหรือไม่ก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่เป็นรัฐธรรมนูญปี 2550 บัญญัติไว้อย่างนั้น และหลักการเขียนกฎหมายจะไม่บัญญัติสิ่งที่เป็นโทษย้อนหลัง ถ้าเป็นคุณไม่ว่า กรรมาธิการเสียงข้างมากก็ยังคงสถานภาพ ส.ว.สรรหาไว้ แต่ก็มีสมาชิกบางส่วน ทั้ง ส.ส. และส.ว. อยากให้ ส.ว.สรรหา หมดสถานภาพไปเมื่อรัฐธรรมนูญใหม่บังคับใช้แต่จะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่สภาใหญ่ ในชั้นกรรมาธิการเรายังคงยืนยันให้ส.ว.สรรหา ดำรงตำแหน่งจนสิ้นวาระ.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/politics/221713 (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ก.ค.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 27/07/2556 เวลา 03:15:05

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ในที่สุดการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็น “ที่มาของ ส.ว.” ก็เสร็จสิ้นในชั้นกรรมาธิการ “ทีมข่าวการเมือง” ได้สัมภาษณ์ สามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ระหว่าง “ของปัจจุบัน” กับ “ของใหม่” ที่กำลังจะเกิดขึ้น สาระสำคัญฉบับยกร่างที่แตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 ที่มาของ ส.ว.ถ้าเปรียบเทียบระหว่างรัฐธรรมนูญ 2550 กับฉบับที่กำลังยกร่างใหม่ ส.ว. ปัจจุบันมาจาก 2 ส่วน คือมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนจังหวัดละ 1 คน และมาจากการสรรหา 73 คน รวมจำนวน 150 คน แต่ฉบับแก้ไขมีหลักการสำคัญคือให้มี ส.ว. มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนอย่างเดียว 200 คน ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง วิธีการคำนวณเอาจำนวนประชากรทั้งประเทศตั้งหารด้วย 200 จริง ๆ แล้วก็เหมือนการเลือกตั้ง ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 และความแตกต่างที่สำคัญ คือ ส.ว. ที่ครบวาระแล้วตามรัฐธรรมนูญ 2540 ต้องเว้นวรรค ห้ามเป็นติดต่อกัน แต่ฉบับแก้ไขเมื่อครบวาระ 6 ปีแล้ว จะลงสมัครต่อก็ได้ ไม่ได้ห้าม เหตุผลสำคัญเพราะเราถือว่าได้มอบให้ประชาชนเป็นคนตัดสิน ฉะนั้นจะเห็นว่าใครเหมาะสม ให้ใครเป็นกี่สมัย ก็อยู่ที่ประชาชน ขณะเดียวกันก็ไม่ห้ามกรณีเป็น บุพการี ลูกหลาน สามี ภรรยาของนักการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้ง เพราะเป็นอำนาจของประชาชนที่จะตัดสินใจ ส่วนเรื่องอำนาจหน้าที่ของ ส.ว. ไม่ได้เข้าไปแก้ไขแตะต้องเลย ยังเป็นเหมือนเดิมทุกอย่าง ทั้งอำนาจในการกลั่นกรองกฎหมาย แต่งตั้ง ถอดถอน การสรรหาองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ไม่ได้แก้ไข เพราะไม่อยู่ในหลักการขอแก้ไข หลักการแค่ให้ ส.ว. มาจากการเลือกตั้ง สำหรับที่มาของการให้มี ส.ว. เลือกตั้งจำนวน 200 คน เพราะมองว่าวันนี้เรามี ส.ส. รวมระบบเขต และบัญชีรายชื่อ 500 คน ดังนั้นน่าจะมี ส.ว. สักครึ่งหนึ่ง จึงมาลงตัวที่ 200 คน และรัฐธรรมนูญปี 2540 ก็เคยให้มี ส.ว. 200 คน คิดว่าเป็นตัวเลขที่เหมาะสมที่สุด ส.ว.สรรหา และ ส.ว. เลือกตั้ง ครบวาระไม่พร้อมกัน เมื่อฉบับใหม่ประกาศบังคับใช้จะให้อยู่ต่อหรือสิ้นสถานะไป ส.ว.เลือกตั้ง ให้อยู่ต่อจนครบวาระ ซึ่งจะครบในวันที่ 2 มี.ค.2557 แต่ ส.ว.สรรหา เนื่องจากมีการสรรหา ส.ว. รุ่น 2 ซึ่งยังไม่ครบวาระพร้อมกัน เราก็จะเขียนบทเฉพาะกาลรองรับวาระท่านเหล่านี้ให้อยู่จนสิ้นวาระ แต่ระหว่างที่ดำรงอยู่นี้ มีใครต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุผลตามรัฐธรรมนูญ เช่น ตาย ลาออก ต้องไม่มีการสรรหาใหม่ ดังนั้นในช่วงแรก ส.ว. ที่อยู่ตำแหน่งก็จะมีมากหน่อย ส.ว.สรรหา ที่ยังให้ดำรงตำแหน่งจนครบวาระ มีอำนาจแตกต่างจาก ส.ว. ที่เลือกตั้งเข้ามาใหม่อย่างไร ส.ว.สรรหาที่เราให้คงสถานภาพอยู่ เราก็ขอจำกัดอำนาจเฉพาะช่วงเปลี่ยนผ่าน คือระหว่างที่ ส.ว.เลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญ 2550 ครบวาระและกำลังจะมีการเลือกตั้ง ส.ว.เลือกตั้งใหม่ตามกติกาใหม่ ระหว่างนี้ ส.ว.สรรหา ที่คงอยู่ ไม่มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอน ต้องรอจนกระทั่ง ส.ว.เลือกตั้งเข้ามาทำหน้าที่ จึงจะได้อำนาจนั้นคืนกลับมา เพราะเราถือว่าเขามาจากการสรรหา และจำนวนที่มีอยู่ก็น้อย ส่วนอำนาจหน้าที่นอกเหนือจาก 2 อย่างนี้ก็ยังเป็นปกติ กระบวนการพิจารณาในสภาหลังจากนี้เป็นอย่างไร จะนำเสนอประธานรัฐสภา ซึ่งข้อบังคับระบุว่าเมื่อประธานรัฐสภาได้รับรายงานแล้ว ให้บรรจุเข้าวาระภายใน 15 วันในสมัยประชุม ดังนั้นจะนับหนึ่งเมื่อเริ่มเปิดสมัยประชุมคือวันที่ 1 ส.ค. ซึ่งไม่เกินวันที่ 15 ส.ค. ประธานจะต้องบรรจุวาระ ส่วนบรรจุวันไหนอย่างไรเป็นเรื่องของประธาน แต่ไม่จำเป็นต้องรอผลการศึกษาพิจารณาของ 2 คณะ เพราะต่างก็มีกรรมาธิการแยกกันดูแล กรรมาธิการไหนแล้วเสร็จก็ไปก่อน ซึ่งประเด็นที่มาของ ส.ว. คาดว่าจะเอาเข้าสภาพิจารณาก่อน เพราะมีเงื่อนเวลากำหนดว่า ส.ว. เลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2550 จะครบวาระ วันที่ 2 มี.ค. 2557 ฉะนั้นกว่าฉบับที่แก้ไขจะผ่านสภา ทูลเกล้าฯ ทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศบังคับใช้แล้วยังต้องทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ โดย กกต. ซึ่งเรากำหนดว่าต้องแล้วเสร็จภายใน 120 วันหรือ 4 เดือน ถ้าไล่ดู สมมุติเดือน ส.ค. พิจารณาวาระ 2 แล้วเสร็จ พักไว้ 15 วัน กลับมาโหวตวาระ 3 กว่าจะทูลเกล้าฯ ประกาศใช้ก็ประมาณต้นเดือน ก.ย. นับไปอีก 4 เดือน ทำกฎหมายประกอบ กว่าจะแล้วเสร็จก็เดือน ม.ค. 2557 นี่คืออย่างช้า ก็พอมีเวลาอีกเดือนกว่า ๆ ก่อนเลือกตั้ง มีข้อสังเกตว่าพรรคเพื่อไทยจะใช้เรื่องฐานคะแนนมาชิงความได้เปรียบจากการให้มี ส.ว. เลือกตั้งทั้งหมด ถ้าไปดูเรื่องการลงคะแนนไม่มีพรรคการเมืองใดมาชิงความได้เปรียบได้เพราะ ประชาชน 1 คนเลือก ส.ว.ได้คนเดียว สมมุติว่าจังหวัดหนึ่งมีฐานของพรรคเพื่อไทยมากที่สุด พรรคเพื่อไทยก็อาจได้คะแนนมาเป็นอันดับ 1 แต่ก็จะมีอันดับ 2-3-4 ที่กระจายตามส่วนอื่น ๆ คะแนนก็เฉลี่ยกันไป ส่วนที่มองว่าจะมีการจับเป็นกลุ่มเป็นก้อน ผมว่าวันนี้ใครจะไปบังคับประชาชนลำบาก ทำไม่ได้หรอกครับ คนที่ได้รับความนิยมมาก ถ้าเรามองในแง่ร้ายว่ามีการจัดตั้งดี มันก็จะดูดคะแนนจนสูงโด่งไปคนเดียว คนที่ไม่ตกอยู่ภายในอาณัติใครก็มีโอกาสที่จะได้คะแนนเฉลี่ยเป็นลำดับต่อ ๆ ไป ประชาชนจะได้ประโยชน์อะไรจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นนี้ ตอบโจทย์ความเป็นประชาธิปไตย นี่คือหลักการพื้นฐาน ผู้เป็นตัวแทนปวงชนชาวไทยต้องยึดโยงกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย 2. คือเราก็กำหนดคุณสมบัติผู้มาทำหน้าที่ต้องสูงกว่า ส.ส. แล้วที่สำคัญวิธีการเลือกตั้งจะกระจาย จะทำให้เราได้ ส.ว.ที่มีความหลากหลายมาช่วยกันทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย แต่งตั้ง ถอดถอน ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เราก็คิดว่าประชาชนทั้งหลายที่เคยมีประสบการณ์เลือกตั้ง ส.ว. แบบนี้มาแล้ว เขาก็พอรู้ว่าควรเลือกใครและวันนี้การเมืองภาคประชาชน มีความตื่นตัวมากกว่าทุกยุคทุกสมัย แม้เราจะมองว่ามีความแตกแยกแต่ท่ามกลางวิกฤตินี้เราก็จะเห็นว่าเป็นโอกาสให้ ประชาชนทั้งสองฝ่ายได้ติดตาม เรียนรู้ สนใจการเมือง ฉะนั้นสิ่งที่เขาซึมซับเข้าไปจะทำให้เกิดปัญญา ความรู้ วิจารณญาณที่ดีว่าควรจะเลือกใคร ซึ่งก็จะโยงไปถึงที่ถาม ว่าแล้วจะไม่เป็นสภาผัว-เมีย เชื่อเถอะครับ วันนี้ประชาชนไม่เหมือน เมื่อก่อน ถ้าประชาชนเขามองดูว่าครอบครัวนี้ทำเพื่อตัวเอง ไม่ใช่ส่วนรวมก็เท่ากับฆ่าตัวตายทางการเมือง เคยมีบทเรียนกรณีสภาผัว-เมีย ระบบตรวจสอบอ่อนแอ แก้รัฐธรรมนูญกลับไปใช้แบบเดิม จะแก้ปัญหาได้อย่างไร ผมว่าเราต้องให้โอกาสในการเรียนรู้ของประชาชน และโอกาสการพัฒนาถ้าไม่ไปฉีกรัฐธรรมนูญ 2540 ทิ้งแล้วแก้สิ่งที่ไม่เหมาะสม ผมว่าในที่สุดมันจะเข้ารูปเข้ารอยเอง สหรัฐอเมริกาใช้เวลา 200 ปี เรามันเพิ่ง 80 ปี แล้วยังล้มลุกคลุกคลาน ฉะนั้นอย่าไปเกรงว่าจะอย่างนั้นอย่างนี้ ผมว่าถ้าเราให้โอกาส ก็จะมีบทเรียนซ้ำซากให้ประชาชนเรียนรู้ว่าควรจะทำอย่างไร ผมถามหน่อย ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 คนเขียนเราก็รู้ว่ามาจากไหน ผมก็ไม่อยากไปย้อน ถามว่าถอดถอนใครได้ไหม ผมว่าถ้าไม่ใช่เรื่องรุนแรงจริง ๆ ก็ไม่ได้ แล้วจะโทษ ส.ว. อย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องดูที่กระบวนการเริ่มต้นอย่าง ป.ป.ช. ชี้มูลแล้วส่งมาให้ ส.ว. ด้วย ซึ่ง ป.ป.ช. ถามว่าใครไปคุมท่านได้ ผมก็ยังไม่เห็นว่าถอดถอนใครได้เลย ผมว่ามันอยู่ที่ประเด็นมากกว่า ถ้าสาธารณะเอาด้วย ความผิดชัดแจ้ง ใครก็บิดเป็นอื่นไม่ได้ อย่าไปมองว่าการถอดถอน แต่งตั้ง เป็นอำนาจของ ส.ว. ทั้งหมด ส.ว. เพียงแค่นั่งรอเท่านั้น มีข้อวิจารณ์ว่าซื้อใจ ส.ว.เลือกตั้งโดยไม่ห้ามลงสมัครเมื่อครบวาระ หลักกฎหมายเราต้องยอมรับว่า ส.ว.สรรหามาจากรัฐธรรมนูญจะดีหรือจะถูกต้องหรือไม่ก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่เป็นรัฐธรรมนูญปี 2550 บัญญัติไว้อย่างนั้น และหลักการเขียนกฎหมายจะไม่บัญญัติสิ่งที่เป็นโทษย้อนหลัง ถ้าเป็นคุณไม่ว่า กรรมาธิการเสียงข้างมากก็ยังคงสถานภาพ ส.ว.สรรหาไว้ แต่ก็มีสมาชิกบางส่วน ทั้ง ส.ส. และส.ว. อยากให้ ส.ว.สรรหา หมดสถานภาพไปเมื่อรัฐธรรมนูญใหม่บังคับใช้แต่จะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่สภาใหญ่ ในชั้นกรรมาธิการเรายังคงยืนยันให้ส.ว.สรรหา ดำรงตำแหน่งจนสิ้นวาระ. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/politics/221713 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ก.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...