การจัดการที่จอดรถ ‘คอนโดฯ’ - กฎหมายรอบรั้ว

แสดงความคิดเห็น

การบริหารจัดการที่จอดรถในอาคารชุด เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่ผู้บริหารอาคารชุดจำต้องคำนึงถึง ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มักจะเป็นการร้องเรียนว่ามีไม่เพียงพอ สิทธิในการจอดรถไม่เป็นไปตามที่ได้รับข้อมูลจากเจ้าของโครงการขณะตกลงซื้อ หรือบางรายจอดรถทับสิทธิคนอื่น บางรายนำรถของตัวเองที่มีหลายคันมาจอดภายในอาคารชุด ทำให้ที่จอดรถลดน้อยลง ปัญหาเหล่านี้สร้างความกดดันให้กับทั้งกรรมการและฝ่ายบริหารอาคารชุด ซึ่งอาจนำไปสู่การร้องเรียน ประท้วงให้เปลี่ยนบริษัทบริหารจัดการ หรือคณะกรรมการอาคารชุดได้

โดยปกติในเบื้องต้น เจ้าของโครงการจะจัดให้มีจำนวนที่จอดรถให้ตรงตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ เพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้าง และในที่สุดได้รับใบอนุญาตเปิดใช้อาคาร (อ.6) ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ประกอบการจดทะเบียนอาคารชุด ซึ่งการแบ่งสันปันส่วนที่จอดรถให้กับเจ้าของร่วม โดยทั่วไปมักจัดสรรให้ตามแบบและขนาดของห้องชุด เช่น ห้องสตูดิโอ จัดให้มีที่จอดรถได้หนึ่งคัน ห้องขนาดหนึ่งและสองห้องนอนมีที่จอดรถได้สองคัน ห้องขนาดสามห้องนอนหรือเพนท์เฮาส์มีที่จอดรถได้สามคัน เป็นต้น แต่ในทางปฏิบัติ การใช้ชีวิตจริงอาจไม่สามารถทำได้ตามนั้น

เช่นห้องขนาดสตูดิโอ ระบุให้มีที่จอดรถหนึ่งคัน แต่ในความเป็นจริงอาจอยู่ด้วยกันสองคน สามีภรรยามีรถสองคัน หมายความว่าจะมีรถหนึ่งคันสามารถเข้ามาจอดในอาคารชุดได้ แต่อีกคันหนึ่งจะต้องแลกบัตรในฐานะผู้มาเยี่ยมทุกวัน ซึ่งสร้างความหงุดหงิดไม่น้อย ทางแก้ไขที่ทำได้คือ ทำสติกเกอร์ หรือบัตรผ่านเข้า-ออกพิเศษให้รถคันที่สองนี้ให้เข้ามาในโครงการโดยไม่ต้อง แลกบัตร แต่อนุญาตให้จอดในที่จอดของผู้มาเยี่ยม ซึ่งที่จอดรถของผู้มาเยี่ยมนี้มักจัดไว้นอกอาคารบริเวณโดยรอบ หรืออาจกั้นไว้ในอาคารจอดรถแยกให้เป็นสัดส่วน ก็จะลดปัญหาข้างต้นได้ แต่แน่นอนว่าจะทำให้ที่จอดรถที่เตรียมไว้ลดลง แต่ก็ยังดีกว่าที่จะปล่อยให้เจ้าของร่วมไม่มีที่จอดรถ

อีกปัญหาที่เกิดขึ้นคือ เจ้าของร่วมบางรายมีรถหลายคัน จึงนำรถมาจอดในที่จอดรถของอาคารชุด บางรายมีมารยาทก็ไปจอดในที่จอดรถผู้มาเยี่ยม แต่หลายคนก็ไม่สนใจ เลือกจอดตามใจ บางรายจอดทิ้งไว้เป็นเดือน ซึ่งถ้าเป็นที่จอดรถประเภทที่ไม่ได้มีการกำหนดเลขที่บ้านผู้เป็นเจ้าของไว้ ก็อาจไม่มีปัญหา ตราบเท่าที่ยังมีที่จอดรถอย่างพอเพียง แต่ถ้าเป็นที่จอดรถประเภทที่กำหนดเลขที่บ้านไว้ก็มักทำให้มีเรื่องทะเลาะกัน ได้ ซึ่งปัญหาก็มักไปลงเอยที่นิติบุคคลที่จะต้องหามาตรการในการแก้ไข เช่น ต้องมีการล็อกล้อ เสียค่าปรับหรือใช้วิธีเตรียมแม่แรงไว้เพื่อเคลื่อนย้ายรถที่จอดขวางหรือจอด ทับสิทธิ ซึ่งก็จะเป็นชนวนความขัดแย้งระหว่างเจ้าของรถที่ถูกเคลื่อนย้ายกับนิติบุคคล ต่อไป

จะเห็นได้ว่าการบริหารที่จอดรถให้มีประสิทธิภาพต้องมาจากปัจจัยหลาย ประการ เช่น การออกแบบและจัดที่จอดรถให้เหมาะสมและพอเพียงโดยเจ้าของโครงการตั้งแต่ต้น โดยคำนึงถึงความเป็นจริง การชี้แจงของนิติบุคคลให้เจ้าของร่วมทราบถึงสิทธิในการจอดรถ รวมทั้งการบังคับใช้กฎข้อบังคับในส่วนที่เกี่ยวกับการจอดรถอย่างเข้มงวดโดย ไม่เลือกปฏิบัติ และประการสำคัญที่สุดคือการที่เจ้าของร่วมในอาคารชุดนั้น ๆ ต้องมีจิตสำนึกในการรู้จักสิทธิและหน้าที่โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นนะ ครับ.

ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/article/950/216944 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 6/07/2556 เวลา 03:04:02

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การบริหารจัดการที่จอดรถในอาคารชุด เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่ผู้บริหารอาคารชุดจำต้องคำนึงถึง ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มักจะเป็นการร้องเรียนว่ามีไม่เพียงพอ สิทธิในการจอดรถไม่เป็นไปตามที่ได้รับข้อมูลจากเจ้าของโครงการขณะตกลงซื้อ หรือบางรายจอดรถทับสิทธิคนอื่น บางรายนำรถของตัวเองที่มีหลายคันมาจอดภายในอาคารชุด ทำให้ที่จอดรถลดน้อยลง ปัญหาเหล่านี้สร้างความกดดันให้กับทั้งกรรมการและฝ่ายบริหารอาคารชุด ซึ่งอาจนำไปสู่การร้องเรียน ประท้วงให้เปลี่ยนบริษัทบริหารจัดการ หรือคณะกรรมการอาคารชุดได้ โดยปกติในเบื้องต้น เจ้าของโครงการจะจัดให้มีจำนวนที่จอดรถให้ตรงตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ เพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้าง และในที่สุดได้รับใบอนุญาตเปิดใช้อาคาร (อ.6) ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ประกอบการจดทะเบียนอาคารชุด ซึ่งการแบ่งสันปันส่วนที่จอดรถให้กับเจ้าของร่วม โดยทั่วไปมักจัดสรรให้ตามแบบและขนาดของห้องชุด เช่น ห้องสตูดิโอ จัดให้มีที่จอดรถได้หนึ่งคัน ห้องขนาดหนึ่งและสองห้องนอนมีที่จอดรถได้สองคัน ห้องขนาดสามห้องนอนหรือเพนท์เฮาส์มีที่จอดรถได้สามคัน เป็นต้น แต่ในทางปฏิบัติ การใช้ชีวิตจริงอาจไม่สามารถทำได้ตามนั้น เช่นห้องขนาดสตูดิโอ ระบุให้มีที่จอดรถหนึ่งคัน แต่ในความเป็นจริงอาจอยู่ด้วยกันสองคน สามีภรรยามีรถสองคัน หมายความว่าจะมีรถหนึ่งคันสามารถเข้ามาจอดในอาคารชุดได้ แต่อีกคันหนึ่งจะต้องแลกบัตรในฐานะผู้มาเยี่ยมทุกวัน ซึ่งสร้างความหงุดหงิดไม่น้อย ทางแก้ไขที่ทำได้คือ ทำสติกเกอร์ หรือบัตรผ่านเข้า-ออกพิเศษให้รถคันที่สองนี้ให้เข้ามาในโครงการโดยไม่ต้อง แลกบัตร แต่อนุญาตให้จอดในที่จอดของผู้มาเยี่ยม ซึ่งที่จอดรถของผู้มาเยี่ยมนี้มักจัดไว้นอกอาคารบริเวณโดยรอบ หรืออาจกั้นไว้ในอาคารจอดรถแยกให้เป็นสัดส่วน ก็จะลดปัญหาข้างต้นได้ แต่แน่นอนว่าจะทำให้ที่จอดรถที่เตรียมไว้ลดลง แต่ก็ยังดีกว่าที่จะปล่อยให้เจ้าของร่วมไม่มีที่จอดรถ อีกปัญหาที่เกิดขึ้นคือ เจ้าของร่วมบางรายมีรถหลายคัน จึงนำรถมาจอดในที่จอดรถของอาคารชุด บางรายมีมารยาทก็ไปจอดในที่จอดรถผู้มาเยี่ยม แต่หลายคนก็ไม่สนใจ เลือกจอดตามใจ บางรายจอดทิ้งไว้เป็นเดือน ซึ่งถ้าเป็นที่จอดรถประเภทที่ไม่ได้มีการกำหนดเลขที่บ้านผู้เป็นเจ้าของไว้ ก็อาจไม่มีปัญหา ตราบเท่าที่ยังมีที่จอดรถอย่างพอเพียง แต่ถ้าเป็นที่จอดรถประเภทที่กำหนดเลขที่บ้านไว้ก็มักทำให้มีเรื่องทะเลาะกัน ได้ ซึ่งปัญหาก็มักไปลงเอยที่นิติบุคคลที่จะต้องหามาตรการในการแก้ไข เช่น ต้องมีการล็อกล้อ เสียค่าปรับหรือใช้วิธีเตรียมแม่แรงไว้เพื่อเคลื่อนย้ายรถที่จอดขวางหรือจอด ทับสิทธิ ซึ่งก็จะเป็นชนวนความขัดแย้งระหว่างเจ้าของรถที่ถูกเคลื่อนย้ายกับนิติบุคคล ต่อไป จะเห็นได้ว่าการบริหารที่จอดรถให้มีประสิทธิภาพต้องมาจากปัจจัยหลาย ประการ เช่น การออกแบบและจัดที่จอดรถให้เหมาะสมและพอเพียงโดยเจ้าของโครงการตั้งแต่ต้น โดยคำนึงถึงความเป็นจริง การชี้แจงของนิติบุคคลให้เจ้าของร่วมทราบถึงสิทธิในการจอดรถ รวมทั้งการบังคับใช้กฎข้อบังคับในส่วนที่เกี่ยวกับการจอดรถอย่างเข้มงวดโดย ไม่เลือกปฏิบัติ และประการสำคัญที่สุดคือการที่เจ้าของร่วมในอาคารชุดนั้น ๆ ต้องมีจิตสำนึกในการรู้จักสิทธิและหน้าที่โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นนะ ครับ. ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/article/950/216944

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...