คอลัมน์: กฎหมายวาไรตี้ : 'รถยนต์หายในห้างฯ'

แสดงความคิดเห็น

โดย ช.ช้างหัวหน้า

ปัญหาของคนเมืองที่ต้องใช้เวลารีบเร่งแข่งขันกันอย่างเคร่งเครียด ตลอดทั้งวัน ดังนั้น ในเวลาว่างคนเมืองส่วนใหญ่จะขับรถยนต์แวะเที่ยวห้างสรรพสินค้าเพื่อ ซื้อสินค้าหรือใช้บริการเป็นปกติ บางคนเข้าไปหาซื้อสินค้า บางคนเข้าไปเพื่อชมภาพยนตร์ตามห้างที่มีโรงหนัง บางคนเข้าไปหลบร้อนรับอากาศเย็นจากแอร์คอนดิชันเนอร์ แล้วนั่งจิบกาแฟหรือซื้อของจุกจิกไปตามเรื่อง สรุปว่าห้างฯ เป็นแหล่งรวมของการใช้ชีวิตคนเมืองปัจจุบันไปแล้ว

อย่างที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าห้างฯ ทำให้ชีวิตคนเมืองมีความสุขสะดวกสบายในการซื้อสินค้าและบริการแบบ ครบวงจร เรียกว่ามีความสุขกันถ้วนหน้า แต่จะมีทุกข์อย่างมากหากบังเอิญวันร้ายคืนร้ายลูกค้าขับรถไปจอดที่ห้าง แต่เมื่อออกจากห้างเพื่อจะกลับบ้านแล้วพบว่ารถยนต์ที่จอดอยู่ได้ อันตรธานหายไป อย่างนี้ลูกค้าเจ้าของรถยนต์จะมีสิทธิ์เรียกร้องกับใครได้บ้าง คงต้องมาดูคดีตัวอย่างรถยนต์หายในห้างฯ ดังนี้

คำพิพากษาฎีกาที่ 11605/2553 "พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 มอบบัตรจอดรถซึ่งด้านหน้าระบุว่าต้องเสียค่าจอดรถชั่วโมงละ 10 บาท และหากทำบัตรจอดรถหายจะต้องถูกปรับ 200 บาท โดยต้องนำหลักฐานการเป็นเจ้าของรถมาแสดงให้แก่โจทก์และยินยอมให้ โจทก์นำรถเข้าไปจอดในลานจอดรถของห้างฯ จำเลยที่ 2 เมื่อคนร้ายลักรถยนต์โดยขับรถฝ่าพนักงานรักษาความปลอดภัยออกไปด้วยความ เร็วและไม่คืนบัตรจอดรถให้ แต่พนักงานรักษาความปลอดภัยไม่ดำเนินการใดๆ เพื่อแจ้งเหตุหรือสกัดจับ กลับรอกระทั่งโจทก์กลับมาจึงแจ้งให้ทราบ การกระทำของพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นละเมิด และจำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดชำระค่าทรัพย์สินที่อยู่ภายในรถยนต์ ดังกล่าวด้วย เนื่องจากเป็นผลโดยตรงจากการที่จำเลยทั้งสองประมาทเลินเล่อ"

คำพิพากษาฎีกาที่ 11605/2553 "แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งประกอบกิจการห้างสรรพสินค้า จะไม่มีวัตถุประสงค์ในการรับฝากรถของลูกค้าที่มาจอดเพื่อใช้บริการของ ห้างจำเลยที่ 1 และไม่มีการเก็บค่าจอดรถก็ตาม (จำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ดูแลรักษาความปลอดภัยของห้าง โดยต้องตรวจบัตรเมื่อจะนำรถออกให้ตรงกับทะเบียนรถ จึงเป็นการจัดที่จอดรถให้แก่ลูกค้า) ...การที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 พนักงานรักษาความปลอดภัยลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ไม่ระมัดระวังในการออกบัตรจอดรถและตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัด เป็นเหตุให้รถยนต์ของผู้บริโภคถูกลักไป จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้บริโภค ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 และมาตรา 425 จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดดังกล่าว ทั้งจำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 ดูแลรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 และลูกจ้าง ตลอดทั้งทรัพย์สินอื่นซึ่งอยู่ในความครอบครองดูแลของจำเลยที่ 1 ในบริเวณห้างจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 ย่อมเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ที่ได้รับมอบหมายจึงต้องรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภคด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมกันกระทำละเมิดต่อผู้บริโภค จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ตัวแทนได้กระ ทำไปในกิจการที่ได้รับมอบหมายให้ทำแทนนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 427"

จากบรรทัดฐานของคดีดังกล่าวจะเห็นว่า กรณีลูกค้านำรถยนต์เข้าไปจอดในที่จอดรถของห้างฯ โดยทางห้างได้จัดให้มีการออกบัตรเข้าออก หากลูกจ้างฝ่ายของห้างฯ ผู้ทำหน้าที่จัดการรถยนต์เข้าออกประมาทไม่ใช้ความระมัดระวังตรวจบัตร โดยเคร่งครัด และเป็นเหตุให้รถยนต์ถูกโจรกรรมไป อย่างนี้ทางห้างฯ หรือบริษัทรักษาความปลอดภัยต้องร่วมกันรับผิดคืน หรือชดใช้ราคารถยนต์แก่ลูกค้าตามกฎหมายเรื่องละเมิด.

ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1682421

ที่มา: ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 30/06/2556 เวลา 04:07:28

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โดย ช.ช้างหัวหน้า ปัญหาของคนเมืองที่ต้องใช้เวลารีบเร่งแข่งขันกันอย่างเคร่งเครียด ตลอดทั้งวัน ดังนั้น ในเวลาว่างคนเมืองส่วนใหญ่จะขับรถยนต์แวะเที่ยวห้างสรรพสินค้าเพื่อ ซื้อสินค้าหรือใช้บริการเป็นปกติ บางคนเข้าไปหาซื้อสินค้า บางคนเข้าไปเพื่อชมภาพยนตร์ตามห้างที่มีโรงหนัง บางคนเข้าไปหลบร้อนรับอากาศเย็นจากแอร์คอนดิชันเนอร์ แล้วนั่งจิบกาแฟหรือซื้อของจุกจิกไปตามเรื่อง สรุปว่าห้างฯ เป็นแหล่งรวมของการใช้ชีวิตคนเมืองปัจจุบันไปแล้ว อย่างที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าห้างฯ ทำให้ชีวิตคนเมืองมีความสุขสะดวกสบายในการซื้อสินค้าและบริการแบบ ครบวงจร เรียกว่ามีความสุขกันถ้วนหน้า แต่จะมีทุกข์อย่างมากหากบังเอิญวันร้ายคืนร้ายลูกค้าขับรถไปจอดที่ห้าง แต่เมื่อออกจากห้างเพื่อจะกลับบ้านแล้วพบว่ารถยนต์ที่จอดอยู่ได้ อันตรธานหายไป อย่างนี้ลูกค้าเจ้าของรถยนต์จะมีสิทธิ์เรียกร้องกับใครได้บ้าง คงต้องมาดูคดีตัวอย่างรถยนต์หายในห้างฯ ดังนี้ คำพิพากษาฎีกาที่ 11605/2553 "พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 มอบบัตรจอดรถซึ่งด้านหน้าระบุว่าต้องเสียค่าจอดรถชั่วโมงละ 10 บาท และหากทำบัตรจอดรถหายจะต้องถูกปรับ 200 บาท โดยต้องนำหลักฐานการเป็นเจ้าของรถมาแสดงให้แก่โจทก์และยินยอมให้ โจทก์นำรถเข้าไปจอดในลานจอดรถของห้างฯ จำเลยที่ 2 เมื่อคนร้ายลักรถยนต์โดยขับรถฝ่าพนักงานรักษาความปลอดภัยออกไปด้วยความ เร็วและไม่คืนบัตรจอดรถให้ แต่พนักงานรักษาความปลอดภัยไม่ดำเนินการใดๆ เพื่อแจ้งเหตุหรือสกัดจับ กลับรอกระทั่งโจทก์กลับมาจึงแจ้งให้ทราบ การกระทำของพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นละเมิด และจำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดชำระค่าทรัพย์สินที่อยู่ภายในรถยนต์ ดังกล่าวด้วย เนื่องจากเป็นผลโดยตรงจากการที่จำเลยทั้งสองประมาทเลินเล่อ" คำพิพากษาฎีกาที่ 11605/2553 "แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งประกอบกิจการห้างสรรพสินค้า จะไม่มีวัตถุประสงค์ในการรับฝากรถของลูกค้าที่มาจอดเพื่อใช้บริการของ ห้างจำเลยที่ 1 และไม่มีการเก็บค่าจอดรถก็ตาม (จำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ดูแลรักษาความปลอดภัยของห้าง โดยต้องตรวจบัตรเมื่อจะนำรถออกให้ตรงกับทะเบียนรถ จึงเป็นการจัดที่จอดรถให้แก่ลูกค้า) ...การที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 พนักงานรักษาความปลอดภัยลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ไม่ระมัดระวังในการออกบัตรจอดรถและตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัด เป็นเหตุให้รถยนต์ของผู้บริโภคถูกลักไป จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้บริโภค ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 และมาตรา 425 จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดดังกล่าว ทั้งจำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 ดูแลรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 และลูกจ้าง ตลอดทั้งทรัพย์สินอื่นซึ่งอยู่ในความครอบครองดูแลของจำเลยที่ 1 ในบริเวณห้างจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 ย่อมเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ที่ได้รับมอบหมายจึงต้องรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภคด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมกันกระทำละเมิดต่อผู้บริโภค จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ตัวแทนได้กระ ทำไปในกิจการที่ได้รับมอบหมายให้ทำแทนนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 427" จากบรรทัดฐานของคดีดังกล่าวจะเห็นว่า กรณีลูกค้านำรถยนต์เข้าไปจอดในที่จอดรถของห้างฯ โดยทางห้างได้จัดให้มีการออกบัตรเข้าออก หากลูกจ้างฝ่ายของห้างฯ ผู้ทำหน้าที่จัดการรถยนต์เข้าออกประมาทไม่ใช้ความระมัดระวังตรวจบัตร โดยเคร่งครัด และเป็นเหตุให้รถยนต์ถูกโจรกรรมไป อย่างนี้ทางห้างฯ หรือบริษัทรักษาความปลอดภัยต้องร่วมกันรับผิดคืน หรือชดใช้ราคารถยนต์แก่ลูกค้าตามกฎหมายเรื่องละเมิด. ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1682421

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...