ยุติธรรมจัดสัมมนาเเก้ปัญหาสิทธิมนุษยชนโลก หัวข้อป้องกันการทรมาน

แสดงความคิดเห็น

เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพจัดการประชุมวิชาการสิทธิมนุษยชนระหว่าง ประเทศ (lnternation Human Rights Conference) และสัมมนาในหัวข้อ "สถานการณ์สัมมนาในภูมิภาคต่างๆ : การป้องกันการทรมาน" โดยมี พล.ต.อ.ประชา พรมหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ต.อ.ดร.ณรัชต์ เศวตนันทร์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนจากประเทศต่างๆ ข้าราชการจากหลายกระทรวงและประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 300 คน

พล.ต.อ.ประชากล่าวว่า เป็นเรื่องน่ายินดียิ่ง สำหรับทุกคนที่มีโอกาสได้รับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็น ที่มีผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนต่อสังคมในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ในเรื่องการป้องกันการทรมาน สิทธิของเหยื่อ แนวโน้มกระแสสังคมโลกต่อการยุติโทษประหารชีวิต สิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ และการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทนอกศาล ที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 และตามหลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนสะท้อนให้เห็นความสำคัญในหลักการและแนวทางปฏิบัติในการส่งเสริม คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล ในการผลักดันให้มีการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน อันเป็นหลักประกันว่า ประชาชนจะได้รับการปกป้องคุ้มครองสิทธิอย่างเต็มประสิทธิภาพ

Mr.Rafendi Djamin นักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชน จากประเทศอินโดนีเซีย กล่าวตอนหนึ่งระหว่างการสัมมนาว่า อินโดนีเซียให้คุณค่ากับการลงนาม การให้สัตยาบรรณระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างมาก และเห็นว่าการทรมานเป็นเรื่องที่ทุกประเทศต้องให้ความสำคัญและแก้ไข ซึ่งอินโดนีเซียมีการพยายามปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมายต่างๆ เพื่อนำมาใช้ปกป้องเหยื่อจากการทรมานและการละเมิดสิทธิ หากแต่ก็ยังพบเห็นการทรมานเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งผู้ถูกทรมานที่ว่านั้นก็คือผู้ต้องหาหรือผู้ถูกขุมขัง จากนี้คณะกรรมการด้านสิทธิมนุษยชนจะต้องทำงานหนัก เพื่อผลักดันข้อกฎหมายและรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกันและเพิ่มบทลงโทษที่รุนแรง มากขึ้นกับผู้ปฏิบัติโดยมิชอบต่อผู้ถูกคุมขัง รวมทั้งสร้างการดูแลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบในสถานีตำรวจ เรือนจำ และสถานที่คุมขังอื่นๆ

Mr.Paul okirig ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนจากประเทศยูกันดา กล่าวว่า การทรมานคือการอาชญากรรมอย่างหนึ่ง ปัจจุบันรัฐบาลยูกันดามีการสร้างกลไกที่ใช้ปฏิบัติอยู่ โดยให้ผู้ที่กระทำความผิดเกี่ยวกับการทรมานจะต้องได้รับโทษเองโดยตรง ต่างจากที่ผ่านมาหน่วยงานที่ผู้กระทำความผิดสังกัดอยู่จะต้องเป็นฝ่ายรับผิด ชอบ ซึ่งสำหรับยูกันดา ผู้ถูกทรมานหลายคนไม่กล้านำเรื่องเข้าแจ้งความหรือร้องเรียนและพบว่าผู้ กระทำความผิดด้านนี้ ส่วนมากจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร ซึ่งขณะนี้กำลังมีความพยายามปรับปรุงเทคนิคในการสืบสวนสอบสวนผู้ต้องสงสัย หรือผู้ต้องหา โดยมีการจัดอบรมด้านการสืบสวนแบบใหม่ ไม่ให้ใช้การทรมาน นอกจากนี้ ยังต้องทำให้เจ้าหน้าที่มีความเคารพในเรื่องสิทธิมนุษยชนมากขึ้น

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1372320057&grpid=03&catid=&subcatid= (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 28/06/2556 เวลา 03:12:31

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพจัดการประชุมวิชาการสิทธิมนุษยชนระหว่าง ประเทศ (lnternation Human Rights Conference) และสัมมนาในหัวข้อ "สถานการณ์สัมมนาในภูมิภาคต่างๆ : การป้องกันการทรมาน" โดยมี พล.ต.อ.ประชา พรมหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ต.อ.ดร.ณรัชต์ เศวตนันทร์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนจากประเทศต่างๆ ข้าราชการจากหลายกระทรวงและประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 300 คน พล.ต.อ.ประชากล่าวว่า เป็นเรื่องน่ายินดียิ่ง สำหรับทุกคนที่มีโอกาสได้รับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็น ที่มีผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนต่อสังคมในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ในเรื่องการป้องกันการทรมาน สิทธิของเหยื่อ แนวโน้มกระแสสังคมโลกต่อการยุติโทษประหารชีวิต สิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ และการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทนอกศาล ที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 และตามหลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนสะท้อนให้เห็นความสำคัญในหลักการและแนวทางปฏิบัติในการส่งเสริม คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล ในการผลักดันให้มีการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน อันเป็นหลักประกันว่า ประชาชนจะได้รับการปกป้องคุ้มครองสิทธิอย่างเต็มประสิทธิภาพ Mr.Rafendi Djamin นักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชน จากประเทศอินโดนีเซีย กล่าวตอนหนึ่งระหว่างการสัมมนาว่า อินโดนีเซียให้คุณค่ากับการลงนาม การให้สัตยาบรรณระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างมาก และเห็นว่าการทรมานเป็นเรื่องที่ทุกประเทศต้องให้ความสำคัญและแก้ไข ซึ่งอินโดนีเซียมีการพยายามปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมายต่างๆ เพื่อนำมาใช้ปกป้องเหยื่อจากการทรมานและการละเมิดสิทธิ หากแต่ก็ยังพบเห็นการทรมานเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งผู้ถูกทรมานที่ว่านั้นก็คือผู้ต้องหาหรือผู้ถูกขุมขัง จากนี้คณะกรรมการด้านสิทธิมนุษยชนจะต้องทำงานหนัก เพื่อผลักดันข้อกฎหมายและรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกันและเพิ่มบทลงโทษที่รุนแรง มากขึ้นกับผู้ปฏิบัติโดยมิชอบต่อผู้ถูกคุมขัง รวมทั้งสร้างการดูแลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบในสถานีตำรวจ เรือนจำ และสถานที่คุมขังอื่นๆ Mr.Paul okirig ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนจากประเทศยูกันดา กล่าวว่า การทรมานคือการอาชญากรรมอย่างหนึ่ง ปัจจุบันรัฐบาลยูกันดามีการสร้างกลไกที่ใช้ปฏิบัติอยู่ โดยให้ผู้ที่กระทำความผิดเกี่ยวกับการทรมานจะต้องได้รับโทษเองโดยตรง ต่างจากที่ผ่านมาหน่วยงานที่ผู้กระทำความผิดสังกัดอยู่จะต้องเป็นฝ่ายรับผิด ชอบ ซึ่งสำหรับยูกันดา ผู้ถูกทรมานหลายคนไม่กล้านำเรื่องเข้าแจ้งความหรือร้องเรียนและพบว่าผู้ กระทำความผิดด้านนี้ ส่วนมากจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร ซึ่งขณะนี้กำลังมีความพยายามปรับปรุงเทคนิคในการสืบสวนสอบสวนผู้ต้องสงสัย หรือผู้ต้องหา โดยมีการจัดอบรมด้านการสืบสวนแบบใหม่ ไม่ให้ใช้การทรมาน นอกจากนี้ ยังต้องทำให้เจ้าหน้าที่มีความเคารพในเรื่องสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1372320057&grpid=03&catid=&subcatid=

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...