“ประดิษฐ”สั่งทบทวนกฎหมายเป็นอุปสรรคท้องไม่พร้อม

แสดงความคิดเห็น

นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข

“ประดิษฐ”เอาจริงปัญหาท้องไม่พร้อม เตรียมนำโซเชียลมีเดียมาใช้ตอบคำถามวัยรุ่น แจกถุงยางผ่านตู้-อินเทอร์เน็ต พร้อมผุดคลินิกให้คำปรึกษา สั่งทบทวนกฎหมายเป็นอุปสรรค

วันนี้(26 มิ.ย. ) ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่ง ชาติ ว่า วันนี้มีประเด็นปัญหาหลัก 2 เรื่องที่มีการพิจารณาคือ คนไทยเกิดน้อย และท้องไม่พร้อม โดยปัญหาท้องไม่พร้อมคณะกรรมการฯเห็นว่า กลุ่มเป้าหมายที่ต้องเข้าไปดูแลคือกลุ่มเยาวชนในระบบการศึกษา และกลุ่มที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรม ปัญหาที่เจอคือ ทัศนคติต่อการคุมกำเนิด การเข้าถึงการคุมกำเนิดยังมีปัญหา การเข้าถึงอุปกรณ์การคุมกำเนิด เช่น ถุงยางอนามัย และความรู้ในการคุมกำเนิดก็มีปัญหาเช่นกัน

นพ.ประดิษฐ กล่าวต่อว่า กลยุทธ์ที่จะทำคือการให้ข้อมูล การสื่อสาร การให้การศึกษาอย่างต่อเนื่องในเด็ก ว่าเซ็กซ์ไม่พร้อมไม่ดีอย่างไร และต้องทำความเข้าใจกับผู้ใหญ่ก่อนว่าการมีเซ็กซ์ในวัยรุ่นคงห้ามไม่ได้ใน ยุคนี้ แต่ทำอย่างไรให้มีการป้องกันและเข้าถึงการคุมกำเนิด เช่น ถ้าไปแจกถุงยางอนามัยในโรงเรียนแล้วครูไม่เข้าใจ ห้ามแจก ก็คงจะไม่ประสบความสำเร็จ 100% ส่วนการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายกลยุทธ์ออกทีวีสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใหญ่ได้ แต่กลุ่มเด็กและเยาวชนควรนำโซเชียลมีเดียมาใช้เป็นตัวช่วยในการเข้าถึง บริการและเข้าถึงถุงยางอนามัย เช่น อาจจะแจกถุงยางทางอินเทอร์เน็ต โดยให้เอกชนดำเนินการ รัฐสนับสนุนงบประมาณ ซึ่งโซเชียลมีเดียจะตอบคำถามที่เยาวชนอยากรู้ หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากัน

รมว.สาธารณสุข กล่าวอีกว่า ช่องทางบริการท้องไม่พร้อมที่มีอยู่หากยังให้ภาครัฐดำเนินการ เยาวชนคงไม่ยอมไปโรงพยาบาล ดังนั้นต้องมีการพัฒนาช่องทางให้มาอยู่ข้างนอก เช่น ตามคลินิกต่าง ๆ เอาภาคประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น ส่วนการเข้าถึงถุงยางอนามัยก็แจกผ่านตู้หรือให้สั่งทางอินเทอร์เน็ต โดยภาครัฐที่ควรจะมาร่วมด้วย เช่น กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กระทรวงมหาดไทย เอ็นจีโอ และดึงกลุ่มเป้าหมาย คือ เยาวชน ผู้ใช้แรงงาน มาร่วมด้วย มาช่วยคิด วางแผน นอกจากนี้ควรจะมีการเปลี่ยนชื่อคลินิกให้เหมาะสมเป็นคลินิกสุขภาพวัยรุ่น สำหรับงบประมาณที่จะนำมาใช้ดำเนินการมี 2 ทาง คือจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ( สปสช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

นพ.ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมได้มอบให้อนุกรรมการไปทำแผนปฏิบัติการมานำมาเสนอภายใน 60 วันแล้วค่อยมาพิจารณากันอีกครั้ง ส่วนคณะกรรมการอนามัยเจริญพันธุ์ระดับจังหวัดให้ดึงเยาวชน ผู้ใช้แรงงานมาร่วม และอนุกรรมการกฎหมายควรทบทวนกฎระเบียบที่มีอุปสรรคต่อการเข้าถึงการคุม กำเนิด การท้องไม่พร้อม รวมไปถึงการออกกฎหมายอนามัยเจริญพันธุ์ให้ชัดเจน เช่น กรณีท้องไม่พร้อมมีกฎหมายอะไรที่เป็นอุปสรรคทำให้เข้าไม่ถึงบริการ ไม่สามารถเข้าถึงวิธีการแก้ปัญหาได้ อย่างเช่น ยาทำแท้ง ที่ห้ามจำหน่าย ในวันนี้ก็ได้พูดคุยกับราชวิทยาสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยว่าต้องมีข้อบ่ง ชี้ในการใช้ที่ชัดเจน มีมาตรการควบคุมไม่ให้มีการนำไปใช้ในทางที่ผิด ถ้ามีมาตรการที่ชัดเจนแล้วต่อไปจึงค่อยมาดูเรื่องนี้.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/education/214770

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 27/06/2556 เวลา 04:01:41 ดูภาพสไลด์โชว์ “ประดิษฐ”สั่งทบทวนกฎหมายเป็นอุปสรรคท้องไม่พร้อม

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข “ประดิษฐ”เอาจริงปัญหาท้องไม่พร้อม เตรียมนำโซเชียลมีเดียมาใช้ตอบคำถามวัยรุ่น แจกถุงยางผ่านตู้-อินเทอร์เน็ต พร้อมผุดคลินิกให้คำปรึกษา สั่งทบทวนกฎหมายเป็นอุปสรรค วันนี้(26 มิ.ย. ) ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่ง ชาติ ว่า วันนี้มีประเด็นปัญหาหลัก 2 เรื่องที่มีการพิจารณาคือ คนไทยเกิดน้อย และท้องไม่พร้อม โดยปัญหาท้องไม่พร้อมคณะกรรมการฯเห็นว่า กลุ่มเป้าหมายที่ต้องเข้าไปดูแลคือกลุ่มเยาวชนในระบบการศึกษา และกลุ่มที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรม ปัญหาที่เจอคือ ทัศนคติต่อการคุมกำเนิด การเข้าถึงการคุมกำเนิดยังมีปัญหา การเข้าถึงอุปกรณ์การคุมกำเนิด เช่น ถุงยางอนามัย และความรู้ในการคุมกำเนิดก็มีปัญหาเช่นกัน นพ.ประดิษฐ กล่าวต่อว่า กลยุทธ์ที่จะทำคือการให้ข้อมูล การสื่อสาร การให้การศึกษาอย่างต่อเนื่องในเด็ก ว่าเซ็กซ์ไม่พร้อมไม่ดีอย่างไร และต้องทำความเข้าใจกับผู้ใหญ่ก่อนว่าการมีเซ็กซ์ในวัยรุ่นคงห้ามไม่ได้ใน ยุคนี้ แต่ทำอย่างไรให้มีการป้องกันและเข้าถึงการคุมกำเนิด เช่น ถ้าไปแจกถุงยางอนามัยในโรงเรียนแล้วครูไม่เข้าใจ ห้ามแจก ก็คงจะไม่ประสบความสำเร็จ 100% ส่วนการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายกลยุทธ์ออกทีวีสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใหญ่ได้ แต่กลุ่มเด็กและเยาวชนควรนำโซเชียลมีเดียมาใช้เป็นตัวช่วยในการเข้าถึง บริการและเข้าถึงถุงยางอนามัย เช่น อาจจะแจกถุงยางทางอินเทอร์เน็ต โดยให้เอกชนดำเนินการ รัฐสนับสนุนงบประมาณ ซึ่งโซเชียลมีเดียจะตอบคำถามที่เยาวชนอยากรู้ หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากัน รมว.สาธารณสุข กล่าวอีกว่า ช่องทางบริการท้องไม่พร้อมที่มีอยู่หากยังให้ภาครัฐดำเนินการ เยาวชนคงไม่ยอมไปโรงพยาบาล ดังนั้นต้องมีการพัฒนาช่องทางให้มาอยู่ข้างนอก เช่น ตามคลินิกต่าง ๆ เอาภาคประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น ส่วนการเข้าถึงถุงยางอนามัยก็แจกผ่านตู้หรือให้สั่งทางอินเทอร์เน็ต โดยภาครัฐที่ควรจะมาร่วมด้วย เช่น กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กระทรวงมหาดไทย เอ็นจีโอ และดึงกลุ่มเป้าหมาย คือ เยาวชน ผู้ใช้แรงงาน มาร่วมด้วย มาช่วยคิด วางแผน นอกจากนี้ควรจะมีการเปลี่ยนชื่อคลินิกให้เหมาะสมเป็นคลินิกสุขภาพวัยรุ่น สำหรับงบประมาณที่จะนำมาใช้ดำเนินการมี 2 ทาง คือจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ( สปสช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นพ.ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมได้มอบให้อนุกรรมการไปทำแผนปฏิบัติการมานำมาเสนอภายใน 60 วันแล้วค่อยมาพิจารณากันอีกครั้ง ส่วนคณะกรรมการอนามัยเจริญพันธุ์ระดับจังหวัดให้ดึงเยาวชน ผู้ใช้แรงงานมาร่วม และอนุกรรมการกฎหมายควรทบทวนกฎระเบียบที่มีอุปสรรคต่อการเข้าถึงการคุม กำเนิด การท้องไม่พร้อม รวมไปถึงการออกกฎหมายอนามัยเจริญพันธุ์ให้ชัดเจน เช่น กรณีท้องไม่พร้อมมีกฎหมายอะไรที่เป็นอุปสรรคทำให้เข้าไม่ถึงบริการ ไม่สามารถเข้าถึงวิธีการแก้ปัญหาได้ อย่างเช่น ยาทำแท้ง ที่ห้ามจำหน่าย ในวันนี้ก็ได้พูดคุยกับราชวิทยาสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยว่าต้องมีข้อบ่ง ชี้ในการใช้ที่ชัดเจน มีมาตรการควบคุมไม่ให้มีการนำไปใช้ในทางที่ผิด ถ้ามีมาตรการที่ชัดเจนแล้วต่อไปจึงค่อยมาดูเรื่องนี้. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/education/214770

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...