“คมนาคม” เตรียมออกกฎหมายควบคุมอากาศยานไร้คนขับ (UAV)

แสดงความคิดเห็น

บพ.เตรียม เพิ่มข้อ กม.ควบคุมอากาศยานไร้คนขับ (UAV) ใน พ.ร.บ.การเดินอากาศฯ ฉบับใหม่ “พฤณท์” เผยแนวโน้มเพิ่มจำนวนต้องจัดเข้าระบบ ควบคุมการขออนุญาตบินและความสูง หวั่นกระทบทำอันตรายการบินปกติ พร้อมเร่ง บพ.สรุปแผนพัฒนาอู่ตะเภาเป็นเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบเสนอ ครม.เพิ่มเตรียมพร้อมด้านกายภาพ เผยกองทัพเรือยันขีดความสามารถรับได้อีก 10 ปีไม่มีปัญหา

พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมแก้ไขปัญหาด้านการขนส่งทางอากาศ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ว่า ขณะนี้กรมการบินพลเรือน (บพ.) ได้พิจารณาแนวทางการออกกฎหมายสำหรับควบคุมอากาศยานไร้คนขับ (UAV : Unmanned Aerial Vehicle) เพื่อบรรจุไว้ในร่าง พ.ร.บ.การเดินอากาศ พ.ศ....ฉบับใหม่ตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา เนื่องจากเป็นเรื่องที่ พ.ร.บ.การเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ไม่เคยมีการควบคุมไว้ โดยอากาศยานไร้คนขับจะใช้ในกิจการทหาร การสำรวจพื้นที่ สภาพภูมิอากาศและทรัพยากรทางธรรมชาติ และกีฬา บังคับด้วยวิทยุจากพื้นดิน ซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น โดยการออกกฎหมายเพื่อความปลอดภัย โดยจะควบคุมเรื่องความสูง การขออนุญาตก่อนขึ้นบิน และการจัดเส้นทางบิน เนื่องจากการบินของอากาศยานไร้คนขับอาจจะละเมิดเส้นทางบินอื่นและเกิด อันตรายได้

นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้ บพ.เร่งสรุปแผนการปฏิบัติแนวทางการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาเป็นเชิงพาณิชย์ เต็มรูปแบบเพื่อรายงานคณะรัฐมนตรี (ครม.) หลังจากที่มติ ครม.เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2555 ให้กระทรวงคมนาคมศึกษาเพื่อลดความแออัดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่า อากาศยานดอนเมือง โดย บพ.จะพิจารณาทางกายภาพเรื่องการขยายขีดความสามารถของรันเวย์ อาคารผู้โดยสาร และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทั้งสายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระ ระบบเติมน้ำมันอากาศยาน และมาตรฐานความปลอดภัย

ทั้งนี้ ทางกองทัพเรือ (ทร.) ชี้แจงว่า ปัจจุบันให้บริการเชิงพาณิชย์อยู่แล้ว โดยมีเที่ยวบินประจำของสายการบินบางกอกแอร์เวย์สและสายการบินเช่าเหมาลำจา กรัสเซียใช้บริการ และขณะนี้ได้รับอนุมัติงบปรับปรุงจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและ สร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ที่มีนายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธาน วงเงิน 239.80 ล้านบาท เพื่อพัฒนาขีดความสามารถเพิ่ม ซึ่งจะรองรับเที่ยวบินและผู้โดยสารได้อีกเกือบ 10 ปี

ส่วนปัญหาความคับคั่งของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมืองนั้น ล่าสุดได้รับความร่วมมือจากกองทัพอากาศ (ทอ.) และกองทัพเรือ (ทร.) ซึ่งอนุญาตให้ใช้เส้นทางบินที่สงวนไว้ในด้านความมั่นคง ทำให้มีเส้นทางบินในห้วงอากาศเพิ่ม เช่น เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ-ภูเก็ต เพิ่มจุดละ 2 เส้นทาง จากเดิม 1 เส้นทาง รวมเป็นจุดละ 3 เส้นทาง ส่วนเส้นทางบินผ่านอ่าวไทย ขณะนี้ทางกองทัพเรืออยู่ระหว่างพิจารณา หากได้รับอนุญาตจะทำให้เพิ่มเส้นทางบินไปยังมาเลเซีย สิงคโปร์ และออสเตรเลียได้ ซึ่งจะมีความชัดเจนในเดือนกรกฎาคมนี้

น.ต.ประจักษ์ สัจจโสภณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย (บวท.) กล่าวว่า ภายใน 2 เดือนนี้ทาง บวท.และ บพ.จะประกาศเส้นทางบินใหม่ ซึ่งเป็นผลจากความร่วมมือกับกองทัพอากาศในการใช้ประโยชน์พื้นที่ห้วงอากาศ บริเวณกำแพงแสน ซึ่งจะช่วยผ่อนคลายความหนาแน่นของเที่ยวบินและลดการบินวนรอได้เนื่องจากมี เส้นทางบินเพิ่ม โดย บวท.สามารถจัดการบินแบบขนานในห้วงอากาศให้มีความคล่องตัวมากขึ้น

ขอบคุณ http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrview.aspx?NewsID=9560000076603 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 25/06/2556 เวลา 03:22:08

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

บพ.เตรียม เพิ่มข้อ กม.ควบคุมอากาศยานไร้คนขับ (UAV) ใน พ.ร.บ.การเดินอากาศฯ ฉบับใหม่ “พฤณท์” เผยแนวโน้มเพิ่มจำนวนต้องจัดเข้าระบบ ควบคุมการขออนุญาตบินและความสูง หวั่นกระทบทำอันตรายการบินปกติ พร้อมเร่ง บพ.สรุปแผนพัฒนาอู่ตะเภาเป็นเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบเสนอ ครม.เพิ่มเตรียมพร้อมด้านกายภาพ เผยกองทัพเรือยันขีดความสามารถรับได้อีก 10 ปีไม่มีปัญหา พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมแก้ไขปัญหาด้านการขนส่งทางอากาศ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ว่า ขณะนี้กรมการบินพลเรือน (บพ.) ได้พิจารณาแนวทางการออกกฎหมายสำหรับควบคุมอากาศยานไร้คนขับ (UAV : Unmanned Aerial Vehicle) เพื่อบรรจุไว้ในร่าง พ.ร.บ.การเดินอากาศ พ.ศ....ฉบับใหม่ตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา เนื่องจากเป็นเรื่องที่ พ.ร.บ.การเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ไม่เคยมีการควบคุมไว้ โดยอากาศยานไร้คนขับจะใช้ในกิจการทหาร การสำรวจพื้นที่ สภาพภูมิอากาศและทรัพยากรทางธรรมชาติ และกีฬา บังคับด้วยวิทยุจากพื้นดิน ซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น โดยการออกกฎหมายเพื่อความปลอดภัย โดยจะควบคุมเรื่องความสูง การขออนุญาตก่อนขึ้นบิน และการจัดเส้นทางบิน เนื่องจากการบินของอากาศยานไร้คนขับอาจจะละเมิดเส้นทางบินอื่นและเกิด อันตรายได้ นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้ บพ.เร่งสรุปแผนการปฏิบัติแนวทางการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาเป็นเชิงพาณิชย์ เต็มรูปแบบเพื่อรายงานคณะรัฐมนตรี (ครม.) หลังจากที่มติ ครม.เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2555 ให้กระทรวงคมนาคมศึกษาเพื่อลดความแออัดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่า อากาศยานดอนเมือง โดย บพ.จะพิจารณาทางกายภาพเรื่องการขยายขีดความสามารถของรันเวย์ อาคารผู้โดยสาร และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทั้งสายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระ ระบบเติมน้ำมันอากาศยาน และมาตรฐานความปลอดภัย ทั้งนี้ ทางกองทัพเรือ (ทร.) ชี้แจงว่า ปัจจุบันให้บริการเชิงพาณิชย์อยู่แล้ว โดยมีเที่ยวบินประจำของสายการบินบางกอกแอร์เวย์สและสายการบินเช่าเหมาลำจา กรัสเซียใช้บริการ และขณะนี้ได้รับอนุมัติงบปรับปรุงจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและ สร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ที่มีนายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธาน วงเงิน 239.80 ล้านบาท เพื่อพัฒนาขีดความสามารถเพิ่ม ซึ่งจะรองรับเที่ยวบินและผู้โดยสารได้อีกเกือบ 10 ปี ส่วนปัญหาความคับคั่งของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมืองนั้น ล่าสุดได้รับความร่วมมือจากกองทัพอากาศ (ทอ.) และกองทัพเรือ (ทร.) ซึ่งอนุญาตให้ใช้เส้นทางบินที่สงวนไว้ในด้านความมั่นคง ทำให้มีเส้นทางบินในห้วงอากาศเพิ่ม เช่น เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ-ภูเก็ต เพิ่มจุดละ 2 เส้นทาง จากเดิม 1 เส้นทาง รวมเป็นจุดละ 3 เส้นทาง ส่วนเส้นทางบินผ่านอ่าวไทย ขณะนี้ทางกองทัพเรืออยู่ระหว่างพิจารณา หากได้รับอนุญาตจะทำให้เพิ่มเส้นทางบินไปยังมาเลเซีย สิงคโปร์ และออสเตรเลียได้ ซึ่งจะมีความชัดเจนในเดือนกรกฎาคมนี้ น.ต.ประจักษ์ สัจจโสภณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย (บวท.) กล่าวว่า ภายใน 2 เดือนนี้ทาง บวท.และ บพ.จะประกาศเส้นทางบินใหม่ ซึ่งเป็นผลจากความร่วมมือกับกองทัพอากาศในการใช้ประโยชน์พื้นที่ห้วงอากาศ บริเวณกำแพงแสน ซึ่งจะช่วยผ่อนคลายความหนาแน่นของเที่ยวบินและลดการบินวนรอได้เนื่องจากมี เส้นทางบินเพิ่ม โดย บวท.สามารถจัดการบินแบบขนานในห้วงอากาศให้มีความคล่องตัวมากขึ้น ขอบคุณ http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrview.aspx?NewsID=9560000076603

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...