ผลพระคุณ ธ รักษา : พัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทย (44)

แสดงความคิดเห็น

ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ราชบัณฑิต และอิสริยาภรณ์  อุวรรณโณ

ตอนที่แล้วผมได้วิเคราะห์ประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแล้ว ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงวางบรรทัดฐาน ซึ่งผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองไทยต่อมายึดถือมาตลอดกว่า 80 ปี คือ การพระราชทานรัฐธรรมนูญเป็นพระราชอำนาจดั้งเดิมขององค์อธิปัตย์ ดังนั้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าโดยวิถีทางนอกรัฐธรรมนูญ หรือโดยวิถีทางประชาธิปไตย ก็ต้องกลับไปหาพระราชอำนาจดั้งเดิม โดยขอพระราชทานรัฐธรรมนูญจากพระมหากษัตริย์ ประเพณีการปกครองนี้ก็เหมือนกับของญี่ปุ่น ซึ่งเมื่อครั้งนายพลแมคอาเธอร์จะยกเลิกรัฐธรรมนูญเมจิ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน แมคอาเธอร์และรัฐบาลญี่ปุ่นก็ต้องขอพระราชทานรัฐธรรมนูญใหม่จากสมเด็จพระ จักรพรรดิโชวะ (ฮิโรฮิโต) นั้นเอง! จึงถือเสมอมาว่า อำนาจสูงสุดในการก่อตั้งองค์กรทางการเมือง (constituent power) ซึ่งแสดงออกโดยการตรารัฐธรรมนูญสถาปนาระบอบประชาธิปไตยนั้นเป็น พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ซึ่งอาจทรงใช้ร่วมกับประชาชนในกรณีมีการออกเสียงเป็นประชามติ ดังเช่นรัฐธรรมนูญปี 2550 ก็ได้

ประเพณีการปกครองประการที่สาม ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวางบรรทัดฐานก็คือ พระราชทานคำแนะนำในการร่างรัฐธรรมนูญ อันที่จริง พระราชอำนาจทรงแนะนำ (power to advise) นี้เป็นที่ยอมรับว่ากษัตริย์อังกฤษหรือชาติอื่น ๆ ก็มี ดังที่นายวอลเตอร์ แบทจอท (Walter Bagehot) นักรัฐศาสตร์เรืองนามชาวอังกฤษได้วางหลักไว้

ในเรื่องพระราชดำริในการร่างรัฐธรรมนูญนั้น ปรากฏหลักฐานตามบันทึกลับ ที่เจ้าพระยามหิธร เสนาบดีกระทรวงมุรธาธรได้จดไว้เมื่อ 30 มิถุนายน 2475 เวลา 17.15 น. ในการเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา พระยาศรีวิสารวาจา พระยาปรีชาชลยุทธ์ พระยาพหลพลพยุหเสนา และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ณ วังศุโขทัย ก่อนจะจบการเข้าเฝ้า เจ้าพระยามหิธรบันทึกไว้ว่า

“มีพระราชดำรัสถามว่า ใครร่างรัฐธรรมนูญ พระยามโนปกรณ์ได้กราบทูลชื่อ มีพระราชดำรัสว่า จะถามพระราชดำริก็ได้ ที่จริงได้ทรงศึกษาเรื่องพระธรรมนูญการปกครองมามาก และมีความคิดเห็นเหมือนที่คนหนุ่มได้คิดกัน ร่างพระธรรมนูญของจีนก็มี ทรงยินดีช่วยให้งานเดิน”

การพระราชทานพระราชดำรินี้เกิดขึ้นแน่ แต่จะพระราชทานเรื่องใดบ้าง ให้แก่ใครบ้าง บางเรื่องก็มีหลักฐานเป็นพระราชหัตถเลขา อาทิ เรื่องเจ้านายตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไปควรอยู่เหนือการเมือง บางเรื่องก็อาจพระราชทานต่อพระยามโนปกรณ์นิติธาดา บางเรื่องก็อาจพระราชทานต่อพระยาพหลพลพยุหเสนา หรือนายปรีดี พนมยงค์ เรื่องพระราชดำริประเภทหลังนี้ ความจะปรากฏขึ้นก็ต่อเมื่อมีพระราชบันทึกทรงอ้างถึงในภายหลังบ้าง เป็นบทความหรือบันทึกในชีวประวัติผู้เกี่ยวข้องบ้าง จึงต้องรวบรวมกันในการนำเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ต่อสภาผู้แทนราษฎร พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ประธานกรรมการราษฎรได้แถลงเปิดการอภิปรายว่า

“ในการร่างพระธรรมนูญนี้ อนุกรรมการได้ทำการติดต่อกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดเวลา จนถึงอาจกล่าวได้ว่าได้ร่วมมือกันทำข้อความตลอด ในร่างที่เสนอมานี้ได้ทูลเกล้าฯ ถวายและทรงเห็นชอบด้วยทุกประการแล้ว และที่กล่าวว่าได้ทรงเห็นชอบนั้นไม่ใช่เพียงเห็นชอบด้วยอย่างข้อความที่กราบ บังคมทูลขึ้นไป ยิ่งกว่านั้นเป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก”

แม้ในตอนท้ายเมื่อร่างรัฐธรรมนูญใกล้จะพิจารณาเสร็จก็ทรงแนะนำว่าการ ประกาศรัฐธรรมนูญนั้นเป็นของสำคัญยิ่ง ควรจะมีพิธีรีตอง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โหรหลวงหาฤกษ์ยามให้ และทรงเลือกวันที่ 10 ธันวาคม 2475 นอกจากนั้น การจารรัฐธรรมนูญลงสมุดไทยก็เป็นพระราชดำริเพราะ “ทรงเห็นว่ารัฐธรรมนูญนั้นเป็นของศักดิ์สิทธิ์ และเป็นของที่ควรจะขลัง” แม้คำปรารภของรัฐธรรมนูญก็เป็นพระราชปรารภที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระสารประเสริฐยกร่างขึ้น เพื่ออ่านในพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ แต่คณะกรรมการราษฎรขอพระราชทานเป็นคำปรารภแทน ดังที่พระยามโนปกรณ์นิติธาดาแถลงต่อสภาว่า

“ในเมื่อเราทำรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ข้าพเจ้าได้นำไปทูลเกล้าฯถวายทอดพระเนตร ก็โปรดปรานเป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก ถึงได้ทรงเตรียมการที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญนี้ และโปรดเกล้าฯ ให้พระสารประเสริฐไปร่างประกาศนี้ ซึ่งแต่แรกทรงหวังที่จะให้อาลักษณ์อ่านในเวลาที่จะพระราชทาน เมื่อพระสารประเสริฐได้ร่างแล้วก็นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายทอดพรเนตรแล้ว ก็พระราชทานมาให้คณะกรรมการราษฎรดู คณะกรรมการราษฎรพิจารณาเห็นว่าถ้อยคำที่เขียนมานั้น ถ้าจะใช้เป็นพระราชปรารภในรัฐธรรมนูญก็จะเหมาะและงดงามดี จึงได้นำความกราบบังคมทูลก็โปรดเกล้าฯ ว่าจะให้เป็นพระราชปรารภในรัฐธรรมนูญได้ เมื่อเช่นนี้พระราชปรารภเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญหาเป็นประกาศไม่”

หากพิจารณาคำแถลงพระยามโนปกรณ์ฯ ก็ดูว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริ ในการร่างรัฐธรรมนูญหลายเรื่องมาก และก็ปรากฏว่าได้มีการนำมาอ้างอิงภายหลังว่าเป็นพระราชดำริ เช่น คำว่า “กษัตริย์” ที่ใช้ในพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองชั่วคราวนั้น นายปรีดี พนมยงค์ ได้บันทึกไว้ว่า

“วันหนึ่ง มีรับสั่งให้ข้าพเจ้ากับพระยาพหลฯ ไปเฝ้าที่พระตำหนักจิตรลดา มีพระราชกระแสว่า ที่เขียนว่า “กษัตริย์” นั้นยังไม่ถูกต้อง เพราะคำนั้น หมายถึงนักรบเท่านั้น ที่ถูกจะต้องเขียนว่า “พระมหากษัตริย์” คือเป็นนักรบที่ยิ่งใหญ่ผู้ถืออาวุธปกป้องบ้านเมืองอันเป็นราชประเพณีแต่ โบราณกาล พระยาพหลฯ กับข้าพเจ้าเห็นชอบด้วยพระราชกระแส แล้ว

กราบบังคมทูลว่า มิเพียงแต่จะเขียนไว้ว่า ประมุขเป็นพระมหากษัตริย์เท่านั้น หากจะถวายให้ทรงเป็นจอมทัพทรงมีพระราชอำนาจเหนือบรรดาทหารทั้งหลายด้วย จึงรับสั่งว่าถูกต้องแล้ว เพราะพระราชาธิบดีของประเทศต่างๆ ก็ทรงเป็นผู้บังคับบัญชาเหนือทหารทั้งปวง ซึ่งเป็นสิ่งคู่กับพระราชอำนาจในการป้องกันประเทศและในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เพราะพระองค์มีพระราชอำนาจบังคับบัญชากำลังทหารให้ปฏิบัติการได้ด้วย จะได้สั่งให้ทหารประพฤติในสิ่งควรประพฤติ ละเว้นในสิ่งควรละเว้น” (จากหนังสือ ปรีดี พนมยงค์, จงพิทักษ์เจตนารมณ์ประชาธิปไตยสมบูรณ์ของวีรชน 14 ตุลาคม ,2543)

พระราชดำริอีกหลาย ๆ เรื่องผู้ร่างก็นำไปแก้ไขเช่น คำว่า “กรรมการราษฎร” “ประธานกรรมการราษฎร” ก็ทรงทักท้วง ผู้ร่างก็แก้เป็น “รัฐมนตรี” และ “นายกรัฐมนตรี” การห้ามเจ้านายตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปเล่นการเมือง การที่ไม่ต้องบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงปฏิญาณพระองค์ว่าจะพิทักษ์รัฐ ธรรมนูญ เพราะเป็นประเพณีที่จะทรงเปล่งพระปฐมบรมราชโองการสัตยาธิษฐานในพระราชพิธี บรมราชาภิเษกอยู่แล้ว ฯลฯ

แต่บางเรื่องก็ปรากฏว่ามีความขัดแย้งกันในภายหลังจนเป็นเหตุการสละราช สมบัติโดยเฉพาะประเด็นการแต่งตั้งสมาชิกประเภท 2 พระราชอำนาจในการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติ พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ หลายกรณีทรงยืนยันว่าพระยามโนปกรณ์นิติธาดารับสนองไว้ว่าจะดำเนินการให้เป็น ไปตามพระราชดำริ เช่นการแต่งตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 โดยจะเสนอคนมามากกว่าที่จะแต่งตั้งได้เพื่อให้ทรงเลือก และจะเสนอมาล่วงหน้านานๆ ไม่ใช่เพียง 12 ชั่วโมง ซึ่งรัฐบาลพระยาพหลฯ ได้กราบบังคมทูลตอบว่า “พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้สัญญาไว้ว่ากระไรนั้น รัฐบาลไม่อาจที่จะทราบได้เลย พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ปิดบังความจริงที่ได้กราบบังคมทูลไว้ รัฐบาลเพิ่งทราบโดยพระราชบันทึกไขความฉบับหลังนี้เอง”.

ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/article/351/207524

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 29/05/2556 เวลา 04:11:44 ดูภาพสไลด์โชว์ ผลพระคุณ ธ รักษา : พัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทย (44)

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ราชบัณฑิต และอิสริยาภรณ์ อุวรรณโณ ตอนที่แล้วผมได้วิเคราะห์ประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแล้ว ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงวางบรรทัดฐาน ซึ่งผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองไทยต่อมายึดถือมาตลอดกว่า 80 ปี คือ การพระราชทานรัฐธรรมนูญเป็นพระราชอำนาจดั้งเดิมขององค์อธิปัตย์ ดังนั้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าโดยวิถีทางนอกรัฐธรรมนูญ หรือโดยวิถีทางประชาธิปไตย ก็ต้องกลับไปหาพระราชอำนาจดั้งเดิม โดยขอพระราชทานรัฐธรรมนูญจากพระมหากษัตริย์ ประเพณีการปกครองนี้ก็เหมือนกับของญี่ปุ่น ซึ่งเมื่อครั้งนายพลแมคอาเธอร์จะยกเลิกรัฐธรรมนูญเมจิ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน แมคอาเธอร์และรัฐบาลญี่ปุ่นก็ต้องขอพระราชทานรัฐธรรมนูญใหม่จากสมเด็จพระ จักรพรรดิโชวะ (ฮิโรฮิโต) นั้นเอง! จึงถือเสมอมาว่า อำนาจสูงสุดในการก่อตั้งองค์กรทางการเมือง (constituent power) ซึ่งแสดงออกโดยการตรารัฐธรรมนูญสถาปนาระบอบประชาธิปไตยนั้นเป็น พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ซึ่งอาจทรงใช้ร่วมกับประชาชนในกรณีมีการออกเสียงเป็นประชามติ ดังเช่นรัฐธรรมนูญปี 2550 ก็ได้ ประเพณีการปกครองประการที่สาม ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวางบรรทัดฐานก็คือ พระราชทานคำแนะนำในการร่างรัฐธรรมนูญ อันที่จริง พระราชอำนาจทรงแนะนำ (power to advise) นี้เป็นที่ยอมรับว่ากษัตริย์อังกฤษหรือชาติอื่น ๆ ก็มี ดังที่นายวอลเตอร์ แบทจอท (Walter Bagehot) นักรัฐศาสตร์เรืองนามชาวอังกฤษได้วางหลักไว้ ในเรื่องพระราชดำริในการร่างรัฐธรรมนูญนั้น ปรากฏหลักฐานตามบันทึกลับ ที่เจ้าพระยามหิธร เสนาบดีกระทรวงมุรธาธรได้จดไว้เมื่อ 30 มิถุนายน 2475 เวลา 17.15 น. ในการเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา พระยาศรีวิสารวาจา พระยาปรีชาชลยุทธ์ พระยาพหลพลพยุหเสนา และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ณ วังศุโขทัย ก่อนจะจบการเข้าเฝ้า เจ้าพระยามหิธรบันทึกไว้ว่า “มีพระราชดำรัสถามว่า ใครร่างรัฐธรรมนูญ พระยามโนปกรณ์ได้กราบทูลชื่อ มีพระราชดำรัสว่า จะถามพระราชดำริก็ได้ ที่จริงได้ทรงศึกษาเรื่องพระธรรมนูญการปกครองมามาก และมีความคิดเห็นเหมือนที่คนหนุ่มได้คิดกัน ร่างพระธรรมนูญของจีนก็มี ทรงยินดีช่วยให้งานเดิน” การพระราชทานพระราชดำรินี้เกิดขึ้นแน่ แต่จะพระราชทานเรื่องใดบ้าง ให้แก่ใครบ้าง บางเรื่องก็มีหลักฐานเป็นพระราชหัตถเลขา อาทิ เรื่องเจ้านายตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไปควรอยู่เหนือการเมือง บางเรื่องก็อาจพระราชทานต่อพระยามโนปกรณ์นิติธาดา บางเรื่องก็อาจพระราชทานต่อพระยาพหลพลพยุหเสนา หรือนายปรีดี พนมยงค์ เรื่องพระราชดำริประเภทหลังนี้ ความจะปรากฏขึ้นก็ต่อเมื่อมีพระราชบันทึกทรงอ้างถึงในภายหลังบ้าง เป็นบทความหรือบันทึกในชีวประวัติผู้เกี่ยวข้องบ้าง จึงต้องรวบรวมกันในการนำเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ต่อสภาผู้แทนราษฎร พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ประธานกรรมการราษฎรได้แถลงเปิดการอภิปรายว่า “ในการร่างพระธรรมนูญนี้ อนุกรรมการได้ทำการติดต่อกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดเวลา จนถึงอาจกล่าวได้ว่าได้ร่วมมือกันทำข้อความตลอด ในร่างที่เสนอมานี้ได้ทูลเกล้าฯ ถวายและทรงเห็นชอบด้วยทุกประการแล้ว และที่กล่าวว่าได้ทรงเห็นชอบนั้นไม่ใช่เพียงเห็นชอบด้วยอย่างข้อความที่กราบ บังคมทูลขึ้นไป ยิ่งกว่านั้นเป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก” แม้ในตอนท้ายเมื่อร่างรัฐธรรมนูญใกล้จะพิจารณาเสร็จก็ทรงแนะนำว่าการ ประกาศรัฐธรรมนูญนั้นเป็นของสำคัญยิ่ง ควรจะมีพิธีรีตอง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โหรหลวงหาฤกษ์ยามให้ และทรงเลือกวันที่ 10 ธันวาคม 2475 นอกจากนั้น การจารรัฐธรรมนูญลงสมุดไทยก็เป็นพระราชดำริเพราะ “ทรงเห็นว่ารัฐธรรมนูญนั้นเป็นของศักดิ์สิทธิ์ และเป็นของที่ควรจะขลัง” แม้คำปรารภของรัฐธรรมนูญก็เป็นพระราชปรารภที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระสารประเสริฐยกร่างขึ้น เพื่ออ่านในพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ แต่คณะกรรมการราษฎรขอพระราชทานเป็นคำปรารภแทน ดังที่พระยามโนปกรณ์นิติธาดาแถลงต่อสภาว่า “ในเมื่อเราทำรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ข้าพเจ้าได้นำไปทูลเกล้าฯถวายทอดพระเนตร ก็โปรดปรานเป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก ถึงได้ทรงเตรียมการที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญนี้ และโปรดเกล้าฯ ให้พระสารประเสริฐไปร่างประกาศนี้ ซึ่งแต่แรกทรงหวังที่จะให้อาลักษณ์อ่านในเวลาที่จะพระราชทาน เมื่อพระสารประเสริฐได้ร่างแล้วก็นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายทอดพรเนตรแล้ว ก็พระราชทานมาให้คณะกรรมการราษฎรดู คณะกรรมการราษฎรพิจารณาเห็นว่าถ้อยคำที่เขียนมานั้น ถ้าจะใช้เป็นพระราชปรารภในรัฐธรรมนูญก็จะเหมาะและงดงามดี จึงได้นำความกราบบังคมทูลก็โปรดเกล้าฯ ว่าจะให้เป็นพระราชปรารภในรัฐธรรมนูญได้ เมื่อเช่นนี้พระราชปรารภเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญหาเป็นประกาศไม่” หากพิจารณาคำแถลงพระยามโนปกรณ์ฯ ก็ดูว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริ ในการร่างรัฐธรรมนูญหลายเรื่องมาก และก็ปรากฏว่าได้มีการนำมาอ้างอิงภายหลังว่าเป็นพระราชดำริ เช่น คำว่า “กษัตริย์” ที่ใช้ในพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองชั่วคราวนั้น นายปรีดี พนมยงค์ ได้บันทึกไว้ว่า “วันหนึ่ง มีรับสั่งให้ข้าพเจ้ากับพระยาพหลฯ ไปเฝ้าที่พระตำหนักจิตรลดา มีพระราชกระแสว่า ที่เขียนว่า “กษัตริย์” นั้นยังไม่ถูกต้อง เพราะคำนั้น หมายถึงนักรบเท่านั้น ที่ถูกจะต้องเขียนว่า “พระมหากษัตริย์” คือเป็นนักรบที่ยิ่งใหญ่ผู้ถืออาวุธปกป้องบ้านเมืองอันเป็นราชประเพณีแต่ โบราณกาล พระยาพหลฯ กับข้าพเจ้าเห็นชอบด้วยพระราชกระแส แล้ว กราบบังคมทูลว่า มิเพียงแต่จะเขียนไว้ว่า ประมุขเป็นพระมหากษัตริย์เท่านั้น หากจะถวายให้ทรงเป็นจอมทัพทรงมีพระราชอำนาจเหนือบรรดาทหารทั้งหลายด้วย จึงรับสั่งว่าถูกต้องแล้ว เพราะพระราชาธิบดีของประเทศต่างๆ ก็ทรงเป็นผู้บังคับบัญชาเหนือทหารทั้งปวง ซึ่งเป็นสิ่งคู่กับพระราชอำนาจในการป้องกันประเทศและในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เพราะพระองค์มีพระราชอำนาจบังคับบัญชากำลังทหารให้ปฏิบัติการได้ด้วย จะได้สั่งให้ทหารประพฤติในสิ่งควรประพฤติ ละเว้นในสิ่งควรละเว้น” (จากหนังสือ ปรีดี พนมยงค์, จงพิทักษ์เจตนารมณ์ประชาธิปไตยสมบูรณ์ของวีรชน 14 ตุลาคม ,2543) พระราชดำริอีกหลาย ๆ เรื่องผู้ร่างก็นำไปแก้ไขเช่น คำว่า “กรรมการราษฎร” “ประธานกรรมการราษฎร” ก็ทรงทักท้วง ผู้ร่างก็แก้เป็น “รัฐมนตรี” และ “นายกรัฐมนตรี” การห้ามเจ้านายตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปเล่นการเมือง การที่ไม่ต้องบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงปฏิญาณพระองค์ว่าจะพิทักษ์รัฐ ธรรมนูญ เพราะเป็นประเพณีที่จะทรงเปล่งพระปฐมบรมราชโองการสัตยาธิษฐานในพระราชพิธี บรมราชาภิเษกอยู่แล้ว ฯลฯ แต่บางเรื่องก็ปรากฏว่ามีความขัดแย้งกันในภายหลังจนเป็นเหตุการสละราช สมบัติโดยเฉพาะประเด็นการแต่งตั้งสมาชิกประเภท 2 พระราชอำนาจในการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติ พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ หลายกรณีทรงยืนยันว่าพระยามโนปกรณ์นิติธาดารับสนองไว้ว่าจะดำเนินการให้เป็น ไปตามพระราชดำริ เช่นการแต่งตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 โดยจะเสนอคนมามากกว่าที่จะแต่งตั้งได้เพื่อให้ทรงเลือก และจะเสนอมาล่วงหน้านานๆ ไม่ใช่เพียง 12 ชั่วโมง ซึ่งรัฐบาลพระยาพหลฯ ได้กราบบังคมทูลตอบว่า “พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้สัญญาไว้ว่ากระไรนั้น รัฐบาลไม่อาจที่จะทราบได้เลย พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ปิดบังความจริงที่ได้กราบบังคมทูลไว้ รัฐบาลเพิ่งทราบโดยพระราชบันทึกไขความฉบับหลังนี้เอง”. ขอบคุณ… http://www.dailynews.co.th/article/351/207524

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...