เชื้อวิกฤติแก้รัฐธรรมนูญ

แสดงความคิดเห็น

กรณีที่ สมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย พูดถึงเรื่องที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ สไกป์ มายังที่ประชุมพรรคเพื่อไทย ให้ ส.ส.ลงพื้นที่ หากแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่สำเร็จ อาจจะต้องยุบสภา

หากทำอะไรไม่ได้ก็ให้ล้มกระดานใหม่

ศาล รัฐธรรมนูญไม่มีเหตุผลมาสั่งให้ รัฐสภา ไม่ให้แก้รัฐธรรมนูญ ซึ่ง ส.ส.อุบลฯท่านนี้ ยังสนับสนุนแนวทางออก โดยการยุบสภา เพราะจะทำให้ ส.ส.ของพรรคไปอธิบายกับประชาชนได้ว่า รัฐบาลพยายามจะแก้รัฐธรรมนูญตามนโยบายแล้ว แต่ทำไม่ได้

ถือเป็นการแลกหมัดของพรรคเพื่อไทย

และ พรรคเพื่อไทยยังมองเกมการเมืองไว้อีกว่า ถ้ายุบสภาเลือกตั้งใหม่ต้องให้ได้ ส.ส.กึ่งหนึ่งของรัฐสภา หรือ 325 เสียง เพียงพอที่จะแก้รัฐธรรมนูญได้สบายๆ

ความ เห็นของฝ่ายนิติบัญญัติเวลานี้ก็คือ ถูกอำนาจตุลาการเข้ามาแทรกแซงมากเกินไป และศาลรัฐธรรมนูญตีความโดยไม่มีบทบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ตีความไปเอง เพื่อเป็นการแสดงถึงอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ หากมีปัญหาก็จะใช้อำนาจในการยุบสภาตอบโต้

แก้ทั้งฉบับก็ไม่ได้ แก้เป็นรายมาตราก็ไม่ได้

ทั้งๆ ที่ฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่ในการออกกฎหมาย แก้ไขกฎหมาย แต่ไม่สามารถทำได้ ที่ต้องจับตาคือ มาตรการ อารยะขัดขืนของฝ่ายนิติบัญญัติ ที่มีความเห็นจาก ส.ส. ไม่ต้องการให้ สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภา ไปชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ว่ากรณีใดๆก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

เนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของฝ่ายนิติบัญญัติ

โดย ที่ ประธานสภา ก็คงอึดอัดใจกับเรื่องเหล่านี้ เฉพาะที่มีพรายกระซิบ ระบุว่า ประธาน สมศักดิ์ ถึงกับออกปากว่า นี่พวกคุณบังคับผมหรือ ฟังดูแล้วน่าอึดอัดแทนจริงๆ

ความขัดแย้งระหว่างสถาบัน มีมาตั้งแต่สมัยเกิดวิกฤติการเมือง สร้างความสับสน ไขว้เขว ในการบังคับใช้กฎหมาย กติกา มรรยาททางสังคม ประเพณีปฏิบัติไปจนหมดสิ้น

เชื่อ ว่า ความขัดแย้ง ที่กำลังจะเกิดขึ้น หากไม่มี ขบวนการใดๆมายับยั้ง หรือไม่มีการ เจรจาระหว่างผู้ใหญ่ ด้วยกัน การเมือง จะทำให้ร้าวฉานไปถึงสถาบัน ระหว่าง สถาบันกับสถาบัน

จากน้ำผึ้งหยด เดียว ก็จะกลายเป็นความขัดแย้ง ที่ยกระดับขึ้นมาอีกขั้น เป็นความขัดแย้งและแตกแยก ที่อยู่เหนือกติกา ไม่มีกรรมการที่จะตัดสินชี้ขาดได้

ลำพัง ความขัดแย้งในสังคม ยังมีการกลั่นกรอง ตัดสิน กระบวนการหลายขั้นตอน ปะทะความขัดแย้งให้ลดดีกรีความรุนแรงลงได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าผู้ใหญ่ทะเลาะกัน หญ้าแพรกย่อมแหลกลาญไปด้วย.

ขอบคุณ http://www.thairath.co.th/column/pol/kaablook/340044

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 22/04/2556 เวลา 02:44:55

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กรณีที่ สมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย พูดถึงเรื่องที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ สไกป์ มายังที่ประชุมพรรคเพื่อไทย ให้ ส.ส.ลงพื้นที่ หากแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่สำเร็จ อาจจะต้องยุบสภา หากทำอะไรไม่ได้ก็ให้ล้มกระดานใหม่ ศาล รัฐธรรมนูญไม่มีเหตุผลมาสั่งให้ รัฐสภา ไม่ให้แก้รัฐธรรมนูญ ซึ่ง ส.ส.อุบลฯท่านนี้ ยังสนับสนุนแนวทางออก โดยการยุบสภา เพราะจะทำให้ ส.ส.ของพรรคไปอธิบายกับประชาชนได้ว่า รัฐบาลพยายามจะแก้รัฐธรรมนูญตามนโยบายแล้ว แต่ทำไม่ได้ ถือเป็นการแลกหมัดของพรรคเพื่อไทย และ พรรคเพื่อไทยยังมองเกมการเมืองไว้อีกว่า ถ้ายุบสภาเลือกตั้งใหม่ต้องให้ได้ ส.ส.กึ่งหนึ่งของรัฐสภา หรือ 325 เสียง เพียงพอที่จะแก้รัฐธรรมนูญได้สบายๆ ความ เห็นของฝ่ายนิติบัญญัติเวลานี้ก็คือ ถูกอำนาจตุลาการเข้ามาแทรกแซงมากเกินไป และศาลรัฐธรรมนูญตีความโดยไม่มีบทบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ตีความไปเอง เพื่อเป็นการแสดงถึงอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ หากมีปัญหาก็จะใช้อำนาจในการยุบสภาตอบโต้ แก้ทั้งฉบับก็ไม่ได้ แก้เป็นรายมาตราก็ไม่ได้ ทั้งๆ ที่ฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่ในการออกกฎหมาย แก้ไขกฎหมาย แต่ไม่สามารถทำได้ ที่ต้องจับตาคือ มาตรการ อารยะขัดขืนของฝ่ายนิติบัญญัติ ที่มีความเห็นจาก ส.ส. ไม่ต้องการให้ สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภา ไปชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ว่ากรณีใดๆก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของฝ่ายนิติบัญญัติ โดย ที่ ประธานสภา ก็คงอึดอัดใจกับเรื่องเหล่านี้ เฉพาะที่มีพรายกระซิบ ระบุว่า ประธาน สมศักดิ์ ถึงกับออกปากว่า นี่พวกคุณบังคับผมหรือ ฟังดูแล้วน่าอึดอัดแทนจริงๆ ความขัดแย้งระหว่างสถาบัน มีมาตั้งแต่สมัยเกิดวิกฤติการเมือง สร้างความสับสน ไขว้เขว ในการบังคับใช้กฎหมาย กติกา มรรยาททางสังคม ประเพณีปฏิบัติไปจนหมดสิ้น เชื่อ ว่า ความขัดแย้ง ที่กำลังจะเกิดขึ้น หากไม่มี ขบวนการใดๆมายับยั้ง หรือไม่มีการ เจรจาระหว่างผู้ใหญ่ ด้วยกัน การเมือง จะทำให้ร้าวฉานไปถึงสถาบัน ระหว่าง สถาบันกับสถาบัน จากน้ำผึ้งหยด เดียว ก็จะกลายเป็นความขัดแย้ง ที่ยกระดับขึ้นมาอีกขั้น เป็นความขัดแย้งและแตกแยก ที่อยู่เหนือกติกา ไม่มีกรรมการที่จะตัดสินชี้ขาดได้ ลำพัง ความขัดแย้งในสังคม ยังมีการกลั่นกรอง ตัดสิน กระบวนการหลายขั้นตอน ปะทะความขัดแย้งให้ลดดีกรีความรุนแรงลงได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าผู้ใหญ่ทะเลาะกัน หญ้าแพรกย่อมแหลกลาญไปด้วย. ขอบคุณ http://www.thairath.co.th/column/pol/kaablook/340044

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...