หน้าที่ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร - กฎหมายรอบรั้ว

แสดงความคิดเห็น

คนส่วนมากอาจจะคิดว่าการอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่นั้นต้องออกไปทำงานแต่เช้า กลับมาก็มืดค่ำแล้ว จึงไม่มีเวลาไปสนใจเรื่องของหมู่บ้าน หรือคิดว่าผู้จัดสรร หรือเจ้าของโครงการจะ

ทำหน้าที่ดูแลสาธารณูปโภค สาธารณูปการต่าง ๆ อาทิ ถนนเข้าหมู่บ้าน ท่อประปา ท่อระบายน้ำ สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ ฯลฯ สารพัดที่เป็นเรื่องของส่วนกลางเป็นอย่างดี และผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านทุกหลังมีหน้าที่เพียงชำระเงินค่าใช้จ่ายส่วนกลาง อย่างพร้อมเพรียงกัน และเพียงพอที่จะใช้จ่ายดูแลทรัพย์สินส่วนกลางคงไม่มีปัญหาครับ

และยังมีอีกจำนวนไม่น้อย ที่มีคำถามคาใจว่าทำไมต้องจ่ายเงินค่าส่วนกลางอีก ในเมื่อมีการจ่ายเงินค่าซื้อบ้านให้แล้วค่าใช้จ่ายอย่างอื่นก็ให้เจ้าของ โครงการเป็นผู้รับผิดชอบไป ซึ่ง

เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องนะครับ เพราะ พ.ร.บ. บ้านจัดสรร กำหนดให้บ้านจัดสรร (ผู้จัดสรรนำที่ดินมาจัดสร้างหมู่บ้าน แล้วแบ่งขาย) มีสาธารณูปโภคส่วนกลางเช่น ถนน สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ ฯลฯ จะตกเป็นภาระจำยอม เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรทุกแปลง ซึ่งผู้จัดสรร มีหน้าที่บำรุงรักษา จัดการดูแลโดยมีสิทธิเก็บเรียกค่าใช้จ่ายจากผู้อยู่อาศัย ไม่ใช่จ่ายเงินซื้อบ้านแล้วเป็นอันจบเรื่องครับ

ทั้งนี้หากผู้จัดสรรละเลย ไม่ดูแลรักษา หรือบริหารจัดการสาธารณูปโภค และทรัพย์สินส่วนกลางให้อยู่ในสภาพดีแล้วผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรนั้น ๆ เห็นว่าการบริหารจัดการทรัพย์สินส่วนกลางไม่โปร่งใส ไม่น่าไว้ใจแล้วกฎหมายก็เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อ หรือผู้อยู่อาศัยไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งโครงการอาจมีมติจัดตั้ง นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร แล้วแต่งตั้งตัวแทนยื่นคำขอจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด

หลังจากนั้นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรก็จะต้องรับโอนทรัพย์สินส่วนกลาง ทรัพย์สินสาธารณูปโภคจากผู้จัดสรร มาบริหารจัดการเอง รวมทั้งอำนาจหน้าที่ในการเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการ สาธารณูปโภคภายในหมู่บ้านจากสมาชิก แต่การทำงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรต้องอยู่ภายใต้การบริหารงานของคณะ กรรมการหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งจะถูกควบคุมโดยที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกในหมู่บ้านจัดสรรนั้น ๆ ด้วยนะครับ

กรรมการหมู่บ้านจัดสรรจะมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกหมู่บ้านครับ โดยทำหน้าที่ในการออกข้อกำหนด หรือ กฎระเบียบที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ จากสาธารณูปโภค เช่น การใช้สโมสร การใช้สระว่ายน้ำ ฯลฯ กำหนดกฎระเบียบเกี่ยวกับการอยู่อาศัย และการจราจรภายใน รวมถึงการยื่นคำร้องทุกข์ หรือเป็นโจทก์ฟ้องแทนสมาชิก เกี่ยวกับกรณีที่กระทบสิทธิ หรือประโยชน์ของสมาชิกจำนวนตั้งแต่ 10 รายขึ้นไป

ดังนั้นผู้ทำหน้าที่เป็นกรรมการหมู่บ้านจัดสรรจึงจำเป็นต้องมีความเสีย สละ มีจิตสำนึกสาธารณะ ทำงานด้วยความโปร่งใส และหากมีกรรมการนิติบุคคลฯ คนใดคนหนึ่งนำเงินส่วนกลางไปใช้ส่วนตัว ก็จะมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ทันที มีโทษถึงติดคุก และอาจต้องชดใช้หนี้ทั้งหมดคืนให้กับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรด้วยครับ.

ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/article/950/198360 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 20/04/2556 เวลา 03:56:40

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

คนส่วนมากอาจจะคิดว่าการอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่นั้นต้องออกไปทำงานแต่เช้า กลับมาก็มืดค่ำแล้ว จึงไม่มีเวลาไปสนใจเรื่องของหมู่บ้าน หรือคิดว่าผู้จัดสรร หรือเจ้าของโครงการจะ ทำหน้าที่ดูแลสาธารณูปโภค สาธารณูปการต่าง ๆ อาทิ ถนนเข้าหมู่บ้าน ท่อประปา ท่อระบายน้ำ สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ ฯลฯ สารพัดที่เป็นเรื่องของส่วนกลางเป็นอย่างดี และผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านทุกหลังมีหน้าที่เพียงชำระเงินค่าใช้จ่ายส่วนกลาง อย่างพร้อมเพรียงกัน และเพียงพอที่จะใช้จ่ายดูแลทรัพย์สินส่วนกลางคงไม่มีปัญหาครับ และยังมีอีกจำนวนไม่น้อย ที่มีคำถามคาใจว่าทำไมต้องจ่ายเงินค่าส่วนกลางอีก ในเมื่อมีการจ่ายเงินค่าซื้อบ้านให้แล้วค่าใช้จ่ายอย่างอื่นก็ให้เจ้าของ โครงการเป็นผู้รับผิดชอบไป ซึ่ง เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องนะครับ เพราะ พ.ร.บ. บ้านจัดสรร กำหนดให้บ้านจัดสรร (ผู้จัดสรรนำที่ดินมาจัดสร้างหมู่บ้าน แล้วแบ่งขาย) มีสาธารณูปโภคส่วนกลางเช่น ถนน สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ ฯลฯ จะตกเป็นภาระจำยอม เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรทุกแปลง ซึ่งผู้จัดสรร มีหน้าที่บำรุงรักษา จัดการดูแลโดยมีสิทธิเก็บเรียกค่าใช้จ่ายจากผู้อยู่อาศัย ไม่ใช่จ่ายเงินซื้อบ้านแล้วเป็นอันจบเรื่องครับ ทั้งนี้หากผู้จัดสรรละเลย ไม่ดูแลรักษา หรือบริหารจัดการสาธารณูปโภค และทรัพย์สินส่วนกลางให้อยู่ในสภาพดีแล้วผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรนั้น ๆ เห็นว่าการบริหารจัดการทรัพย์สินส่วนกลางไม่โปร่งใส ไม่น่าไว้ใจแล้วกฎหมายก็เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อ หรือผู้อยู่อาศัยไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งโครงการอาจมีมติจัดตั้ง นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร แล้วแต่งตั้งตัวแทนยื่นคำขอจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด หลังจากนั้นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรก็จะต้องรับโอนทรัพย์สินส่วนกลาง ทรัพย์สินสาธารณูปโภคจากผู้จัดสรร มาบริหารจัดการเอง รวมทั้งอำนาจหน้าที่ในการเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการ สาธารณูปโภคภายในหมู่บ้านจากสมาชิก แต่การทำงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรต้องอยู่ภายใต้การบริหารงานของคณะ กรรมการหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งจะถูกควบคุมโดยที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกในหมู่บ้านจัดสรรนั้น ๆ ด้วยนะครับ กรรมการหมู่บ้านจัดสรรจะมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกหมู่บ้านครับ โดยทำหน้าที่ในการออกข้อกำหนด หรือ กฎระเบียบที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ จากสาธารณูปโภค เช่น การใช้สโมสร การใช้สระว่ายน้ำ ฯลฯ กำหนดกฎระเบียบเกี่ยวกับการอยู่อาศัย และการจราจรภายใน รวมถึงการยื่นคำร้องทุกข์ หรือเป็นโจทก์ฟ้องแทนสมาชิก เกี่ยวกับกรณีที่กระทบสิทธิ หรือประโยชน์ของสมาชิกจำนวนตั้งแต่ 10 รายขึ้นไป ดังนั้นผู้ทำหน้าที่เป็นกรรมการหมู่บ้านจัดสรรจึงจำเป็นต้องมีความเสีย สละ มีจิตสำนึกสาธารณะ ทำงานด้วยความโปร่งใส และหากมีกรรมการนิติบุคคลฯ คนใดคนหนึ่งนำเงินส่วนกลางไปใช้ส่วนตัว ก็จะมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ทันที มีโทษถึงติดคุก และอาจต้องชดใช้หนี้ทั้งหมดคืนให้กับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรด้วยครับ. ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/article/950/198360

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...