สมาชิกรัฐสภาออกแถลงการณ์งัดศาลรัฐธรรมนูญ

แสดงความคิดเห็น

งัดศาลรัฐธรรมนูญ “สมศักดิ์-นิคม” พร้อม ส.ส.- ส.ว.ออกแถลงการณ์ปฏิเสธอำนาจศาลพิจารณาคำร้องค้านแก้ไขรัฐธรรมนูญตาม ม.68 ลั่นไม่มีอำนาจแทรกแซงฝ่ายนิติบัญญัติ เตรียมส่งคำโต้แย้งถึงมือศาลภายใน 15 วัน

เมื่อวัน 18 เม.ย. เมื่อเวลา 13.00 น. ที่รัฐสภา ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลและ ส.ว.รวม 30 คนซึ่งเป็นตัวแทนสมาชิกรัฐสภาที่ออกเสียงสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นำโดยนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี ในฐานะประธานรองวิปรัฐสภา นายอำนวย คลังผา ประธานวิปรัฐบาลในฐานะรองประธานวิปรัฐสภา นายกฤษ อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร ในฐานะวิปรัฐสภา ร่วมแถลงข่าวพร้อมออกแถลงการณ์ไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญกรณีรับวินิจฉัย คำร้องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้พิจารณาตามมาตรา 68 โดยนายดิเรก กล่าวว่า ในนามของสมาชิกรัฐสภาที่ได้รับมอบอำนาจจากนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานรัฐสภา และสมาชิกรัฐสภาที่ร่วมสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขอแถลงไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญและขอโต้แย้งการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีรับคำร้องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้พิจารณาตามมาตรา 68 เนื่องด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจนิติบัญญัติ ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ 3 ฝ่าย คือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ดังนั้นศาลไม่มีอำนาจมาสั่งให้ฝ่ายนิติบัญญัติหยุดหรือห้ามออกกฎหมาย เพราะเป็นการแทรกแซงอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ

นายดิเรก กล่าวว่า อีกทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ครั้งนี้ไม่มีเจตนาล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข แต่ต้องการแก้ไขความคลุมเครือ ให้ชัดเจนว่าการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญต้องผ่านอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ทั้งในรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 63 และถูกถ่ายทอดมาเป็นมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญปัจจุบัน รวมทั้งเอกสารคำแนะนำของศาลรัฐธรรมนูญที่เผยแพร่ประชาชนระบุชัดว่าการยื่นคำ ร้องต้องผ่านอัยการสูงสุด ทั้งนี้สมาชิกรัฐสภาที่สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะร่วมลงชื่อในเอกสารคำ ชี้แจงซึ่งมีเนื้อหามีลักษณะเป็นคำโต้แย้งอำนาจศาลรัฐธรรมนูญส่งให้ศาลรัฐ ธรรมนูญภายใน 15 วัน ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีหนังสือให้สมาชิกรัฐสภาชี้แจง

ด้านนายอำนวย ได้เป็นตัวแทนอ่านแถลงการณ์ สาระสำคัญว่า ในนามของสมาชิกรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนปวงชนชาวไทย ขอแถลงการณ์เพื่อประกาศต่อพี่น้องประชาชนทั้งประเทศว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องไว้พิจารณาอาจเข้าข่ายจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัด ต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ผลของการกระทำดังกล่าวจะทำลายรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ยึดหลักการแบ่งแยกอำนาจเป็นสำคัญ จึงร่วมประกาศเจตนารมณ์ ดังนี้ 1.ศาลรัฐธรรมนูญย่อมต้องผูกพันและปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ การรับคำร้องโดยที่ไม่มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญให้อำนาจย่อมเป็นการกระทำที่ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 มาตรา 97 และ มาตรา 291 2.การที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องไว้พิจารณาตามมาตรา 68 ได้นั้นต้องเสนอเรื่องไปยังอัยการสูงสุดเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน

3.การทำหน้าที่ในการรับคำร้องของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีมาตรา 68 ขาดมาตรฐาน อันยากที่จะยอมรับและปฏิบัติตามได้ 4.การที่ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน แต่มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญติดภารกิจไปต่างประเทศ 4 คน จึงเหลือตุลาการเพื่อปฏิบัติหน้าที่เพียง 5 คน เป็นการเร่งรีบประชุม แตกต่างจากกรณีไต่สวนคำร้องของพล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ที่ได้รอตุลาการจนครบ และ5.การพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมเป็นอำนาจของรัฐสภา โดยเฉพาะตามมาตรา 291 องค์กรอื่นใดไม่มีอำนาจทั้งสิ้นที่จะสั่งห้ามหรือระงับ ดังนั้นยืนยันจะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนปวงชนชาวไทย คงไว้ซึ่งหลักการแบ่งแยกอำนาจและเกียรติภูมิของรัฐสภา โดยจะดำเนินการที่เหมาะสมตามกรอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีนี้ต่อไป

ผู้สื่อข่าวถามว่าหากในระหว่างนี้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย รัฐสภาจะไม่ยุติการการแก้ไขรัฐธรรมนูญใช่หรือไม่ นายกฤษ กล่าวว่า ขออย่าเพิ่งคาดเดาเพราะในอนาคตอะไรก็เกิดขึ้นได้ ขอให้รอฟังคำวินิจฉัย แต่วันนี้เป็นการโต้แย้งศาล ไม่มีอำนาจสั่งให้สมาชิกรัฐสภาไปชี้แจง ซึ่งสามารถกระทำได้ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/politics/198186 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 19/04/2556 เวลา 03:39:51

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

งัดศาลรัฐธรรมนูญ “สมศักดิ์-นิคม” พร้อม ส.ส.- ส.ว.ออกแถลงการณ์ปฏิเสธอำนาจศาลพิจารณาคำร้องค้านแก้ไขรัฐธรรมนูญตาม ม.68 ลั่นไม่มีอำนาจแทรกแซงฝ่ายนิติบัญญัติ เตรียมส่งคำโต้แย้งถึงมือศาลภายใน 15 วัน เมื่อวัน 18 เม.ย. เมื่อเวลา 13.00 น. ที่รัฐสภา ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลและ ส.ว.รวม 30 คนซึ่งเป็นตัวแทนสมาชิกรัฐสภาที่ออกเสียงสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นำโดยนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี ในฐานะประธานรองวิปรัฐสภา นายอำนวย คลังผา ประธานวิปรัฐบาลในฐานะรองประธานวิปรัฐสภา นายกฤษ อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร ในฐานะวิปรัฐสภา ร่วมแถลงข่าวพร้อมออกแถลงการณ์ไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญกรณีรับวินิจฉัย คำร้องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้พิจารณาตามมาตรา 68 โดยนายดิเรก กล่าวว่า ในนามของสมาชิกรัฐสภาที่ได้รับมอบอำนาจจากนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานรัฐสภา และสมาชิกรัฐสภาที่ร่วมสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขอแถลงไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญและขอโต้แย้งการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีรับคำร้องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้พิจารณาตามมาตรา 68 เนื่องด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจนิติบัญญัติ ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ 3 ฝ่าย คือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ดังนั้นศาลไม่มีอำนาจมาสั่งให้ฝ่ายนิติบัญญัติหยุดหรือห้ามออกกฎหมาย เพราะเป็นการแทรกแซงอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ นายดิเรก กล่าวว่า อีกทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ครั้งนี้ไม่มีเจตนาล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข แต่ต้องการแก้ไขความคลุมเครือ ให้ชัดเจนว่าการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญต้องผ่านอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ทั้งในรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 63 และถูกถ่ายทอดมาเป็นมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญปัจจุบัน รวมทั้งเอกสารคำแนะนำของศาลรัฐธรรมนูญที่เผยแพร่ประชาชนระบุชัดว่าการยื่นคำ ร้องต้องผ่านอัยการสูงสุด ทั้งนี้สมาชิกรัฐสภาที่สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะร่วมลงชื่อในเอกสารคำ ชี้แจงซึ่งมีเนื้อหามีลักษณะเป็นคำโต้แย้งอำนาจศาลรัฐธรรมนูญส่งให้ศาลรัฐ ธรรมนูญภายใน 15 วัน ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีหนังสือให้สมาชิกรัฐสภาชี้แจง ด้านนายอำนวย ได้เป็นตัวแทนอ่านแถลงการณ์ สาระสำคัญว่า ในนามของสมาชิกรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนปวงชนชาวไทย ขอแถลงการณ์เพื่อประกาศต่อพี่น้องประชาชนทั้งประเทศว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องไว้พิจารณาอาจเข้าข่ายจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัด ต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ผลของการกระทำดังกล่าวจะทำลายรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ยึดหลักการแบ่งแยกอำนาจเป็นสำคัญ จึงร่วมประกาศเจตนารมณ์ ดังนี้ 1.ศาลรัฐธรรมนูญย่อมต้องผูกพันและปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ การรับคำร้องโดยที่ไม่มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญให้อำนาจย่อมเป็นการกระทำที่ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 มาตรา 97 และ มาตรา 291 2.การที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องไว้พิจารณาตามมาตรา 68 ได้นั้นต้องเสนอเรื่องไปยังอัยการสูงสุดเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน 3.การทำหน้าที่ในการรับคำร้องของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีมาตรา 68 ขาดมาตรฐาน อันยากที่จะยอมรับและปฏิบัติตามได้ 4.การที่ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน แต่มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญติดภารกิจไปต่างประเทศ 4 คน จึงเหลือตุลาการเพื่อปฏิบัติหน้าที่เพียง 5 คน เป็นการเร่งรีบประชุม แตกต่างจากกรณีไต่สวนคำร้องของพล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ที่ได้รอตุลาการจนครบ และ5.การพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมเป็นอำนาจของรัฐสภา โดยเฉพาะตามมาตรา 291 องค์กรอื่นใดไม่มีอำนาจทั้งสิ้นที่จะสั่งห้ามหรือระงับ ดังนั้นยืนยันจะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนปวงชนชาวไทย คงไว้ซึ่งหลักการแบ่งแยกอำนาจและเกียรติภูมิของรัฐสภา โดยจะดำเนินการที่เหมาะสมตามกรอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีนี้ต่อไป ผู้สื่อข่าวถามว่าหากในระหว่างนี้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย รัฐสภาจะไม่ยุติการการแก้ไขรัฐธรรมนูญใช่หรือไม่ นายกฤษ กล่าวว่า ขออย่าเพิ่งคาดเดาเพราะในอนาคตอะไรก็เกิดขึ้นได้ ขอให้รอฟังคำวินิจฉัย แต่วันนี้เป็นการโต้แย้งศาล ไม่มีอำนาจสั่งให้สมาชิกรัฐสภาไปชี้แจง ซึ่งสามารถกระทำได้ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/politics/198186

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...