ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราทั้ง 4 มาตรา คือที่มาของ ส.ว. มาตรา 190 มาตรา 68 และมาตรา 237 ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ (กมธ.)วิสามัญฯทั้ง 3 คณะ ซึ่งการประชุมที่ผ่านมา 2 ครั้ง กมธ.ชุดที่ถือว่า ดุเดือด มากที่สุด หนีไม่พ้น มาตรา 190 และ มาตรา 68

โดยเฉพาะ มาตรา 68 อุณหภูมิความร้อนแรงได้เกิดขึ้นทั้งในห้องประชุม กมธ.และที่ศาลรัฐธรรมนูญ หลังจากมีบุคคลหลายฝ่าย ใช้สิทธิ คำร้องว่า ประธานรัฐสภาและพวก กระทำการเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยการตัดสิทธิของบุคคลในการพิทักษ์รัฐ ธรรมนูญ

สำหรับ มาตรา 68 ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ระบุว่า “บุคคลจะใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้

ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทําการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทําดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้ อัยการสูงสุด ตรวจสอบข้อเท็จจริง และยื่นคําร้องขอให้ ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทําดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดําเนินคดีอาญาต่อผู้กระทําการดังกล่าว

ในกรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสองศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้

ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองตามวรรคสาม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการ เมืองที่ถูกยุบในขณะที่กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วัน ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งดังกล่าว”

ในขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่...) พ.ศ...(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 68 และมาตรา 237 ที่มีส.ส.และ ส.ว. จำนวน 311 คน เป็นผู้เสนอ) มีจำนวน 5 มาตรา

ซึ่งสาระสำคัญอยู่ที่ มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา 68 บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามหมวด 3 แห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้

ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้ อัยการสูงสุด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่ออัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าการกระทำดังกล่าวขัดต่อวรรค หนึ่ง ให้อัยการสูงสุดยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการ กระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว

ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสอง ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้”

ณ ตอนนี้แค่เริ่มต้น เพราะต้องรอดู กมธ.จากพรรคเพื่อไทย ว่าจะ หักดิบ ยืนตามร่างแก้ไขให้ยื่นเรื่องผ่าน “อัยการสูงสุด”เพียงอย่างเดียวจริง ๆ หรือไม่ เพราะเชื่อว่าแรงกดดันนอกสภาคงไม่ยอมง่าย ๆ.

ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/article/15675/197293 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 15/04/2556 เวลา 03:23:25

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราทั้ง 4 มาตรา คือที่มาของ ส.ว. มาตรา 190 มาตรา 68 และมาตรา 237 ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ (กมธ.)วิสามัญฯทั้ง 3 คณะ ซึ่งการประชุมที่ผ่านมา 2 ครั้ง กมธ.ชุดที่ถือว่า ดุเดือด มากที่สุด หนีไม่พ้น มาตรา 190 และ มาตรา 68 โดยเฉพาะ มาตรา 68 อุณหภูมิความร้อนแรงได้เกิดขึ้นทั้งในห้องประชุม กมธ.และที่ศาลรัฐธรรมนูญ หลังจากมีบุคคลหลายฝ่าย ใช้สิทธิ คำร้องว่า ประธานรัฐสภาและพวก กระทำการเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยการตัดสิทธิของบุคคลในการพิทักษ์รัฐ ธรรมนูญ สำหรับ มาตรา 68 ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ระบุว่า “บุคคลจะใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้ ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทําการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทําดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้ อัยการสูงสุด ตรวจสอบข้อเท็จจริง และยื่นคําร้องขอให้ ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทําดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดําเนินคดีอาญาต่อผู้กระทําการดังกล่าว ในกรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสองศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้ ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองตามวรรคสาม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการ เมืองที่ถูกยุบในขณะที่กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วัน ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งดังกล่าว” ในขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่...) พ.ศ...(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 68 และมาตรา 237 ที่มีส.ส.และ ส.ว. จำนวน 311 คน เป็นผู้เสนอ) มีจำนวน 5 มาตรา ซึ่งสาระสำคัญอยู่ที่ มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 68 บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามหมวด 3 แห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้ ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้ อัยการสูงสุด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่ออัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าการกระทำดังกล่าวขัดต่อวรรค หนึ่ง ให้อัยการสูงสุดยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการ กระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสอง ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้” ณ ตอนนี้แค่เริ่มต้น เพราะต้องรอดู กมธ.จากพรรคเพื่อไทย ว่าจะ หักดิบ ยืนตามร่างแก้ไขให้ยื่นเรื่องผ่าน “อัยการสูงสุด”เพียงอย่างเดียวจริง ๆ หรือไม่ เพราะเชื่อว่าแรงกดดันนอกสภาคงไม่ยอมง่าย ๆ. ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/article/15675/197293

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...