หนังม้วนใหม่เพื่อไทย-ศาลรัฐธรรมนูญ 'ทักษิณ' ขู่ลั่นต้องใช้อำนาจประชาชน

แสดงความคิดเห็น

พลันที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 3 ต่อ 2 รับเรื่องที่ สมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ยื่นให้วินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราที่เป็นการแก้ไขในมาตรา 68 ไว้พิจารณาผู้เกี่ยว

ทุกฝ่ายประเมินว่าไม่ต่างอะไรกับ “หนังม้วนเก่า” ครั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ซึ่งหยุดชะงักลงจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

“มูลเหตุ” สำคัญครั้งนั้น อยู่ที่การ “ตีความ” รัฐธรรมนูญมาตรา 68 ซึ่งอยู่ใน ส่วนที่ 13 สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ

มีความจริงอยู่อย่างหนึ่งว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตรา 68 นี้ เกิดขึ้นหลังจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญครั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291

การมาแก้ไขรัฐธรรมนูญ “รายมาตรา” ครั้งนี้ จึงไม่ใช่การคิดแค่ “แก้ไข” ได้หรือไม่ได้เท่านั้น แต่น่าจะมี “จุดประสงค์ทางการเมือง” ที่ไกลออกไปกว่านั้น

ปรากฏการณ์เช่นนี้ จึงน่าจะเป็น “หนังม้วนใหม่” ที่ผ่านกระบวนการปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลงมาแล้วทุกขั้นตอน

ยิ่ง “สัญญาณ” ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สไกป์มายังเวทีการชุมนุมรำลึกครบรอบ 3 ปีเหตุการณ์ 10 เม.ย. เมื่อวันที่ 10 เม.ย. ที่ผ่านมา ยิ่งสะท้อนว่า งานนี้ พรรคเพื่อไทยมาแบบ “ทักษิณคิดใหม่ เพื่อไทยทำใหม่”

“วันนี้รัฐบาล ส.ส. และ ส.ว. พยายามแก้รัฐธรรมนูญ แก้ทั้งฉบับ แต่มีคนขัดขวาง เราก็ไม่ว่ากัน แต่พอเราแก้รายมาตราก็มีพวกขัดขวางเห็นแก่ตัวไม่กี่ตัว ยื่นศาล ศาลก็รับแบบเล่นลิเก ออกนั่งบัลลังก์เพียง 5 คน มีมติรับเรื่อง 3 ไม่รับ 2 คน เลิกเล่นลิเกได้แล้ว เพราะเป็นอำนาจอธิปไตย ที่มีการแบ่งแยกอำนาจ ถ่วงดุลระหว่างกัน เขาใช้คำว่าถ่วงดุล ไม่ใช่ก้าวล่วง แต่วันนี้ใช้การก้าวล่วง ซึ่งกระทบต่อความมั่นใจของประเทศและประชาชนที่มีต่อระบบ ผมขอร้องวิงวอน จะให้กราบงาม ๆ ก็จะกราบ ให้รักษาความยุติธรรม เห็นแก่บ้านเมือง ไม่เช่นนั้นเราก็จะต้องใช้อำนาจประชาชน เพราะเรามาจากประชาชน ก็ใช้อำนาจจากประชาชนตามหลักประชาธิปไตย แต่เมื่อก้าวล่วงมากขึ้นเชื่อว่าประชาชนจะรับไม่ได้ เราต้องช่วยกันรักษาประชาธิปไตย ช่วยกันต่อต้านผู้ล้มล้างระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เราอยากให้ประเทศนี้ให้ความสำคัญกับอำนาจประชาชน ให้ประชาชนเลือก ส.ส. เข้ามาและเลือกรัฐบาล แล้ววันไหนมีคนอยากเตะออกก็เตะ แล้วประชาชนอยู่ตรงไหน อยากให้เห็นหัวประชาชนบ้าง”

ศาลก็รับแบบเล่นลิเก

ถ่วงดุล ไม่ใช่ ก้าวล่วง

ไม่เช่นนั้นเราก็จะต้องใช้อำนาจประชาชน

เหล่านี้ล้วนสะท้อนว่า พ.ต.ท.ทักษิณ รัฐบาลพรรคเพื่อไทย คิดอย่างไรกับการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ

ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ว่า เราต้องใช้อำนาจประชาชน

คืออะไรกันแน่

ต้องยอมรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ “รายมาตรา” ครั้งนี้ เป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ ส.ส. และ ส.ว. ในฐานะตัวแทนประชาชนพึงจะกระทำได้ เพราะเป็นไปตามที่ “กติกา” กำหนดไว้

ไม่ใช่แต่แก้ไขรัฐธรรมนูญ “รายมาตรา” เท่านั้น พรรคเพื่อไทยยังอ่านออกว่า ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ ส.ว.เลือกตั้งชุดปัจจุบันจะพ้นวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 2 มี.ค. 57 ซึ่งนับจากนี้ก็เหลือไม่ถึง 1 ปี ส.ว.เลือกตั้งกลุ่มนี้ ปรารถนาจะนั่งหน้าที่ต่อจึงต้องแก้ไขกติกาพร้อม ๆ กับชู “การเลือกตั้ง” ซึ่งสังคมไทยเชื่อว่าหากใครผ่านกระบวนการนี้จะเป็นประชาธิปไตย มาอ้างเพื่อ “ล้มกระดาน” ส.ว.สรรหา ที่ถูกกระแนะกระแหนมาตลอดช่วงเวลาของการทำหน้าที่ว่ามาจากการ “ลากตั้ง”

ในประเด็นที่ว่านั้นก็เรื่องหนึ่ง แต่การทำหน้าที่ก็น่าจะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สังคมไทยไม่ควรมองข้าม ต้องยอมรับกันว่า บทบาทของ ส.ว.สรรหาบางคนนั้นโดดเด่นกว่า ส.ว.เลือกตั้งบางคนอย่างยิ่ง

เมื่อมี “ผลประโยชน์ทางการเมือง” ร่วมกัน การจับมือเพื่อแก้ไข “กติกา” ที่ต่างฝ่ายต่างเอื้อให้กันอย่างที่เป็นอยู่จึงเกิดขึ้น

พรรคเพื่อไทยซึ่งมีนักกฎหมายเดินกันแทบจะล้นพรรค “อ่าน” ไว้แล้วว่า หากเดินไปตามกระบวนการขั้นตอน อย่างไรเสีย “เสียงข้างมาก” ก็ชนะ ฉะนั้น “เสียงข้างน้อย” จึงจะต้องใช้วิธีการยื่นให้องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญอย่าง ศาลรัฐธรรมนูญ “วินิจฉัย”

กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ “รายมาตรา” ครั้งนี้ พรรคเพื่อไทย ระบุว่า เป็นการทำหน้าที่ของฝ่าย “นิติบัญญัติ” ที่มีสิทธิในการออกกฎหมาย เสนอแก้ไขกฎหมาย

การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ อ้างว่า เราจะต้องใช้อำนาจประชาชน ก็คงหมายถึงตรงนี้

เพราะ ส.ส.พรรคเพื่อไทยมาจากการเลือกตั้งของประชาชนตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ส.ว. ที่สนับสนุนให้มีการแก้ไขก็จากการเลือกตั้งของประชาชนเช่นกัน

ส.ส. และ ส.ว. เหล่านั้น จึงเป็นตัวแทนอำนาจของประชาชน

ตามขั้นตอน หลังจากนี้ศาลรัฐธรรมนูญจะส่ง “คำร้อง” ไปให้ ผู้ถูกร้องซึ่งก็คือ ส.ส. และ ส.ว. ที่ลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 จำนวน 312 คน เพื่อให้ส่ง “คำชี้แจง” มายังศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือ

จะชี้แจงหรือไม่ชี้แจงก็ได้ แต่พรรคเพื่อไทยกำลังจะมีท่าทีว่า จะรับหรือไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการรับเรื่องในครั้งนี้ จากนั้นคงขั้นตอนต่อไปว่า จะชี้แจงหรือไม่ชี้แจง และหากชี้แจงก็คงชี้แจงในสิ่งที่ไม่เห็นด้วยกับศาล

เมื่อขั้นตอนนี้จบ ขั้นตอนต่อไปศาลจะเปิดการ “ไต่สวน” ตรงนี้พรรคเพื่อไทย อาจจะไม่เข้าร่วมก็ได้ เมื่อไม่เข้าร่วมการไม่รับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็อาจจะเกิดขึ้น

ครั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 แม้พรรคเพื่อไทยจะไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่จำเป็นต้องปฏิบัติตามเพราะหากดันทุรังเดินหน้าต่อไป อาจจะถูกยื่น “ถอดถอน”ซึ่งจะกระทบกับเสถียรภาพของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี

แต่คราวนี้ มีทั้ง ส.ส. และ ส.ว. แถมเป็นการแก้ไข “รายมาตรา” และยังเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติที่มีสิทธิที่จะทำได้

แม้วันนี้พรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้งเป็นรัฐบาลถืออำนาจ “บริหาร” แต่สิ่งหนึ่งที่พรรคเพื่อไทยเชื่อและได้ทำให้สังคมเชื่อมาตลอดก็คือ พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลท่ามกลางดงระเบิดทางการเมืองที่ “อำมาตย์” วางไว้ ตราบใดที่ยังไม่ได้มีการแก้ไข “กติกา” ให้เป็นประชาธิปไตยในความหมายของพรรคเพื่อไทย ตราบนั้นการต่อสู้ทางการเมืองก็ไม่มีทางจบลง

แน่นอนว่า ศาลรัฐธรรมนูญ คือ “อุปสรรรค” หนึ่งที่พรรคเพื่อไทยมองว่า ทั้ง ๆ ที่ในกระบวนการตรวจสอบการ “ถ่วงดุล” ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ “ขัดขวาง”

ศาลรัฐธรรมนูญ มีขึ้นมาเพื่อรักษา “กติกา” ของการอยู่ร่วมกัน ไม่ใช่วันหนึ่งเสียงมากจะทำอะไรก็ได้ แต่จะทำได้ก็ต่อเมื่อ การกระทำนั้นไม่ละเมิดกติกา

เมื่อ “ฝ่ายหนึ่ง” ต้องการจะกลับมาเพื่อแก้ไขให้จงได้ หลังจากที่ได้ทบทวนครั้งที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อย ขณะที่ “อีกฝ่าย” ซึ่งทำหน้าที่บนพื้นฐานของการอธิบายได้ด้วยเหตุและผล

การ “เผชิญหน้า” รอบนี้จึงไม่น่าจะมีใครยอมใคร ได้หักกันไป “ข้างหนึ่ง” แน่นอน

เข้าสู่โหมด ’ความเสี่ยง“ ทางการเมืองอีกแล้ว สำหรับประเทศไทย

ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/politics/197069 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 14/04/2556 เวลา 03:32:42

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พลันที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 3 ต่อ 2 รับเรื่องที่ สมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ยื่นให้วินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราที่เป็นการแก้ไขในมาตรา 68 ไว้พิจารณาผู้เกี่ยว ทุกฝ่ายประเมินว่าไม่ต่างอะไรกับ “หนังม้วนเก่า” ครั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ซึ่งหยุดชะงักลงจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ “มูลเหตุ” สำคัญครั้งนั้น อยู่ที่การ “ตีความ” รัฐธรรมนูญมาตรา 68 ซึ่งอยู่ใน ส่วนที่ 13 สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ มีความจริงอยู่อย่างหนึ่งว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตรา 68 นี้ เกิดขึ้นหลังจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญครั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 การมาแก้ไขรัฐธรรมนูญ “รายมาตรา” ครั้งนี้ จึงไม่ใช่การคิดแค่ “แก้ไข” ได้หรือไม่ได้เท่านั้น แต่น่าจะมี “จุดประสงค์ทางการเมือง” ที่ไกลออกไปกว่านั้น ปรากฏการณ์เช่นนี้ จึงน่าจะเป็น “หนังม้วนใหม่” ที่ผ่านกระบวนการปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลงมาแล้วทุกขั้นตอน ยิ่ง “สัญญาณ” ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สไกป์มายังเวทีการชุมนุมรำลึกครบรอบ 3 ปีเหตุการณ์ 10 เม.ย. เมื่อวันที่ 10 เม.ย. ที่ผ่านมา ยิ่งสะท้อนว่า งานนี้ พรรคเพื่อไทยมาแบบ “ทักษิณคิดใหม่ เพื่อไทยทำใหม่” “วันนี้รัฐบาล ส.ส. และ ส.ว. พยายามแก้รัฐธรรมนูญ แก้ทั้งฉบับ แต่มีคนขัดขวาง เราก็ไม่ว่ากัน แต่พอเราแก้รายมาตราก็มีพวกขัดขวางเห็นแก่ตัวไม่กี่ตัว ยื่นศาล ศาลก็รับแบบเล่นลิเก ออกนั่งบัลลังก์เพียง 5 คน มีมติรับเรื่อง 3 ไม่รับ 2 คน เลิกเล่นลิเกได้แล้ว เพราะเป็นอำนาจอธิปไตย ที่มีการแบ่งแยกอำนาจ ถ่วงดุลระหว่างกัน เขาใช้คำว่าถ่วงดุล ไม่ใช่ก้าวล่วง แต่วันนี้ใช้การก้าวล่วง ซึ่งกระทบต่อความมั่นใจของประเทศและประชาชนที่มีต่อระบบ ผมขอร้องวิงวอน จะให้กราบงาม ๆ ก็จะกราบ ให้รักษาความยุติธรรม เห็นแก่บ้านเมือง ไม่เช่นนั้นเราก็จะต้องใช้อำนาจประชาชน เพราะเรามาจากประชาชน ก็ใช้อำนาจจากประชาชนตามหลักประชาธิปไตย แต่เมื่อก้าวล่วงมากขึ้นเชื่อว่าประชาชนจะรับไม่ได้ เราต้องช่วยกันรักษาประชาธิปไตย ช่วยกันต่อต้านผู้ล้มล้างระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เราอยากให้ประเทศนี้ให้ความสำคัญกับอำนาจประชาชน ให้ประชาชนเลือก ส.ส. เข้ามาและเลือกรัฐบาล แล้ววันไหนมีคนอยากเตะออกก็เตะ แล้วประชาชนอยู่ตรงไหน อยากให้เห็นหัวประชาชนบ้าง” ศาลก็รับแบบเล่นลิเก ถ่วงดุล ไม่ใช่ ก้าวล่วง ไม่เช่นนั้นเราก็จะต้องใช้อำนาจประชาชน เหล่านี้ล้วนสะท้อนว่า พ.ต.ท.ทักษิณ รัฐบาลพรรคเพื่อไทย คิดอย่างไรกับการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ว่า เราต้องใช้อำนาจประชาชน คืออะไรกันแน่ ต้องยอมรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ “รายมาตรา” ครั้งนี้ เป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ ส.ส. และ ส.ว. ในฐานะตัวแทนประชาชนพึงจะกระทำได้ เพราะเป็นไปตามที่ “กติกา” กำหนดไว้ ไม่ใช่แต่แก้ไขรัฐธรรมนูญ “รายมาตรา” เท่านั้น พรรคเพื่อไทยยังอ่านออกว่า ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ ส.ว.เลือกตั้งชุดปัจจุบันจะพ้นวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 2 มี.ค. 57 ซึ่งนับจากนี้ก็เหลือไม่ถึง 1 ปี ส.ว.เลือกตั้งกลุ่มนี้ ปรารถนาจะนั่งหน้าที่ต่อจึงต้องแก้ไขกติกาพร้อม ๆ กับชู “การเลือกตั้ง” ซึ่งสังคมไทยเชื่อว่าหากใครผ่านกระบวนการนี้จะเป็นประชาธิปไตย มาอ้างเพื่อ “ล้มกระดาน” ส.ว.สรรหา ที่ถูกกระแนะกระแหนมาตลอดช่วงเวลาของการทำหน้าที่ว่ามาจากการ “ลากตั้ง” ในประเด็นที่ว่านั้นก็เรื่องหนึ่ง แต่การทำหน้าที่ก็น่าจะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สังคมไทยไม่ควรมองข้าม ต้องยอมรับกันว่า บทบาทของ ส.ว.สรรหาบางคนนั้นโดดเด่นกว่า ส.ว.เลือกตั้งบางคนอย่างยิ่ง เมื่อมี “ผลประโยชน์ทางการเมือง” ร่วมกัน การจับมือเพื่อแก้ไข “กติกา” ที่ต่างฝ่ายต่างเอื้อให้กันอย่างที่เป็นอยู่จึงเกิดขึ้น พรรคเพื่อไทยซึ่งมีนักกฎหมายเดินกันแทบจะล้นพรรค “อ่าน” ไว้แล้วว่า หากเดินไปตามกระบวนการขั้นตอน อย่างไรเสีย “เสียงข้างมาก” ก็ชนะ ฉะนั้น “เสียงข้างน้อย” จึงจะต้องใช้วิธีการยื่นให้องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญอย่าง ศาลรัฐธรรมนูญ “วินิจฉัย” กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ “รายมาตรา” ครั้งนี้ พรรคเพื่อไทย ระบุว่า เป็นการทำหน้าที่ของฝ่าย “นิติบัญญัติ” ที่มีสิทธิในการออกกฎหมาย เสนอแก้ไขกฎหมาย การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ อ้างว่า เราจะต้องใช้อำนาจประชาชน ก็คงหมายถึงตรงนี้ เพราะ ส.ส.พรรคเพื่อไทยมาจากการเลือกตั้งของประชาชนตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ส.ว. ที่สนับสนุนให้มีการแก้ไขก็จากการเลือกตั้งของประชาชนเช่นกัน ส.ส. และ ส.ว. เหล่านั้น จึงเป็นตัวแทนอำนาจของประชาชน ตามขั้นตอน หลังจากนี้ศาลรัฐธรรมนูญจะส่ง “คำร้อง” ไปให้ ผู้ถูกร้องซึ่งก็คือ ส.ส. และ ส.ว. ที่ลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 จำนวน 312 คน เพื่อให้ส่ง “คำชี้แจง” มายังศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือ จะชี้แจงหรือไม่ชี้แจงก็ได้ แต่พรรคเพื่อไทยกำลังจะมีท่าทีว่า จะรับหรือไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการรับเรื่องในครั้งนี้ จากนั้นคงขั้นตอนต่อไปว่า จะชี้แจงหรือไม่ชี้แจง และหากชี้แจงก็คงชี้แจงในสิ่งที่ไม่เห็นด้วยกับศาล เมื่อขั้นตอนนี้จบ ขั้นตอนต่อไปศาลจะเปิดการ “ไต่สวน” ตรงนี้พรรคเพื่อไทย อาจจะไม่เข้าร่วมก็ได้ เมื่อไม่เข้าร่วมการไม่รับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็อาจจะเกิดขึ้น ครั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 แม้พรรคเพื่อไทยจะไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่จำเป็นต้องปฏิบัติตามเพราะหากดันทุรังเดินหน้าต่อไป อาจจะถูกยื่น “ถอดถอน”ซึ่งจะกระทบกับเสถียรภาพของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี แต่คราวนี้ มีทั้ง ส.ส. และ ส.ว. แถมเป็นการแก้ไข “รายมาตรา” และยังเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติที่มีสิทธิที่จะทำได้ แม้วันนี้พรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้งเป็นรัฐบาลถืออำนาจ “บริหาร” แต่สิ่งหนึ่งที่พรรคเพื่อไทยเชื่อและได้ทำให้สังคมเชื่อมาตลอดก็คือ พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลท่ามกลางดงระเบิดทางการเมืองที่ “อำมาตย์” วางไว้ ตราบใดที่ยังไม่ได้มีการแก้ไข “กติกา” ให้เป็นประชาธิปไตยในความหมายของพรรคเพื่อไทย ตราบนั้นการต่อสู้ทางการเมืองก็ไม่มีทางจบลง แน่นอนว่า ศาลรัฐธรรมนูญ คือ “อุปสรรรค” หนึ่งที่พรรคเพื่อไทยมองว่า ทั้ง ๆ ที่ในกระบวนการตรวจสอบการ “ถ่วงดุล” ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ “ขัดขวาง” ศาลรัฐธรรมนูญ มีขึ้นมาเพื่อรักษา “กติกา” ของการอยู่ร่วมกัน ไม่ใช่วันหนึ่งเสียงมากจะทำอะไรก็ได้ แต่จะทำได้ก็ต่อเมื่อ การกระทำนั้นไม่ละเมิดกติกา เมื่อ “ฝ่ายหนึ่ง” ต้องการจะกลับมาเพื่อแก้ไขให้จงได้ หลังจากที่ได้ทบทวนครั้งที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อย ขณะที่ “อีกฝ่าย” ซึ่งทำหน้าที่บนพื้นฐานของการอธิบายได้ด้วยเหตุและผล การ “เผชิญหน้า” รอบนี้จึงไม่น่าจะมีใครยอมใคร ได้หักกันไป “ข้างหนึ่ง” แน่นอน เข้าสู่โหมด ’ความเสี่ยง“ ทางการเมืองอีกแล้ว สำหรับประเทศไทย ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/politics/197069

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...