เกมใหม่!"ผู้เล่น"เผชิญหน้า"กรรมการ"

แสดงความคิดเห็น

มาตามนัดสำหรับการสไกป์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในโอกาสครบรอบ 3 ปีเหตุการณ์วันที่ 10 เม.ย. 53

หลายช่วงหลายตอนของ “เนื้อหา” จากคนแดนไกลสะท้อนว่า พายุใหญ่กำลังจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ วันนี้

ช่วงหนึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณพูดถึงการผลักดันร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ส.ส.พรรคเพื่อไทยพร้อมจะเดินหน้า

แต่ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ “รายมาตรา” โดยเฉพาะการแก้ไขมาตรา 68 ซึ่งขณะนี้ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องไว้วินิจฉัยตามที่ นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ยื่นเรื่องไว้

“วันนี้รัฐบาล ส.ส. และส.ว. พยายามแก้รัฐธรรมนูญ แก้ทั้งฉบับ แต่มีคนขัดขวาง เราก็ไม่ว่ากัน แต่พอเราแก้รายมาตราก็มีพวกขัดขวางเห็นแก่ตัวไม่กี่ตัว ยื่นศาล ศาลก็รับแบบเล่นลิเก ออกนั่งบัลลังก์เพียง 5 คน มีมติรับเรื่อง 3 ไม่รับ 2 คน เลิกเล่นลิเกได้แล้ว เพราะเป็นอำนาจอธิปไตยที่มีการแบ่งแยกอำนาจ ถ่วงดุลระหว่างกัน เขาใช้คำว่าถ่วงดุล ไม่ใช่ก้าวล่วง แต่วันนี้ใช้การก้าวล่วง ซึ่งกระทบต่อความมั่นใจของประเทศและประชาชนที่มีต่อระบบ ผมขอร้องวิงวอน จะให้กราบงาม ๆ ก็จะกราบ ให้รักษาความยุติธรรมเห็นแก่บ้านเมือง ไม่เช่นนั้นเราก็จะต้องใช้อำนาจประชาชน เพราะเรามาจากประชาชน ก็ใช้อำนาจจากประชาชนตามหลักประชาธิปไตย แต่เมื่อก้าวล่วงมากขึ้นเชื่อว่าประชาชนจะรับไม่ได้ เราต้องช่วยกันรักษาประชาธิปไตย”

แม้การรับเรื่องไว้ของศาลรัฐธรรมนูญจะเป็น “อำนาจ” ที่ทำได้เพราะทำตามคำวินิจฉัยครั้งรับวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291

แต่สิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ พูดเหมือนพยายามจะบอกว่า ศาลกำลัง “ก้าวล่วง”

ตามขั้นตอนหลังศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่อง ผู้ร้องคือ นายสมชาย ต้องทำสำเนาผู้ถูกร้องซึ่งก็คือผู้เซ็นชื่อสนับสนุนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 312 คนส่งให้ศาล จากนั้นศาลจะส่งให้รัฐสภาเมื่อส่งให้ผู้ถูกร้องชี้แจงภายในเวลาที่กำหนด

มีข่าวออกมาว่า คณะทำงานกฎหมายในพรรคเพื่อไทยกำลังประเมินว่าจะรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้หรือไม่

แล้วถ้ารับหรือไม่รับ จะชี้แจงไปให้ศาลรัฐธรรมนูญหรือเปล่า

นอกจากชี้แจงในหน้ากระดาษ ตามกระบวนการศาลจะเปิดการไต่สวน

มีข่าวว่าใน “ขั้นตอนนี้” พรรคเพื่อไทยอาจไม่ไปร่วมไต่สวนกับศาล

เมื่อไม่รับอำนาจ ไม่ไปร่วมไต่สวน ผลการไต่สวนออกมาเช่นไร พรรคเพื่อไทยก็คงจะไม่ฟังศาลและน่าจะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ที่ว่าด้วยสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญต่อไป

สมมุติว่าถึงตรงนั้น บอกได้คำเดียวว่า สถานการณ์จะยุ่งเหยิงอย่างยิ่ง ยุ่งยิ่งกว่าครั้งแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ที่หยุดชะงักในชั้นการลงมติวาระ 3 ซะอีก

อย่าลืมว่า วาระ 3 ก็ยังค้างคาอยู่ในสภา และมีโอกาสที่พรรคเพื่อไทยจะหยิบขึ้นมา หากสถานการณ์การเมือง “เอื้ออำนวย”

การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ อ้างถึง “ที่มา” ว่ามาจากประชาชน จึงน่าจะเป็นการอ้างเพื่อจะใช้ “เผชิญหน้า” กับศาล

พูดถึงศาลรัฐธรรมนูญ พ.ต.ท.ทักษิณ รู้ดีที่สุดคนหนึ่ง เพราะตั้งแต่เป็นนายกฯครั้งแรกก็ขึ้นเผชิญกับศาลรัฐธรรมนูญในคดี “ซุกหุ้น”

ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ดูไปแล้วเหมือน “ผู้เล่น” กำลังจะเผชิญหน้ากับ “กรรมการ” แทนที่จะเผชิญหน้ากับ “ผู้เล่น” ด้วยกันเอง

ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/article/4/196842 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 12/04/2556 เวลา 04:13:54

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

มาตามนัดสำหรับการสไกป์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในโอกาสครบรอบ 3 ปีเหตุการณ์วันที่ 10 เม.ย. 53 หลายช่วงหลายตอนของ “เนื้อหา” จากคนแดนไกลสะท้อนว่า พายุใหญ่กำลังจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ วันนี้ ช่วงหนึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณพูดถึงการผลักดันร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ส.ส.พรรคเพื่อไทยพร้อมจะเดินหน้า แต่ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ “รายมาตรา” โดยเฉพาะการแก้ไขมาตรา 68 ซึ่งขณะนี้ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องไว้วินิจฉัยตามที่ นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ยื่นเรื่องไว้ “วันนี้รัฐบาล ส.ส. และส.ว. พยายามแก้รัฐธรรมนูญ แก้ทั้งฉบับ แต่มีคนขัดขวาง เราก็ไม่ว่ากัน แต่พอเราแก้รายมาตราก็มีพวกขัดขวางเห็นแก่ตัวไม่กี่ตัว ยื่นศาล ศาลก็รับแบบเล่นลิเก ออกนั่งบัลลังก์เพียง 5 คน มีมติรับเรื่อง 3 ไม่รับ 2 คน เลิกเล่นลิเกได้แล้ว เพราะเป็นอำนาจอธิปไตยที่มีการแบ่งแยกอำนาจ ถ่วงดุลระหว่างกัน เขาใช้คำว่าถ่วงดุล ไม่ใช่ก้าวล่วง แต่วันนี้ใช้การก้าวล่วง ซึ่งกระทบต่อความมั่นใจของประเทศและประชาชนที่มีต่อระบบ ผมขอร้องวิงวอน จะให้กราบงาม ๆ ก็จะกราบ ให้รักษาความยุติธรรมเห็นแก่บ้านเมือง ไม่เช่นนั้นเราก็จะต้องใช้อำนาจประชาชน เพราะเรามาจากประชาชน ก็ใช้อำนาจจากประชาชนตามหลักประชาธิปไตย แต่เมื่อก้าวล่วงมากขึ้นเชื่อว่าประชาชนจะรับไม่ได้ เราต้องช่วยกันรักษาประชาธิปไตย” แม้การรับเรื่องไว้ของศาลรัฐธรรมนูญจะเป็น “อำนาจ” ที่ทำได้เพราะทำตามคำวินิจฉัยครั้งรับวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 แต่สิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ พูดเหมือนพยายามจะบอกว่า ศาลกำลัง “ก้าวล่วง” ตามขั้นตอนหลังศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่อง ผู้ร้องคือ นายสมชาย ต้องทำสำเนาผู้ถูกร้องซึ่งก็คือผู้เซ็นชื่อสนับสนุนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 312 คนส่งให้ศาล จากนั้นศาลจะส่งให้รัฐสภาเมื่อส่งให้ผู้ถูกร้องชี้แจงภายในเวลาที่กำหนด มีข่าวออกมาว่า คณะทำงานกฎหมายในพรรคเพื่อไทยกำลังประเมินว่าจะรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้หรือไม่ แล้วถ้ารับหรือไม่รับ จะชี้แจงไปให้ศาลรัฐธรรมนูญหรือเปล่า นอกจากชี้แจงในหน้ากระดาษ ตามกระบวนการศาลจะเปิดการไต่สวน มีข่าวว่าใน “ขั้นตอนนี้” พรรคเพื่อไทยอาจไม่ไปร่วมไต่สวนกับศาล เมื่อไม่รับอำนาจ ไม่ไปร่วมไต่สวน ผลการไต่สวนออกมาเช่นไร พรรคเพื่อไทยก็คงจะไม่ฟังศาลและน่าจะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ที่ว่าด้วยสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญต่อไป สมมุติว่าถึงตรงนั้น บอกได้คำเดียวว่า สถานการณ์จะยุ่งเหยิงอย่างยิ่ง ยุ่งยิ่งกว่าครั้งแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ที่หยุดชะงักในชั้นการลงมติวาระ 3 ซะอีก อย่าลืมว่า วาระ 3 ก็ยังค้างคาอยู่ในสภา และมีโอกาสที่พรรคเพื่อไทยจะหยิบขึ้นมา หากสถานการณ์การเมือง “เอื้ออำนวย” การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ อ้างถึง “ที่มา” ว่ามาจากประชาชน จึงน่าจะเป็นการอ้างเพื่อจะใช้ “เผชิญหน้า” กับศาล พูดถึงศาลรัฐธรรมนูญ พ.ต.ท.ทักษิณ รู้ดีที่สุดคนหนึ่ง เพราะตั้งแต่เป็นนายกฯครั้งแรกก็ขึ้นเผชิญกับศาลรัฐธรรมนูญในคดี “ซุกหุ้น” ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ดูไปแล้วเหมือน “ผู้เล่น” กำลังจะเผชิญหน้ากับ “กรรมการ” แทนที่จะเผชิญหน้ากับ “ผู้เล่น” ด้วยกันเอง ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/article/4/196842

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...