พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ : สังคมไทยกับความเป็นรัฐธรรมนูญนิยม

แสดงความคิดเห็น

แม้ว่าประเทศไทยนั้นอาจจะไม่ใช่ตัวอย่างอุดมคติในการเป็นสังคมที่มีรัฐธรรมนูญ น้อยฉบับที่ใช้อย่างยาวนาน (ในความหมายที่เชื่อกันว่า ถ้ามีรัฐธรรมนูญน้อยฉบับ ใช้อย่างยาวนาน และมีความยาวไม่มาก รวมทั้งมีเนื้อหาความเป็นประชาธิปไตยแล้ว ก็จะเป็นสังคมประชาธิปไตยอุดมคติ) แต่ก็ไม่ได้รับสถิติที่ "มากที่สุด หรือน้อยที่สุด"

กล่าวคือ ประเทศที่มีรัฐธรรมนูญมากที่สุดคือ สาธารณรัฐโดมินิกัน ซึ่งมีเข้าไป 38 ฉบับ แต่ในรายละเอียดบางทีเราก็นับไปเกินจริง เพราะธรรมเนียมของเขานั้น เมื่อมีการแก้ไขก็จะนับเป็นฉบับใหม่

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่น่าสนใจของมหาวิทยาลัยชิคาโก และเทกซัส ที่ พบมิติที่น่าสนใจกว่าสถิติแบบพื้นๆ ในเรื่องรัฐธรรมนูญ เมื่อเขาพบว่า ความเชื่อบางประการในเรื่องสถิติของรัฐธรรมนูญในโลกนั้น เราคงต้องมองกันหลายด้าน

อาทิ จำนวนที่น่าสนใจในการเปรียบเทียบก็คือ นับตั้งแต่ ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา (ที่เริ่มมีรัฐธรรมนูญที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร) นั้นมีรัฐธรรมนูญในโลกถึง 900 ฉบับ ซึ่งนัยยะสำคัญก็คือ การจะทำให้รัฐธรรมนูญนั้นมีอายุยาวนานนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก

แต่ ถ้าดูจริงๆ แล้วเขาก็พบว่าตัวเลขอายุเฉลี่ยของรัฐธรรมนูญนั้นอยู่ที่ประมาณ 19 ปี ซึ่งถ้าข้อมูลนี้เป็นจริง ก็น่าตกใจแหละครับว่า ประเทศไทยนั้นประเด็นคงไม่ใช่อยู่ที่มีเข้าไปแล้ว 18 ฉบับ แต่คงจะอยู่ที่ไม่เคยมีฉบับที่อยู่เกินอายุเฉลี่ยเลย เว้นแต่ที่จะใกล้ที่สุดคงจะเป็นฉบับ 2475 ถ้ารวมที่มาใช้ซ้ำตอน 2495 อีกนิดหน่อย

และเอาเข้าจริงเขาพบว่า รัฐธรรมนูญที่เป็นแบบอย่างนั้นอาจไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่เก่าแก่ที่สุด คือ อเมริกา (ที่ไม่ยาวมากด้วย) แต่เขาสนใจรัฐธรรมนูญแม็กซิโก และอินเดีย เพราะอยู่ได้นานและอยู่ได้ทนทั้งในสมัยที่เป็นเผด็จการและประชาธิปไตย

และ เอาเข้าจริงยิ่งมีรายละเอียดยิ่งอยู่ได้ทน (แต่เขาไม่ได้สนใจว่า รายละเอียดบางอย่างก็เป็นที่มาของการถกเถียงกันอย่างในบ้านเรา แต่สำหรับเขาแล้ว ความละเอียดมันหมายถึงความพยายามที่จะเข้าใจและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงใน สังคมเหล่านั้น) เพราะอินเดียเป็นรัฐธรรมนูญที่มีความยาวมากที่สุด คือยาว 25 เท่า ของสหรัฐอเมริกา

อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจจากงานวิจัยของเขาว่า การร่างรัฐธรรมนูญที่ประสบความสำเร็จนั้น คงจะต้องประกอบด้วยเงื่อนไขสำคัญอยู่สามข้อ

หนึ่ง คือ การสร้างกระบวนการขั้นพื้นฐานที่จะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า สินค้าและความเป็นสาธารณะ (ขอแปลมาจากคำว่า public goods) ซึ่งตรงนี้ขอตีความว่าเป็นเรื่องที่ว่าด้วยการดูแลซึ่งกันและกัน และจะทำอย่างไรให้คนรู้สึกหวงแหนว่าของบางอย่างนั้นเป็นของส่วนรวมที่มาจาก ของทุกคนรวมกัน แบ่งแยกไปไม่ได้ (ก็คงเหมือนอำนาจอธิปไตยนั่นแหละครับ จะเอาไปซื้อไปขายไม่ได้ หรือทรัพยากรแห่งชาติอื่นๆ ก็เช่นกัน) รวมทั้งต้องเชื่อว่ามันก็มีต้นทุนในการอยู่กับรัฐธรรมนูญเช่นกัน เช่นจะแก้เมื่อไหร่แก้ยากไหม จะเสนอกฎหมายเองนั้นจะรวมรายชื่ออย่างไร และยากเย็นไหมที่จะแก้ไขหรือเรียกร้องสิทธิในแต่ละเรื่อง ซึ่งผมว่าสิ่งนี้ถ้าจะเกิดได้ก็ยังมีเส้นแบ่งที่บางมาก เมื่อเทียบกับพวกบรรดาความเชื่อในการปลูกจิตสำนึก เรื่องการไม่โกงในแบบพร่ำสอนให้รักชาติ รักคุณธรรม ที่ไม่ต้องใช้ความเข้าใจในรายละเอียดมากเท่ากับความศรัทธา และโจมตีคนที่อยู่คนละฝั่งกับเรา แต่ขาดการตรวจสอบพวกเดียวกันเองบ่อยๆ

สอง คือ การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้กับพลเมือง

สาม คือ ต้องมีรูปแบบของการตรวจสอบควบคุมรัฐบาลอย่างเป็นอิสระ ซึ่งถ้าจะให้ตีความในทางสังคมวิทยารัฐธรรมนูญ (constitutional sociology) ก็หมายถึงเรื่องของการตั้งคำถามในเรื่องอำนาจและการจัดการสังคม โดยเฉพาะสังคมสมัยใหม่นั้น บางทีก็เกิดความสับสนเหมือนกันว่า เราต้องการองค์กรอิสระ หรือเราต้องการอำนาจที่อิสระในการตรวจสอบถ่วงดุลกัน

ด้วย ว่าสังคมสมัยใหม่นั้นมีความสลับซับซ้อนของโครงสร้างหน้าที่ของสถาบันทางการ เมือง เศรษฐกิจ และสังคมอยู่มาก และความเชื่อของความรู้แจ้งเห็นจริงว่า สังคมสมัยใหม่นั้นเต็มไปด้วยเหตุผล และมีกฎหมายเป็นแกนกลางของระบบเหตุผล (รวมทั้งความเชื่อที่ว่า รัฐธรรมนูญนั้นจะกำกับดูแลกฎกติกาที่ว่าด้วยการจัดสรรอำนาจของสังคมทั้งหมด) นั้นแท้จริงแล้วก็มีความสลับซับซ้อนอยู่มิใช่น้อย เพราะสังคมนั้นมีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในเรื่องของการแตกกระจายตัวของอำนาจที่ทวีความซับซ้อนขึ้น

ดังนั้น จะทำอย่างไรที่จะควบคุมอำนาจเหล่านี้ในทางบวก ในทางที่จะส่งเสริมเสรีภาพของผู้คนให้มากขึ้น นั้นเป็นประเด็นสำคัญมากกว่าความเชื่อในตัวเหตุผลทางกฎหมาย และการสร้างองค์กรอิสระต่างๆ ที่สุดท้ายอาจไม่ได้ตอบโจทย์ใหญ่ในเรื่องของความสลับซับซ้อนของอำนาจ แต่ยิ่งมีองค์กรอิสระยิ่งทำให้อำนาจนั้นซับซ้อน-ซ้อนทับกันมากขึ้น

ทีนี้เมื่อมาถึงเรื่องของบ้านเรานั้น ในวงการวิชาการนอกโรงเรียนกฎหมาย เขาก็มีความสนใจเรื่องของรัฐธรรมนูญอยู่หลายมิติ

มิติ ที่หนึ่ง คือ ความเชื่อของคนทั่วไป และในโรงเรียนกฎหมายเอง ที่มอง (และพร่ำสอน) ว่ารัฐธรรมนูญนั้นคือ กฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ที่จัดสรรอำนาจการเมืองต่างๆ และให้หลักประกันสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน

แต่คำจำกัดความนี้ เป็นคำจำความที่ไร้ความศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง ด้วยสถิติของการมีรัฐธรรมนูญถึง 18 ฉบับ !!!

มิติ ที่สอง จึงนำมาสู่ความเข้าใจว่ารัฐธรรมนูญนั้นไม่ใช่แค่กฎหมายสูงสุด แต่ยอมรับความเป็นจริงว่า รัฐธรรมนูญนั้นอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ เพราะรัฐธรรมนูญนั้นเป็นผลรวม/ผลผลิตของสัมพันธภาพทางอำนาจในสังคม

ใน ความหมายที่ว่า รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับนั้นไม่ได้น่าสนใจแค่ว่ามีมาตราใดบ้าง แต่บทบัญญัติแต่ละมาตรานั้นมันรวมกันแล้วสะท้อนว่า ในยุคนั้นสมัยนั้นใครเป็นผู้เขียนรัฐธรรมนูญ

เรื่องนี้อาจรวมไปถึงว่า ในยุคนั้นสมัยนั้น มีการต้องประนีประนอมอำนาจกันอย่างไร เห็นจากการมีบทเฉพาะกาลเป็นต้น

การ มองว่ารัฐธรรมนูญแต่ละฉบับนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร จึงเป็นหนึ่งในการเปิดมุมมองให้เห็นว่า รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับนั้นกำเนิดมาจากอำนาจชนิดไหน และทำให้วิธีการให้เหตุผลในแบบที่ว่า เมื่อเป็นรัฐธรรมนูญแล้วก็ให้ยอมรับมันซะ นั้นลดความศักดิ์สิทธิ์ลง

หรือ เข้าใจในแบบทำใจมากขึ้นว่า เมื่อมีการอ้างว่าการกระทำบางอย่างขัดกับรัฐธรรมนูญนั้น มันจึงไม่ใช่เรื่องที่ว่าขัดกับเจตจำนงของรัฐธรรมนูญในแบบหลักการอันสูงส่ง

แต่ เป็นการขัดกับเจตจำนงของผู้มีอำนาจร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากกลุ่มอุดมการณ์บาง ชนิด และมีฐานผลประโยชน์บางประการทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

ดัง นั้น การตีความการขัดกับรัฐธรรมนูญจึงอาจไม่ใช่เรื่องของหลักการทั่วไปของรัฐ ธรรมนูญ แต่เป็นการขัดกับความมุ่งหมายของผู้มีอำนาจที่สถาปนารัฐธรรมนูญขึ้นมาในทาง ประวัติศาสตร์จริงๆ ไม่ใช่ในทางหลักการทั่วไป

และก็ไม่น่าแปลกใจว่า ผู้ที่ต้องการให้แก้นั้น ก็อาจจะมาจากกลุ่มอุดมการณ์และผลประโยชน์บางแบบเช่นกัน แต่เขาอาจมีจำนวนมากกว่า เพียงแต่ว่าอาจไม่สามารถแก้ไขได้ แม้ว่าจำนวนจะมากกว่า ทั้งนี้ เพราะเขาอาจจะต้องประนีประนอมอำนาจกับกลุ่มอื่นๆ เพื่อทำให้เขาอยู่ต่อไปได้มากกว่าเรื่องของการเปลี่ยนแปลงที่นำมาซึ่งแรงตึง เครียด

มิติที่สาม แต่อย่างไรก็ตาม การทำความเข้าใจว่ารัฐธรรมนูญเป็นผลรวมของการสะท้อนถึงสัมพันธภาพทางอำนาจใน แต่ละยุคสมัยนั้น แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่พูดกันมากในหมู่นักรัฐศาสตร์ในช่วงยี่สิบกว่าปีนี้ แต่สิ่งที่จะต้องมีความเข้าใจขยายความไปอีก ก็มาจากมุมมองของนักประวัติศาสตร์ที่มองว่า อาจจะมีหลักฐานหรือเอกสารอื่นๆ อีกในแต่ละยุคสมัยที่สะท้อนสัมพันธภาพทางอำนาจ มากกว่าตัวรัฐธรรมนูญเอง

ทั้ง นี้ ในทางหนึ่งอาจจะหมายถึง กฎหมายอื่นๆ ที่รัฐธรรมนูญนั้นแตะต้องไม่ได้ในนามของความมั่นคง เช่น มาตรา 112 ในกฎหมายอาญา ที่สามารถข้ามผ่านบทบัญญัติว่าด้วยเสรีภาพที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญได้

หรือ ในทางที่สองอาจหมายถึง "รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม" ที่หมายถึงสิ่งที่ไม่ได้ถูกเขียนเป็นรายลักษณ์อักษร แต่เป็นประเพณี วัฒนธรรมและสถาบันที่ถูกปฏิบัติจริงในทางการเมือง โดยไม่ได้ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนแบบเป็นลายลักษณ์อักษรในเอกสารที่ชื่อว่ารัฐ ธรรมนูญ

อาทิ บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ บทบาทของทหาร และการทำรัฐประหารเป็นต้น

ประเด็น เหล่านี้อาจจะต่อเนื่องไปถึงแม้กระทั่งเรื่องของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เรา พูดถึงกันช่วงนี้ เพราะบางทีก็ต้องลองถามดูว่าคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญนั้นมีสภาพบังคับอย่างไร และถ้า (รัฐสภา) ไม่ทำตามแล้ว ใครจะเอาผิดและลงโทษได้ หากเทียบกับการละเมิดกฎหมายทั่วไป

มิติที่ สี่ เมื่อพูดถึงรัฐธรรมนูญนั้น แนวคิดใหม่ๆ ที่เข้ามาสู่สังคมไทยนั้นเริ่มจะมองว่ารัฐธรรมนูญนั้นไม่ใช่เพียงกฎหมายสูง สุด หรือมีความเป็นประชาธิปไตย หรือไม่โดยดูแต่หมวดสิทธิเสรีภาพ และการจัดรูปแบบการปกครอง

แต่หมายถึงการที่จะต้องสถาปนาความเป็นรัฐ ธรรมนูญนิยม (constitutionalism) ที่มีความหมายเฉพาะตามหลักสังคมเสรีนิยมทางการเมืองและเศรษฐกิจเอาไว้ และเป็นรัฐธรรมนูญที่มีฐานจากหลักนิติธรรม (rule of law)

ด้วยหมาย ถึงการทำให้กฎหมายเป็นหลักทางการปกครอง ในความหมายเฉพาะที่กฎหมายจะต้องรองรับสิทธิเสรีภาพของประชาชน ไม่ใช่กฎหมายเป็นเครื่องมือของผู้ปกครอง (rule by law) แต่ทุกคนจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายนี้อย่างเสมอภาคกันรวมทั้งผู้ปกครองด้วย

ตาม แนวความคิดนี้ รัฐธรรมนูญจึงจะต้องจำกัดอำนาจรัฐในความหมายของไม่ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิ และเสรีภาพของประชาชน และจะต้องตรวจสอบการทำงานของรัฐอย่างเข้มข้น เพื่อไม่ให้ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน และไม่เกิดการทุจริต

กล่าว ย้ำอีกครั้งว่า แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่เข้ามาในสังคมไทยนับแต่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน 2540 เป็นต้นมา และจะเข้าใจเรื่องนี้ได้ก็ต้องเข้าใจว่ากฎหมายนั้นไม่ใช่แค่เครื่องมือ แต่มันมีระบบคุณค่าของมันบางประการที่มีรากฐานของความเป็นสังคมประชาธิปไตย อยู่ด้วย

ส่วนวันนี้สังคมของเราจะเป็นรัฐธรรมนิยมจริงๆ มากน้อยแค่ไหนก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ที่แน่ๆ หน่ะ เราเป็นสังคมที่นิยม (มี) รัฐธรรมนูญครับผม !!!

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1365470224&grpid=03&catid=&subcatid= (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 9/04/2556 เวลา 04:34:58

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

แม้ว่าประเทศไทยนั้นอาจจะไม่ใช่ตัวอย่างอุดมคติในการเป็นสังคมที่มีรัฐธรรมนูญ น้อยฉบับที่ใช้อย่างยาวนาน (ในความหมายที่เชื่อกันว่า ถ้ามีรัฐธรรมนูญน้อยฉบับ ใช้อย่างยาวนาน และมีความยาวไม่มาก รวมทั้งมีเนื้อหาความเป็นประชาธิปไตยแล้ว ก็จะเป็นสังคมประชาธิปไตยอุดมคติ) แต่ก็ไม่ได้รับสถิติที่ "มากที่สุด หรือน้อยที่สุด" กล่าวคือ ประเทศที่มีรัฐธรรมนูญมากที่สุดคือ สาธารณรัฐโดมินิกัน ซึ่งมีเข้าไป 38 ฉบับ แต่ในรายละเอียดบางทีเราก็นับไปเกินจริง เพราะธรรมเนียมของเขานั้น เมื่อมีการแก้ไขก็จะนับเป็นฉบับใหม่ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่น่าสนใจของมหาวิทยาลัยชิคาโก และเทกซัส ที่ พบมิติที่น่าสนใจกว่าสถิติแบบพื้นๆ ในเรื่องรัฐธรรมนูญ เมื่อเขาพบว่า ความเชื่อบางประการในเรื่องสถิติของรัฐธรรมนูญในโลกนั้น เราคงต้องมองกันหลายด้าน อาทิ จำนวนที่น่าสนใจในการเปรียบเทียบก็คือ นับตั้งแต่ ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา (ที่เริ่มมีรัฐธรรมนูญที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร) นั้นมีรัฐธรรมนูญในโลกถึง 900 ฉบับ ซึ่งนัยยะสำคัญก็คือ การจะทำให้รัฐธรรมนูญนั้นมีอายุยาวนานนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก แต่ ถ้าดูจริงๆ แล้วเขาก็พบว่าตัวเลขอายุเฉลี่ยของรัฐธรรมนูญนั้นอยู่ที่ประมาณ 19 ปี ซึ่งถ้าข้อมูลนี้เป็นจริง ก็น่าตกใจแหละครับว่า ประเทศไทยนั้นประเด็นคงไม่ใช่อยู่ที่มีเข้าไปแล้ว 18 ฉบับ แต่คงจะอยู่ที่ไม่เคยมีฉบับที่อยู่เกินอายุเฉลี่ยเลย เว้นแต่ที่จะใกล้ที่สุดคงจะเป็นฉบับ 2475 ถ้ารวมที่มาใช้ซ้ำตอน 2495 อีกนิดหน่อย และเอาเข้าจริงเขาพบว่า รัฐธรรมนูญที่เป็นแบบอย่างนั้นอาจไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่เก่าแก่ที่สุด คือ อเมริกา (ที่ไม่ยาวมากด้วย) แต่เขาสนใจรัฐธรรมนูญแม็กซิโก และอินเดีย เพราะอยู่ได้นานและอยู่ได้ทนทั้งในสมัยที่เป็นเผด็จการและประชาธิปไตย และ เอาเข้าจริงยิ่งมีรายละเอียดยิ่งอยู่ได้ทน (แต่เขาไม่ได้สนใจว่า รายละเอียดบางอย่างก็เป็นที่มาของการถกเถียงกันอย่างในบ้านเรา แต่สำหรับเขาแล้ว ความละเอียดมันหมายถึงความพยายามที่จะเข้าใจและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงใน สังคมเหล่านั้น) เพราะอินเดียเป็นรัฐธรรมนูญที่มีความยาวมากที่สุด คือยาว 25 เท่า ของสหรัฐอเมริกา อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจจากงานวิจัยของเขาว่า การร่างรัฐธรรมนูญที่ประสบความสำเร็จนั้น คงจะต้องประกอบด้วยเงื่อนไขสำคัญอยู่สามข้อ หนึ่ง คือ การสร้างกระบวนการขั้นพื้นฐานที่จะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า สินค้าและความเป็นสาธารณะ (ขอแปลมาจากคำว่า public goods) ซึ่งตรงนี้ขอตีความว่าเป็นเรื่องที่ว่าด้วยการดูแลซึ่งกันและกัน และจะทำอย่างไรให้คนรู้สึกหวงแหนว่าของบางอย่างนั้นเป็นของส่วนรวมที่มาจาก ของทุกคนรวมกัน แบ่งแยกไปไม่ได้ (ก็คงเหมือนอำนาจอธิปไตยนั่นแหละครับ จะเอาไปซื้อไปขายไม่ได้ หรือทรัพยากรแห่งชาติอื่นๆ ก็เช่นกัน) รวมทั้งต้องเชื่อว่ามันก็มีต้นทุนในการอยู่กับรัฐธรรมนูญเช่นกัน เช่นจะแก้เมื่อไหร่แก้ยากไหม จะเสนอกฎหมายเองนั้นจะรวมรายชื่ออย่างไร และยากเย็นไหมที่จะแก้ไขหรือเรียกร้องสิทธิในแต่ละเรื่อง ซึ่งผมว่าสิ่งนี้ถ้าจะเกิดได้ก็ยังมีเส้นแบ่งที่บางมาก เมื่อเทียบกับพวกบรรดาความเชื่อในการปลูกจิตสำนึก เรื่องการไม่โกงในแบบพร่ำสอนให้รักชาติ รักคุณธรรม ที่ไม่ต้องใช้ความเข้าใจในรายละเอียดมากเท่ากับความศรัทธา และโจมตีคนที่อยู่คนละฝั่งกับเรา แต่ขาดการตรวจสอบพวกเดียวกันเองบ่อยๆ สอง คือ การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้กับพลเมือง สาม คือ ต้องมีรูปแบบของการตรวจสอบควบคุมรัฐบาลอย่างเป็นอิสระ ซึ่งถ้าจะให้ตีความในทางสังคมวิทยารัฐธรรมนูญ (constitutional sociology) ก็หมายถึงเรื่องของการตั้งคำถามในเรื่องอำนาจและการจัดการสังคม โดยเฉพาะสังคมสมัยใหม่นั้น บางทีก็เกิดความสับสนเหมือนกันว่า เราต้องการองค์กรอิสระ หรือเราต้องการอำนาจที่อิสระในการตรวจสอบถ่วงดุลกัน ด้วย ว่าสังคมสมัยใหม่นั้นมีความสลับซับซ้อนของโครงสร้างหน้าที่ของสถาบันทางการ เมือง เศรษฐกิจ และสังคมอยู่มาก และความเชื่อของความรู้แจ้งเห็นจริงว่า สังคมสมัยใหม่นั้นเต็มไปด้วยเหตุผล และมีกฎหมายเป็นแกนกลางของระบบเหตุผล (รวมทั้งความเชื่อที่ว่า รัฐธรรมนูญนั้นจะกำกับดูแลกฎกติกาที่ว่าด้วยการจัดสรรอำนาจของสังคมทั้งหมด) นั้นแท้จริงแล้วก็มีความสลับซับซ้อนอยู่มิใช่น้อย เพราะสังคมนั้นมีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในเรื่องของการแตกกระจายตัวของอำนาจที่ทวีความซับซ้อนขึ้น ดังนั้น จะทำอย่างไรที่จะควบคุมอำนาจเหล่านี้ในทางบวก ในทางที่จะส่งเสริมเสรีภาพของผู้คนให้มากขึ้น นั้นเป็นประเด็นสำคัญมากกว่าความเชื่อในตัวเหตุผลทางกฎหมาย และการสร้างองค์กรอิสระต่างๆ ที่สุดท้ายอาจไม่ได้ตอบโจทย์ใหญ่ในเรื่องของความสลับซับซ้อนของอำนาจ แต่ยิ่งมีองค์กรอิสระยิ่งทำให้อำนาจนั้นซับซ้อน-ซ้อนทับกันมากขึ้น ทีนี้เมื่อมาถึงเรื่องของบ้านเรานั้น ในวงการวิชาการนอกโรงเรียนกฎหมาย เขาก็มีความสนใจเรื่องของรัฐธรรมนูญอยู่หลายมิติ มิติ ที่หนึ่ง คือ ความเชื่อของคนทั่วไป และในโรงเรียนกฎหมายเอง ที่มอง (และพร่ำสอน) ว่ารัฐธรรมนูญนั้นคือ กฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ที่จัดสรรอำนาจการเมืองต่างๆ และให้หลักประกันสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน แต่คำจำกัดความนี้ เป็นคำจำความที่ไร้ความศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง ด้วยสถิติของการมีรัฐธรรมนูญถึง 18 ฉบับ !!! มิติ ที่สอง จึงนำมาสู่ความเข้าใจว่ารัฐธรรมนูญนั้นไม่ใช่แค่กฎหมายสูงสุด แต่ยอมรับความเป็นจริงว่า รัฐธรรมนูญนั้นอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ เพราะรัฐธรรมนูญนั้นเป็นผลรวม/ผลผลิตของสัมพันธภาพทางอำนาจในสังคม ใน ความหมายที่ว่า รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับนั้นไม่ได้น่าสนใจแค่ว่ามีมาตราใดบ้าง แต่บทบัญญัติแต่ละมาตรานั้นมันรวมกันแล้วสะท้อนว่า ในยุคนั้นสมัยนั้นใครเป็นผู้เขียนรัฐธรรมนูญ เรื่องนี้อาจรวมไปถึงว่า ในยุคนั้นสมัยนั้น มีการต้องประนีประนอมอำนาจกันอย่างไร เห็นจากการมีบทเฉพาะกาลเป็นต้น การ มองว่ารัฐธรรมนูญแต่ละฉบับนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร จึงเป็นหนึ่งในการเปิดมุมมองให้เห็นว่า รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับนั้นกำเนิดมาจากอำนาจชนิดไหน และทำให้วิธีการให้เหตุผลในแบบที่ว่า เมื่อเป็นรัฐธรรมนูญแล้วก็ให้ยอมรับมันซะ นั้นลดความศักดิ์สิทธิ์ลง หรือ เข้าใจในแบบทำใจมากขึ้นว่า เมื่อมีการอ้างว่าการกระทำบางอย่างขัดกับรัฐธรรมนูญนั้น มันจึงไม่ใช่เรื่องที่ว่าขัดกับเจตจำนงของรัฐธรรมนูญในแบบหลักการอันสูงส่ง แต่ เป็นการขัดกับเจตจำนงของผู้มีอำนาจร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากกลุ่มอุดมการณ์บาง ชนิด และมีฐานผลประโยชน์บางประการทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ดัง นั้น การตีความการขัดกับรัฐธรรมนูญจึงอาจไม่ใช่เรื่องของหลักการทั่วไปของรัฐ ธรรมนูญ แต่เป็นการขัดกับความมุ่งหมายของผู้มีอำนาจที่สถาปนารัฐธรรมนูญขึ้นมาในทาง ประวัติศาสตร์จริงๆ ไม่ใช่ในทางหลักการทั่วไป และก็ไม่น่าแปลกใจว่า ผู้ที่ต้องการให้แก้นั้น ก็อาจจะมาจากกลุ่มอุดมการณ์และผลประโยชน์บางแบบเช่นกัน แต่เขาอาจมีจำนวนมากกว่า เพียงแต่ว่าอาจไม่สามารถแก้ไขได้ แม้ว่าจำนวนจะมากกว่า ทั้งนี้ เพราะเขาอาจจะต้องประนีประนอมอำนาจกับกลุ่มอื่นๆ เพื่อทำให้เขาอยู่ต่อไปได้มากกว่าเรื่องของการเปลี่ยนแปลงที่นำมาซึ่งแรงตึง เครียด มิติที่สาม แต่อย่างไรก็ตาม การทำความเข้าใจว่ารัฐธรรมนูญเป็นผลรวมของการสะท้อนถึงสัมพันธภาพทางอำนาจใน แต่ละยุคสมัยนั้น แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่พูดกันมากในหมู่นักรัฐศาสตร์ในช่วงยี่สิบกว่าปีนี้ แต่สิ่งที่จะต้องมีความเข้าใจขยายความไปอีก ก็มาจากมุมมองของนักประวัติศาสตร์ที่มองว่า อาจจะมีหลักฐานหรือเอกสารอื่นๆ อีกในแต่ละยุคสมัยที่สะท้อนสัมพันธภาพทางอำนาจ มากกว่าตัวรัฐธรรมนูญเอง ทั้ง นี้ ในทางหนึ่งอาจจะหมายถึง กฎหมายอื่นๆ ที่รัฐธรรมนูญนั้นแตะต้องไม่ได้ในนามของความมั่นคง เช่น มาตรา 112 ในกฎหมายอาญา ที่สามารถข้ามผ่านบทบัญญัติว่าด้วยเสรีภาพที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญได้ หรือ ในทางที่สองอาจหมายถึง "รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม" ที่หมายถึงสิ่งที่ไม่ได้ถูกเขียนเป็นรายลักษณ์อักษร แต่เป็นประเพณี วัฒนธรรมและสถาบันที่ถูกปฏิบัติจริงในทางการเมือง โดยไม่ได้ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนแบบเป็นลายลักษณ์อักษรในเอกสารที่ชื่อว่ารัฐ ธรรมนูญ อาทิ บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ บทบาทของทหาร และการทำรัฐประหารเป็นต้น ประเด็น เหล่านี้อาจจะต่อเนื่องไปถึงแม้กระทั่งเรื่องของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เรา พูดถึงกันช่วงนี้

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...