ปิยบุตร แสงกนกกุล "ศาลกับความยุติธรรมในสังคมไทย”

แสดงความคิดเห็น

ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 17มีนาคม ที่ผ่านมา คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก. 112) และกลุ่มปฏิญญาหน้าศาล กวีราษฎร์ แสงสำนึก กลุ่ม 24 มิถุนา ประชาธิปไตย iLaw และคณะนิติราษฎร์ ร่วมกันจัดงานเสวนา “ศาลกับความยุติธรรมในสังคมไทย” โดยมีผู้ร่วมการเสวนาดังนี้ วาด รวี, สาวตรี สุขศรี, ดร. ปิยบุตร แสงกนกกุล, และนายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ดำเนินรายการโดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติราษฎร์ –

ต้องทำความเข้าใจว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมี 2 ลักษณะ คือ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแบบกษัตริย์นิยมกับแบบประชาธิปไตย ซึ่งถ้าเป็นในแบบแรกสังเกตจากคำพิพากษาจะยึดโยงเอาสถาบันกษัตริย์กับประเด็นเรื่องความมั่นคง มีลักษณะพิเศษเฉพาะ คือ เอาม.112 โยงเข้ากับ ม.8 ว่าด้วยความมั่นคง จนเป็นข้อสรุปว่า ม.112 ไม่ขัดกับหลักความมั่นคง ดังนั้นโทษที่เกินกว่าเหตุจึงชอบแล้ว

ปิยบุตร กล่าวต่อไปว่า เหตุผลของคำวิจนิจฉัยแสดงให้เห็นว่า กษัตริย์มาก่อนสิทธิเสรีภาพและอะไรทั้งหมด การแสดงความสำคัญของกษัตริย์ซึ่งศาลบรรยายไว้ยืดยาว ไม่ใช่ในทางกฎหมายแต่กลับเป็นการยอพระเกียรติ

ซึ่งที่ผ่านมาศาลไทยพยายามโฆษณาตลอดเวลาว่าพยายามคุ้มครองสิทธิเสรีภาพหลายกรณีวินิจฉัยว่า ขัดต่อสิทธิเสรีภาพ เช่น ผู้หญิงที่จดทะเบียนแล้วสามารถใช้นามสกุลตัวเองได้ แต่ในทางตรงกันข้ามสิทธิเสรีภาพที่ศาลใช้เพื่อตีความเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ จะจบลงเมื่อไปเจอกัยกฎหมายที่ใช้คุ้มครองกษัตริย์ บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพเมื่อปะทะกับกฎหมายที่สร้างมาเพื่อประโยชน์ของกษัตริย์เพราะกษัตริย์มาก่อน

หัวสมองของตุลาการแบบกษัตริย์นิยมมีสวิตช์เปิด - ปิด ถ้าเป็นเรื่องกษัตริย์สวิตช์เสรีภาพจะดับลงทันที แล้วสวิตช์ความเป็นกษัตริย์นิยมจะพุ่งขึ้นมาแทน

โดยปิยบุตรได้เปิดความเห็นของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต่อกรณี “ป.กม.อาญา. ม. 112” ทั้ง 9 คน ดังนี้ ซึ่งมักเป็นการให้ความเห็น โดยอ้างสถาบันกษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐในฐานะเป็นที่เคารพสักการะ เป็นหน้าที่ของคนไทยที่ต้องปกป้องไว้ อีกทั้งสถาบันกษัตริย์ยังเกี่ยวโยงกับบทบัญญัติ ม.8 ว่าด้วยความมั่นคงอีกด้วย ฉะนั้นการมีบทลงโทษภายใต้ ม.112 จึงเป็นเรื่องเหมาะสมเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม เป็นไปตามหลักนิติธรรมของกฎหมายเพราะการละเมิดพระมหากษัตริย์ทั้งกายกรรม วจีกรรมล้วนแต่เป็นการกระทำที่ร้ายแรง อีกทั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหลายคนยังให้ความเห็นในเชิงยอพระเกียรติ อีกด้วย เช่น ยกคุณความดีของพระมหากษัตริย์ ผ่านโครงการพระราชดำริต่างๆ การแก้ไขปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วมต่างๆ หรือ ไล่เรียงประวัติศาสตร์ว่าคนไทยผูกพันกับสถาบันกษัตริย์มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี จนมาถึง กรุงเทพฯ

ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งซึ่งปิยบุตรให้ความเห็นว่า “ไม่ใช่เหตุผลทางกฎหมาย แต่เป็นบทอาเศียรวาท”

ตุลาการศาลจึงเป็นตุลาการที่สังกัดกษัตริย์นิยม เสมือนอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ศาลสามารถตัดสินให้คุ้มครองเสรีภาพของบุคคลได้หมด แต่ความสามารถดังกล่าวของศาลกลับอยู่ในสภาวะยกเว้นเมื่อกระทบกับกฎหมายที่ให้ประโยชน์กับสถาบันกษัตริย์

ซึ่งปิยบุตร กล่าวว่า สิ่งเหล่านี้เป็นอุดมการณ์ที่เสมือนอยู่ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งหากตนเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตย จะวินิจฉัยว่า ม. 112 มีผลจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นซึ่งรัฐธรรมนูญรับรอง กฎหมายที่จะจำกัดสิทธิเสรีภาพได้ตามที่รัฐธรรมนูญระบุ ต้องเขียนไปว่า จำกัดเพื่ออะไร และจำกัดให้สมควรแก่เหตุ มาตรา 112 จำกัดสิทธิเสรีภาพเพื่อคุ้มครองเกียรติยศ ชื่อเสียงของบุคคลอื่นเช่นเดียวกับการหมิ่นประมาทบุคคล การจะจำกัดต้องเท่าที่จำเป็นห้ามกระทบกระเทือนต่อหลักเสรีภาพ

และแม้ การจำกัดเสรีภาพ จะบรรลุวัตถุประสงค์เพราะคุ้มครองผู้อื่น แต่เกินความจำเป็น กระทบกระเทือนต่อสาระของเสรีภาพ มีคนต้องติดคุก ซึ่งถือเป็นโทษที่มากจนเกินไปเมื่อเทียบกับการกระทำความผิด เป็นการจำกัดเสรีภาพมากจนเกินไป

ในระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ยังลงโทษน้อยกว่า อัตราโทษปัจจุบันคือ 3-15 ปี แสดงว่าระบอบประชาธิปไตยจำกัดเสรีภาพในการแสดงความเห็นเพื่อคุ้มครองสถาบันกษัตริย์ มากเสียกว่าระบอบเก่าเสียอีก และเกินความจำเป็น

ท้ายที่สุดแล้ว ปิยบุตร กล่าวว่า การวินิจฉัยว่า ม. 112 ขัดหรือไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ขึ้นอยู่กับว่าศาลจะมีความคิดแบบไหน เป็นศาลระบบอะไร ซึ่งถ้าเป็นแบบประชาธิปไตยก็ว่าขัด แบบกษัตริย์นิยมก็ว่าไม่ขัด

สำหรับศาลแบบกษัตริย์นิยม ความสามารถในการวินิจฉัยคดี จะสิ้นสุดลงทันทีจนกลายเป็นไร้ความสามารถ เมื่อเจอกับกฎหมายที่สร้างมาเพื่อสถาบันกษัตรย์ และกฎหมายใดๆ ในราชอาณาจักรไทยมีโอกาสขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญได้เสมอ ยกเว้นกฎหมายที่คุ้มครองสถาบันกษัตริย์จะไม่มีวันขัดรัฐธรรมนูญ

อีกทั้ง ในรัฐธรรมนูญปี 2550 ม. 201 ระบุให้ก่อนทำหน้าที่ผู้พิพากษา ต้องถวายสัตย์ปฏิญญาณจากกษัตริย์ โดยถวายสัตย์ว่าจะจงรักภักดีต่อกษัตริย์และจะปฏิบัติหน้าที่โดยความซื่อตรงเพื่อความยุติธรรมแก่ประชาชน ซึ่งปิยบุตรกล่าวว่า “นี่...อาจเป็นคำตอบของปัญหาทั้งหมด”

จากการที่ตนได้มีส่วนในการเข้าให้การในคดีของสมยศ ตนพบว่าผู้พิพากษาความรู้รอบตัวต่ำมาก – ไม่รู้จัก ประภาส จารุเสถียร อ่าน ป๋วย อึ้งภากรณ์ เรียก ป้วย ผิด

นอกจากนั้น คำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญย้อนแย้งกันเอง ซึ่งถ้ากษัตริย์ดีมาก คนไทยรัก แต่กลับมีความเห็นว่า ม. 112 ยังจำเป็น ซึ่งที่จริงแล้ว ถ้าคนไทยรักมาก ควรจะมองว่าไม่จำเป็นต้องมี ม.112 มากกว่า จากการบังคับใช้กฎหมายม.112 ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่มีคนถูกดำเนินคดีด้วยกฎหมายหมิ่นฯ และมีอัตราโทษสูงสุดในโลก ซึ่งเป็นการยอกย้อนกันเอง

“อานุภาพของกฎหมายไม่สามารถทำให้ใครคนใดคนหนึ่งรักอีกได้ คุกไม่สามารถทำได้ เขียนให้ประหารชีวิต เอาคนอีกเป็นแสนติดคุกก็ไม่มีทางทำได้

ด้วยความปรารถนาดีต่อกัน ถ้าหยุดใช้ มันอาจกลับมาเคารพอยู่ด้วยกันได้ แต่ถ้าใช้ต่อไป นอกจากไม่รักแล้วอาจจะยิ่งบานปลายเตลิดเปิดเปิงไปได้มากกว่านี้” ปิยบุตร กล่าว

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1363541404&grpid=&catid=01&subcatid=0100 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 19/03/2556 เวลา 03:42:46

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 17มีนาคม ที่ผ่านมา คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก. 112) และกลุ่มปฏิญญาหน้าศาล กวีราษฎร์ แสงสำนึก กลุ่ม 24 มิถุนา ประชาธิปไตย iLaw และคณะนิติราษฎร์ ร่วมกันจัดงานเสวนา “ศาลกับความยุติธรรมในสังคมไทย” โดยมีผู้ร่วมการเสวนาดังนี้ วาด รวี, สาวตรี สุขศรี, ดร. ปิยบุตร แสงกนกกุล, และนายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ดำเนินรายการโดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติราษฎร์ – ต้องทำความเข้าใจว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมี 2 ลักษณะ คือ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแบบกษัตริย์นิยมกับแบบประชาธิปไตย ซึ่งถ้าเป็นในแบบแรกสังเกตจากคำพิพากษาจะยึดโยงเอาสถาบันกษัตริย์กับประเด็นเรื่องความมั่นคง มีลักษณะพิเศษเฉพาะ คือ เอาม.112 โยงเข้ากับ ม.8 ว่าด้วยความมั่นคง จนเป็นข้อสรุปว่า ม.112 ไม่ขัดกับหลักความมั่นคง ดังนั้นโทษที่เกินกว่าเหตุจึงชอบแล้ว ปิยบุตร กล่าวต่อไปว่า เหตุผลของคำวิจนิจฉัยแสดงให้เห็นว่า กษัตริย์มาก่อนสิทธิเสรีภาพและอะไรทั้งหมด การแสดงความสำคัญของกษัตริย์ซึ่งศาลบรรยายไว้ยืดยาว ไม่ใช่ในทางกฎหมายแต่กลับเป็นการยอพระเกียรติ ซึ่งที่ผ่านมาศาลไทยพยายามโฆษณาตลอดเวลาว่าพยายามคุ้มครองสิทธิเสรีภาพหลายกรณีวินิจฉัยว่า ขัดต่อสิทธิเสรีภาพ เช่น ผู้หญิงที่จดทะเบียนแล้วสามารถใช้นามสกุลตัวเองได้ แต่ในทางตรงกันข้ามสิทธิเสรีภาพที่ศาลใช้เพื่อตีความเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ จะจบลงเมื่อไปเจอกัยกฎหมายที่ใช้คุ้มครองกษัตริย์ บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพเมื่อปะทะกับกฎหมายที่สร้างมาเพื่อประโยชน์ของกษัตริย์เพราะกษัตริย์มาก่อน หัวสมองของตุลาการแบบกษัตริย์นิยมมีสวิตช์เปิด - ปิด ถ้าเป็นเรื่องกษัตริย์สวิตช์เสรีภาพจะดับลงทันที แล้วสวิตช์ความเป็นกษัตริย์นิยมจะพุ่งขึ้นมาแทน โดยปิยบุตรได้เปิดความเห็นของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต่อกรณี “ป.กม.อาญา. ม. 112” ทั้ง 9 คน ดังนี้ ซึ่งมักเป็นการให้ความเห็น โดยอ้างสถาบันกษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐในฐานะเป็นที่เคารพสักการะ เป็นหน้าที่ของคนไทยที่ต้องปกป้องไว้ อีกทั้งสถาบันกษัตริย์ยังเกี่ยวโยงกับบทบัญญัติ ม.8 ว่าด้วยความมั่นคงอีกด้วย ฉะนั้นการมีบทลงโทษภายใต้ ม.112 จึงเป็นเรื่องเหมาะสมเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม เป็นไปตามหลักนิติธรรมของกฎหมายเพราะการละเมิดพระมหากษัตริย์ทั้งกายกรรม วจีกรรมล้วนแต่เป็นการกระทำที่ร้ายแรง อีกทั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหลายคนยังให้ความเห็นในเชิงยอพระเกียรติ อีกด้วย เช่น ยกคุณความดีของพระมหากษัตริย์ ผ่านโครงการพระราชดำริต่างๆ การแก้ไขปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วมต่างๆ หรือ ไล่เรียงประวัติศาสตร์ว่าคนไทยผูกพันกับสถาบันกษัตริย์มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี จนมาถึง กรุงเทพฯ ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งซึ่งปิยบุตรให้ความเห็นว่า “ไม่ใช่เหตุผลทางกฎหมาย แต่เป็นบทอาเศียรวาท” ตุลาการศาลจึงเป็นตุลาการที่สังกัดกษัตริย์นิยม เสมือนอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ศาลสามารถตัดสินให้คุ้มครองเสรีภาพของบุคคลได้หมด แต่ความสามารถดังกล่าวของศาลกลับอยู่ในสภาวะยกเว้นเมื่อกระทบกับกฎหมายที่ให้ประโยชน์กับสถาบันกษัตริย์ ซึ่งปิยบุตร กล่าวว่า สิ่งเหล่านี้เป็นอุดมการณ์ที่เสมือนอยู่ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งหากตนเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตย จะวินิจฉัยว่า ม. 112 มีผลจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นซึ่งรัฐธรรมนูญรับรอง กฎหมายที่จะจำกัดสิทธิเสรีภาพได้ตามที่รัฐธรรมนูญระบุ ต้องเขียนไปว่า จำกัดเพื่ออะไร และจำกัดให้สมควรแก่เหตุ มาตรา 112 จำกัดสิทธิเสรีภาพเพื่อคุ้มครองเกียรติยศ ชื่อเสียงของบุคคลอื่นเช่นเดียวกับการหมิ่นประมาทบุคคล การจะจำกัดต้องเท่าที่จำเป็นห้ามกระทบกระเทือนต่อหลักเสรีภาพ และแม้ การจำกัดเสรีภาพ จะบรรลุวัตถุประสงค์เพราะคุ้มครองผู้อื่น แต่เกินความจำเป็น กระทบกระเทือนต่อสาระของเสรีภาพ มีคนต้องติดคุก ซึ่งถือเป็นโทษที่มากจนเกินไปเมื่อเทียบกับการกระทำความผิด เป็นการจำกัดเสรีภาพมากจนเกินไป ในระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ยังลงโทษน้อยกว่า อัตราโทษปัจจุบันคือ 3-15 ปี แสดงว่าระบอบประชาธิปไตยจำกัดเสรีภาพในการแสดงความเห็นเพื่อคุ้มครองสถาบันกษัตริย์ มากเสียกว่าระบอบเก่าเสียอีก และเกินความจำเป็น ท้ายที่สุดแล้ว ปิยบุตร กล่าวว่า การวินิจฉัยว่า ม. 112 ขัดหรือไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ขึ้นอยู่กับว่าศาลจะมีความคิดแบบไหน เป็นศาลระบบอะไร ซึ่งถ้าเป็นแบบประชาธิปไตยก็ว่าขัด แบบกษัตริย์นิยมก็ว่าไม่ขัด สำหรับศาลแบบกษัตริย์นิยม ความสามารถในการวินิจฉัยคดี จะสิ้นสุดลงทันทีจนกลายเป็นไร้ความสามารถ เมื่อเจอกับกฎหมายที่สร้างมาเพื่อสถาบันกษัตรย์ และกฎหมายใดๆ ในราชอาณาจักรไทยมีโอกาสขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญได้เสมอ ยกเว้นกฎหมายที่คุ้มครองสถาบันกษัตริย์จะไม่มีวันขัดรัฐธรรมนูญ อีกทั้ง ในรัฐธรรมนูญปี 2550 ม. 201 ระบุให้ก่อนทำหน้าที่ผู้พิพากษา ต้องถวายสัตย์ปฏิญญาณจากกษัตริย์ โดยถวายสัตย์ว่าจะจงรักภักดีต่อกษัตริย์และจะปฏิบัติหน้าที่โดยความซื่อตรงเพื่อความยุติธรรมแก่ประชาชน ซึ่งปิยบุตรกล่าวว่า “นี่...อาจเป็นคำตอบของปัญหาทั้งหมด” จากการที่ตนได้มีส่วนในการเข้าให้การในคดีของสมยศ ตนพบว่าผู้พิพากษาความรู้รอบตัวต่ำมาก – ไม่รู้จัก ประภาส จารุเสถียร อ่าน ป๋วย อึ้งภากรณ์ เรียก ป้วย ผิด นอกจากนั้น คำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญย้อนแย้งกันเอง ซึ่งถ้ากษัตริย์ดีมาก คนไทยรัก แต่กลับมีความเห็นว่า ม. 112 ยังจำเป็น ซึ่งที่จริงแล้ว ถ้าคนไทยรักมาก ควรจะมองว่าไม่จำเป็นต้องมี ม.112 มากกว่า จากการบังคับใช้กฎหมายม.112 ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่มีคนถูกดำเนินคดีด้วยกฎหมายหมิ่นฯ และมีอัตราโทษสูงสุดในโลก ซึ่งเป็นการยอกย้อนกันเอง “อานุภาพของกฎหมายไม่สามารถทำให้ใครคนใดคนหนึ่งรักอีกได้ คุกไม่สามารถทำได้ เขียนให้ประหารชีวิต เอาคนอีกเป็นแสนติดคุกก็ไม่มีทางทำได้ ด้วยความปรารถนาดีต่อกัน ถ้าหยุดใช้ มันอาจกลับมาเคารพอยู่ด้วยกันได้ แต่ถ้าใช้ต่อไป นอกจากไม่รักแล้วอาจจะยิ่งบานปลายเตลิดเปิดเปิงไปได้มากกว่านี้” ปิยบุตร กล่าว ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1363541404&grpid=&catid=01&subcatid=0100

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...