'สุเทพ'ปัดแทรกแซงข้าราชการ
'สุเทพ' แจงที่ประชุมวุฒิสภา ปัดแทรกแซงขรก. ยันเจตนาบริสุทธิ์ อ้างไม่รู้ขัดกม. นัดลงมติถอดถอน 18 ก.ย.นี้
7 ก.ย.55 ผู้สื่าอข่าวรายงานว่ามีการประชุมวุฒิสภานัดพิเศษ เพื่อดำเนินกระบวนการถอดถอนนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ออกจากตำแหน่ง ตามรัฐธรรมนูญ 273 จากกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ชี้มูลความผิดฐานใช้อำนาจแทรกแซงการทำงานของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม โดยการประชุมดังกล่าว ถือเป็นนัดที่ 2 ทั้งนี้ได้กำหนดให้ ปปช. แถลงเปิดสำนวนตามรายงานและความเห็นของ ปปช. ซึ่ง ปปช.ได้ส่ง นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ปปช. เป็นตัวแทน และเป็นการแถลงคัดค้านโต้แย้งคำแถลงเปิดสำนวนหรือรายงานของ ปปช. ของผู้ถูกกล่าวหา คือ นายสุเทพ
โดยนายกล้านรงค์ แถลงเปิดสำนวนด้วยวาจาต่อวุฒิสภา ว่า การทำหนังสือของนายสุเทพ ถึงกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อให้รับบุคคลจำนวน 19 คนเข้าไปช่วยราชการที่กระทรวงวัฒนธรรม ตามการไต่สวนของ ปปช. ถือว่าเป็นการแทรกแซง ก้าวก่ายการทำหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ในชั้นการไต่สวนของ ปปช. นายสุเทพ ได้แก้ข้อกล่าวหามา 10 ประเด็น อาทิ เหตุแห่งการร้องถอดถอนนั้นไม่สามารถพิจารณาได้ เนื่องจากได้พ้นตำแหน่ง รองนายกฯแล้ว , การตั้งกรรมการ ปปช. เพื่อไต่สวนข้อเท็จจริง ถือเป็นการขัดหลักนิติธรรม และมาตรา 3 แห่งรัฐธรรมนูญ ท้ายสุดแล้ว กรรมการ ปปช. พิจารณาแล้วเห็นว่ารับฟังไม่ขึ้น และได้มีมติ 8 ต่อ 1 ว่านายสุเทพได้กระทำความผิด แต่เป็นความผิดส่อจงใจใช้อำนาจหน้าที่ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้การวินิจฉัยคดีดังกล่าว ไมได้มีอคติ ไม่มีฝ่าย ไม่มีสี และพิจารณาความผิด ความถูกไปตามพยานหลักฐาน และไม่ได้อยู่ใต้การกดดันใดๆ
นายกล้านรงค์ แถลงต่อวุฒิสภาอีกว่า กรณีที่ผู้ถูกกล่าวหานำคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 17/2555 ที่สั่งยกคำร้องกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นให้วินิจฉัยสมาชิกภาพของส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่ไปช่วยเหลือในศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) โดยคำวินิจฉัยระบุว่าเป็นการเข้าไปช่วยงานดังกล่าวถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อช่วยเหลือในช่วงที่เกิดมหาอุทกภัย จึงทำได้ แต่ส่ง ส.ส. ไปช่วยงานในกระทรวงวัฒนธรรมนั้น ตนเห็นว่าเรื่อนี้เป็นเรื่องไม่เกี่ยวข้องกัน
ด้านนายสุเทพ แถลงคัดค้านข้อกล่าวหาของ ปปช. ยืนยันว่าไม่มีเจตนาที่จะทำผิดต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้การส่งหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ไม่ใช่เป็นการส่งบุคคลเข้าไปทำงาน แต่เป็นการแจ้งความประสงค์ของส.ส. และบุคคลที่จะอาสาเข้าไปทำงาน เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าว กระทรวงวัฒนธรรมเป็นกระทรวงใหม่ และประชาชนจำนวนมากไม่เข้าใจในการทำหน้าที่ อีกทั้งกระทรวงวัฒนธรรมต้องรับผิดชอบงานส่งผู้นับถือศาสนาอิสลามไปแสวงบุญ หรือประกอบพิธีฮัจญ์ โดยที่ผ่านมามีปัญหาอย่างมาก ดังนั้นการส่งส.ส. ซึ่งเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม และมีความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวเข้าไปช่วยงานเพื่อลดความเดือดร้อนของประชาชน และให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์กับรัฐมตรี
“หนังสือที่ผมได้ทำ ไม่มีอะไรเป็นผลประโยชน์ส่วนตัว และผลของหนังสือไม่ได้ทำให้รัฐ หรือสาธารณะเสียประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด ที่ผมทำไป เพราะเชื่อว่าไม่เป็นความผิด แต่เมื่อมีคนทักท้วงก็ไม่ได้ดึงดัน และถอนเรื่องทันที นอกจากนั้นแล้วขอบเขตหน้าที่ รองนายกฯ ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลกระทรวงวัฒนธรรม รองนายกฯ ต้องมีการหารือกับรัฐมนตรีประจำกระทรวงในเรื่องที่ทำให้งานกระทรวงเดินไปด้วยดี หากการมีบันทึกหารือระหว่างกัน กลายเป็นประเด็นที่จะมีปัญหา ผมเกรงว่าแม้ในปัจจุบันถ้ารองนายกฯ ในรัฐบาลปัจจุบันที่รับผิดชอบปัญหาความมั่นคงของบ้านเมือง แล้วมีหนังสือเชิญ ส.ส. ภาคใต้เพื่อมาหารือแนวทางแก้ไขปัญหาสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายภาคใต้ ก็จะเป็นกลายเป็นปัญหา หรือในกรณีที่มีสาธารณภัยอย่างที่เกิดขึ้นจะเป็นปัญหาเช่นเดียวกัน และผมเชื่ออีกว่าน่าจะปฏิบัติได้ถ้าหากการอาสาช่วยราชการไม่ไปรับตำแหน่ง ผลประโยชน์ ไม่ก้าวก่ายแทรกแซงการตัดสินใจใดๆ ของข้าราชการประจำ” นายสุเทพ ชี้แจง
นายสุเทพ ยังได้นำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ใน 2 ประเด็นมาชี้แจงต่อที่ประชุมวุฒิสภา โดย 1.กรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 7/2553 ที่มีผู้ร้องเรียนนายกษิต ภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งในคำวินิจฉัยดังกล่าว ได้วางหลักการไว้ว่า การก้าวก่าย หรือแทรกแซงเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อการตัดสินใจของผู้ปฏิบัติการ หรือ ข้าราชการ ถูกกระทบจากอำนาจของฝ่ายการเมือง ให้กระทำการที่ไม่เป็นกลางในอำนาจหน้าที่ โดยกรณีของตนที่ได้ทำหนังสือไม่มีอะไรที่กระทบต่อการตัดสินใจของข้าราชการกระทวงวัฒนธรรม อีกทั้งตนไม่มีเจตนาพิเศษ และไม่มีเถยจิตเป็นโจร และ 2.คำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 17/2555 เมื่อ 20 เม.ย. 55 วินิจฉัยยกคำร้องกรณีที่พล.ต.อ.ประชา พรหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะ ผู้อำนวยการ ศปภ. ตั้ง ส.ส.ไปช่วยราชการ โดยในคำสั่งดังกล่าวได้ระบุถึงอำนาจของส.ส. ว่าต้องสะท้อนปัญหาประชาชน เพื่อให้ฝ่ายบริหารรับทราบให้ความร่วมมือกับฝ่ายบริหารในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
ส่วนผลของการดำเนินการในสถานะของ ส.ส. จะมีผลกระทบต่อความนิยมชมชอบ และคะแนนเสียงของประชาชน หรือไม่อย่างย่อมเป็นผลธรรมดาตามบทบาทหน้าที่อันเป็นปกติ ซึ่งตนคิดว่าคำวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว ได้วางหลักเกณฑ์การตีความ มาตรา 266 (1) ว่ามีเจตนารมย์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแต่รัฐหรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาที่เรียกว่าผลประโยชน์ขัดกัน อันจะมีผลต่อการตัดสินใจต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่างประโยชน์ส่วนตัวกับประโยชน์สาธารณะ เมื่อผู้ดำรงตำแหน่งคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตัวของตนมากว่าประโยชน์สาธารณะ การขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัว กับการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่จึงขัดกันในลักษณะที่เป็นผลประโยชน์ส่วนตัวได้มาจากการเสียไปของประโยชน์สาธารณะ
หลังจากการแถลงเปิดของนายกล้านรงค์ และ แถลงคัดค้านคดีของนายสุเทพ ที่ประชุมวุฒิสภา ได้มีการประชุมลับ เพื่อคัดเลือกกรรมการซักถาม ซึ่งผลการประชุมดังกล่าว นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ซึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม แจ้งว่าจะมีการซักถามใน 6 ประเด็น โดยกรรมการจำนวน 8 คน อาทิ นายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร , นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา , นายวันชัย สอนศิริ ส.ว.สรรหา ทั้งนี้ขอให้กรรมการชุดดังกล่าวมีการประชุมเพื่อกำหนดและจัดกลุ่มของคำถามในวันนี้ (7 ก.ย.) จากนั้นที่ประชุมจะมีการนัดประชุม ครั้งที่ 3 เพื่อให้กรรมการได้มีการซักถามผู้ร้องและผู้ถูกต้อง และเมื่อมีการซักถามแล้วเสร็จ จะมีการนัดให้ ปปช. และนายสุเทพ แถลงปิดคดีด้วยวาจา หากมีการยื่นแถลงปิดคดีด้วยวาจา จะนัดประชุมอีกครั้งวันที่ 17 ก.ย. แต่หากทั้ง 2 ฝ่ายยื่นคำแถลงปิดคดีเป็นหนังสือจะไม่มีการประชุมในวันดังกล่าว และจากนั้นจะนัดให้มีการลงมติว่าจะถอดถอนนายสุเทพหรือไม่ ในวันที่ 18 ก.ย.นี้
ยังไม่มีเรตติ้ง
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
'สุเทพ' แจงที่ประชุมวุฒิสภา ปัดแทรกแซงขรก. ยันเจตนาบริสุทธิ์ อ้างไม่รู้ขัดกม. นัดลงมติถอดถอน 18 ก.ย.นี้ 7 ก.ย.55 ผู้สื่าอข่าวรายงานว่ามีการประชุมวุฒิสภานัดพิเศษ เพื่อดำเนินกระบวนการถอดถอนนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ออกจากตำแหน่ง ตามรัฐธรรมนูญ 273 จากกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ชี้มูลความผิดฐานใช้อำนาจแทรกแซงการทำงานของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม โดยการประชุมดังกล่าว ถือเป็นนัดที่ 2 ทั้งนี้ได้กำหนดให้ ปปช. แถลงเปิดสำนวนตามรายงานและความเห็นของ ปปช. ซึ่ง ปปช.ได้ส่ง นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ปปช. เป็นตัวแทน และเป็นการแถลงคัดค้านโต้แย้งคำแถลงเปิดสำนวนหรือรายงานของ ปปช. ของผู้ถูกกล่าวหา คือ นายสุเทพ โดยนายกล้านรงค์ แถลงเปิดสำนวนด้วยวาจาต่อวุฒิสภา ว่า การทำหนังสือของนายสุเทพ ถึงกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อให้รับบุคคลจำนวน 19 คนเข้าไปช่วยราชการที่กระทรวงวัฒนธรรม ตามการไต่สวนของ ปปช. ถือว่าเป็นการแทรกแซง ก้าวก่ายการทำหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ในชั้นการไต่สวนของ ปปช. นายสุเทพ ได้แก้ข้อกล่าวหามา 10 ประเด็น อาทิ เหตุแห่งการร้องถอดถอนนั้นไม่สามารถพิจารณาได้ เนื่องจากได้พ้นตำแหน่ง รองนายกฯแล้ว , การตั้งกรรมการ ปปช. เพื่อไต่สวนข้อเท็จจริง ถือเป็นการขัดหลักนิติธรรม และมาตรา 3 แห่งรัฐธรรมนูญ ท้ายสุดแล้ว กรรมการ ปปช. พิจารณาแล้วเห็นว่ารับฟังไม่ขึ้น และได้มีมติ 8 ต่อ 1 ว่านายสุเทพได้กระทำความผิด แต่เป็นความผิดส่อจงใจใช้อำนาจหน้าที่ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้การวินิจฉัยคดีดังกล่าว ไมได้มีอคติ ไม่มีฝ่าย ไม่มีสี และพิจารณาความผิด ความถูกไปตามพยานหลักฐาน และไม่ได้อยู่ใต้การกดดันใดๆ นายกล้านรงค์ แถลงต่อวุฒิสภาอีกว่า กรณีที่ผู้ถูกกล่าวหานำคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 17/2555 ที่สั่งยกคำร้องกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นให้วินิจฉัยสมาชิกภาพของส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่ไปช่วยเหลือในศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) โดยคำวินิจฉัยระบุว่าเป็นการเข้าไปช่วยงานดังกล่าวถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อช่วยเหลือในช่วงที่เกิดมหาอุทกภัย จึงทำได้ แต่ส่ง ส.ส. ไปช่วยงานในกระทรวงวัฒนธรรมนั้น ตนเห็นว่าเรื่อนี้เป็นเรื่องไม่เกี่ยวข้องกัน ด้านนายสุเทพ แถลงคัดค้านข้อกล่าวหาของ ปปช. ยืนยันว่าไม่มีเจตนาที่จะทำผิดต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้การส่งหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ไม่ใช่เป็นการส่งบุคคลเข้าไปทำงาน แต่เป็นการแจ้งความประสงค์ของส.ส. และบุคคลที่จะอาสาเข้าไปทำงาน เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าว กระทรวงวัฒนธรรมเป็นกระทรวงใหม่ และประชาชนจำนวนมากไม่เข้าใจในการทำหน้าที่ อีกทั้งกระทรวงวัฒนธรรมต้องรับผิดชอบงานส่งผู้นับถือศาสนาอิสลามไปแสวงบุญ หรือประกอบพิธีฮัจญ์ โดยที่ผ่านมามีปัญหาอย่างมาก ดังนั้นการส่งส.ส. ซึ่งเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม และมีความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวเข้าไปช่วยงานเพื่อลดความเดือดร้อนของประชาชน และให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์กับรัฐมตรี “หนังสือที่ผมได้ทำ ไม่มีอะไรเป็นผลประโยชน์ส่วนตัว และผลของหนังสือไม่ได้ทำให้รัฐ หรือสาธารณะเสียประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด ที่ผมทำไป เพราะเชื่อว่าไม่เป็นความผิด แต่เมื่อมีคนทักท้วงก็ไม่ได้ดึงดัน และถอนเรื่องทันที นอกจากนั้นแล้วขอบเขตหน้าที่ รองนายกฯ ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลกระทรวงวัฒนธรรม รองนายกฯ ต้องมีการหารือกับรัฐมนตรีประจำกระทรวงในเรื่องที่ทำให้งานกระทรวงเดินไปด้วยดี หากการมีบันทึกหารือระหว่างกัน กลายเป็นประเด็นที่จะมีปัญหา ผมเกรงว่าแม้ในปัจจุบันถ้ารองนายกฯ ในรัฐบาลปัจจุบันที่รับผิดชอบปัญหาความมั่นคงของบ้านเมือง แล้วมีหนังสือเชิญ ส.ส. ภาคใต้เพื่อมาหารือแนวทางแก้ไขปัญหาสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายภาคใต้ ก็จะเป็นกลายเป็นปัญหา หรือในกรณีที่มีสาธารณภัยอย่างที่เกิดขึ้นจะเป็นปัญหาเช่นเดียวกัน และผมเชื่ออีกว่าน่าจะปฏิบัติได้ถ้าหากการอาสาช่วยราชการไม่ไปรับตำแหน่ง ผลประโยชน์ ไม่ก้าวก่ายแทรกแซงการตัดสินใจใดๆ ของข้าราชการประจำ” นายสุเทพ ชี้แจง นายสุเทพ ยังได้นำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ใน 2 ประเด็นมาชี้แจงต่อที่ประชุมวุฒิสภา โดย 1.กรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 7/2553 ที่มีผู้ร้องเรียนนายกษิต ภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งในคำวินิจฉัยดังกล่าว ได้วางหลักการไว้ว่า การก้าวก่าย หรือแทรกแซงเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อการตัดสินใจของผู้ปฏิบัติการ หรือ ข้าราชการ ถูกกระทบจากอำนาจของฝ่ายการเมือง ให้กระทำการที่ไม่เป็นกลางในอำนาจหน้าที่ โดยกรณีของตนที่ได้ทำหนังสือไม่มีอะไรที่กระทบต่อการตัดสินใจของข้าราชการกระทวงวัฒนธรรม อีกทั้งตนไม่มีเจตนาพิเศษ และไม่มีเถยจิตเป็นโจร และ 2.คำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 17/2555 เมื่อ 20 เม.ย. 55 วินิจฉัยยกคำร้องกรณีที่พล.ต.อ.ประชา พรหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะ ผู้อำนวยการ ศปภ. ตั้ง ส.ส.ไปช่วยราชการ โดยในคำสั่งดังกล่าวได้ระบุถึงอำนาจของส.ส. ว่าต้องสะท้อนปัญหาประชาชน เพื่อให้ฝ่ายบริหารรับทราบให้ความร่วมมือกับฝ่ายบริหารในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ส่วนผลของการดำเนินการในสถานะของ ส.ส. จะมีผลกระทบต่อความนิยมชมชอบ และคะแนนเสียงของประชาชน หรือไม่อย่างย่อมเป็นผลธรรมดาตามบทบาทหน้าที่อันเป็นปกติ ซึ่งตนคิดว่าคำวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว ได้วางหลักเกณฑ์การตีความ มาตรา 266 (1) ว่ามีเจตนารมย์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแต่รัฐหรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาที่เรียกว่าผลประโยชน์ขัดกัน อันจะมีผลต่อการตัดสินใจต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่างประโยชน์ส่วนตัวกับประโยชน์สาธารณะ เมื่อผู้ดำรงตำแหน่งคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตัวของตนมากว่าประโยชน์สาธารณะ การขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัว กับการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่จึงขัดกันในลักษณะที่เป็นผลประโยชน์ส่วนตัวได้มาจากการเสียไปของประโยชน์สาธารณะ หลังจากการแถลงเปิดของนายกล้านรงค์ และ แถลงคัดค้านคดีของนายสุเทพ ที่ประชุมวุฒิสภา ได้มีการประชุมลับ เพื่อคัดเลือกกรรมการซักถาม ซึ่งผลการประชุมดังกล่าว นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ซึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม แจ้งว่าจะมีการซักถามใน 6 ประเด็น โดยกรรมการจำนวน 8 คน อาทิ นายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร , นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา , นายวันชัย สอนศิริ ส.ว.สรรหา ทั้งนี้ขอให้กรรมการชุดดังกล่าวมีการประชุมเพื่อกำหนดและจัดกลุ่มของคำถามในวันนี้ (7 ก.ย.) จากนั้นที่ประชุมจะมีการนัดประชุม ครั้งที่ 3 เพื่อให้กรรมการได้มีการซักถามผู้ร้องและผู้ถูกต้อง และเมื่อมีการซักถามแล้วเสร็จ จะมีการนัดให้ ปปช. และนายสุเทพ แถลงปิดคดีด้วยวาจา หากมีการยื่นแถลงปิดคดีด้วยวาจา จะนัดประชุมอีกครั้งวันที่ 17 ก.ย. แต่หากทั้ง 2 ฝ่ายยื่นคำแถลงปิดคดีเป็นหนังสือจะไม่มีการประชุมในวันดังกล่าว และจากนั้นจะนัดให้มีการลงมติว่าจะถอดถอนนายสุเทพหรือไม่ ในวันที่ 18
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)