ศาลรธน.ชี้แก้ไข ม.190 ผิดรัฐธรรมนูญ

แสดงความคิดเห็น

ศาลรัฐธรรมนูญ

เป็นข้อยุติที่เปรียบเสมือนหมัดน็อกที่ทำให้ 383 สมาชิกรัฐสภาต้องหงายหลังล้มครืนอีกครั้ง หลังจาก นายวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความกรณีประธานรัฐสภา และรองประธานรัฐสภา พร้อมด้วยสมาชิกรัฐสภาจำนวน 381 คน ดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ว่า เป็นการกระทำที่ละเมิดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ล่าสุด คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากในเรื่องดังกล่าวแล้ว

ตุลาการชี้แก้ม.190 ขัดรธน.

เมื่อเวลา 16.30 น. วันที่ 8 มกราคม คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยคำร้องที่นายวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภาและสมาชิกรัฐสภา รวม 383 คน ที่ร่วมกันดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ที่จำกัดอำนาจรัฐสภาในการให้ความเห็นชอบการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศของ ฝ่ายบริหาร เข้าข่ายเป็นการกระทำที่ล้มล้างการปกครองและกระทำการให้ได้มาซึ่งอำนาจในการ ปกครอง โดยวิถีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่

นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ตุลาการรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ศาลตุลาการรัฐธรรมนูญ แบ่งการพิจารณาออกเป็น 2 ประเด็น คือ กระบวนการร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือไม่ และการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือไม่ เข้าข่ายมาตรา 68 หรือไม่ โดยประเด็นที่ 1.กระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ตามคำร้องที่ร้องกรณีการปิดอภิปรายร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการกำหนดวันแปร ญัตติไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนั้น ศาลวิเคราะห์ว่า สมาชิกรัฐสภาต้องคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญไม่ใช่มุ่งแก้ให้ รัฐบาลสามารถบริหารจัดการด้วยความสะดวกราบรื่น โดยไม่เปิดให้สมาชิกรัฐสภาได้ความเห็นที่หลากหลาย ซึ่งเสียงข้างมากต้องรับฟังเสียงข้างน้อย หากเสียงข้างมากอาศัยความได้เปรียบเสียงข้างมากเอาเปรียบข้างน้อย ไม่เคารพความเห็นย่อมเป็นเผด็จรูปแบบหนึ่ง เป็นเผด็จการเสียงข้างมาก เผด็จการรัฐสภา ทำลายความชอบธรรมกระบวนการนิติบัญญัติ

ลิดรอนอำนาจรวบรัดอภิปราย

"การอภิปรายร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ในวาระที่ 1 ถือเป็นการอภิปรายแสดงความเห็นเป็นสิทธิ์ขั้นพื้นฐานของสมาชิกรัฐสภาที่รัฐ ธรรมนูญบัญญัติไว้ ความเห็นของสมาชิกรัฐสภา มีผลโน้มน้าวการตัดสินใจลงมติกฎหมายนั้น โดยเฉพาะในวาระที่ 1 มีผลให้ร่างแก้ไขเพิ่มเติมนั้นได้รับการพิจารณาต่อ หรือตกไป แม้เสียงข้างมากจะมีสิทธิ์ลงมติปิดการอภิปราย แต่การใช้ดุลพินิจและเสียงข้างมากต้องไม่ตัดสิทธิ์ฝ่ายข้างน้อย ที่ชี้แจงว่า การอภิปรายในวาระที่ 1 วนเวียนซ้ำประเด็นนั้น ศาลเห็นว่า ผู้ถูกร้องแจ้งที่ประชุมว่า จะใช้เวลาอภิปราย 38 ชั่วโมง แต่ใช้เวลายังไม่ถึงเวลาที่กำหนดไว้ อีกทั้งผู้ที่ยังไม่ได้อภิปรายเป็นสมาชิกเสียงข้างน้อย คำชี้แจงจึงรับฟังไม่ขึ้น ดังนั้น ศาลเห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ถือเป็นการรวบรัดการอภิปรายเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ เอื้อประโยชน์กับฝ่ายเสียงข้างมาก การปิดอภิปรายจึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 3 วรรคสอง และมาตรา 125 วรรคแรก" นายทวีเกียรติ

เอื้อประโยชน์เสียงข้างมาก

ด้าน นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า มาตรา 190 ร่างขึ้นมาเพื่อให้เกิดความโปร่งใสตรวจสอบได้ ให้ฝ่ายบริหารแถลงเหตุผลให้สาธารณชนรับทราบ และความเห็นจากรัฐสภาที่จะให้ความเห็นในหลายแง่มุม ด้วยการนำเสนอแลกเปลี่ยนความเห็นกันเพื่อนำสู่การสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศ ชาติอย่างแท้จริง ทั้งนี้ที่ผ่านมาเกิดกรณีแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ทำให้เสียหายแก่ประเทศโดยรวมด้วย การแก้ไขเพิ่มเติมคำว่า “โดยชัดแจ้ง” ต่อท้ายหนังสือสัญญา เป็นการลิดรอนอำนาจในการตรวจสอบรัฐสภา ที่เป็นองค์กรใช้อำนาจนิติบัญญัติ และเพิ่มอำนาจคณะรัฐมนตรีมากขึ้น การกระทำดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อการดุล คานอำนาจ ก่อให้เกิดอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดกับฝ่ายบริหาร

นายจรัญ กล่าวย่ำว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอาศัยอำนาจการวินิจฉัยเสียงข้างมากเห็นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญของผู้ถูกร้อง ทั้งหมดเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกระบวนการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคหนึ่ง มาตรา 125 วรรคหนึ่ง ส่วนเนื้อหาเป็นการกระทำ ที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 3, 4, 5, 87 และ มาตรา 122 และเป็นการกระทำที่ให้บุคคลได้มาซึ่งอำนาจโดยวิถีทางที่ไม่ได้เป็นไปตามรัฐ ธรรมนูญ ถือเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคหนึ่ง

"วิรัช"ลั่น15วันยื่นป.ป.ช.ฟัน

ด้านนายวิรัช ในฐานะผู้ร้องกล่าวภายหลังที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัย การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคหนึ่ง จนทำให้กฎหมายตกไปว่า จากนี้ไป 15 วัน ผู้ร้องหรือผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง จำนวน 20,000 คน จะนำคำตัดสินดังกล่าวไปยืนต่อ ป.ป.ช. เพื่อให้ ป.ป.ช. พิจารณาแจ้งข้อกล่าวหาต่อผู้ถูกร้อง จากนั้น ป.ป.ช.จะพิจารณา โดยชี้ว่า ผิดจะมีคำตัดสิน 2 ทาง คือ การถอดถอนก็จะยื่นเรื่องไป วุฒิสภา ส่วนคดีอาญายื่นไปที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อดำเนินการต่อไป

ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20140108/176396.html (ขนาดไฟล์: 167)

(บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ม.ค.57)

ที่มา: บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 9/01/2557 เวลา 04:58:41 ดูภาพสไลด์โชว์ ศาลรธน.ชี้แก้ไข ม.190 ผิดรัฐธรรมนูญ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นข้อยุติที่เปรียบเสมือนหมัดน็อกที่ทำให้ 383 สมาชิกรัฐสภาต้องหงายหลังล้มครืนอีกครั้ง หลังจาก นายวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความกรณีประธานรัฐสภา และรองประธานรัฐสภา พร้อมด้วยสมาชิกรัฐสภาจำนวน 381 คน ดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ว่า เป็นการกระทำที่ละเมิดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ล่าสุด คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากในเรื่องดังกล่าวแล้ว ตุลาการชี้แก้ม.190 ขัดรธน. เมื่อเวลา 16.30 น. วันที่ 8 มกราคม คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยคำร้องที่นายวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภาและสมาชิกรัฐสภา รวม 383 คน ที่ร่วมกันดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ที่จำกัดอำนาจรัฐสภาในการให้ความเห็นชอบการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศของ ฝ่ายบริหาร เข้าข่ายเป็นการกระทำที่ล้มล้างการปกครองและกระทำการให้ได้มาซึ่งอำนาจในการ ปกครอง โดยวิถีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่ นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ตุลาการรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ศาลตุลาการรัฐธรรมนูญ แบ่งการพิจารณาออกเป็น 2 ประเด็น คือ กระบวนการร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือไม่ และการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือไม่ เข้าข่ายมาตรา 68 หรือไม่ โดยประเด็นที่ 1.กระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ตามคำร้องที่ร้องกรณีการปิดอภิปรายร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการกำหนดวันแปร ญัตติไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนั้น ศาลวิเคราะห์ว่า สมาชิกรัฐสภาต้องคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญไม่ใช่มุ่งแก้ให้ รัฐบาลสามารถบริหารจัดการด้วยความสะดวกราบรื่น โดยไม่เปิดให้สมาชิกรัฐสภาได้ความเห็นที่หลากหลาย ซึ่งเสียงข้างมากต้องรับฟังเสียงข้างน้อย หากเสียงข้างมากอาศัยความได้เปรียบเสียงข้างมากเอาเปรียบข้างน้อย ไม่เคารพความเห็นย่อมเป็นเผด็จรูปแบบหนึ่ง เป็นเผด็จการเสียงข้างมาก เผด็จการรัฐสภา ทำลายความชอบธรรมกระบวนการนิติบัญญัติ ลิดรอนอำนาจรวบรัดอภิปราย "การอภิปรายร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ในวาระที่ 1 ถือเป็นการอภิปรายแสดงความเห็นเป็นสิทธิ์ขั้นพื้นฐานของสมาชิกรัฐสภาที่รัฐ ธรรมนูญบัญญัติไว้ ความเห็นของสมาชิกรัฐสภา มีผลโน้มน้าวการตัดสินใจลงมติกฎหมายนั้น โดยเฉพาะในวาระที่ 1 มีผลให้ร่างแก้ไขเพิ่มเติมนั้นได้รับการพิจารณาต่อ หรือตกไป แม้เสียงข้างมากจะมีสิทธิ์ลงมติปิดการอภิปราย แต่การใช้ดุลพินิจและเสียงข้างมากต้องไม่ตัดสิทธิ์ฝ่ายข้างน้อย ที่ชี้แจงว่า การอภิปรายในวาระที่ 1 วนเวียนซ้ำประเด็นนั้น ศาลเห็นว่า ผู้ถูกร้องแจ้งที่ประชุมว่า จะใช้เวลาอภิปราย 38 ชั่วโมง แต่ใช้เวลายังไม่ถึงเวลาที่กำหนดไว้ อีกทั้งผู้ที่ยังไม่ได้อภิปรายเป็นสมาชิกเสียงข้างน้อย คำชี้แจงจึงรับฟังไม่ขึ้น ดังนั้น ศาลเห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ถือเป็นการรวบรัดการอภิปรายเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ เอื้อประโยชน์กับฝ่ายเสียงข้างมาก การปิดอภิปรายจึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 3 วรรคสอง และมาตรา 125 วรรคแรก" นายทวีเกียรติ เอื้อประโยชน์เสียงข้างมาก ด้าน นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า มาตรา 190 ร่างขึ้นมาเพื่อให้เกิดความโปร่งใสตรวจสอบได้ ให้ฝ่ายบริหารแถลงเหตุผลให้สาธารณชนรับทราบ และความเห็นจากรัฐสภาที่จะให้ความเห็นในหลายแง่มุม ด้วยการนำเสนอแลกเปลี่ยนความเห็นกันเพื่อนำสู่การสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศ ชาติอย่างแท้จริง ทั้งนี้ที่ผ่านมาเกิดกรณีแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ทำให้เสียหายแก่ประเทศโดยรวมด้วย การแก้ไขเพิ่มเติมคำว่า “โดยชัดแจ้ง” ต่อท้ายหนังสือสัญญา เป็นการลิดรอนอำนาจในการตรวจสอบรัฐสภา ที่เป็นองค์กรใช้อำนาจนิติบัญญัติ และเพิ่มอำนาจคณะรัฐมนตรีมากขึ้น การกระทำดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อการดุล คานอำนาจ ก่อให้เกิดอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดกับฝ่ายบริหาร นายจรัญ กล่าวย่ำว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอาศัยอำนาจการวินิจฉัยเสียงข้างมากเห็นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญของผู้ถูกร้อง ทั้งหมดเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกระบวนการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคหนึ่ง มาตรา 125 วรรคหนึ่ง ส่วนเนื้อหาเป็นการกระทำ ที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 3, 4, 5, 87 และ มาตรา 122 และเป็นการกระทำที่ให้บุคคลได้มาซึ่งอำนาจโดยวิถีทางที่ไม่ได้เป็นไปตามรัฐ ธรรมนูญ ถือเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคหนึ่ง "วิรัช"ลั่น15วันยื่นป.ป.ช.ฟัน ด้านนายวิรัช ในฐานะผู้ร้องกล่าวภายหลังที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัย การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคหนึ่ง จนทำให้กฎหมายตกไปว่า จากนี้ไป 15 วัน ผู้ร้องหรือผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง จำนวน 20,000 คน จะนำคำตัดสินดังกล่าวไปยืนต่อ ป.ป.ช. เพื่อให้ ป.ป.ช. พิจารณาแจ้งข้อกล่าวหาต่อผู้ถูกร้อง จากนั้น ป.ป.ช.จะพิจารณา โดยชี้ว่า ผิดจะมีคำตัดสิน 2 ทาง คือ การถอดถอนก็จะยื่นเรื่องไป วุฒิสภา ส่วนคดีอาญายื่นไปที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อดำเนินการต่อไป ขอบคุณ … http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20140108/176396.html (บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ม.ค.57)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...