"สุณัย ผาสุข" ประเมินการเมือง 57 ผ่านมุมมองสิทธิมนุษยชน ตปท.

แสดงความคิดเห็น

นายสุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาองค์กรฮิวแมนไรท์ วอทช์ ประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ ?มติชน? ถึงแนวโน้มและสถานการณ์การเมืองไทยในปี 2557 ใมมุมมองของสิทธิมนุษยชนต่างประเทศ

ความกังวลของฮิวแมนไรท์ วอทช์ในขณะนี้ที่มีต่อสถานการณ์ทางเมืองไทย

ความ กังวลในอันดับต้นๆ ของฮิวแมนไรท์ วอทช์ คือกระบวนการการเคลื่อนไหวที่ใช้ความรุนแรงในการขัดขวางกระบวนการการเลือก ตั้ง เพราะต้องเข้าใจว่า ทางฝั่งผู้ชุมนุมได้ก้าวข้ามการคัดค้านการเลือกตั้งไปแล้ว ซึ่งสิทธิในการบอยคอตการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่ใครก็สามารถทำได้ พรรคประชาธิปัตย์ก็สามารถบอยคอตได้เช่นเดียวกัน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้กลายเป็นการขัดขวาง ทั้งในส่วนของพรรคการเมืองที่มีเจตจำนงจะลงรับสมัครไม่ให้สามารถไปสมัครได้ มิหนำซ้ำ ยังมีการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต. ซึ่งเป็นสิ่งที่ก้าวล่วงหลักการแสดงสิทธิไปสู่การละเมิดสิทธิของผู้อื่นแล้ว จึงทำให้เกิดความรุนแรงตามมา ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจสอบว่าใครบ้างที่ เป็นฝ่ายใช้ความรุนแรง แต่หลักฐานก็ปรากฏให้เห็นว่า ความรุนแรงเกิดขึ้นจากทั้ง 2 ฝ่าย แต่ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นความรุนแรงในลักษณะเผชิญหน้าเท่านั้น โดยเกิดขึ้นในช่วงโค้งแรกของกระบวนการการเลือกตั้งคือ ช่วงรับสมัครรับเลือกตั้ง จึงเป็นที่กังวลต่อเหตุความรุนแรงที่อาจจะมีการยกระดับขึ้น

ฮิวแมนไรท์ วอทช์ มีข้อเสนอแนะในการหลีกเลี่ยงความรุนแรงอย่างไร

ข้อเท็จจริง การขัดขวางไม่ให้มีการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่เกิดมาจากฝั่งของผู้ชุมนุม ซึ่งผู้ชุมนุมจะต้องกลับมาทบทวนบทบาทของตัวเองว่า สิ่งที่กระทำอยู่ในขณะนี้ได้ก้าวล่วงหลักการสำหรับการชุมนุม คือ สันติ อหิงสา ไปแล้ว ก้าวล่วงการชุมนุมตามสิทธิที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญและกติกา ระหว่างประเทศไปแล้ว ดังนั้น ทางฝั่งผู้ชุมนุมจะต้องประกาศยุติความรุนแรงทุกรูปแบบ และเสนอทางออกด้วยการแสดงความยินดีที่จะได้รับการสอบสวนอย่างตรงไปตรงมา ส่วนพรรคการเมืองที่ประกาศบอยคอตการเลือกตั้งเป็นสิทธิที่ทำได้ แต่จะต้องยืนยันด้วยว่า สมาชิกพรรคจะไม่เข้าไปมีส่วนร่วมทั้งในทางตรงและทางอ้อมกับกระบวนการขัด ขวางกระบวนการการเลือกตั้ง แต่ในข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่า คนที่ไปชุมนุมปิดล้อมไม่ให้สมัครรับเลือกตั้งได้ จนกระทั่งไม่สามารถดำเนินการได้เป็นพื้นที่ในภาคใต้ ซึ่งเป็นคนของพรรคประชาธิปัตย์ ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์จะลอยตัวไม่ได้ เพราะนี่เท่ากับเป็นการละเมิดสิทธิไปแล้ว

เท่าที่ดูบทบาทของ กกต.มีความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงความรุนแรงหรือไม่

เรา ไม่เห็นความพยายามอย่างเต็มที่จาก กกต.กลาง โดยเฉพาะคนที่มีบทบาทโดยตรงกับงานบริหารจัดการการเลือกตั้ง เพื่อที่จะทำให้กระบวนการการเลือกตั้งสามารถเดินหน้าไปได้ เช่นการเปลี่ยนแปลงสถานที่ไปในที่ที่มีความปลอดภัยมั่นคงมากยิ่งขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบการลงทะเบียนต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้อยู่ในอำนาจของ กกต.ทั้งสิ้นที่สามารถทำได้ แต่เราไม่เห็นเลย เห็นแต่เพียงความพยายามที่จะยกธงขาวอยู่ร่ำไป แทนที่จะพยายามเอาชนะอุปสรรค ซึ่งนั่นไม่ใช่บทบาทที่พึงปรารถนาของ กกต. ซึ่งเป็นประเด็นที่นานาชาติเริ่มวิพากษ์วิจารณ์แล้ว เพราะ กกต.ในประเทศอื่นจะพยายามเดินหน้าไปให้ได้แม้จะมีอุปสรรค เพราะกระบวนการการเลือกตั้งเป็นขั้นตอนสำคัญของระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นแม้จะมีอุปสรรคอย่างไรก็ต้องหาทางเอาชนะอุปสรรคให้ได้ ดังนั้น

กก ต.ทุกคนจำเป็นต้องมีความเห็นดังกล่าวต่อสาธารณะร่วมกันเลยว่า การกระทำของผู้ชุมนุมเป็นปัญหา และจะขอประณามการกระทำของผู้ชุมนุมที่ขัดขวางกระบวนการในการเลือกตั้ง แต่สิ่งที่เราเห็นกลายเป็นตรงกันข้ามหมดเลย แถมยังมีกระแสข่าวออกมาถึงการไปตำหนิเจ้าหน้าที่ กกต.ในพื้นที่เอง ที่ตัดสินใจย้ายหน่วยเลือกตั้งเข้าไปในค่าย ตชด.ทั้งๆ ที่เป็นการตัดสินเพื่อต้องการหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า

เห็นประเด็นที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนกันบ้างหรือยัง

ที่ เห็นได้ชัดเจน คือวิธีคิดที่บอกว่า ?ใครไม่เห็นด้วยก็ให้ไปอยู่ที่อื่น? ซึ่งถือได้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งออกมาจากกลุ่มการเมืองที่ชื่อของกลุ่มตัวเอง มีทั้งคำว่า ?ประชาธิปไตย? มีคำว่า ?ประชาชน? และมีคำว่า ?ปฏิรูป? ซึ่งทั้ง 3 คำควรตั้งอยู่บนพื้นฐานการรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติกับคนที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน เสียงข้างมากรับฟังเสียงข้างน้อย เสียงข้างน้อยก็ควรแสดงความคิดเห็นออกมาอยู่ด้วยกันได้ การที่ระบุไม่ยอมรับความคิดต่างเช่นนี้ สะท้อนการขาดความเคารพหลักการประชาธิปไตย ซึ่งก็ไม่ได้แตกต่างกับสิ่งที่คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ และผู้ชุมนุมกำลังจะต่อสู้คัดค้าน โดยบอกว่า ?เสียงข้างมากลากไป? แต่ตอนนี้สิ่งที่คุณสุเทพกำลังทำก็ไม่ต่างกัน เพราะไม่เปิดพื้นที่ให้กับคนที่เห็นต่างได้อยู่ร่วมกันเลย

สถานการณ์ในขณะนี้สุ่มเสี่ยงที่จะเกิดเหตุความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน

เงื่อนไข ที่จะเกิดความรุนแรงอยู่ที่วิธีคิดที่ไม่ต้องการเปิดพื้นที่ หรือเปิดใจให้กับความคิดเห็นที่แตกต่าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ฝืนธรรมชาติ เพราะโดยธรรมชาติเงื่อนไขที่สำคัญของสังคมไทย นับตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหารเป็นต้นมา เป็นสังคมแบ่งขั้วชัดเจน คำพูดบางอย่างแสดงความคิดที่สุดโต่ง อย่างเวทีราชดำเนินก็มักพูดไปในทำนองให้ที่ยืนกับคนที่คิดเห็นในทางเดียวกัน เท่านั้น โดยที่ไม่เปิดโอกาสให้คนที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างเลย ทั้งๆ ที่หากประเด็นเรื่องเสียงเลือกตั้งมาจับ แนวคิดแบบพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ใช่เสียงของคนส่วนใหญ่แล้ว คำถามจึงอยู่ที่ว่า คนที่มีความเห็นที่แตกต่างจะมีความอดทนได้ถึงเมื่อไหร่ แล้วถ้าคนเหล่านี้พร้อมที่จะเผชิญหน้าก็ทำให้เกิดสถานการณ์ที่เป็นความสุ่ม เสี่ยงต่อความรุนแรงในบ้านเมืองอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อนก็เป็นได้ กระทั่งเหตุการณ์เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 อาจเป็นเพียงหนังตัวอย่างเท่านั้น

หลักการใดที่เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการเคลื่อนไหว

ต้องอยู่ บนหลักที่ว่า 1.นำประชาชนออกมาเคลื่อนต้องไม่นำประชาชนไปตาย 2.ต้องไม่นำประเทศไปสู่สภาวะสงครามกลางเมือง คำว่าประชาธิปไตยต้องเคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง ถ้าคิดว่าแนวทางการปกครอง รูปแบบโครงสร้างสังคม และระบอบเศรษฐกิจในปัจจุบันยังไม่ใช่สิ่งที่เหมาะสม ทำไมไม่ไปเผชิญหน้ากันผ่านบัตรเลือกตั้ง ซึ่งเป็นวิธีที่สงบ สันติ มีอารยะตามระบอบประชาธิปไตย ก็ต้องถามกลับเหมือนกันว่า ทำไมทางฝ่ายม็อบถึงพยายามสร้างเงื่อนไขที่สุ่มเสี่ยงที่จะทำให้มีเลือดนอง ถนนอีกครั้งหนึ่ง ทั้งๆ ที่ขณะนี้วาระแห่งชาติก็ออกมาแล้ว ว่าฝ่ายรัฐบาลก็ต้องการที่จะให้มีการปฏิรูปเช่นกัน

คำว่า "ปฏิรูปก่อนเลือกตั้งทีหลัง" สะท้อนอะไรบ้าง

ข้อ เท็จจริง คือเขาไม่ต้องการเห็นการเลือกตั้งที่ฝ่ายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ชนะ ดังนั้นเขาจึงอยากเห็นรูปแบบการเมือง โครงสร้างรัฐธรรมนูญ โครงสร้างทางเศรษฐกิจ เป็นต้น ที่สามารถลดความได้เปรียบของฝ่ายคุณทักษิณ แล้วจะทำให้ฝ่ายคุณสุเทพมีโอกาสได้รับชนะ ซึ่งฝ่ายของคุณสุเทพในที่นี้ไม่ใช่เพียงแค่พรรคประชาธิปัตย์ แต่หมายรวมถึงโครงสร้างทางการเมือง หรือโครงสร้างทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ไม่ได้ไปในแนวทางเดียวกับคุณทักษิณ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นการ ?รีเซต? ระบบให้เป็นไปตามสิ่งที่เขาปรารถนา ซึ่งเป็นสิ่งที่คณะรัฐประหารปี 2549 ทำไม่สำเร็จ จึงมีความพยายามในการผลักดันวาระของรัฐประหารปี 2549 ให้เป็นผลขึ้นมา ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ก็ใช้เครื่องมือทางตุลาการภิวัฒน์มาแล้ว แต่ก็ยังไม่สำเร็จ

แต่ยังมีความพยายามที่จะเรียกทหารออกมาเป็นระยะๆ

ทหาร ไม่ควรจะมีบทบาทในทางการเมือง แค่คิดว่าการรัฐประหารจะเป็นทางออกก็ผิดแล้ว เพราะสังคมในระบอบประชาธิปไตยไม่สามารถยอมรับได้แม้จะมีเงื่อนไขใดๆ ก็ตาม คนที่พยายามเรียกให้ทหารออกมารัฐประหารสะท้อนได้เลยว่า เป็นคนไม่มีความเคารพในหลักการประชาธิปไตยเลย

สัญญาณที่เห็นได้ชัดจากทุกฝ่ายก็คือ ต้องการเห็นการปฏิรูป

ใช่ กระบวนการปฏิรูปสามารถทำได้เลย ถ้าจริงใจกัน ไม่ต้องรอหลังจากการเลือกตั้ง ซึ่งปัญหาในตอนนี้คือทุกฝ่ายนำการเลือกตั้งมาตั้งแง่กัน เพราะสังคมทุกภาคส่วนต้องการเห็นการปฏิรูป โรดแมปสำหรับการปฏิรูปก็มีอยู่แล้ว เพราะทุกฝ่ายมีข้อเสนอ ซึ่งสามารถนำมาศึกษาต่อและเดินหน้าปฏิรูปได้เลย ไม่ต้องรอการเลือกตั้ง เพียงแค่ให้ลำดับความสำคัญไว้ และก็มอบหมายให้พรรคการเมืองที่จะจัดตั้งรัฐบาลดำเนินการปฏิรูปตามลำดับความ สำคัญดังกล่าว

บทเรียนที่สำคัญที่เกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศที่ผ่านมา

ต้อง หยุดความรุนแรงและหยุดการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกรูปแบบจากทุกฝ่าย และต้องทำความเข้าใจว่า ไม่มีสังคมที่ไหนในโลกที่จะเห็นพ้องไปในทิศทางเดียวกันได้ เราต้องตั้งเงื่อนไขให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติ บนความคิดเห็นที่แตกต่างโดยอารยะ ไม่ใช่การเอาชนะกันอย่างที่เห็นอยู่ในตอนนี้ โดยไล่ให้คนที่เห็นต่างออกไปจากสังคม เพราะนั่นไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่เป็นฟาสซิสต์…โดย ขจรศักดิ์ สิริพัฒนกรชัย

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1388749281&grpid=&catid=02&subcatid=0201

(มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ม.ค.57 )

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 4/01/2557 เวลา 03:23:23 ดูภาพสไลด์โชว์ "สุณัย ผาสุข" ประเมินการเมือง 57 ผ่านมุมมองสิทธิมนุษยชน ตปท.

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายสุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาองค์กรฮิวแมนไรท์ วอทช์ ประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ ?มติชน? ถึงแนวโน้มและสถานการณ์การเมืองไทยในปี 2557 ใมมุมมองของสิทธิมนุษยชนต่างประเทศ ความกังวลของฮิวแมนไรท์ วอทช์ในขณะนี้ที่มีต่อสถานการณ์ทางเมืองไทย ความ กังวลในอันดับต้นๆ ของฮิวแมนไรท์ วอทช์ คือกระบวนการการเคลื่อนไหวที่ใช้ความรุนแรงในการขัดขวางกระบวนการการเลือก ตั้ง เพราะต้องเข้าใจว่า ทางฝั่งผู้ชุมนุมได้ก้าวข้ามการคัดค้านการเลือกตั้งไปแล้ว ซึ่งสิทธิในการบอยคอตการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่ใครก็สามารถทำได้ พรรคประชาธิปัตย์ก็สามารถบอยคอตได้เช่นเดียวกัน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้กลายเป็นการขัดขวาง ทั้งในส่วนของพรรคการเมืองที่มีเจตจำนงจะลงรับสมัครไม่ให้สามารถไปสมัครได้ มิหนำซ้ำ ยังมีการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต. ซึ่งเป็นสิ่งที่ก้าวล่วงหลักการแสดงสิทธิไปสู่การละเมิดสิทธิของผู้อื่นแล้ว จึงทำให้เกิดความรุนแรงตามมา ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจสอบว่าใครบ้างที่ เป็นฝ่ายใช้ความรุนแรง แต่หลักฐานก็ปรากฏให้เห็นว่า ความรุนแรงเกิดขึ้นจากทั้ง 2 ฝ่าย แต่ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นความรุนแรงในลักษณะเผชิญหน้าเท่านั้น โดยเกิดขึ้นในช่วงโค้งแรกของกระบวนการการเลือกตั้งคือ ช่วงรับสมัครรับเลือกตั้ง จึงเป็นที่กังวลต่อเหตุความรุนแรงที่อาจจะมีการยกระดับขึ้น ฮิวแมนไรท์ วอทช์ มีข้อเสนอแนะในการหลีกเลี่ยงความรุนแรงอย่างไร ข้อเท็จจริง การขัดขวางไม่ให้มีการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่เกิดมาจากฝั่งของผู้ชุมนุม ซึ่งผู้ชุมนุมจะต้องกลับมาทบทวนบทบาทของตัวเองว่า สิ่งที่กระทำอยู่ในขณะนี้ได้ก้าวล่วงหลักการสำหรับการชุมนุม คือ สันติ อหิงสา ไปแล้ว ก้าวล่วงการชุมนุมตามสิทธิที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญและกติกา ระหว่างประเทศไปแล้ว ดังนั้น ทางฝั่งผู้ชุมนุมจะต้องประกาศยุติความรุนแรงทุกรูปแบบ และเสนอทางออกด้วยการแสดงความยินดีที่จะได้รับการสอบสวนอย่างตรงไปตรงมา ส่วนพรรคการเมืองที่ประกาศบอยคอตการเลือกตั้งเป็นสิทธิที่ทำได้ แต่จะต้องยืนยันด้วยว่า สมาชิกพรรคจะไม่เข้าไปมีส่วนร่วมทั้งในทางตรงและทางอ้อมกับกระบวนการขัด ขวางกระบวนการการเลือกตั้ง แต่ในข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่า คนที่ไปชุมนุมปิดล้อมไม่ให้สมัครรับเลือกตั้งได้ จนกระทั่งไม่สามารถดำเนินการได้เป็นพื้นที่ในภาคใต้ ซึ่งเป็นคนของพรรคประชาธิปัตย์ ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์จะลอยตัวไม่ได้ เพราะนี่เท่ากับเป็นการละเมิดสิทธิไปแล้ว เท่าที่ดูบทบาทของ กกต.มีความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงความรุนแรงหรือไม่ เรา ไม่เห็นความพยายามอย่างเต็มที่จาก กกต.กลาง โดยเฉพาะคนที่มีบทบาทโดยตรงกับงานบริหารจัดการการเลือกตั้ง เพื่อที่จะทำให้กระบวนการการเลือกตั้งสามารถเดินหน้าไปได้ เช่นการเปลี่ยนแปลงสถานที่ไปในที่ที่มีความปลอดภัยมั่นคงมากยิ่งขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบการลงทะเบียนต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้อยู่ในอำนาจของ กกต.ทั้งสิ้นที่สามารถทำได้ แต่เราไม่เห็นเลย เห็นแต่เพียงความพยายามที่จะยกธงขาวอยู่ร่ำไป แทนที่จะพยายามเอาชนะอุปสรรค ซึ่งนั่นไม่ใช่บทบาทที่พึงปรารถนาของ กกต. ซึ่งเป็นประเด็นที่นานาชาติเริ่มวิพากษ์วิจารณ์แล้ว เพราะ กกต.ในประเทศอื่นจะพยายามเดินหน้าไปให้ได้แม้จะมีอุปสรรค เพราะกระบวนการการเลือกตั้งเป็นขั้นตอนสำคัญของระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นแม้จะมีอุปสรรคอย่างไรก็ต้องหาทางเอาชนะอุปสรรคให้ได้ ดังนั้น กก ต.ทุกคนจำเป็นต้องมีความเห็นดังกล่าวต่อสาธารณะร่วมกันเลยว่า การกระทำของผู้ชุมนุมเป็นปัญหา และจะขอประณามการกระทำของผู้ชุมนุมที่ขัดขวางกระบวนการในการเลือกตั้ง แต่สิ่งที่เราเห็นกลายเป็นตรงกันข้ามหมดเลย แถมยังมีกระแสข่าวออกมาถึงการไปตำหนิเจ้าหน้าที่ กกต.ในพื้นที่เอง ที่ตัดสินใจย้ายหน่วยเลือกตั้งเข้าไปในค่าย ตชด.ทั้งๆ ที่เป็นการตัดสินเพื่อต้องการหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า เห็นประเด็นที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนกันบ้างหรือยัง ที่ เห็นได้ชัดเจน คือวิธีคิดที่บอกว่า ?ใครไม่เห็นด้วยก็ให้ไปอยู่ที่อื่น? ซึ่งถือได้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งออกมาจากกลุ่มการเมืองที่ชื่อของกลุ่มตัวเอง มีทั้งคำว่า ?ประชาธิปไตย? มีคำว่า ?ประชาชน? และมีคำว่า ?ปฏิรูป? ซึ่งทั้ง 3 คำควรตั้งอยู่บนพื้นฐานการรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติกับคนที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน เสียงข้างมากรับฟังเสียงข้างน้อย เสียงข้างน้อยก็ควรแสดงความคิดเห็นออกมาอยู่ด้วยกันได้ การที่ระบุไม่ยอมรับความคิดต่างเช่นนี้ สะท้อนการขาดความเคารพหลักการประชาธิปไตย ซึ่งก็ไม่ได้แตกต่างกับสิ่งที่คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ และผู้ชุมนุมกำลังจะต่อสู้คัดค้าน โดยบอกว่า ?เสียงข้างมากลากไป? แต่ตอนนี้สิ่งที่คุณสุเทพกำลังทำก็ไม่ต่างกัน เพราะไม่เปิดพื้นที่ให้กับคนที่เห็นต่างได้อยู่ร่วมกันเลย สถานการณ์ในขณะนี้สุ่มเสี่ยงที่จะเกิดเหตุความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน เงื่อนไข ที่จะเกิดความรุนแรงอยู่ที่วิธีคิดที่ไม่ต้องการเปิดพื้นที่ หรือเปิดใจให้กับความคิดเห็นที่แตกต่าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ฝืนธรรมชาติ เพราะโดยธรรมชาติเงื่อนไขที่สำคัญของสังคมไทย นับตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหารเป็นต้นมา เป็นสังคมแบ่งขั้วชัดเจน คำพูดบางอย่างแสดงความคิดที่สุดโต่ง อย่างเวทีราชดำเนินก็มักพูดไปในทำนองให้ที่ยืนกับคนที่คิดเห็นในทางเดียวกัน เท่านั้น โดยที่ไม่เปิดโอกาสให้คนที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างเลย ทั้งๆ ที่หากประเด็นเรื่องเสียงเลือกตั้งมาจับ แนวคิดแบบพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ใช่เสียงของคนส่วนใหญ่แล้ว คำถามจึงอยู่ที่ว่า คนที่มีความเห็นที่แตกต่างจะมีความอดทนได้ถึงเมื่อไหร่ แล้วถ้าคนเหล่านี้พร้อมที่จะเผชิญหน้าก็ทำให้เกิดสถานการณ์ที่เป็นความสุ่ม เสี่ยงต่อความรุนแรงในบ้านเมืองอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อนก็เป็นได้ กระทั่งเหตุการณ์เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 อาจเป็นเพียงหนังตัวอย่างเท่านั้น หลักการใดที่เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการเคลื่อนไหว ต้องอยู่ บนหลักที่ว่า 1.นำประชาชนออกมาเคลื่อนต้องไม่นำประชาชนไปตาย 2.ต้องไม่นำประเทศไปสู่สภาวะสงครามกลางเมือง คำว่าประชาธิปไตยต้องเคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง ถ้าคิดว่าแนวทางการปกครอง รูปแบบโครงสร้างสังคม และระบอบเศรษฐกิจในปัจจุบันยังไม่ใช่สิ่งที่เหมาะสม ทำไมไม่ไปเผชิญหน้ากันผ่านบัตรเลือกตั้ง ซึ่งเป็นวิธีที่สงบ สันติ มีอารยะตามระบอบประชาธิปไตย ก็ต้องถามกลับเหมือนกันว่า ทำไมทางฝ่ายม็อบถึงพยายามสร้างเงื่อนไขที่สุ่มเสี่ยงที่จะทำให้มีเลือดนอง ถนนอีกครั้งหนึ่ง ทั้งๆ ที่ขณะนี้วาระแห่งชาติก็ออกมาแล้ว ว่าฝ่ายรัฐบาลก็ต้องการที่จะให้มีการปฏิรูปเช่นกัน คำว่า "ปฏิรูปก่อนเลือกตั้งทีหลัง" สะท้อนอะไรบ้าง ข้อ เท็จจริง คือเขาไม่ต้องการเห็นการเลือกตั้งที่ฝ่ายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ชนะ ดังนั้นเขาจึงอยากเห็นรูปแบบการเมือง โครงสร้างรัฐธรรมนูญ โครงสร้างทางเศรษฐกิจ เป็นต้น ที่สามารถลดความได้เปรียบของฝ่ายคุณทักษิณ แล้วจะทำให้ฝ่ายคุณสุเทพมีโอกาสได้รับชนะ ซึ่งฝ่ายของคุณสุเทพในที่นี้ไม่ใช่เพียงแค่พรรคประชาธิปัตย์ แต่หมายรวมถึงโครงสร้างทางการเมือง หรือโครงสร้างทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ไม่ได้ไปในแนวทางเดียวกับคุณทักษิณ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นการ ?รีเซต? ระบบให้เป็นไปตามสิ่งที่เขาปรารถนา ซึ่งเป็นสิ่งที่คณะรัฐประหารปี 2549 ทำไม่สำเร็จ จึงมีความพยายามในการผลักดันวาระของรัฐประหารปี 2549 ให้เป็นผลขึ้นมา ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ก็ใช้เครื่องมือทางตุลาการภิวัฒน์มาแล้ว แต่ก็ยังไม่สำเร็จ แต่ยังมีความพยายามที่จะเรียกทหารออกมาเป็นระยะๆ ทหาร ไม่ควรจะมีบทบาทในทางการเมือง แค่คิดว่าการรัฐประหารจะเป็นทางออกก็ผิดแล้ว เพราะสังคมในระบอบประชาธิปไตยไม่สามารถยอมรับได้แม้จะมีเงื่อนไขใดๆ ก็ตาม คนที่พยายามเรียกให้ทหารออกมารัฐประหารสะท้อนได้เลยว่า เป็นคนไม่มีความเคารพในหลักการประชาธิปไตยเลย สัญญาณที่เห็นได้ชัดจากทุกฝ่ายก็คือ ต้องการเห็นการปฏิรูป ใช่ กระบวนการปฏิรูปสามารถทำได้เลย ถ้าจริงใจกัน ไม่ต้องรอหลังจากการเลือกตั้ง ซึ่งปัญหาในตอนนี้คือทุกฝ่ายนำการเลือกตั้งมาตั้งแง่กัน เพราะสังคมทุกภาคส่วนต้องการเห็นการปฏิรูป โรดแมปสำหรับการปฏิรูปก็มีอยู่แล้ว เพราะทุกฝ่ายมีข้อเสนอ ซึ่งสามารถนำมาศึกษาต่อและเดินหน้าปฏิรูปได้เลย ไม่ต้องรอการเลือกตั้ง

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...