ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมต.ดาวรุ่ง...แห่งปี

แสดงความคิดเห็น

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

มีแฟนคลับตามกดไลค์ตลอดปี 2556 คงเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ตะลุยใช้บริการระบบขนส่งมวลชนสาธารณะทุกประเภท ไปทุกพื้นที่ทั่วประเทศ แบบไม่ถือเนื้อถือตัว จนติดตาตรึงใจใครหลายคน ถึงขนาดยกนิ้วให้เป็นรัฐมนตรีในดวงใจ ที่ขยันขันแข็ง เอาการเอางานมากที่สุดคนหนึ่ง

การพรางตัวเข้าไปใช้บริการขนส่ง สาธารณะของ รมต.ชัชชาติแต่ละครั้ง ไม่ได้แจ้งให้ใครทราบล่วงหน้า เพื่อต้องการทราบปัญหาของผู้โดยสารอย่างแท้จริง เพราะการนั่งอยู่ในห้องทำงานเพื่อรับฟังข้อมูลจากผู้บริหารแต่ละหน่วยเพียง อย่างเดียวคงจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดได้อย่างแน่นอน

เมื่อแนว คิดตกผลึกออกมาแบบนี้แล้ว จึงเริ่มเดินทางด้วยการไปนั่งรอรถเมล์สาย 509 บริเวณข้างทำเนียบรัฐบาล โดยมีจุดหมายปลายทางที่จะมุ่งหน้าไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ก่อนจะต่อรถเมล์อีกสายไปท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อขึ้นเครื่องบินไปปฏิบัติภารกิจที่ต่างจังหวัด ซึ่งต้องเจอกับปัญหาแรกทันที คือ ต้องรอรถเมล์นานถึง 40 นาทีกว่าจะมา ระหว่างทางยังพบปัญหารถติดอย่างหนัก จึงนั่งไปถึงแค่อนุสาวรีย์ชัยฯก็ต้องโทรศัพท์เรียกคนขับรถไปรับ เพราะหากนั่งต่อไปจนถึงดอนเมือง มีหวังตกเครื่องบิน

และเพื่อให้รู้ปัญหาอย่างแท้จริง เขายังสำรวจผู้ใช้บริการรถเมล์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" จนทราบว่า รถเมล์ที่ควรปรับปรุงมากที่สุด คือ สาย 8 รองลงมาเป็นสาย 44 ตามมาด้วยสาย 1, สาย 16, สาย 92, สาย 75 และ 122 ปัญหาที่ได้รับการร้องเรียนมากที่สุด คือ พนักงานขับรถเร็ว ใช้อารมณ์ในการขับรถ ขับอันตรายปาดซ้ายขวา ตะโกนด่ารถคันอื่น ไม่รับผู้โดยสารตามป้าย จอดรถเลยป้าย จอดรถส่งผู้โดยสารเลนสองเลนสาม ปล่อยผู้โดยสารตามทาง วิ่งไม่ครบระยะโดยอ้างว่าเป็นรถเสริม วิ่งรถแข่งกันเองเพื่อแย่งผู้โดยสาร สภาพรถเก่า ประตูพัง รถเสียกลางทาง แอร์ไม่เย็น พัดลมของรถเมล์บางคันไม่มีตะแกรงกั้น รถจอดแช่ป้ายนานทำให้รถติด และผู้โดยสารเสียเวลา

ในที่สุดเพื่อให้ รู้แจ้งเห็นจริง จึงแอบไปทดลองนั่งรถเมล์สาย 8 ด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นรถร่วมบริการเอกชนที่วิ่งให้บริการจากสะพานพุทธฯ-แฮปปี้แลนด์ จนรู้ว่าปัญหาของรถเมล์สายนี้เป็นเรื่องของมารยาทคนขับ โดยเฉพาะการขับรถเร็ว ไม่เข้าป้าย ขับกระโชกโฮกฮาก ซึ่งก่อนหน้านั้นองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้เรียกคนขับรถเมล์เข้าไปรับการอบรมมารยาทมาตลอด แต่ยังเกิดปัญหาขึ้นอยู่เช่นเดิม

ทำให้รู้ด้วยว่าสาเหตุที่แท้จริง ของรถเมล์สาย 8 ยังมีเรื่องของความถี่เข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจากมีบริษัทที่ได้รับสัมปทานเดินรถถึง 3 ราย คือ บริษัท ไทยบัสขนส่ง จำกัด, บริษัท ทรัพย์ 888 จำกัด และบริษัท กลุ่ม 39 จำกัด โดยแต่ละบริษัทมีรถให้บริการประมาณ 20 คัน รวม 3 บริษัท มีรถให้บริการในเส้นทางดังกล่าวประมาณ 70 คัน จึงแข่งขันกันวิ่งรับผู้โดยสาร ในอดีตเคยเกิดปัญหามากกว่านี้ เพราะทั้ง 3 บริษัทมีจุดปล่อยรถอยู่คนละแห่ง แต่ปัจจุบันได้นำมาอยู่ในจุดเดียวกันทั้งต้นทางและปลายทาง คือ แฮปปี้แลนด์ และสะพานพุทธฯ ยังพบปัญหารถบางคันเห็นแก่ตัว วิ่งช้าเพื่อรอรับผู้โดยสาร ทำให้รถคันหลังที่ปล่อยมาไม่มีผู้โดยสาร

ที่สำคัญ คือ คนขับรถโดยสารร่วมบริการ ขสมก. ไม่ได้รับเงินเดือน จะได้เพียงเบี้ยเลี้ยงรายวันและส่วนแบ่งจากการจำหน่ายตั๋วโดยสารเท่านั้น มีผู้โดยสารมากก็ได้มาก มีน้อยก็ได้น้อย จึงเป็นสาเหตุให้คนขับรถเมล์บางคันขับลากยาว จอดแช่ ทำให้รถที่วิ่งตามหลังไม่ได้ผู้โดยสาร และยังเกิดปัญหารถติด ตามมาด้วยรถเมล์สาย 47 ที่วิ่งในเส้นทางท่าเรือคลองเตย-กรมที่ดิน และอีกหลายสาย

ระหว่างนั้น รมต.ชัชชาติได้มีนโยบายให้ข้าราชการและผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวง คมนาคม ตั้งแต่ซี 9 ขึ้นไปลองใช้บริการรถเมล์เป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อให้เข้าใจปัญหาและร่วมกันแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง โดยให้เขียนออกมาเป็นข้อๆ ว่าพบปัญหาอะไรบ้าง ก่อนนำมาปรับปรุงร่วมกัน

ซึ่ง ก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เพราะเริ่มมีการแก้ไขปัญหาจากการใช้บริการรถเมล์ เช่น ขสมก.ได้แก้ไขปัญหารถขาดช่วงในตอนเย็นทั้งที่มีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก โดยเพิ่มจำนวนเที่ยววิ่งรถให้เป็น 100% จากก่อนหน้านั้นจะวิ่งให้บริการเพียง 60-70% หรือประมาณ 1,600 คัน

ส่วน รถเมล์สาย 8 ได้กำหนดมาตรการขั้นเด็ดขาดให้ทั้ง 3 บริษัทไปหารือและแก้ไขปัญหาให้ได้ หากยังเกิดปัญหาขึ้นอีก ขสมก.จะยกเลิกสัมปทาน เพื่อเปิดให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาวิ่งให้บริการแทน เพราะมีหลายรายที่สนใจจะเข้ามาวิ่งให้บริการอยู่แล้ว ก็ทำให้การบริการของรถเมล์สายนี้เริ่มปรับตัวดีขึ้น และยังให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมมือกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรกวดขันรถ เมล์โดยสารอย่างต่อเนื่อง หากยังกระทำผิดอีก นอกจากลงโทษผู้ขับขี่แล้ว ยังจะพิจารณาเรื่องการต่อใบอนุญาตเส้นทางเดินรถของผู้ประกอบการรถร่วมบริการ ขสมก.รายนั้นๆ ด้วย โดยได้มีการติดตามประเมินผลการลงพื้นที่ตลอดจนปัญหาคลี่คลายลงเรื่อยๆ

ล่า สุด ขสมก.ยังได้จัดทำกล่องแสดงความคิดเห็นของผู้โดยสารที่ใช้บริการรถเมล์ ขสมก.ไว้ตรงบริเวณประตูกลางของรถ เพื่อให้นำตั๋วโดยสารไปหย่อนเป็นคะแนนให้กับรถเมล์แต่ละคัน โดยจะมีช่องตั้งแต่ดีมาก พอใช้ และแย่มาก ซึ่งภายหลังจัดทำโครงการนี้ รถเมล์ ขสมก.ได้รับคำชมจากผู้ใช้บริการมากขึ้น เพราะหากรถคันไหนบริการไม่ดีก็จะเห็นผลในทันที

จากนั้น รมต.ชัชชาติได้ลงเรือไปทดลองใช้บริการเรือคลองแสนแสบ จนรู้ว่าปัญหาของผู้โดยสารที่นอกจากจะต้องเจอกับน้ำเน่าเหม็นที่กระเด็นเข้า มาภายในเรือแล้ว ยังมีเรื่องของคนขับเรือ และท่าเรือที่ต้องปรับปรุงให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งภายหลังมีนโยบายออกไป ปรากฏว่าทุกท่าเรือในคลองแสนแสบได้ปรับปรุงใหม่ให้แข็งแรงมั่นคง มีป้ายบอกเส้นทางที่ชัดเจน รวมถึงมีกล้องวงจรปิด เพื่อคอยดูแลการให้บริการผู้โดยสารตลอดเวลาด้วย

ไม่นานนักชัชชาติก็ เปลี่ยนบรรยากาศสะพายเป้กระโดดขึ้นรถไฟชั้น 3 จากสถานีบางซื่อ ไปจังหวัดสุรินทร์ จึงพบปัญหารถไฟออกช้ากว่ากำหนดประมาณ 30 นาที ระหว่างนั้นได้พูดคุยกับผู้โดยสาร พนักงานรถไฟ ทำให้รู้ข้อมูลดีๆ หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาหัวรถจักรที่เก่า อะไหล่บางชิ้นมีอายุการใช้งานมานาน รวมถึงปัญหาสภาพบนรถที่ไม่ดี ปัญหาห้องน้ำบนรถไฟที่น้ำไม่ค่อยไหล ห้องน้ำไม่สะอาด ปัญหาขาดบุคลากร และการแบ่งงานที่ยังไม่ดีทำให้การบริการในภาพรวมไม่ดีนัก

เมื่อกลับ มาถึงกรุงเทพฯ ชัชชาติได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ บนรถไฟภายใน 1 เดือน ไม่ว่าจะเป็นความสะอาดของขบวนรถไฟ สถานี ห้องน้ำ ประตูห้องน้ำที่ไม่มีกลอน เป็นต้น พร้อมกันนี้ยังให้ยกเลิกการเก็บค่าบริการใช้ห้องน้ำที่สถานี เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของการบริการ

ขณะเดียวกันยังให้กวดขันห้าม ดื่มสุราบนรถไฟชั้น 3 และในสถานี เพราะทำให้ผู้โดยสารที่ไม่ได้ดื่มเดือดร้อนรำคาญ การเข้มงวดไม่ให้มีพวกมิจฉาชีพปะปนขึ้นไปกับคนที่ขึ้นไปขายสินค้าของบนรถไฟ โดยอาจจะลงทะเบียนผู้ค้าเพื่อให้รู้ชัดเจนว่าเป็นคนขายของจริง

แต่ ชัชชาติไม่ได้หยุดแค่นั้น แม้กระทั่งรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ก็เคยลองเข้าไปใช้บริการ จนพบปัญหาขบวนรถไฟฟ้าไม่เพียงพอกับความต้องการ โดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วนทั้งเช้าและเย็น จำเป็นต้องนำขบวนรถใหม่มาให้บริการเพิ่มเติม กระทั่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติให้จัดซื้อขบวนรถใหม่อีก 7 ขบวน พร้อมกันนี้ยังเห็นควรให้ปรับโครงสร้างบุคลากรของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ เพื่อดึงคนให้อยู่กับองค์กรมากขึ้น และให้บริษัทรับจ้างเดินรถเพียงอย่างเดียว ส่วนทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหมดโอนไปให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน

หลังจากนั้นได้มาลองใช้ บริการรถโดยสารของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บ.ข.ส.) เดินทางไปจังหวัดนครราชสีมา เพื่อร่วมเปิดงานนิทรรศการสร้างอนาคตไทย 2020 ทำให้ทราบว่ารถ บ.ข.ส.ไม่ได้เปิดวิดีโอแนะนำความปลอดภัยให้ผู้โดยสารชมก่อนออกรถตามนโยบาย ที่ให้ไว้ และคนขับรถก็ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย

ไม่แค่นั้น ชัชชาติยังดอดไปลองใช้บริการรถสาธารณะอีกมากมาย หลายเส้นทาง สลับไปมาทั้งรถไฟฟ้า รถไฟ รถแท็กซี่มิเตอร์ รถตู้โดยสาร โดยเฉพาะในเส้นทางที่มีการร้องเรียนการกระทำผิดกฎจราจร พร้อมกับนำผลการทดลองกลับมาสั่งให้แก้ไข

มาถึงวันนี้จึงแทบไม่มีใครไม่รู้จักว่า "ชัชชาติ" เป็นใคร

หรือที่จำชื่อไม่ได้จริงๆ เมื่อลองถามว่ารู้จักรัฐมนตรีที่ชอบนั่งรถเมล์หรือเปล่า?

เชื่อเถอะ เป็นต้องร้องอ๋อทุกราย

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1388229428&grpid=01&catid=&subcatid= (ขนาดไฟล์: 167)

( มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ธ.ค.56 )

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ธ.ค.56
วันที่โพสต์: 29/12/2556 เวลา 02:33:00 ดูภาพสไลด์โชว์ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมต.ดาวรุ่ง...แห่งปี

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีแฟนคลับตามกดไลค์ตลอดปี 2556 คงเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ตะลุยใช้บริการระบบขนส่งมวลชนสาธารณะทุกประเภท ไปทุกพื้นที่ทั่วประเทศ แบบไม่ถือเนื้อถือตัว จนติดตาตรึงใจใครหลายคน ถึงขนาดยกนิ้วให้เป็นรัฐมนตรีในดวงใจ ที่ขยันขันแข็ง เอาการเอางานมากที่สุดคนหนึ่ง การพรางตัวเข้าไปใช้บริการขนส่ง สาธารณะของ รมต.ชัชชาติแต่ละครั้ง ไม่ได้แจ้งให้ใครทราบล่วงหน้า เพื่อต้องการทราบปัญหาของผู้โดยสารอย่างแท้จริง เพราะการนั่งอยู่ในห้องทำงานเพื่อรับฟังข้อมูลจากผู้บริหารแต่ละหน่วยเพียง อย่างเดียวคงจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดได้อย่างแน่นอน เมื่อแนว คิดตกผลึกออกมาแบบนี้แล้ว จึงเริ่มเดินทางด้วยการไปนั่งรอรถเมล์สาย 509 บริเวณข้างทำเนียบรัฐบาล โดยมีจุดหมายปลายทางที่จะมุ่งหน้าไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ก่อนจะต่อรถเมล์อีกสายไปท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อขึ้นเครื่องบินไปปฏิบัติภารกิจที่ต่างจังหวัด ซึ่งต้องเจอกับปัญหาแรกทันที คือ ต้องรอรถเมล์นานถึง 40 นาทีกว่าจะมา ระหว่างทางยังพบปัญหารถติดอย่างหนัก จึงนั่งไปถึงแค่อนุสาวรีย์ชัยฯก็ต้องโทรศัพท์เรียกคนขับรถไปรับ เพราะหากนั่งต่อไปจนถึงดอนเมือง มีหวังตกเครื่องบิน และเพื่อให้รู้ปัญหาอย่างแท้จริง เขายังสำรวจผู้ใช้บริการรถเมล์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" จนทราบว่า รถเมล์ที่ควรปรับปรุงมากที่สุด คือ สาย 8 รองลงมาเป็นสาย 44 ตามมาด้วยสาย 1, สาย 16, สาย 92, สาย 75 และ 122 ปัญหาที่ได้รับการร้องเรียนมากที่สุด คือ พนักงานขับรถเร็ว ใช้อารมณ์ในการขับรถ ขับอันตรายปาดซ้ายขวา ตะโกนด่ารถคันอื่น ไม่รับผู้โดยสารตามป้าย จอดรถเลยป้าย จอดรถส่งผู้โดยสารเลนสองเลนสาม ปล่อยผู้โดยสารตามทาง วิ่งไม่ครบระยะโดยอ้างว่าเป็นรถเสริม วิ่งรถแข่งกันเองเพื่อแย่งผู้โดยสาร สภาพรถเก่า ประตูพัง รถเสียกลางทาง แอร์ไม่เย็น พัดลมของรถเมล์บางคันไม่มีตะแกรงกั้น รถจอดแช่ป้ายนานทำให้รถติด และผู้โดยสารเสียเวลา ในที่สุดเพื่อให้ รู้แจ้งเห็นจริง จึงแอบไปทดลองนั่งรถเมล์สาย 8 ด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นรถร่วมบริการเอกชนที่วิ่งให้บริการจากสะพานพุทธฯ-แฮปปี้แลนด์ จนรู้ว่าปัญหาของรถเมล์สายนี้เป็นเรื่องของมารยาทคนขับ โดยเฉพาะการขับรถเร็ว ไม่เข้าป้าย ขับกระโชกโฮกฮาก ซึ่งก่อนหน้านั้นองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้เรียกคนขับรถเมล์เข้าไปรับการอบรมมารยาทมาตลอด แต่ยังเกิดปัญหาขึ้นอยู่เช่นเดิม ทำให้รู้ด้วยว่าสาเหตุที่แท้จริง ของรถเมล์สาย 8 ยังมีเรื่องของความถี่เข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจากมีบริษัทที่ได้รับสัมปทานเดินรถถึง 3 ราย คือ บริษัท ไทยบัสขนส่ง จำกัด, บริษัท ทรัพย์ 888 จำกัด และบริษัท กลุ่ม 39 จำกัด โดยแต่ละบริษัทมีรถให้บริการประมาณ 20 คัน รวม 3 บริษัท มีรถให้บริการในเส้นทางดังกล่าวประมาณ 70 คัน จึงแข่งขันกันวิ่งรับผู้โดยสาร ในอดีตเคยเกิดปัญหามากกว่านี้ เพราะทั้ง 3 บริษัทมีจุดปล่อยรถอยู่คนละแห่ง แต่ปัจจุบันได้นำมาอยู่ในจุดเดียวกันทั้งต้นทางและปลายทาง คือ แฮปปี้แลนด์ และสะพานพุทธฯ ยังพบปัญหารถบางคันเห็นแก่ตัว วิ่งช้าเพื่อรอรับผู้โดยสาร ทำให้รถคันหลังที่ปล่อยมาไม่มีผู้โดยสาร ที่สำคัญ คือ คนขับรถโดยสารร่วมบริการ ขสมก. ไม่ได้รับเงินเดือน จะได้เพียงเบี้ยเลี้ยงรายวันและส่วนแบ่งจากการจำหน่ายตั๋วโดยสารเท่านั้น มีผู้โดยสารมากก็ได้มาก มีน้อยก็ได้น้อย จึงเป็นสาเหตุให้คนขับรถเมล์บางคันขับลากยาว จอดแช่ ทำให้รถที่วิ่งตามหลังไม่ได้ผู้โดยสาร และยังเกิดปัญหารถติด ตามมาด้วยรถเมล์สาย 47 ที่วิ่งในเส้นทางท่าเรือคลองเตย-กรมที่ดิน และอีกหลายสาย ระหว่างนั้น รมต.ชัชชาติได้มีนโยบายให้ข้าราชการและผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวง คมนาคม ตั้งแต่ซี 9 ขึ้นไปลองใช้บริการรถเมล์เป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อให้เข้าใจปัญหาและร่วมกันแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง โดยให้เขียนออกมาเป็นข้อๆ ว่าพบปัญหาอะไรบ้าง ก่อนนำมาปรับปรุงร่วมกัน ซึ่ง ก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เพราะเริ่มมีการแก้ไขปัญหาจากการใช้บริการรถเมล์ เช่น ขสมก.ได้แก้ไขปัญหารถขาดช่วงในตอนเย็นทั้งที่มีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก โดยเพิ่มจำนวนเที่ยววิ่งรถให้เป็น 100% จากก่อนหน้านั้นจะวิ่งให้บริการเพียง 60-70% หรือประมาณ 1,600 คัน ส่วน รถเมล์สาย 8 ได้กำหนดมาตรการขั้นเด็ดขาดให้ทั้ง 3 บริษัทไปหารือและแก้ไขปัญหาให้ได้ หากยังเกิดปัญหาขึ้นอีก ขสมก.จะยกเลิกสัมปทาน เพื่อเปิดให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาวิ่งให้บริการแทน เพราะมีหลายรายที่สนใจจะเข้ามาวิ่งให้บริการอยู่แล้ว ก็ทำให้การบริการของรถเมล์สายนี้เริ่มปรับตัวดีขึ้น และยังให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมมือกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรกวดขันรถ เมล์โดยสารอย่างต่อเนื่อง หากยังกระทำผิดอีก นอกจากลงโทษผู้ขับขี่แล้ว ยังจะพิจารณาเรื่องการต่อใบอนุญาตเส้นทางเดินรถของผู้ประกอบการรถร่วมบริการ ขสมก.รายนั้นๆ ด้วย โดยได้มีการติดตามประเมินผลการลงพื้นที่ตลอดจนปัญหาคลี่คลายลงเรื่อยๆ ล่า สุด ขสมก.ยังได้จัดทำกล่องแสดงความคิดเห็นของผู้โดยสารที่ใช้บริการรถเมล์ ขสมก.ไว้ตรงบริเวณประตูกลางของรถ เพื่อให้นำตั๋วโดยสารไปหย่อนเป็นคะแนนให้กับรถเมล์แต่ละคัน โดยจะมีช่องตั้งแต่ดีมาก พอใช้ และแย่มาก ซึ่งภายหลังจัดทำโครงการนี้ รถเมล์ ขสมก.ได้รับคำชมจากผู้ใช้บริการมากขึ้น เพราะหากรถคันไหนบริการไม่ดีก็จะเห็นผลในทันที จากนั้น รมต.ชัชชาติได้ลงเรือไปทดลองใช้บริการเรือคลองแสนแสบ จนรู้ว่าปัญหาของผู้โดยสารที่นอกจากจะต้องเจอกับน้ำเน่าเหม็นที่กระเด็นเข้า มาภายในเรือแล้ว ยังมีเรื่องของคนขับเรือ และท่าเรือที่ต้องปรับปรุงให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งภายหลังมีนโยบายออกไป ปรากฏว่าทุกท่าเรือในคลองแสนแสบได้ปรับปรุงใหม่ให้แข็งแรงมั่นคง มีป้ายบอกเส้นทางที่ชัดเจน รวมถึงมีกล้องวงจรปิด เพื่อคอยดูแลการให้บริการผู้โดยสารตลอดเวลาด้วย ไม่นานนักชัชชาติก็ เปลี่ยนบรรยากาศสะพายเป้กระโดดขึ้นรถไฟชั้น 3 จากสถานีบางซื่อ ไปจังหวัดสุรินทร์ จึงพบปัญหารถไฟออกช้ากว่ากำหนดประมาณ 30 นาที ระหว่างนั้นได้พูดคุยกับผู้โดยสาร พนักงานรถไฟ ทำให้รู้ข้อมูลดีๆ หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาหัวรถจักรที่เก่า อะไหล่บางชิ้นมีอายุการใช้งานมานาน รวมถึงปัญหาสภาพบนรถที่ไม่ดี ปัญหาห้องน้ำบนรถไฟที่น้ำไม่ค่อยไหล ห้องน้ำไม่สะอาด ปัญหาขาดบุคลากร และการแบ่งงานที่ยังไม่ดีทำให้การบริการในภาพรวมไม่ดีนัก เมื่อกลับ มาถึงกรุงเทพฯ ชัชชาติได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ บนรถไฟภายใน 1 เดือน ไม่ว่าจะเป็นความสะอาดของขบวนรถไฟ สถานี ห้องน้ำ ประตูห้องน้ำที่ไม่มีกลอน เป็นต้น พร้อมกันนี้ยังให้ยกเลิกการเก็บค่าบริการใช้ห้องน้ำที่สถานี เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของการบริการ ขณะเดียวกันยังให้กวดขันห้าม ดื่มสุราบนรถไฟชั้น 3 และในสถานี เพราะทำให้ผู้โดยสารที่ไม่ได้ดื่มเดือดร้อนรำคาญ การเข้มงวดไม่ให้มีพวกมิจฉาชีพปะปนขึ้นไปกับคนที่ขึ้นไปขายสินค้าของบนรถไฟ โดยอาจจะลงทะเบียนผู้ค้าเพื่อให้รู้ชัดเจนว่าเป็นคนขายของจริง แต่ ชัชชาติไม่ได้หยุดแค่นั้น แม้กระทั่งรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ก็เคยลองเข้าไปใช้บริการ จนพบปัญหาขบวนรถไฟฟ้าไม่เพียงพอกับความต้องการ โดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วนทั้งเช้าและเย็น จำเป็นต้องนำขบวนรถใหม่มาให้บริการเพิ่มเติม กระทั่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติให้จัดซื้อขบวนรถใหม่อีก 7 ขบวน พร้อมกันนี้ยังเห็นควรให้ปรับโครงสร้างบุคลากรของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ เพื่อดึงคนให้อยู่กับองค์กรมากขึ้น และให้บริษัทรับจ้างเดินรถเพียงอย่างเดียว ส่วนทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหมดโอนไปให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน หลังจากนั้นได้มาลองใช้ บริการรถโดยสารของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บ.ข.ส.) เดินทางไปจังหวัดนครราชสีมา เพื่อร่วมเปิดงานนิทรรศการสร้างอนาคตไทย 2020 ทำให้ทราบว่ารถ บ.ข.ส.ไม่ได้เปิดวิดีโอแนะนำความปลอดภัยให้ผู้โดยสารชมก่อนออกรถตามนโยบาย ที่ให้ไว้ และคนขับรถก็ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ไม่แค่นั้น ชัชชาติยังดอดไปลองใช้บริการรถสาธารณะอีกมากมาย หลายเส้นทาง สลับไปมาทั้งรถไฟฟ้า รถไฟ รถแท็กซี่มิเตอร์ รถตู้โดยสาร โดยเฉพาะในเส้นทางที่มีการร้องเรียนการกระทำผิดกฎจราจร พร้อมกับนำผลการทดลองกลับมาสั่งให้แก้ไข มาถึงวันนี้จึงแทบไม่มีใครไม่รู้จักว่า

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...