กฤษฎีการะบุเลื่อนวันเลือกตั้งไม่ได้เหตุขัดต่อรัฐธรรมนูญ

แสดงความคิดเห็น

นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา มีหนังสือตอบกลับข้อหารือของนายกรัฐมนตรีกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เสนอให้รัฐบาลพิจารณาการเลือกตั้งว่า จากกรณีที่ กกต.เสนอให้เลื่อนการเลือกตั้งออกไปจาก 2 ก.พ.57 ไม่สามารถทำได้ เพราะขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 108 ที่กำหนดว่า เมื่อมีพระราชกฤษฎีการยุบสภาผู้แทนราษฎรและกำหนดวันเลือกตั้งแล้ว ถือว่าอยู่ในช่วงวันที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ คือ ไม่น้อยกว่า 45 วันและไม่เกิน 60 วันนับตั้งแต่วันยุบสภาฯ ตั้งแต่วันที่ 9 ธ.ค.56 ดังนั้น หากจะเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปก็จะเกิน 60 วัน

และหากจะออกพระราชกฤษฎีกาฉบับใหม่เฉพาะการเลื่อนกำหนดเลือกตั้งเพียงอย่างเดียวก็ไม่อาจทำได้ เพราะจะต้องมีพระบรมราชโองการยุบสภาประกอบด้วย แต่การจะออกพระราชกฤษฎีกายุบสภาอีกครั้งเพื่อกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ทำไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 108 วรรคท้าย บัญญัติว่าการยุบสภาผู้แทนราษฎรจะกระทำได้เพียงครั้งเดียวในเหตุการณ์เดียวกัน

ส่วนข้อเสนอแนะของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานวุฒิสภาที่ระบุว่าการเลื่อนการเลือกตั้งสามารถทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติ มาตรา 78 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. พ.ศ.2550 โดยอาศัยเหตุพิเศษอันเนื่องจากการเกิดเหตุจราจลนั้น กฤษฎีกาเห็นวาไม่สามารถทำได้ เพราะการเลื่อนการเลือกตั้งให้อำนาจ กกต.เลื่อนได้เฉพาะกรณีเหตุพิเศษในหน่วยเลือกตั้งที่เกิดเหตุเท่านั้น ไม่ใช่การเลื่อนการเลือกตั้งทั้งประเทศ

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1388139691 (ขนาดไฟล์: 143)

(ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ธ.ค.56 )

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ธ.ค.56
วันที่โพสต์: 28/12/2556 เวลา 03:02:02

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา มีหนังสือตอบกลับข้อหารือของนายกรัฐมนตรีกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เสนอให้รัฐบาลพิจารณาการเลือกตั้งว่า จากกรณีที่ กกต.เสนอให้เลื่อนการเลือกตั้งออกไปจาก 2 ก.พ.57 ไม่สามารถทำได้ เพราะขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 108 ที่กำหนดว่า เมื่อมีพระราชกฤษฎีการยุบสภาผู้แทนราษฎรและกำหนดวันเลือกตั้งแล้ว ถือว่าอยู่ในช่วงวันที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ คือ ไม่น้อยกว่า 45 วันและไม่เกิน 60 วันนับตั้งแต่วันยุบสภาฯ ตั้งแต่วันที่ 9 ธ.ค.56 ดังนั้น หากจะเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปก็จะเกิน 60 วัน และหากจะออกพระราชกฤษฎีกาฉบับใหม่เฉพาะการเลื่อนกำหนดเลือกตั้งเพียงอย่างเดียวก็ไม่อาจทำได้ เพราะจะต้องมีพระบรมราชโองการยุบสภาประกอบด้วย แต่การจะออกพระราชกฤษฎีกายุบสภาอีกครั้งเพื่อกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ทำไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 108 วรรคท้าย บัญญัติว่าการยุบสภาผู้แทนราษฎรจะกระทำได้เพียงครั้งเดียวในเหตุการณ์เดียวกัน ส่วนข้อเสนอแนะของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานวุฒิสภาที่ระบุว่าการเลื่อนการเลือกตั้งสามารถทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติ มาตรา 78 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. พ.ศ.2550 โดยอาศัยเหตุพิเศษอันเนื่องจากการเกิดเหตุจราจลนั้น กฤษฎีกาเห็นวาไม่สามารถทำได้ เพราะการเลื่อนการเลือกตั้งให้อำนาจ กกต.เลื่อนได้เฉพาะกรณีเหตุพิเศษในหน่วยเลือกตั้งที่เกิดเหตุเท่านั้น ไม่ใช่การเลื่อนการเลือกตั้งทั้งประเทศ ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1388139691 (ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ธ.ค.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...