ผ่าทางตันการเมืองไทยด้วย"ประชามติ"

แสดงความคิดเห็น

เอกชัย หงษ์กังวาน

ระบอบประชาธิปไตยของไทยกำลังเดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุดใน ประวัติศาสตร์อีกครั้ง เมื่อศาลรัฐธรรมนูญให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภาขัดกับหลักรัฐธรรมนูญ และซ้ำร้ายกว่านั้นคือการที่ กปปส.นำเสนอ"สภาประชาชน"ก่อนการเลือกตั้งซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้สำหรับ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

แม้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจะผ่านการลงประชามติมาก่อน แต่การลงประชามติในครั้งนั้นถือเป็นการลงประชามติภายใต้รัฐบาลที่ไม่ได้มา จากการเลือกตั้ง และประชาชนถูกจำกัดไม่ให้มีการแสดงความเห็นอย่างเสรี สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุผลที่สำคัญที่ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันขาดการยอมรับ จากหลายฝ่ายโดยเฉพาะฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการรรัฐประหาร

แต่่หากให้่รัฐสภาทำหน้าที่แก้ไขรัฐธรรมนูญเองก็อาจจะเกิดการต่อต้านจาก นักการเมืองฝ่ายตรงข้าม รวมถึงความหวาดระแวงที่จะมีต่อ"วาระซ่อนเร้น"เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นใน กรณี พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่ผ่านมา

เมื่อการเมืองไทยเดินทางมาถึงทางตัน ที่ต่างฝ่ายต่างพยายามที่จะให้มีการปฏิรูปการเมืองไทย โดยอ้างว่าเป็นความต้องการของมหาประชาชนของฝ่ายตนเอง ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ไขวิกฤติรัฐธรรมนูญครั้งนี้ก็คือ การให้ประชาชนเป็นผู้ที่จะเลือกรัฐธรรมนูญฉบับที่ตนเองต้องการโดยการ ลง"ประชามติ"

ในอดีตเคยมีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเป็น"แกนหลัก" ในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่ในปัจจุบันการเมืองไทยได้ดำเนินมาถึงจุดที่เกิดความแตกแยกทางความคิด อย่างรุนแรง ร่างรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญอาจไม่เป็นที่ยอมรับจากบางฝ่าย หากเนื้อหาในฉบับนี้ไม่ตรงกับสิ่งที่พวกเขาต้องการ ดังนั้นผมจึงเห็นว่านอกจากการที่จะให้สภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นผู้ยกร่างรัฐ ธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว รัฐบาลยังควรเปิดโอกาสให้ นปช.,กปปส.หรือ สปป.สามารถนำเสนอร่างรัฐธรรมนูญของฝ่ายตนเองให้ประชาชนได้เป็นผู้ตัดสินใจ ผ่านการลงประชามติได้ด้วยเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ผมจึงขอเสนอทางออกในการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยการทำประชามติดังนี้

1.ให้ทุกพรรคการเมืองรวมทั้งพรรคประชาธิปัตย์ส่งผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557

2.หลังการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลให้ทุกพรรคการเมืองที่มี ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎรร่วมกันผลักดันให้มีการจัดตั้ง"สภาร่างรัฐธรรมนูญ"ขึ้น

3.ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา 1 ฉบับเพื่อให้ประชาชนลงประชามติ ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ต้องเปิดโอการสให้ภาคประชาชนที่อาจไม่เห็นด้วยกับร่าง รัฐธรรมนูยที่ร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ สามารถนำเสนอร่างรัฐธรรมนูญของตัวเองขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนลงประชามติโดยการ เข้าชื่อผู้มีสิทธิในการเลือกตั้งไม่น้อยกว่า50,000คน หรือเสนอร่างฯผ่านกลไกรัฐสภา

4.ให้รัฐสภานำร่างรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญและของภาคประชาชนทุกฉบับเพื่อให้ประชาชนได้ลงประชามติ

5.กก ต.นำร่างรัฐธรรมนูญทุกฉบับมาจัดเรียงลำดับตามหมายเลข เช่นร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ก. ได้หมายเลข 1. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ข. ได้หมายเลข 2. โดยจัดทำบัตรลงคะแนนประชามติเรียงตามหมายเลข เพื่อให้ประชาชนได้ลงประชามติให้กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ตนเองต้องการ นอกจากนี้ยังมีช่อง"ไม่ประสงค์จะลงประชามติ"เพื่อที่จะให้ผู้ไม่ประสงค์จะลง ประชามติให้กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใดได้ลงคะแนน

6.กกต.กำหนดวันลงประชามติเพื่อให้ประชาชนได้ลงประชามติเลือกร่างรัฐ ธรรมนูญฉบับที่ตัวเองต้องการ หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับใดผ่านการลงประชามติให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับนั้น ประกาศใช้แทนรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แต่หากไม่มีร่างรัฐธรรมนูญฉบับใดผ่านการลงประชามติ ให้นำร่างรัฐธรรมนูญสองฉบับที่ผ่านการลงคะแนนสูงสุดมาทำการลงประชามติใหม่ อีกครั้ง หากไม่มีร่างรัฐธรรมนูญฉบับใดในสองฉบับผ่านการลงประชามติ ให้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันตามเดิม

กฎหมายกำหนดให้ร่างกฎหมายที่จะผ่านการลงประชามติต้องได้รับคะแนนไม่น้อย กว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด ปัจจุบันมีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมดประมาณ 46ล้านคน ดังนั้นกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งประมาณ 23ล้านคนจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใดจะผ่านการลงประชามติ แต่หากมีร่างรัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติย่อมถือได้ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับ นั้นผ่านการยอมรับจาก "มวลมหาประชาชน"อย่างแท้จริง ส่วนวิธีการลงประชามติของผมอาจจะไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.การทำประชามติ ผมเห็นว่ารัฐสภาควรแก้ไข พ.ร.บ.ฉบับนี้ตามแนวทางข้างต้นซึ่งเป็นสิ่งที่ดีกว่าการลงประชามติหลายครั้ง ซึ่งจะเป็นการสร้างความเบื่อหน่ายให้กับประชาชน และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน

นอกจากนี้หากว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ผ่านการลงประชามติและมีผลบังคับ ใช้แล้ว รัฐบาลควรจะยุบสภาให้เร็วที่สุดเพื่อให้เป็นไปตามกติกาของรัฐธรรมนูญฉบับ ใหม่ แต่หากไม่มีร่างรัฐธรรมนูญฉบับใดผ่านการลงประชามติ ประชาชนทุกคนก็ยังจำเป็นต้องยึดถือรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันต่อไป

ขอบคุณ... http://prachatai.com/journal/2013/12/50644 (ขนาดไฟล์: 167)

ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ธ.ค.56

ที่มา: ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ธ.ค.56
วันที่โพสต์: 25/12/2556 เวลา 03:37:21

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เอกชัย หงษ์กังวาน ระบอบประชาธิปไตยของไทยกำลังเดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุดใน ประวัติศาสตร์อีกครั้ง เมื่อศาลรัฐธรรมนูญให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภาขัดกับหลักรัฐธรรมนูญ และซ้ำร้ายกว่านั้นคือการที่ กปปส.นำเสนอ"สภาประชาชน"ก่อนการเลือกตั้งซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้สำหรับ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แม้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจะผ่านการลงประชามติมาก่อน แต่การลงประชามติในครั้งนั้นถือเป็นการลงประชามติภายใต้รัฐบาลที่ไม่ได้มา จากการเลือกตั้ง และประชาชนถูกจำกัดไม่ให้มีการแสดงความเห็นอย่างเสรี สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุผลที่สำคัญที่ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันขาดการยอมรับ จากหลายฝ่ายโดยเฉพาะฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการรรัฐประหาร แต่่หากให้่รัฐสภาทำหน้าที่แก้ไขรัฐธรรมนูญเองก็อาจจะเกิดการต่อต้านจาก นักการเมืองฝ่ายตรงข้าม รวมถึงความหวาดระแวงที่จะมีต่อ"วาระซ่อนเร้น"เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นใน กรณี พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่ผ่านมา เมื่อการเมืองไทยเดินทางมาถึงทางตัน ที่ต่างฝ่ายต่างพยายามที่จะให้มีการปฏิรูปการเมืองไทย โดยอ้างว่าเป็นความต้องการของมหาประชาชนของฝ่ายตนเอง ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ไขวิกฤติรัฐธรรมนูญครั้งนี้ก็คือ การให้ประชาชนเป็นผู้ที่จะเลือกรัฐธรรมนูญฉบับที่ตนเองต้องการโดยการ ลง"ประชามติ" ในอดีตเคยมีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเป็น"แกนหลัก" ในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่ในปัจจุบันการเมืองไทยได้ดำเนินมาถึงจุดที่เกิดความแตกแยกทางความคิด อย่างรุนแรง ร่างรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญอาจไม่เป็นที่ยอมรับจากบางฝ่าย หากเนื้อหาในฉบับนี้ไม่ตรงกับสิ่งที่พวกเขาต้องการ ดังนั้นผมจึงเห็นว่านอกจากการที่จะให้สภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นผู้ยกร่างรัฐ ธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว รัฐบาลยังควรเปิดโอกาสให้ นปช.,กปปส.หรือ สปป.สามารถนำเสนอร่างรัฐธรรมนูญของฝ่ายตนเองให้ประชาชนได้เป็นผู้ตัดสินใจ ผ่านการลงประชามติได้ด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ผมจึงขอเสนอทางออกในการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยการทำประชามติดังนี้ 1.ให้ทุกพรรคการเมืองรวมทั้งพรรคประชาธิปัตย์ส่งผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 2.หลังการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลให้ทุกพรรคการเมืองที่มี ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎรร่วมกันผลักดันให้มีการจัดตั้ง"สภาร่างรัฐธรรมนูญ"ขึ้น 3.ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา 1 ฉบับเพื่อให้ประชาชนลงประชามติ ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ต้องเปิดโอการสให้ภาคประชาชนที่อาจไม่เห็นด้วยกับร่าง รัฐธรรมนูยที่ร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ สามารถนำเสนอร่างรัฐธรรมนูญของตัวเองขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนลงประชามติโดยการ เข้าชื่อผู้มีสิทธิในการเลือกตั้งไม่น้อยกว่า50,000คน หรือเสนอร่างฯผ่านกลไกรัฐสภา 4.ให้รัฐสภานำร่างรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญและของภาคประชาชนทุกฉบับเพื่อให้ประชาชนได้ลงประชามติ 5.กก ต.นำร่างรัฐธรรมนูญทุกฉบับมาจัดเรียงลำดับตามหมายเลข เช่นร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ก. ได้หมายเลข 1. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ข. ได้หมายเลข 2. โดยจัดทำบัตรลงคะแนนประชามติเรียงตามหมายเลข เพื่อให้ประชาชนได้ลงประชามติให้กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ตนเองต้องการ นอกจากนี้ยังมีช่อง"ไม่ประสงค์จะลงประชามติ"เพื่อที่จะให้ผู้ไม่ประสงค์จะลง ประชามติให้กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใดได้ลงคะแนน 6.กกต.กำหนดวันลงประชามติเพื่อให้ประชาชนได้ลงประชามติเลือกร่างรัฐ ธรรมนูญฉบับที่ตัวเองต้องการ หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับใดผ่านการลงประชามติให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับนั้น ประกาศใช้แทนรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แต่หากไม่มีร่างรัฐธรรมนูญฉบับใดผ่านการลงประชามติ ให้นำร่างรัฐธรรมนูญสองฉบับที่ผ่านการลงคะแนนสูงสุดมาทำการลงประชามติใหม่ อีกครั้ง หากไม่มีร่างรัฐธรรมนูญฉบับใดในสองฉบับผ่านการลงประชามติ ให้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันตามเดิม กฎหมายกำหนดให้ร่างกฎหมายที่จะผ่านการลงประชามติต้องได้รับคะแนนไม่น้อย กว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด ปัจจุบันมีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมดประมาณ 46ล้านคน ดังนั้นกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งประมาณ 23ล้านคนจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใดจะผ่านการลงประชามติ แต่หากมีร่างรัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติย่อมถือได้ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับ นั้นผ่านการยอมรับจาก "มวลมหาประชาชน"อย่างแท้จริง ส่วนวิธีการลงประชามติของผมอาจจะไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.การทำประชามติ ผมเห็นว่ารัฐสภาควรแก้ไข พ.ร.บ.ฉบับนี้ตามแนวทางข้างต้นซึ่งเป็นสิ่งที่ดีกว่าการลงประชามติหลายครั้ง ซึ่งจะเป็นการสร้างความเบื่อหน่ายให้กับประชาชน และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน นอกจากนี้หากว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ผ่านการลงประชามติและมีผลบังคับ ใช้แล้ว รัฐบาลควรจะยุบสภาให้เร็วที่สุดเพื่อให้เป็นไปตามกติกาของรัฐธรรมนูญฉบับ ใหม่ แต่หากไม่มีร่างรัฐธรรมนูญฉบับใดผ่านการลงประชามติ ประชาชนทุกคนก็ยังจำเป็นต้องยึดถือรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันต่อไป ขอบคุณ... http://prachatai.com/journal/2013/12/50644 ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ธ.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...