ปะทะความคิด 2 ขั้ว "เอกชัย-สมบัติ" ศาลรัฐธรรมนูญกับการ"เลื่อนเลือกตั้ง"

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ:หลังจากคณะกรรมการการ เลือกตั้ง (กกต.) ได้ยื่นหนังสือถึงศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 22 มกราคม เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 214 ใน 2 ประเด็น คือ 1) หน่วยงานใดมีอำนาจในการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้ง และ 2) กรณีมีเหตุจำเป็นสามารถกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้หรือไม่

เนื่อง มาจาก กกต. และ คณะรัฐมนตรี ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกา มีความเห็นขัดแย้งกัน ซึ่ง กกต.ให้เหตุผลตามกฎหมายว่า นายกรัฐมนตรีมีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการนำความขึ้นกราบบังคมทูลให้พระมหา กษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่และมี หน้าที่ในการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว

ทั้งนี้รัฐธรรมนูญมาตรา 214 ระบุถึงกรณีที่มีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่าง 2 องค์กรขึ้นไป

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ ได้พูดคุย 2 มุมมองวิชาการต่อประเด็นดังกล่าว

นายเอกชัย ไชยนุวัติ รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.สยาม และ โฆษกสมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) นายเอกชัย ไชยนุวัติ รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.สยาม และ โฆษกสมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) ให้ความเห็นว่า อันที่จริงแล้ว การยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยของ กกต. ครั้งนี้ ไม่เข้าข่าย มาตรา 214 เลย เนื่องจาก มาตรา 214 กล่าวถึง "ความขัดแย้ง" หรือถ้าพูดเป็นภาษาชาวบ้านคือ "ทะเลาะ" กัน กรณีนี้ ระหว่าง 2 องค์กร คือ รัฐบาล และ กกต. ไม่ได้ขัดแย้งหรือแย่งกันมีอำนาจในการเลื่อนเลือกตั้ง อีกกรณีคือ ไม่ได้ขัดแย้งกันว่า อีกฝ่ายมีอำนาจในการเลื่อนเลือกตั้งแต่ตนไม่มี

เพราะข้อเท็จจริงคือ ทั้งรัฐบาลและ กกต. ไม่มีอำนาจใดๆ ในการเลื่อนเลือกตั้งเลย และในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ก็ไม่ได้ให้อำนาจใครให้การเลื่อนเลือกตั้ง ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มีอำนาจรับคำร้องหรือวินิจฉัยในกรณีนี้ และคู่กรณีก็ไม่ได้ "ขัดแย้ง" หรือ "ทะเลาะ" กันแต่แรกด้วย

"ข้อเรียกร้องของ กกต.ไม่ใช่ข้อเรียกร้องที่ยึดหลักการ เพราะไม่ว่า นักกฎหมาย นักการเมือง หรือนักวิชาการคนใดๆ ก็หาไม่เจอว่า รัฐธรรมนูญมาตราใดที่เสนอให้มีการเลื่อนเลือกตั้งได้" นายเอกชัยระบุ

นายเอกชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า คาดว่ามีความเป็นไปได้ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับเรื่องไว้วินิจฉัย อย่างไรก็ตาม หากศาลวินิจฉัยให้เลื่อนเลือกตั้งได้ ก็จะเป็นวิกฤตการเลือกตั้งของไทย

"ผมว่าถ้าศาลมาดูสถานการณ์ ก็จะเห็นว่า มีหน่วยเลือกตั้งพร้อมจำนวน 92.5% นั่นแปลว่า ประชาชนต้องการจะเลือกตั้ง มีเพียง 7.5% ที่ไม่พร้อม แต่ก็ต้องมาดูเหตุผลด้วยว่า เพราะอะไร เพราะผู้สมัครไปสมัครไม่ได้ เพราะโดนปิดกั้นหรือไม่"

"ในสถานการณ์การเมืองที่วุ่นวายเช่นนี้ มีทางออกให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตาม 3 ข้อ คือ 1. ให้สิทธิคนเท่ากัน นั่นคือ ต้องมีการเลือกตั้ง 2. เคารพและยึดกติการ่วมกันทุกๆ ฝ่าย และ 3. กรรมการผู้ดูแลกติกาต้องไม่ละเมิดกติกาเสียเอง แต่ถึงยังไง ถ้าปล่อยให้ไม่มีเลือกตั้ง ทางออกข้อที่ 1 ที่ผมเสนอ สังคมไทยก็ทำไม่ได้แล้ว" นายเอกชัยกล่าว

อ.เอกชัย กล่าวปิดท้ายว่า การเลือกตั้งต้องมีเพราะเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย แต่ส่วนตัวเชื่อว่า อาจไม่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในอนาคต

นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และคณะทำงานกลุ่มกปปส. ด้าน นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และคณะทำงานกลุ่มกปปส. ให้สัมภาษณ์ว่า กกต. สามารถยื่นศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 214 ได้ แต่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้ หรือส่งกลับหรือไม่นั้น ต้องรอดู

นายสมบัติ กล่าวว่า หากมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นก็ไม่สามารถเปิดประชุมสภาได้อยู่ดี เพราะ กกต. จะไม่สามารถประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ส.ได้ครบ 95% ได้ภายใน 30 วัน และหากรัฐบาลดันทุรังให้เกิดการเลือกตั้งขึ้น ก็คาดว่า ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคภูมิใจไทย และพรรคพลังประชาชน จะเข้ามาเป็นรัฐบาล เท่ากับว่าจะไม่มีพรรคฝ่ายค้านเลย พรรคเหล่านี้เกาะกลุ่มกันอยู่กับพรรคเพื่อไทย ทำให้การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นนี้เป็น "เผด็จการจากการเลือกตั้ง"

"อย่าเข้าใจว่า เลือกตั้งเป็นประชาธิปไตย เพราะมีหลักฐานให้เห็นแล้วว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพื่อทักษิณ ที่จริงสภาต้องเป็นตัวแทนใช้อำนาจที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน แต่นี่เป็นสภาหุ่นเชิด"

"จะเห็นเลยว่า ส.ส.บัญชีรายชื่อ หมายเลข 1 คือ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งต้องขึ้นมาเป็นผู้นำอีกถ้าได้รับเลือกตั้ง วิญญูชนที่คิดเป็น ต้องมองเห็นแล้วว่าเลือกตั้งแล้วจะมีอะไรรออยู่ จะวุ่นวายหรือไม่ ยิ่งเมื่อรัฐบาลประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็ทำให้กระทบท่องเที่ยวมากกว่าเดิม ชัดเจนว่า รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลเบ็ดเสร็จที่ไม่ได้สนใจเรื่องอื่น นอกจากชัยชนะของตน"

ผู้สื่อข่าวถามว่า มีนักวิชาการจำนวนหนึ่งเห็นว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องและวินิจฉัยกรณีเลื่อนเลือกตั้ง อาจเข้าข่ายสถานการณ์ที่อาจจะเป็นรัฐประหารเงียบ หรือไม่

นายสมบัติ กล่าวว่า ตนไม่มีความเห็นถึงนักวิชาการเหล่านี้ นักวิชาการเหล่านี้รู้ถูกผิด รู้ทุกอย่าง แต่เขาพูดอย่างนี้ไม่ใช่เพราะไม่เข้าใจ หรือไม่ใช้เหตุผล แต่เป็นเพราะมีวาระซ่อนเร้น นักวิชาการที่บอกให้เดินหน้าเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธุ์มีวาระซ่อนเร้น

ทั้งนี้ นายสมบัติ เสนอทางออกต่อสถานการณ์ในขณะนี้ว่า ในฐานะนักรัฐศาสตร์ ขอเสนอให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลงจากตำแหน่ง เพราะไม่มีผู้นำประเทศที่ดีคนใด จะปกครองประเทศในภาวะที่สังคมแตกแยก ต้องให้คนอื่นมาทำหน้าที่แทน ในประวัติศาสตร์นั้น ภาวะเช่นนี้อาจรุนแรงถึงขนาดแบ่งประเทศได้เลย

เมื่อถามต่อว่า เห็นด้วยหรือไม่กับการเลื่อนเลือกตั้ง นายสมบัติ เห็นว่า ถ้าเป็นคนที่คิดถึงประโยชน์ของชาติ ก็ต้องเห็นว่าเลือกตั้งแล้วจะเป็นเช่นไร การเลือกตั้งในสถานการณ์นี้ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติเลย

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1390393556 (ขนาดไฟล์: 143)

(ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ม.ค.2557)

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ม.ค.2557
วันที่โพสต์: 23/01/2557 เวลา 02:57:51 ดูภาพสไลด์โชว์ ปะทะความคิด 2 ขั้ว "เอกชัย-สมบัติ" ศาลรัฐธรรมนูญกับการ"เลื่อนเลือกตั้ง"

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

หมายเหตุ:หลังจากคณะกรรมการการ เลือกตั้ง (กกต.) ได้ยื่นหนังสือถึงศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 22 มกราคม เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 214 ใน 2 ประเด็น คือ 1) หน่วยงานใดมีอำนาจในการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้ง และ 2) กรณีมีเหตุจำเป็นสามารถกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้หรือไม่ เนื่อง มาจาก กกต. และ คณะรัฐมนตรี ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกา มีความเห็นขัดแย้งกัน ซึ่ง กกต.ให้เหตุผลตามกฎหมายว่า นายกรัฐมนตรีมีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการนำความขึ้นกราบบังคมทูลให้พระมหา กษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่และมี หน้าที่ในการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ทั้งนี้รัฐธรรมนูญมาตรา 214 ระบุถึงกรณีที่มีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่าง 2 องค์กรขึ้นไป ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ ได้พูดคุย 2 มุมมองวิชาการต่อประเด็นดังกล่าว นายเอกชัย ไชยนุวัติ รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.สยาม และ โฆษกสมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.)นายเอกชัย ไชยนุวัติ รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.สยาม และ โฆษกสมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) ให้ความเห็นว่า อันที่จริงแล้ว การยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยของ กกต. ครั้งนี้ ไม่เข้าข่าย มาตรา 214 เลย เนื่องจาก มาตรา 214 กล่าวถึง "ความขัดแย้ง" หรือถ้าพูดเป็นภาษาชาวบ้านคือ "ทะเลาะ" กัน กรณีนี้ ระหว่าง 2 องค์กร คือ รัฐบาล และ กกต. ไม่ได้ขัดแย้งหรือแย่งกันมีอำนาจในการเลื่อนเลือกตั้ง อีกกรณีคือ ไม่ได้ขัดแย้งกันว่า อีกฝ่ายมีอำนาจในการเลื่อนเลือกตั้งแต่ตนไม่มี เพราะข้อเท็จจริงคือ ทั้งรัฐบาลและ กกต. ไม่มีอำนาจใดๆ ในการเลื่อนเลือกตั้งเลย และในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ก็ไม่ได้ให้อำนาจใครให้การเลื่อนเลือกตั้ง ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มีอำนาจรับคำร้องหรือวินิจฉัยในกรณีนี้ และคู่กรณีก็ไม่ได้ "ขัดแย้ง" หรือ "ทะเลาะ" กันแต่แรกด้วย "ข้อเรียกร้องของ กกต.ไม่ใช่ข้อเรียกร้องที่ยึดหลักการ เพราะไม่ว่า นักกฎหมาย นักการเมือง หรือนักวิชาการคนใดๆ ก็หาไม่เจอว่า รัฐธรรมนูญมาตราใดที่เสนอให้มีการเลื่อนเลือกตั้งได้" นายเอกชัยระบุ นายเอกชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า คาดว่ามีความเป็นไปได้ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับเรื่องไว้วินิจฉัย อย่างไรก็ตาม หากศาลวินิจฉัยให้เลื่อนเลือกตั้งได้ ก็จะเป็นวิกฤตการเลือกตั้งของไทย "ผมว่าถ้าศาลมาดูสถานการณ์ ก็จะเห็นว่า มีหน่วยเลือกตั้งพร้อมจำนวน 92.5% นั่นแปลว่า ประชาชนต้องการจะเลือกตั้ง มีเพียง 7.5% ที่ไม่พร้อม แต่ก็ต้องมาดูเหตุผลด้วยว่า เพราะอะไร เพราะผู้สมัครไปสมัครไม่ได้ เพราะโดนปิดกั้นหรือไม่" "ในสถานการณ์การเมืองที่วุ่นวายเช่นนี้ มีทางออกให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตาม 3 ข้อ คือ 1. ให้สิทธิคนเท่ากัน นั่นคือ ต้องมีการเลือกตั้ง 2. เคารพและยึดกติการ่วมกันทุกๆ ฝ่าย และ 3. กรรมการผู้ดูแลกติกาต้องไม่ละเมิดกติกาเสียเอง แต่ถึงยังไง ถ้าปล่อยให้ไม่มีเลือกตั้ง ทางออกข้อที่ 1 ที่ผมเสนอ สังคมไทยก็ทำไม่ได้แล้ว" นายเอกชัยกล่าว อ.เอกชัย กล่าวปิดท้ายว่า การเลือกตั้งต้องมีเพราะเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย แต่ส่วนตัวเชื่อว่า อาจไม่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในอนาคต นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และคณะทำงานกลุ่มกปปส. ด้าน นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และคณะทำงานกลุ่มกปปส. ให้สัมภาษณ์ว่า กกต. สามารถยื่นศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 214 ได้ แต่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้ หรือส่งกลับหรือไม่นั้น ต้องรอดู นายสมบัติ กล่าวว่า หากมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นก็ไม่สามารถเปิดประชุมสภาได้อยู่ดี เพราะ กกต. จะไม่สามารถประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ส.ได้ครบ 95% ได้ภายใน 30 วัน และหากรัฐบาลดันทุรังให้เกิดการเลือกตั้งขึ้น ก็คาดว่า ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคภูมิใจไทย และพรรคพลังประชาชน จะเข้ามาเป็นรัฐบาล เท่ากับว่าจะไม่มีพรรคฝ่ายค้านเลย พรรคเหล่านี้เกาะกลุ่มกันอยู่กับพรรคเพื่อไทย ทำให้การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นนี้เป็น "เผด็จการจากการเลือกตั้ง" "อย่าเข้าใจว่า เลือกตั้งเป็นประชาธิปไตย เพราะมีหลักฐานให้เห็นแล้วว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพื่อทักษิณ ที่จริงสภาต้องเป็นตัวแทนใช้อำนาจที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน แต่นี่เป็นสภาหุ่นเชิด" "จะเห็นเลยว่า ส.ส.บัญชีรายชื่อ หมายเลข 1 คือ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งต้องขึ้นมาเป็นผู้นำอีกถ้าได้รับเลือกตั้ง วิญญูชนที่คิดเป็น ต้องมองเห็นแล้วว่าเลือกตั้งแล้วจะมีอะไรรออยู่ จะวุ่นวายหรือไม่ ยิ่งเมื่อรัฐบาลประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็ทำให้กระทบท่องเที่ยวมากกว่าเดิม ชัดเจนว่า รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลเบ็ดเสร็จที่ไม่ได้สนใจเรื่องอื่น นอกจากชัยชนะของตน" ผู้สื่อข่าวถามว่า มีนักวิชาการจำนวนหนึ่งเห็นว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องและวินิจฉัยกรณีเลื่อนเลือกตั้ง อาจเข้าข่ายสถานการณ์ที่อาจจะเป็นรัฐประหารเงียบ หรือไม่ นายสมบัติ กล่าวว่า ตนไม่มีความเห็นถึงนักวิชาการเหล่านี้ นักวิชาการเหล่านี้รู้ถูกผิด รู้ทุกอย่าง แต่เขาพูดอย่างนี้ไม่ใช่เพราะไม่เข้าใจ หรือไม่ใช้เหตุผล แต่เป็นเพราะมีวาระซ่อนเร้น นักวิชาการที่บอกให้เดินหน้าเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธุ์มีวาระซ่อนเร้น ทั้งนี้ นายสมบัติ เสนอทางออกต่อสถานการณ์ในขณะนี้ว่า ในฐานะนักรัฐศาสตร์ ขอเสนอให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลงจากตำแหน่ง เพราะไม่มีผู้นำประเทศที่ดีคนใด จะปกครองประเทศในภาวะที่สังคมแตกแยก ต้องให้คนอื่นมาทำหน้าที่แทน ในประวัติศาสตร์นั้น ภาวะเช่นนี้อาจรุนแรงถึงขนาดแบ่งประเทศได้เลย เมื่อถามต่อว่า เห็นด้วยหรือไม่กับการเลื่อนเลือกตั้ง นายสมบัติ เห็นว่า ถ้าเป็นคนที่คิดถึงประโยชน์ของชาติ ก็ต้องเห็นว่าเลือกตั้งแล้วจะเป็นเช่นไร การเลือกตั้งในสถานการณ์นี้ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติเลย ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1390393556 (ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ม.ค.2557)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...