ศาลรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ

แสดงความคิดเห็น

ศาลรัฐธรรมนูญเริ่มเป็นที่มาของความขัดแย้งของผู้คนในราช อาณาจักร เราจะเห็นว่า ในโซเชียลมีเดีย มีผู้คนกระหายใคร่ทราบเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญของประเทศอื่นกันเยอะมาก สำหรับเปิดฟ้าส่องโลก ก็มีคนถามมากันมาบ้างในเรื่องศาลรัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ ว่ามีหรือไม่อย่างไร และได้รับการยอมรับมากน้อยแค่ไหน

ขอตอบเลยครับ ว่าในหลายประเทศมีศาลรัฐธรรมนูญ แต่เรื่องการได้รับการยอมรับมากน้อยแค่ไหนนั้น ก็แล้วแต่ความประพฤติปฏิบัติของท่านตุลาการ ว่ามีความเป็นกลางมากน้อยแค่ไหน ความเป็นกลางหรือไม่เป็นกลางของศาลรัฐธรรมนูญนี่แหละครับ เป็นปัจจัยที่จะทำให้ชาติมั่นคง หรือชาติแตกได้

ผู้อ่านท่านหนึ่งถาม ถึงศาลรัฐธรรมนูญรัสเซีย ผมขอตอบว่า รัฐธรรมนูญของรัสเซีย มาตรา 118-123 เป็นเรื่องกระบวนการยุติธรรมทั่วไป แต่พอถึงมาตราที่ 125 ก็เป็นเรื่องของศาลรัฐธรรมนูญ

ศาลรัฐธรรมนูญของรัสเซียมีตุลาการ 19 คน จะรับวินิจฉัยหรือตีความรัฐธรรมนูญเฉพาะกรณีที่ได้รับการร้องขอโดย ประธานาธิบดี สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา คณะรัฐมนตรี ศาลฎีกา ศาลอนุญาโตตุลาการ หรือองค์กรบริหารของดินแดนในปกครองของรัสเซียเท่านั้น

ขอบเขตที่ศาลรัฐธรรมนูญของรัสเซียจะรับวินิจฉัยได้นั้น มีค่อนข้างจำกัด คือใช้วินิจฉัยได้เพียงกฎหมายสหพันธรัฐ การกระทำตามอำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดี วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และคณะรัฐมนตรี

ชื่อเต็มอย่างเป็นทางการของรัสเซียคือ สหพันธรัฐรัสเซีย ดูชื่อประเทศก็รู้นะครับ ว่ารัสเซียประกอบด้วยสาธารณรัฐ ดินแดนในปกครอง ภาค นคร และเขตปกครองตนเอง ซึ่งมีความเท่าเทียมกันภายใต้สหพันธรัฐรัสเซีย ดังนั้น สาธารณรัฐ ดินแดนในปกครอง ภาค นคร และเขตการปกครองตนเอง ต่างมีรัฐธรรมนูญและมีสภานิติบัญญัติเป็นของตนเอง

ศาลรัฐธรรมนูญของ รัสเซียมีอำนาจวินิจฉัยรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐต่างๆ (ที่ประกอบกันเป็นสหพันธรัฐ) มีอำนาจวินิจฉัยธรรมนูญ กฎหมาย และการกระทำอื่นของดินแดนในปกครองของสหพันธรัฐ นอกจากนั้น ยังมีอำนาจวินิจฉัยข้อตกลงระหว่างองค์กร ขององค์กรของรัฐของสหพันธรัฐรัสเซีย กับองค์กรต่างๆ ของในดินแดนในปกครองของรัสเซีย

ศาลรัฐธรรมนูญรัสเซียมีอำนาจวินิจฉัย ข้อตกลงระหว่างประเทศหรือไม่? ขออนุญาตตอบว่า “มี” แต่ต้องเป็นข้อตกลงที่ยังไม่มีผลบังคับใช้เท่านั้นนะครับ

ศาลรัฐธรรมนูญของรัสเซียยังมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาความขัดแย้งในเรื่อง เขตอำนาจระหว่างองค์กรตามรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐรัสเซียด้วยกัน ระหว่างองค์กรของรัฐของสหพันธรัฐกับองค์กรของรัฐของดินแดนในปกครอง และระหว่างองค์กรสูงสุดของบรรดาดินแดนในปกครองของสหพันธรัฐรัสเซียด้วยกันเอง

รัสเซียชนคนหนึ่งไปร้องว่ามีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐ ธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญของรัสเซียจะมีอำนาจรับวินิจฉัยในเรื่องนี้หรือไม่? ขอตอบว่า “มีครับ”

อีกประเทศหนึ่งซึ่งน่าสนใจก็คือ เยอรมนี ประเทศนี้มีการตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญไวมาร์ ค.ศ.1919 เพื่อให้เป็นองค์กรศาลที่มีอำนาจพิจารณาข้อพิพาททางรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญไวมาร์ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสำคัญ 3 อย่าง อย่างแรกคือ พิจารณาข้อพิพาททางรัฐธรรมนูญอันเป็นปัญหาภายในของรัฐ

อย่างที่สอง พิจารณาวินิจฉัยกรณีที่มีการฟ้องให้ตรวจสอบฝ่ายบริหาร เช่น ฟ้องประธานาธิบดี ฟ้องนายกรัฐมนตรี หรือฟ้องรัฐมนตรีของสหพันธ์ และอย่างที่สาม พิจารณาปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสหพันธรัฐ

สมัย ก่อนตอนที่เยอรมนีอยู่ภายใต้การปกครองของฮิตเลอร์ เยอรมนีไม่มีศาลรัฐธรรมนูญ แต่หลังจากที่เยอรมนีแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ใน ค.ศ.1945 ก็มีการตั้งองค์กรศาลรัฐธรรมนูญอีกครั้งในระดับรัฐ รัฐโน้นก็ตั้ง รัฐนี้ก็ตั้ง แต่สำหรับในระดับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีนั้น

ศาลรัฐ ธรรมนูญมาถูกตั้งขึ้นในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีอำนาจวินิจฉัยความขัดแย้งเกี่ยวกับสถานภาพระหว่างองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ความขัดแย้งของระบบกฎหมายภายในประเทศ และความขัดแย้งตามรัฐธรรมนูญระหว่างสหพันธ์กับรัฐ

ศาลรัฐธรรมนูญ เยอรมันยังทำหน้าที่เป็นองค์กรสำรองสำหรับตัดสินคดีที่ขัดแย้งตามรัฐธรรมนูญ ภายในรัฐ ในกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดให้ไปพึ่งศาลใดได้อีกด้วย

เรื่อง ของศาลรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบยังมีอีกเยอะครับ วันหน้าถ้ามีโอกาส ผมจะค่อยๆ ทยอยนำมารับใช้ผู้อ่านท่านที่เคารพ แต่ขออนุญาตไม่วิจารณ์ศาลนะครับ….โดย นายนิติ นวรัตน์

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/oversea/worldsky/395451 (ขนาดไฟล์: 167)

(ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 ม.ค.57 )

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 13/01/2557 เวลา 02:11:11

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ศาลรัฐธรรมนูญเริ่มเป็นที่มาของความขัดแย้งของผู้คนในราช อาณาจักร เราจะเห็นว่า ในโซเชียลมีเดีย มีผู้คนกระหายใคร่ทราบเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญของประเทศอื่นกันเยอะมาก สำหรับเปิดฟ้าส่องโลก ก็มีคนถามมากันมาบ้างในเรื่องศาลรัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ ว่ามีหรือไม่อย่างไร และได้รับการยอมรับมากน้อยแค่ไหน ขอตอบเลยครับ ว่าในหลายประเทศมีศาลรัฐธรรมนูญ แต่เรื่องการได้รับการยอมรับมากน้อยแค่ไหนนั้น ก็แล้วแต่ความประพฤติปฏิบัติของท่านตุลาการ ว่ามีความเป็นกลางมากน้อยแค่ไหน ความเป็นกลางหรือไม่เป็นกลางของศาลรัฐธรรมนูญนี่แหละครับ เป็นปัจจัยที่จะทำให้ชาติมั่นคง หรือชาติแตกได้ ผู้อ่านท่านหนึ่งถาม ถึงศาลรัฐธรรมนูญรัสเซีย ผมขอตอบว่า รัฐธรรมนูญของรัสเซีย มาตรา 118-123 เป็นเรื่องกระบวนการยุติธรรมทั่วไป แต่พอถึงมาตราที่ 125 ก็เป็นเรื่องของศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญของรัสเซียมีตุลาการ 19 คน จะรับวินิจฉัยหรือตีความรัฐธรรมนูญเฉพาะกรณีที่ได้รับการร้องขอโดย ประธานาธิบดี สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา คณะรัฐมนตรี ศาลฎีกา ศาลอนุญาโตตุลาการ หรือองค์กรบริหารของดินแดนในปกครองของรัสเซียเท่านั้น ขอบเขตที่ศาลรัฐธรรมนูญของรัสเซียจะรับวินิจฉัยได้นั้น มีค่อนข้างจำกัด คือใช้วินิจฉัยได้เพียงกฎหมายสหพันธรัฐ การกระทำตามอำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดี วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และคณะรัฐมนตรี ชื่อเต็มอย่างเป็นทางการของรัสเซียคือ สหพันธรัฐรัสเซีย ดูชื่อประเทศก็รู้นะครับ ว่ารัสเซียประกอบด้วยสาธารณรัฐ ดินแดนในปกครอง ภาค นคร และเขตปกครองตนเอง ซึ่งมีความเท่าเทียมกันภายใต้สหพันธรัฐรัสเซีย ดังนั้น สาธารณรัฐ ดินแดนในปกครอง ภาค นคร และเขตการปกครองตนเอง ต่างมีรัฐธรรมนูญและมีสภานิติบัญญัติเป็นของตนเอง ศาลรัฐธรรมนูญของ รัสเซียมีอำนาจวินิจฉัยรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐต่างๆ (ที่ประกอบกันเป็นสหพันธรัฐ) มีอำนาจวินิจฉัยธรรมนูญ กฎหมาย และการกระทำอื่นของดินแดนในปกครองของสหพันธรัฐ นอกจากนั้น ยังมีอำนาจวินิจฉัยข้อตกลงระหว่างองค์กร ขององค์กรของรัฐของสหพันธรัฐรัสเซีย กับองค์กรต่างๆ ของในดินแดนในปกครองของรัสเซีย ศาลรัฐธรรมนูญรัสเซียมีอำนาจวินิจฉัย ข้อตกลงระหว่างประเทศหรือไม่? ขออนุญาตตอบว่า “มี” แต่ต้องเป็นข้อตกลงที่ยังไม่มีผลบังคับใช้เท่านั้นนะครับ ศาลรัฐธรรมนูญของรัสเซียยังมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาความขัดแย้งในเรื่อง เขตอำนาจระหว่างองค์กรตามรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐรัสเซียด้วยกัน ระหว่างองค์กรของรัฐของสหพันธรัฐกับองค์กรของรัฐของดินแดนในปกครอง และระหว่างองค์กรสูงสุดของบรรดาดินแดนในปกครองของสหพันธรัฐรัสเซียด้วยกันเอง รัสเซียชนคนหนึ่งไปร้องว่ามีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐ ธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญของรัสเซียจะมีอำนาจรับวินิจฉัยในเรื่องนี้หรือไม่? ขอตอบว่า “มีครับ” อีกประเทศหนึ่งซึ่งน่าสนใจก็คือ เยอรมนี ประเทศนี้มีการตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญไวมาร์ ค.ศ.1919 เพื่อให้เป็นองค์กรศาลที่มีอำนาจพิจารณาข้อพิพาททางรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญไวมาร์ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสำคัญ 3 อย่าง อย่างแรกคือ พิจารณาข้อพิพาททางรัฐธรรมนูญอันเป็นปัญหาภายในของรัฐ อย่างที่สอง พิจารณาวินิจฉัยกรณีที่มีการฟ้องให้ตรวจสอบฝ่ายบริหาร เช่น ฟ้องประธานาธิบดี ฟ้องนายกรัฐมนตรี หรือฟ้องรัฐมนตรีของสหพันธ์ และอย่างที่สาม พิจารณาปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสหพันธรัฐ สมัย ก่อนตอนที่เยอรมนีอยู่ภายใต้การปกครองของฮิตเลอร์ เยอรมนีไม่มีศาลรัฐธรรมนูญ แต่หลังจากที่เยอรมนีแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ใน ค.ศ.1945 ก็มีการตั้งองค์กรศาลรัฐธรรมนูญอีกครั้งในระดับรัฐ รัฐโน้นก็ตั้ง รัฐนี้ก็ตั้ง แต่สำหรับในระดับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีนั้น ศาลรัฐ ธรรมนูญมาถูกตั้งขึ้นในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีอำนาจวินิจฉัยความขัดแย้งเกี่ยวกับสถานภาพระหว่างองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ความขัดแย้งของระบบกฎหมายภายในประเทศ และความขัดแย้งตามรัฐธรรมนูญระหว่างสหพันธ์กับรัฐ ศาลรัฐธรรมนูญ เยอรมันยังทำหน้าที่เป็นองค์กรสำรองสำหรับตัดสินคดีที่ขัดแย้งตามรัฐธรรมนูญ ภายในรัฐ ในกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดให้ไปพึ่งศาลใดได้อีกด้วย เรื่อง ของศาลรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบยังมีอีกเยอะครับ วันหน้าถ้ามีโอกาส ผมจะค่อยๆ ทยอยนำมารับใช้ผู้อ่านท่านที่เคารพ แต่ขออนุญาตไม่วิจารณ์ศาลนะครับ….โดย นายนิติ นวรัตน์ ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/oversea/worldsky/395451 (ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 ม.ค.57 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...