ต้นแบบการพัฒนาป่าตามแนวพระราชดำริ

ต้นแบบการพัฒนาป่าตามแนวพระราชดำริ

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี พร้อมด้วย นายดนุชา สินธวานนท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ (สำนักงาน กปร.) ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง ได้เดินทางเข้าเยี่ยมชมโครงการป่ารักน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านถ้ำติ้ว ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร

โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครให้การต้อนรับและราษฎรในโครงการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของราษฎรในการดูแลรักษาและอนุรักษ์ป่าที่ช่วยสร้างน้ำตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ความว่า พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ ดังพระราชดำรัสที่ว่า “พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า”

พระองค์ทรงเริ่มต้นโครงการป่ารักน้ำ ขึ้นที่บ้านถ้ำติ้วเป็นแห่งแรกเมื่อปี 2525 ปัจจุบันเป็นต้นแบบการพัฒนาตามแนวพระราชดำริที่สมบูรณ์แบบ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการสร้างผืนป่า พัฒนาแหล่งน้ำโดยสร้างความตระหนักในการหวงแหนทรัพยากร ป่าไม้ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรในพื้นที่รอบ ๆ โครงการป่ารักน้ำ เพื่อให้ราษฎรที่ยากจน สามารถประกอบอาชีพ มีรายได้เลี้ยงครอบครัวและหยุดการบุกรุกทำลายป่า

ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและราษฎรได้ร่วมกันปลูกป่าทดแทนพื้นที่ที่ถูกทำลายเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร มีการก่อสร้างฝายดักตะกอนเพื่อชะลอการไหลของน้ำและสร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าต้นน้ำ พร้อมกับการปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน และอบรมราษฎรเพื่อสร้างพลังอำนาจของชุมชน ให้ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ในการฟื้นฟูสภาพป่า ส่งผลให้พื้นที่ป่าจำนวน 17,000 ไร่ ในเขตพื้นที่โครงการ ป่ารักน้ำฯ ได้รับการพัฒนาฟื้นฟูให้มีความอุดมสมบูรณ์มีความหลากหลายของพันธุ์พืชและทางชีวภาพส่งผลถึงความสมบูรณ์ของดิน น้ำ และป่าอย่างเห็นได้ชัดเจนในปัจจุบัน

ทำให้ราษฎรที่อาศัยอยู่บริเวณรอบโครงการและบริเวณใกล้เคียงในตำบลปทุมวาปีมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรเพิ่มขึ้นถึง 1,400 ครัวเรือน ประชากร 6,046 คน ที่สำคัญ ราษฎรส่วนนี้ในปัจจุบันสามารถทำการเพาะปลูกพืชผักได้หลายชนิดและสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อการบริโภคในครัวเรือน และส่งจำหน่ายในตลาดเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากความชุ่มชื้นจากผืนป่ายังผลให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยรอบเอื้อต่อการเพาะปลูกเป็นอย่างดี ยังผลให้ในปัจจุบันราษฎรในพื้นที่มีความหวงแหนในผืนป่าแห่งนี้เป็นอย่างยิ่ง และถือเป็นต้นแบบในการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ ที่เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม ที่หลายพื้นที่ได้นำไปปฏิบัติใช้จนประสบความสำเร็จในหลายแห่งด้วยกัน

และในโอกาสนี้ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี พร้อมด้วย นายดนุชา สินธวานนท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ (สำนักงาน กปร.) ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง ได้เดินทางเข้าเยี่ยมชมโครงการป่ารักน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านถ้ำติ้ว ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร

โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครให้การต้อนรับและราษฎรในโครงการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของราษฎรในการดูแลรักษาและอนุรักษ์ป่าที่ช่วยสร้างน้ำตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ความว่า พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ ดังพระราชดำรัสที่ว่า “พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า”

พระองค์ทรงเริ่มต้นโครงการป่ารักน้ำ ขึ้นที่บ้านถ้ำติ้วเป็นแห่งแรกเมื่อปี 2525 ปัจจุบันเป็นต้นแบบการพัฒนาตามแนวพระราชดำริที่สมบูรณ์แบบ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการสร้างผืนป่า พัฒนาแหล่งน้ำโดยสร้างความตระหนักในการหวงแหนทรัพยากร ป่าไม้ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรในพื้นที่รอบ ๆ โครงการป่ารักน้ำ เพื่อให้ราษฎรที่ยากจน สามารถประกอบอาชีพ มีรายได้เลี้ยงครอบครัวและหยุดการบุกรุกทำลายป่า

ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและราษฎรได้ร่วมกันปลูกป่าทดแทนพื้นที่ที่ถูกทำลายเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร มีการก่อสร้างฝายดักตะกอนเพื่อชะลอการไหลของน้ำและสร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าต้นน้ำ พร้อมกับการปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน และอบรมราษฎรเพื่อสร้างพลังอำนาจของชุมชน ให้ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ในการฟื้นฟูสภาพป่า ส่งผลให้พื้นที่ป่าจำนวน 17,000 ไร่ ในเขตพื้นที่โครงการ ป่ารักน้ำฯ ได้รับการพัฒนาฟื้นฟูให้มีความอุดมสมบูรณ์มีความหลากหลายของพันธุ์พืชและทางชีวภาพส่งผลถึงความสมบูรณ์ของดิน น้ำ และป่าอย่างเห็นได้ชัดเจนในปัจจุบัน

ทำให้ราษฎรที่อาศัยอยู่บริเวณรอบโครงการและบริเวณใกล้เคียงในตำบลปทุมวาปีมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรเพิ่มขึ้นถึง 1,400 ครัวเรือน ประชากร 6,046 คน ที่สำคัญ ราษฎรส่วนนี้ในปัจจุบันสามารถทำการเพาะปลูกพืชผักได้หลายชนิดและสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อการบริโภคในครัวเรือน และส่งจำหน่ายในตลาดเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากความชุ่มชื้นจากผืนป่ายังผลให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยรอบเอื้อต่อการเพาะปลูกเป็นอย่างดี ยังผลให้ในปัจจุบันราษฎรในพื้นที่มีความหวงแหนในผืนป่าแห่งนี้เป็นอย่างยิ่ง และถือเป็นต้นแบบในการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ ที่เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม ที่หลายพื้นที่ได้นำไปปฏิบัติใช้จนประสบความสำเร็จในหลายแห่งด้วยกัน

และในโอกาสนี้ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรีและคณะฯ ได้ปลูกต้นพะยูงและปล่อยพันธุ์ปลาร่วมกับประชาชนลงในอ่างเก็บน้ำคำจวง พร้อมชมผลิตภัณฑ์กลุ่มอาชีพเครือข่าย รวมถึงได้เยี่ยมชมพื้นที่สวนป่าทรงปลูก ในโครงการป่ารักน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อีกด้วย.นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรีและคณะฯ ได้ปลูกต้นพะยูงและปล่อยพันธุ์ปลาร่วมกับประชาชนลงในอ่างเก็บน้ำคำจวง พร้อมชมผลิตภัณฑ์กลุ่มอาชีพเครือข่าย รวมถึงได้เยี่ยมชมพื้นที่สวนป่าทรงปลูก ในโครงการป่ารักน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อีกด้วย

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/agriculture/511123 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.ค.59
วันที่โพสต์: 25/07/2559 เวลา 10:46:25 ดูภาพสไลด์โชว์ ต้นแบบการพัฒนาป่าตามแนวพระราชดำริ