พันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partner)

แสดงความคิดเห็น

พันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partner)

คอลัมน์ เรื่องเล่าซีอีโอ โดย วิชัย เบญจรงคกุล

เริ่มต้นเราควรทำความเข้าใจกับความ หมายของคำว่า "พันธมิตรทางธุรกิจ" ก่อนว่า เรามีความเข้าใจตรงกันหรือไม่ ท่านผู้อ่านจะได้มองภาพตามสิ่งที่ผมจะเล่าสู่กันได้ และมีความเข้าใจ ในคำว่า "พันธมิตรทางธุรกิจ หรือ Strategic Partner" นั้น ในมุมมองของผมหมายถึงการที่เรามีคู่ค้าหรือหุ้นส่วนในธุรกิจที่เราทำงานร่วม กันเพื่อผลสำเร็จของกิจการนั้น ในที่นี้เราจะเน้นในส่วนที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจในลักษณะของหุ้น ส่วนในกิจการ เมื่อเรามีหุ้นส่วนที่มีความสามารถที่จะช่วยกันสร้างธุรกิจให้เข้มแข็ง และนำกิจการไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน

การเกิดของ "พันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partnership)" มิได้เพิ่งมีกันเมื่อไม่นานมานี้ แต่จริง ๆ มีมานานตั้งแต่สมัยโบราณที่มีการค้ากัน เริ่มตั้งแต่การที่บริษัท ห้างร้าน ที่เป็นหุ้นส่วนคู่ค้ารวมตัวกันก่อตั้งกิจการหรือควบกิจการกัน ก่อให้เกิดพันธมิตรทางธุรกิจในกิจการมาเป็นกิจการใหม่ และมีการจัดการใหม่ร่วมกันของหุ้นส่วนคู่ค้า

แม้แต่ในประเทศไทยก็มี มานานแล้ว แต่เรามาพูดถึงเรื่องพันธมิตรทางธุรกิจมากก็สมัยวิกฤตการณ์เศรษฐกิจปี 2540 หรือที่รู้จักกันว่า "วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง" เมื่อกิจการในประเทศไทย หลาย ๆ กิจการจำเป็นที่จะต้องระดมเพิ่มทุนเพื่อมาแก้ไขปัญหาด้านการเงินของกิจการ และมีการหาพันธมิตรทางธุรกิจ ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำไปสู่การแก้ไขทางด้านปัญหาการเงินที่จะมา ช่วยแก้ไขสถานการณ์ของกิจการได้

และยังสามารถนำความรู้ความเข้าใจใหม่ ๆ ในกิจการนั้น ๆ มาช่วยปรับปรุง ตลอดจนขยายกิจการให้เติบโตเพื่อหลุดพ้นจากวิกฤตการณ์ครั้งนั้น จึงมีการระดมกำลังค้นหาและนำพามาแนะนำพันธมิตรทางธุรกิจที่มาจากทั้งภายใน ประเทศและจากภายนอกประเทศ แก่กิจการต่าง ๆ ที่ประสงค์จะหาพันธมิตรทางธุรกิจมาช่วยแก้ปัญหาครั้งนั้น ซึ่งหลายครั้งก็อาจพบว่ามีสถาบันการเงินที่สนใจในการลงทุนในกิจการต่าง ๆ แต่เราสามารถไม่ถือว่าสถาบันการเงินคือพันธมิตรทางธุรกิจที่ดีของทุกกิจการ เพราะเขาไม่มีความชำนาญในกิจการทุกกิจการ

แต่สถาบันการเงินอาจจะ เป็นพันธมิตรทางธุรกิจสำหรับธุรกิจการเงินของสถาบันการเงินด้วยกัน ในกรณีของธุรกิจอื่น ๆ เช่น โทรคมนาคม อสังหาริมทรัพย์ หรือการบริการต่าง ๆ เป็นต้น

พันธมิตรทางธุรกิจที่สามารถเข้ามาช่วยทั้งด้านการเงินและ ความสามารถในการประกอบกิจการในตอนนั้น ส่วนมากจะมาจากต่างประเทศ เพราะกิจการไทยด้วยกันก็ประสบปัญหาในสภาพที่คล้ายกัน

หรือคนที่พอมีทุนทรัพย์ก็อาจมีความระมัดระวังตัว ไม่ต้องการเพิ่มความเสี่ยงแก่กิจการและฐานะทางการเงินของตัวเองในช่วงเวลานั้น

กิจการใหญ่ ๆ หลายกิจการในเวลานั้นต้องการมองหาพันธมิตรทางธุรกิจที่เป็นกิจการ หรือบุคคลที่เป็นชาวต่างชาติที่มีเงินและมีความรู้

การค้นหากิจการที่น่าสนใจในการลงทุนประกอบการที่สามารถดูแลผลประโยชน์อย่างลง ตัว และคุ้มค่าสำหรับนักลงทุนที่เข้ามามองหาธุรกิจที่จะเข้ามาลงทุนในช่วงวิกฤต ทางเศรษฐกิจก็เป็นเรื่องหนึ่ง

สำหรับกิจการไทยที่ต้องหาพันธมิตรทาง ธุรกิจที่จะรักษาประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นเดิม และช่วยปรับปรุงกิจการให้แข็งแรงต่อไปก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

กระบวน การในการค้นหาพันธมิตรทางธุรกิจสามารถใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปีได้ ขึ้นกับเงื่อนไขของสถานการณ์และยุทธศาสตร์ในการคัดเลือกพันธมิตรทางธุรกิจ ของแต่ละฝ่าย จากประสบการณ์ก็จะบอกว่า ถ้าคิดว่าเหมือนจะหาคู่สมรสที่คิดว่าจะอยู่กันอย่างมีความสุข และช่วยกันทำมาหากินบนความรักก็คงตอบได้เลยว่า "ไม่ใช่" เพราะความสัมพันธ์ในความเป็นพันธมิตรทางธุรกิจขึ้นอยู่บน "ผลประโยชน์" ของแต่ละฝ่ายที่ต้องจัดการให้ลงตัว

การมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ในกิจการ ย่อมนำไปสู่การเลิกราของความเป็นพันธมิตรทางธุรกิจของหุ้นส่วนได้ ดังนั้น การบริหารจัดการกิจการที่มีลักษณะของการถือหุ้นร่วมกัน บริหารร่วมกันของกิจการที่มีพันธมิตรทางธุรกิจ ต้องมีความชัดเจนในบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย และต้องมีกระบวนการจัดการในกรณีที่อาจมีข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นระหว่าง หุ้นส่วน

การใช้อารมณ์และความรู้สึก (แม้เคยเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของกิจการมาในอดีตก็ตาม) ไม่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเจรจาหรือตัดสินใจในกรณีมีข้อพิพาทระหว่าง กันกับพันธมิตรทางธุรกิจ ควรหากลไกในการแก้ปัญหาร่วมกัน เช่น ต้องสัญญาผู้ถือหุ้นระหว่างพันธมิตรทางธุรกิจทุกฝ่าย เพื่อระบุเงื่อนไขข้อตกลงในประเด็นสำคัญ ๆ ต่าง ๆ ที่จะร่วมกันบริหารกิจการหรือข้อตกลง

เกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่อง สำคัญต่าง ๆ ในการดำเนินกิจการ และต้องมีคณะกรรมการหรือตัวแทนของแต่ละฝ่าย ที่ประกอบด้วยผู้แทนระดับสูงของแต่ละฝ่าย (ในจำนวนคนไม่มาก แต่เป็นคนที่สามารถช่วยเจรจา

และหาข้อเสนอให้กับผู้ตัดสินใจระดับสูง ของแต่ละฝ่ายได้) ในการพิจารณาเรื่องที่อาจมีโอกาสสร้างความขัดแย้งในผลประโยชน์ หรือในตัวบุคคลที่เป็นผู้แทนในคณะผู้บริหารในกิจการของแต่ละฝ่าย

จน กระทั่งเป็นผู้กลั่นกรองเรื่องที่มีแนวโน้มว่าจะก่อให้เกิดความขัดแย้งแต่ ล่วงหน้า (ส่วนมากก็จะเกี่ยวกับการแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหาร การบริหารการลงทุนการเงิน)

เมื่อมีพันธมิตรทางธุรกิจ ก็คือมีหุ้นส่วนในกิจการที่สำคัญมาบริหารจัดการกิจการร่วมกัน ส่วนมากจะมีโครงสร้างของพันธมิตรทางธุรกิจอยู่สองแบบ คือ กรณีแรก มีการแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจนเด็ดขาด โดยฝ่ายหนึ่งจะมีหน้าที่จัดการดูแลกิจการอย่างเบ็ดเสร็จ และอีกฝ่ายหนึ่งจะร่วมวางนโยบายเท่านั้น และรอผลตอบแทนจากผลการดำเนินการ หรือ อีกกรณีคือร่วมกันบริหาร ความสลับซับซ้อนในกระบวนการทำงานร่วมกันก็จะยากกว่าในกรณีที่สอง ไว้จะเล่าต่อในครั้งหน้าจากประสบการณ์ตรงครับ

ขอบคุณ.. http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1380863874 (ขนาดไฟล์: 143)

( ประชาชาติออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ต.ค.56 )

ที่มา: ประชาชาติออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 6/10/2556 เวลา 03:32:20 ดูภาพสไลด์โชว์ พันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partner)

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partner) คอลัมน์ เรื่องเล่าซีอีโอ โดย วิชัย เบญจรงคกุล เริ่มต้นเราควรทำความเข้าใจกับความ หมายของคำว่า "พันธมิตรทางธุรกิจ" ก่อนว่า เรามีความเข้าใจตรงกันหรือไม่ ท่านผู้อ่านจะได้มองภาพตามสิ่งที่ผมจะเล่าสู่กันได้ และมีความเข้าใจ ในคำว่า "พันธมิตรทางธุรกิจ หรือ Strategic Partner" นั้น ในมุมมองของผมหมายถึงการที่เรามีคู่ค้าหรือหุ้นส่วนในธุรกิจที่เราทำงานร่วม กันเพื่อผลสำเร็จของกิจการนั้น ในที่นี้เราจะเน้นในส่วนที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจในลักษณะของหุ้น ส่วนในกิจการ เมื่อเรามีหุ้นส่วนที่มีความสามารถที่จะช่วยกันสร้างธุรกิจให้เข้มแข็ง และนำกิจการไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน การเกิดของ "พันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partnership)" มิได้เพิ่งมีกันเมื่อไม่นานมานี้ แต่จริง ๆ มีมานานตั้งแต่สมัยโบราณที่มีการค้ากัน เริ่มตั้งแต่การที่บริษัท ห้างร้าน ที่เป็นหุ้นส่วนคู่ค้ารวมตัวกันก่อตั้งกิจการหรือควบกิจการกัน ก่อให้เกิดพันธมิตรทางธุรกิจในกิจการมาเป็นกิจการใหม่ และมีการจัดการใหม่ร่วมกันของหุ้นส่วนคู่ค้า แม้แต่ในประเทศไทยก็มี มานานแล้ว แต่เรามาพูดถึงเรื่องพันธมิตรทางธุรกิจมากก็สมัยวิกฤตการณ์เศรษฐกิจปี 2540 หรือที่รู้จักกันว่า "วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง" เมื่อกิจการในประเทศไทย หลาย ๆ กิจการจำเป็นที่จะต้องระดมเพิ่มทุนเพื่อมาแก้ไขปัญหาด้านการเงินของกิจการ และมีการหาพันธมิตรทางธุรกิจ ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำไปสู่การแก้ไขทางด้านปัญหาการเงินที่จะมา ช่วยแก้ไขสถานการณ์ของกิจการได้ และยังสามารถนำความรู้ความเข้าใจใหม่ ๆ ในกิจการนั้น ๆ มาช่วยปรับปรุง ตลอดจนขยายกิจการให้เติบโตเพื่อหลุดพ้นจากวิกฤตการณ์ครั้งนั้น จึงมีการระดมกำลังค้นหาและนำพามาแนะนำพันธมิตรทางธุรกิจที่มาจากทั้งภายใน ประเทศและจากภายนอกประเทศ แก่กิจการต่าง ๆ ที่ประสงค์จะหาพันธมิตรทางธุรกิจมาช่วยแก้ปัญหาครั้งนั้น ซึ่งหลายครั้งก็อาจพบว่ามีสถาบันการเงินที่สนใจในการลงทุนในกิจการต่าง ๆ แต่เราสามารถไม่ถือว่าสถาบันการเงินคือพันธมิตรทางธุรกิจที่ดีของทุกกิจการ เพราะเขาไม่มีความชำนาญในกิจการทุกกิจการ แต่สถาบันการเงินอาจจะ เป็นพันธมิตรทางธุรกิจสำหรับธุรกิจการเงินของสถาบันการเงินด้วยกัน ในกรณีของธุรกิจอื่น ๆ เช่น โทรคมนาคม อสังหาริมทรัพย์ หรือการบริการต่าง ๆ เป็นต้น พันธมิตรทางธุรกิจที่สามารถเข้ามาช่วยทั้งด้านการเงินและ ความสามารถในการประกอบกิจการในตอนนั้น ส่วนมากจะมาจากต่างประเทศ เพราะกิจการไทยด้วยกันก็ประสบปัญหาในสภาพที่คล้ายกัน หรือคนที่พอมีทุนทรัพย์ก็อาจมีความระมัดระวังตัว ไม่ต้องการเพิ่มความเสี่ยงแก่กิจการและฐานะทางการเงินของตัวเองในช่วงเวลานั้น กิจการใหญ่ ๆ หลายกิจการในเวลานั้นต้องการมองหาพันธมิตรทางธุรกิจที่เป็นกิจการ หรือบุคคลที่เป็นชาวต่างชาติที่มีเงินและมีความรู้ การค้นหากิจการที่น่าสนใจในการลงทุนประกอบการที่สามารถดูแลผลประโยชน์อย่างลง ตัว และคุ้มค่าสำหรับนักลงทุนที่เข้ามามองหาธุรกิจที่จะเข้ามาลงทุนในช่วงวิกฤต ทางเศรษฐกิจก็เป็นเรื่องหนึ่ง สำหรับกิจการไทยที่ต้องหาพันธมิตรทาง ธุรกิจที่จะรักษาประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นเดิม และช่วยปรับปรุงกิจการให้แข็งแรงต่อไปก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง กระบวน การในการค้นหาพันธมิตรทางธุรกิจสามารถใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปีได้ ขึ้นกับเงื่อนไขของสถานการณ์และยุทธศาสตร์ในการคัดเลือกพันธมิตรทางธุรกิจ ของแต่ละฝ่าย จากประสบการณ์ก็จะบอกว่า ถ้าคิดว่าเหมือนจะหาคู่สมรสที่คิดว่าจะอยู่กันอย่างมีความสุข และช่วยกันทำมาหากินบนความรักก็คงตอบได้เลยว่า "ไม่ใช่" เพราะความสัมพันธ์ในความเป็นพันธมิตรทางธุรกิจขึ้นอยู่บน "ผลประโยชน์" ของแต่ละฝ่ายที่ต้องจัดการให้ลงตัว การมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ในกิจการ ย่อมนำไปสู่การเลิกราของความเป็นพันธมิตรทางธุรกิจของหุ้นส่วนได้ ดังนั้น การบริหารจัดการกิจการที่มีลักษณะของการถือหุ้นร่วมกัน บริหารร่วมกันของกิจการที่มีพันธมิตรทางธุรกิจ ต้องมีความชัดเจนในบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย และต้องมีกระบวนการจัดการในกรณีที่อาจมีข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นระหว่าง หุ้นส่วน การใช้อารมณ์และความรู้สึก (แม้เคยเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของกิจการมาในอดีตก็ตาม) ไม่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเจรจาหรือตัดสินใจในกรณีมีข้อพิพาทระหว่าง กันกับพันธมิตรทางธุรกิจ ควรหากลไกในการแก้ปัญหาร่วมกัน เช่น ต้องสัญญาผู้ถือหุ้นระหว่างพันธมิตรทางธุรกิจทุกฝ่าย เพื่อระบุเงื่อนไขข้อตกลงในประเด็นสำคัญ ๆ ต่าง ๆ ที่จะร่วมกันบริหารกิจการหรือข้อตกลง เกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่อง สำคัญต่าง ๆ ในการดำเนินกิจการ และต้องมีคณะกรรมการหรือตัวแทนของแต่ละฝ่าย ที่ประกอบด้วยผู้แทนระดับสูงของแต่ละฝ่าย (ในจำนวนคนไม่มาก แต่เป็นคนที่สามารถช่วยเจรจา และหาข้อเสนอให้กับผู้ตัดสินใจระดับสูง ของแต่ละฝ่ายได้) ในการพิจารณาเรื่องที่อาจมีโอกาสสร้างความขัดแย้งในผลประโยชน์ หรือในตัวบุคคลที่เป็นผู้แทนในคณะผู้บริหารในกิจการของแต่ละฝ่าย จน กระทั่งเป็นผู้กลั่นกรองเรื่องที่มีแนวโน้มว่าจะก่อให้เกิดความขัดแย้งแต่ ล่วงหน้า (ส่วนมากก็จะเกี่ยวกับการแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหาร การบริหารการลงทุนการเงิน) เมื่อมีพันธมิตรทางธุรกิจ ก็คือมีหุ้นส่วนในกิจการที่สำคัญมาบริหารจัดการกิจการร่วมกัน ส่วนมากจะมีโครงสร้างของพันธมิตรทางธุรกิจอยู่สองแบบ คือ กรณีแรก มีการแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจนเด็ดขาด โดยฝ่ายหนึ่งจะมีหน้าที่จัดการดูแลกิจการอย่างเบ็ดเสร็จ และอีกฝ่ายหนึ่งจะร่วมวางนโยบายเท่านั้น และรอผลตอบแทนจากผลการดำเนินการ หรือ อีกกรณีคือร่วมกันบริหาร ความสลับซับซ้อนในกระบวนการทำงานร่วมกันก็จะยากกว่าในกรณีที่สอง ไว้จะเล่าต่อในครั้งหน้าจากประสบการณ์ตรงครับ ขอบคุณ.. http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1380863874 ( ประชาชาติออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ต.ค.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...