กลยุทธ์ HRM สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก (จบ)

แสดงความคิดเห็น

ผู้ประกอบการเข้าร่วมศึกษากลยุทธ์ HRM สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก

โดย รศ.ดร.ศิริยุพา รุ่งเริงสุข สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/ภาพ ประกฤษณ์ จันทะวงษ์

สัปดาห์นี้ผู้เขียนจะขอสรุปกลยุทธ์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย (Human Resource Management) การบริหาร HR ที่รวบรวมจากธุรกิจขนาดเล็กในสหรัฐอเมริกาที่ประสบความสำเร็จในการบริหารงาน และบริหารคนมาเป็นแนวทางช่วยจุดประกายความคิดให้แก่เจ้าของกิจการขนาดย่อมใน บ้านเราได้เรียนรู้กันนะคะ ดูตัวอย่างจากคนอื่นแล้วเราก็ลองนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับบริบทของเรา หายากค่ะที่จะสามารถนำแบบจำลอง (Model) การบริหารงานจากบริษัทอื่นที่ประสบความสำเร็จแล้วนำมาใช้กับธุรกิจของเราได้ เลยโดยไม่ต้องมีการดัดแปลง อีกทั้งผู้เขียนเองก็ไม่สนับสนุนให้ผู้บริหารมีทัศนคติอย่างที่ว่านี้ด้วย เพราะทัศนคติที่นิยม “ก๊อบปี้” แนวทางบริหารจัดการของคนอื่นที่เห็นว่าดี โดยไม่พยายามวิเคราะห์หาแนวทางของตนเองหรือพยายามดัดแปลงให้ดีขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของธุรกิจเรานั้นเป็นการปิดกั้นการพัฒนาความคิด สร้างสรรค์ของเราในระยะยาว

“จิ๋วแต่แจ๋ว” ถึงเล็กก็เล็กแบบครบวงจร HRM

กลยุทธ์แรกก็คือ อย่านึกว่าการมีระบบ HR ที่ครบวงจรเป็นเรื่องที่บริษัทใหญ่ๆ เท่านั้นที่สมควรมี จากกรณีศึกษาของหลายบริษัทที่เติบโตขึ้นเป็นบริษัทที่แข็งแรงยั่งยืนพบว่า ต้องเริ่มจากสร้างระบบ HR ที่มีมาตรฐานก่อนในเรื่องหลัก 3 ประการ คือ มีการสรรหาคัดเลือก การพัฒนา และการจูงใจรักษาคนผ่านการประเมินผล การให้รางวัลและสวัสดิการที่มีหลักการเหตุผล เพราะสาเหตุที่หลายคนไม่อยากทำงานกับบริษัทเล็กๆ เป็นเพราะไม่ชอบการบริหารแบบตามใจเจ้าของ เล่นพรรคเล่นพวกกันอย่างโจ๋งครึ่มนั่นเอง และที่สำคัญที่สุดสำหรับธุรกิจขนาดย่อมคือ การที่ผู้นำที่เป็นเจ้าของกิจการตระหนักถึงความสำคัญของ HRM และใส่ใจสนับสนุนการบริหารคนอย่างจริงจัง ถ้าขาดคีย์แมนคนนี้แล้วขอบอกว่ายากที่จะหา HR มือโปรมาช่วยสร้างระบบ HRM ที่จะดึงดูดคนเก่งๆ มาทำงานให้ท่านได้อย่างยั่งยืน ถ้าได้มือโปรจริงๆ บริษัทเล็กๆ ก็สามารถมีระบบ HRM แบบครบวงจรในราคาย่อมเยาได้ค่ะ

สร้างวัฒนธรรมการทำงานที่เน้นค่านิยมของครอบครัว

บริษัทขนาดย่อมมักเป็นบริษัทครอบครัวที่เกิดจากความเชื่อ หรือค่านิยมของครอบครัวมาก่อน แต่ถึงแม้จะไม่ได้เป็นบริษัทครอบครัว แต่เป็นบริษัทที่เกิดใหม่จากการรวมหุ้นของหุ้นส่วนที่มีความเชื่อและค่านิยม ในการทำงานร่วมกัน ก็สามารถใช้ค่านิยมนั้นเป็นพื้นฐานในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรได้ เสน่ห์อีกประการหนึ่งของบริษัทเล็กๆ และบริษัทครอบครัวคือวัฒนธรรมในการทำงานที่เน้นความง่ายๆ ยืดหยุ่นได้ (แต่ไม่ใช่ยืดหย่อนจนขาดมาตรฐานนะคะ) ความเป็นกันเอง มีมิตรภาพมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อกันแบบเครือญาติ คุณสมบัติข้อนี้เป็นค่านิยมที่ควรรักษาไว้ แม้ว่าธุรกิจจะเติบโตขึ้นจนเป็นบริษัทใหญ่ก็ตามที HR ที่ฉลาดต้องรู้จักสร้างสมดุลระหว่างการรักษามาตรฐานและคุณภาพในการทำงานกับ การเป็นกันเองยืดหยุ่นแบบสมาชิกในครอบครัวเอาไว้ Julie Shoufler อดีตผู้บริหาร HR ที่มีประสบการณ์มากมายในการทำงานกับธุรกิจขนาดเล็กอย่าง Lone Rock Timber Management เล่าว่าแม้ในช่วงเศรษฐกิจย่ำแย่ระหว่างปี ค.ศ. 20082009 หลายบริษัทลอยแพพนักงาน แต่ทางบริษัทพยายามหาช่องทางต่างๆ เพื่อรักษาพนักงานไว้ เธอกล่าวว่า “การพึ่งพาพนักงานของเราเป็นหลักมากกว่าหันไปพึ่งพวกบริษัทรับทำงานภายนอก (Subcontractors) เป็นเรื่องที่ดี เพราะนอกจากจะเป็นการฝึกปรือพนักงานให้มีความรู้และทักษะสูงขึ้น ยังเป็นการสร้างสำนึกของการเป็นเจ้าของบริษัทและความภาคภูมิใจให้แก่พนักงาน อีกด้วย

ปฏิบัติงานอย่างมีจริยธรรม (Practice Eudaemonism)

นานๆ จะเห็นคนใช้ศัพท์คำว่า “Eudaemonism” เสียที คำนี้ลึกกว่าคำว่า “Ethics” เพราะหมายถึงหลักปรัชญาในการดำเนินชีวิตที่เชื่อว่าความสุขย่อมเกิดจากการ ปฏิบัติงาน ปฏิบัติตัวอย่างมีคุณธรรมจริยธรรม ที่บริษัท Winden Enterprise Inc. ซึ่งเป็นบริษัทที่ดูแลบริหารสินทรัพย์ในระบบออนไลน์และมีพนักงานเพียง 85 คน ในรัฐวิสคอนซิน ได้เน้นหลักการ Eudaemonism อย่างเคร่งครัด ผู้บริหารได้สื่อให้พนักงานเข้าใจแนวคิดนี้อย่างเห็นได้ชัดเจนโดยที่พนักงาน สามารถนำแนวคิดนี้ไปใช้ในการบริหารชีวิตส่วนตัวและชีวิตในที่ทำงานได้อย่าง ลงตัว Amy Esry ผู้เป็น HR ของบริษัทนี้ได้ออกแบบโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพนักงาน (Employee Wellness Program) ซึ่งมีพนักงานกว่าครึ่งสนใจเข้าร่วม ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าหากบริษัทมีความโอบอ้อมอารีดูแลพนักงานอย่างดี พนักงานก็จะสำนึกในน้ำใจและเต็มใจทุ่มเททำงานให้เป็นการตอบแทน นอกจากนี้ก็ยังภาคภูมิใจที่ทำงานกับบริษัทที่มีจริยธรรมอย่างแท้จริงด้วย

สร้างโครงข่ายความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

Debbie Horne HR มือโปรของบริษัทเล็กๆ เช่น CMC Rescue Inc.ในรัฐแคลิฟอร์เนียได้ให้ข้อแนะนำที่ดีกับ HR มือใหม่ของธุรกิจขนาดย่อมว่า “ในบริษัทเล็กที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งกิจการ คุณก็ต้องเป็นทุกอย่าง (ทำทั่วไปแบบ Generalist) เพราะมันไม่มีที่ว่างสำหรับการเป็นผู้เชี่ยวชาญ (Specialist) หรอก ต่อจากนั้นคุณถึงค่อยกลายเป็นนักวางกลยุทธ์และเป็นหุ้นส่วนธุรกิจ (Strategist and Business Partner) ได้” Horne ยังมีข้อแนะนำเพิ่มเติมด้วยว่า HR ต้องรู้จักสร้างสมดุล (รู้ว่าต้องวางน้ำหนักในการทำงานในเรื่องอะไร มากน้อยแค่ไหน) นี่แหละคือความสามารถที่แท้จริงของ HR จุดเด่นของ Horne คือสามารถสร้างโปรแกรมปฐมนิเทศพนักงานใหม่ให้เรียนรู้งานและพร้อมสร้างผลงาน ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้องค์กรประหยัดต้นทุนด้านเวลาและทรัพยากรอื่นๆ ในการสร้างความพร้อมให้พนักงานใหม่ได้อย่างเห็นผล

เนื้อที่คอลัมน์มีจำกัด แต่จากตัวอย่างเหล่านี้ที่ผู้เขียนสรรหามานำเสนอก็คงจะเพียงพอที่จะจุด ประกายความคิดให้เจ้าของกิจการและชาว HR ของธุรกิจขนาดย่อมได้มากพอสมควรนะคะ ถึงธุรกิจเราจะเล็กแต่ก็เล็กพริกขี้หนูค่ะ!

ขอบคุณ... http://www.posttoday.com/ไลฟ์สไตล์/ไลฟ์/249967/กลยุทธ์-HRM-สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก-จบ- (ขนาดไฟล์: 167)

โพสต์ทูเดย์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 ก.ย.56

ที่มา: โพสต์ทูเดย์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 1/10/2556 เวลา 02:39:59 ดูภาพสไลด์โชว์ กลยุทธ์ HRM สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก (จบ)

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ผู้ประกอบการเข้าร่วมศึกษากลยุทธ์ HRM สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก โดย รศ.ดร.ศิริยุพา รุ่งเริงสุข สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/ภาพ ประกฤษณ์ จันทะวงษ์ สัปดาห์นี้ผู้เขียนจะขอสรุปกลยุทธ์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย (Human Resource Management) การบริหาร HR ที่รวบรวมจากธุรกิจขนาดเล็กในสหรัฐอเมริกาที่ประสบความสำเร็จในการบริหารงาน และบริหารคนมาเป็นแนวทางช่วยจุดประกายความคิดให้แก่เจ้าของกิจการขนาดย่อมใน บ้านเราได้เรียนรู้กันนะคะ ดูตัวอย่างจากคนอื่นแล้วเราก็ลองนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับบริบทของเรา หายากค่ะที่จะสามารถนำแบบจำลอง (Model) การบริหารงานจากบริษัทอื่นที่ประสบความสำเร็จแล้วนำมาใช้กับธุรกิจของเราได้ เลยโดยไม่ต้องมีการดัดแปลง อีกทั้งผู้เขียนเองก็ไม่สนับสนุนให้ผู้บริหารมีทัศนคติอย่างที่ว่านี้ด้วย เพราะทัศนคติที่นิยม “ก๊อบปี้” แนวทางบริหารจัดการของคนอื่นที่เห็นว่าดี โดยไม่พยายามวิเคราะห์หาแนวทางของตนเองหรือพยายามดัดแปลงให้ดีขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของธุรกิจเรานั้นเป็นการปิดกั้นการพัฒนาความคิด สร้างสรรค์ของเราในระยะยาว “จิ๋วแต่แจ๋ว” ถึงเล็กก็เล็กแบบครบวงจร HRM กลยุทธ์แรกก็คือ อย่านึกว่าการมีระบบ HR ที่ครบวงจรเป็นเรื่องที่บริษัทใหญ่ๆ เท่านั้นที่สมควรมี จากกรณีศึกษาของหลายบริษัทที่เติบโตขึ้นเป็นบริษัทที่แข็งแรงยั่งยืนพบว่า ต้องเริ่มจากสร้างระบบ HR ที่มีมาตรฐานก่อนในเรื่องหลัก 3 ประการ คือ มีการสรรหาคัดเลือก การพัฒนา และการจูงใจรักษาคนผ่านการประเมินผล การให้รางวัลและสวัสดิการที่มีหลักการเหตุผล เพราะสาเหตุที่หลายคนไม่อยากทำงานกับบริษัทเล็กๆ เป็นเพราะไม่ชอบการบริหารแบบตามใจเจ้าของ เล่นพรรคเล่นพวกกันอย่างโจ๋งครึ่มนั่นเอง และที่สำคัญที่สุดสำหรับธุรกิจขนาดย่อมคือ การที่ผู้นำที่เป็นเจ้าของกิจการตระหนักถึงความสำคัญของ HRM และใส่ใจสนับสนุนการบริหารคนอย่างจริงจัง ถ้าขาดคีย์แมนคนนี้แล้วขอบอกว่ายากที่จะหา HR มือโปรมาช่วยสร้างระบบ HRM ที่จะดึงดูดคนเก่งๆ มาทำงานให้ท่านได้อย่างยั่งยืน ถ้าได้มือโปรจริงๆ บริษัทเล็กๆ ก็สามารถมีระบบ HRM แบบครบวงจรในราคาย่อมเยาได้ค่ะ สร้างวัฒนธรรมการทำงานที่เน้นค่านิยมของครอบครัว บริษัทขนาดย่อมมักเป็นบริษัทครอบครัวที่เกิดจากความเชื่อ หรือค่านิยมของครอบครัวมาก่อน แต่ถึงแม้จะไม่ได้เป็นบริษัทครอบครัว แต่เป็นบริษัทที่เกิดใหม่จากการรวมหุ้นของหุ้นส่วนที่มีความเชื่อและค่านิยม ในการทำงานร่วมกัน ก็สามารถใช้ค่านิยมนั้นเป็นพื้นฐานในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรได้ เสน่ห์อีกประการหนึ่งของบริษัทเล็กๆ และบริษัทครอบครัวคือวัฒนธรรมในการทำงานที่เน้นความง่ายๆ ยืดหยุ่นได้ (แต่ไม่ใช่ยืดหย่อนจนขาดมาตรฐานนะคะ) ความเป็นกันเอง มีมิตรภาพมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อกันแบบเครือญาติ คุณสมบัติข้อนี้เป็นค่านิยมที่ควรรักษาไว้ แม้ว่าธุรกิจจะเติบโตขึ้นจนเป็นบริษัทใหญ่ก็ตามที HR ที่ฉลาดต้องรู้จักสร้างสมดุลระหว่างการรักษามาตรฐานและคุณภาพในการทำงานกับ การเป็นกันเองยืดหยุ่นแบบสมาชิกในครอบครัวเอาไว้ Julie Shoufler อดีตผู้บริหาร HR ที่มีประสบการณ์มากมายในการทำงานกับธุรกิจขนาดเล็กอย่าง Lone Rock Timber Management เล่าว่าแม้ในช่วงเศรษฐกิจย่ำแย่ระหว่างปี ค.ศ. 20082009 หลายบริษัทลอยแพพนักงาน แต่ทางบริษัทพยายามหาช่องทางต่างๆ เพื่อรักษาพนักงานไว้ เธอกล่าวว่า “การพึ่งพาพนักงานของเราเป็นหลักมากกว่าหันไปพึ่งพวกบริษัทรับทำงานภายนอก (Subcontractors) เป็นเรื่องที่ดี เพราะนอกจากจะเป็นการฝึกปรือพนักงานให้มีความรู้และทักษะสูงขึ้น ยังเป็นการสร้างสำนึกของการเป็นเจ้าของบริษัทและความภาคภูมิใจให้แก่พนักงาน อีกด้วย ปฏิบัติงานอย่างมีจริยธรรม (Practice Eudaemonism) นานๆ จะเห็นคนใช้ศัพท์คำว่า “Eudaemonism” เสียที คำนี้ลึกกว่าคำว่า “Ethics” เพราะหมายถึงหลักปรัชญาในการดำเนินชีวิตที่เชื่อว่าความสุขย่อมเกิดจากการ ปฏิบัติงาน ปฏิบัติตัวอย่างมีคุณธรรมจริยธรรม ที่บริษัท Winden Enterprise Inc. ซึ่งเป็นบริษัทที่ดูแลบริหารสินทรัพย์ในระบบออนไลน์และมีพนักงานเพียง 85 คน ในรัฐวิสคอนซิน ได้เน้นหลักการ Eudaemonism อย่างเคร่งครัด ผู้บริหารได้สื่อให้พนักงานเข้าใจแนวคิดนี้อย่างเห็นได้ชัดเจนโดยที่พนักงาน สามารถนำแนวคิดนี้ไปใช้ในการบริหารชีวิตส่วนตัวและชีวิตในที่ทำงานได้อย่าง ลงตัว Amy Esry ผู้เป็น HR ของบริษัทนี้ได้ออกแบบโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพนักงาน (Employee Wellness Program) ซึ่งมีพนักงานกว่าครึ่งสนใจเข้าร่วม ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าหากบริษัทมีความโอบอ้อมอารีดูแลพนักงานอย่างดี พนักงานก็จะสำนึกในน้ำใจและเต็มใจทุ่มเททำงานให้เป็นการตอบแทน นอกจากนี้ก็ยังภาคภูมิใจที่ทำงานกับบริษัทที่มีจริยธรรมอย่างแท้จริงด้วย สร้างโครงข่ายความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง Debbie Horne HR มือโปรของบริษัทเล็กๆ เช่น CMC Rescue Inc.ในรัฐแคลิฟอร์เนียได้ให้ข้อแนะนำที่ดีกับ HR มือใหม่ของธุรกิจขนาดย่อมว่า “ในบริษัทเล็กที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งกิจการ คุณก็ต้องเป็นทุกอย่าง (ทำทั่วไปแบบ Generalist) เพราะมันไม่มีที่ว่างสำหรับการเป็นผู้เชี่ยวชาญ (Specialist) หรอก ต่อจากนั้นคุณถึงค่อยกลายเป็นนักวางกลยุทธ์และเป็นหุ้นส่วนธุรกิจ (Strategist and Business Partner) ได้” Horne ยังมีข้อแนะนำเพิ่มเติมด้วยว่า HR ต้องรู้จักสร้างสมดุล (รู้ว่าต้องวางน้ำหนักในการทำงานในเรื่องอะไร มากน้อยแค่ไหน) นี่แหละคือความสามารถที่แท้จริงของ HR จุดเด่นของ Horne คือสามารถสร้างโปรแกรมปฐมนิเทศพนักงานใหม่ให้เรียนรู้งานและพร้อมสร้างผลงาน ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้องค์กรประหยัดต้นทุนด้านเวลาและทรัพยากรอื่นๆ ในการสร้างความพร้อมให้พนักงานใหม่ได้อย่างเห็นผล เนื้อที่คอลัมน์มีจำกัด แต่จากตัวอย่างเหล่านี้ที่ผู้เขียนสรรหามานำเสนอก็คงจะเพียงพอที่จะจุด ประกายความคิดให้เจ้าของกิจการและชาว HR ของธุรกิจขนาดย่อมได้มากพอสมควรนะคะ ถึงธุรกิจเราจะเล็กแต่ก็เล็กพริกขี้หนูค่ะ! ขอบคุณ... http://www.posttoday.com/ไลฟ์สไตล์/ไลฟ์/249967/กลยุทธ์-HRM-สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก-จบ- โพสต์ทูเดย์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...