โลกเปลี่ยนต้องเร่งปรับ ‘เอสเอ็มอีไทย’ กลไกเศรษฐกิจสำคัญ!

แสดงความคิดเห็น

สกู๊ปหน้ำ 1 SMEs

การพัฒนาประเทศให้ก้าวไปข้างหน้ำโดยไม่สะดุดติดขัด ภาคเศรษฐกิจเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญอันดับต้น ๆ ซึ่งสำหรับประเทศไทย กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ “เอสเอ็มอี (SMEs)” ถือเป็นกลุ่มที่ “สำคัญมากกับภาคเศรษฐกิจ” เกี่ยวโยงทั้งกับรายได้รัฐ การดำเนินงานของธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอง ธุรกิจขนาดเล็ก ตลอดจนเศรษฐกิจภาคครัวเรือน ประชาชนทั่วไป การทำงาน-แรงงาน

ภาคเศรษฐกิจในภาพรวมของโลกนับวันจะเปลี่ยนโฉม ขณะที่ในแถบอาเซียนก็กำลังนับถอยหลังเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจหรือเออี ซี (AEC) ในปี 2558 ซึ่ง “เอสเอ็มอีไทย” จำเป็นที่จะ “ต้องปรับตัว”

ยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการนี่สำคัญ

ไม่เช่นนั้นอาจเกิดปัญหายึดโยงกันไปทั้งยวง

ทั้งนี้ โครงการยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการธุรกิจเอสเอ็มอี โดยหลักสูตรนักบริหารเอสเอ็มอีระดับสูง (SMEs Advance) โดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นี่ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในกลไกที่น่าพิจารณา

โครงการนี้เป็นการติวเข้ม เพื่อให้ผู้บริหารเอสเอ็มอีไทยรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ทั้งระดับภูมิภาค ระดับโลก และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง เพื่อจะสามารถพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจ ซึ่งถ้าทำได้ดี ผลดีก็จะบังเกิดกับทุกฝ่ายทุกระดับดังที่ว่าไว้ในตอนต้น โดยผู้บริหารเอสเอ็มอีที่เข้าโครงการ เช่น วศิน งามสรรพ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อะกริ บิซิเนส, สุรชัย ชัยโชติรุ่งเรือง ผู้อำนวยการด้านการตลาด หจก. ไอ เอ็น เค กราฟิคดีไซต์ แอนด์พริ้นต์, ยุวนิตย์ มานู กรรมการและผู้ช่วยประธานกรรมการ บริษัท ไทย อาร์ม, ยุทธพงษ์ กันทะวัง กรรมการผู้จัดการ หจก. เอ็กซ์เพิร์ท เอ็นจิเนียริ่งคอนซัลแตนท์ ต่างก็ขานรับว่าช่วย “พัฒนาเอสเอ็มอี” ได้มาก

“เอสเอ็มอีจำเป็นต้องมีระบบการวางแผนและการจัดการธุรกิจเชิงกลยุทธ์ใน เชิงลึก เพื่อเพิ่มศักยภาพในการวางแผนและพัฒนาองค์กรให้รองรับกับการขยายตัวของ ธุรกิจในอนาคต...” “เอสเอ็มอีไทยจะกล้าแกร่ง ก้าวสู่ธุรกิจระดับชาติ แข่งขันได้ไม่แพ้ต่างชาติ จากการได้กำลังหนุนจากภาครัฐในการเสริมศักยภาพ...” “สามารถใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้จากวิทยากร เพื่อช่วยในเรื่องการวางแผนและการจัดการธุรกิจ ใช้ความรู้เชิงกลยุทธ์ต่อยอดธุรกิจเดิม...” “เพิ่มวิสัยทัศน์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายธุรกิจสู่ตลาดเออีซีในอนาคตน่าจะประสบความสำเร็จ ได้ง่ายขึ้น...” ...นี่เป็นตัวอย่างเสียงขานรับการยกระดับ “มาตรฐานการบริหารจัดการเอสเอ็มอี”

กับหลักสูตรนักบริหารเอสเอ็มอีระดับสูง หรือ SMEs Advance ประธานอำนวยการหลักสูตร ดร.นพพร เรืองวานิช ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุไว้ว่า... เนื้อหาของหลักสูตรให้ความสำคัญต่อกิจกรรม 3 ส่วน ครอบคลุมเนื้อหาภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวม 112 ชั่วโมง

ประกอบด้วย... การเสริมความรู้ธุรกิจ กลยุทธ์การบริหารจัดการและการบริหารห่วงโซ่อุปทาน, การสร้างแรงบันดาลใจ เปิดโลกทัศน์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ, การมุ่งสู่ภูมิภาค ศึกษาวิจัยทางธุรกิจ ค้นคว้าอิสระ รวมถึงศึกษาดูงานบริษัทที่ประสบความสำเร็จที่เคยเป็นระดับเอสเอ็มอีมาก่อน ทั้งในไทย และประเทศกลุ่มเออีซี เพื่อปรับกลยุทธ์รองรับการขยายธุรกิจอย่างมีชั้นเชิง หาลู่ทางธุรกิจ โอกาสขยายธุรกิจในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะเส้นทางการเชื่อมโยงจากระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ (หนานหนิง-เวียดนาม) ถึงระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (เวียดนาม-ลาว-ไทย-พม่า) ซึ่งในอนาคตคาดว่าจะเชื่อมโยงจีนกับอาเซียนได้สะดวกรวดเร็ว

“ผู้ที่จะจบหลักสูตร จะต้องจัดทำแผนการศึกษาธุรกิจเกิดใหม่ ขึ้นมาจากการสร้างเครือข่ายและห่วงโซ่ซัพพลายเชนร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้อบรม ด้วยกัน เพื่อประยุกต์ความรู้จากการอบรมให้เกิดการต่อยอด เพื่อจะสร้างเป็นธุรกิจใหม่ได้จริง เป็น The Best SMEs Advance Business Planning” ...ทาง ดร.นพพร ระบุไว้

ขณะที่หลักสูตรนักบริหารเอสเอ็มอีระดับสูงนี้ รุ่นที่ 1 อบรมช่วง 30 ส.ค.-12 ต.ค. 2556 รุ่นที่ 2 ช่วง 7 ก.ย.-18 ต.ค. 2556 ซึ่งเมื่อเปิดตัวขึ้นมาก็มีผู้สนใจมากจนล้นจำนวนที่เปิดรับได้ในเบื้องต้น คือ 200 ที่นั่ง

ทั้งนี้ ดร.วิมลกานต์ โกสุมาศ รองผู้อำนวยการ สสว. ระบุไว้ว่า... ขณะนี้ไทยมีเอสเอ็มอีประมาณ 2.652 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 99.76 ของผู้ประกอบการทั้งหมด เอสเอ็มอีจึงถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แต่ที่ผ่านมาผู้ประกอบการยังมีจุดอ่อนในการบริหารจัดการหลายด้าน โดยส่วนใหญ่มักดำเนินธุรกิจเพียงลำพัง ยังมีการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับภาคเอกชน และผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการด้วยกันเอง ค่อนข้างน้อย ทำให้ขาดความเข้มแข็งในกลุ่มธุรกิจ “หากเป็นเช่นนี้ต่อไป การดำเนินธุรกิจเอสเอ็มอีก็จะไม่แข็งแรง หรือดำเนินธุรกิจได้ในวงจำกัด ไม่สามารถขยายกิจการสู่ตลาดใหม่ได้ดีเท่าที่ควร”

“เอสเอ็มอี” ไปได้ไม่ดีก็ดันเศรษฐกิจประเทศได้ไม่ดี

“ยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการ” จึงสำคัญ

ใช่แค่ย่อม ๆ กลาง ๆ แต่ “สำคัญมาก” เลยทีเดียว!!.

ขอบคุณ... http://m.dailynews.co.th/article/223/236492

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 ก.ย.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 30/09/2556 เวลา 04:05:52 ดูภาพสไลด์โชว์ โลกเปลี่ยนต้องเร่งปรับ ‘เอสเอ็มอีไทย’ กลไกเศรษฐกิจสำคัญ!

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สกู๊ปหน้ำ 1 SMEs การพัฒนาประเทศให้ก้าวไปข้างหน้ำโดยไม่สะดุดติดขัด ภาคเศรษฐกิจเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญอันดับต้น ๆ ซึ่งสำหรับประเทศไทย กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ “เอสเอ็มอี (SMEs)” ถือเป็นกลุ่มที่ “สำคัญมากกับภาคเศรษฐกิจ” เกี่ยวโยงทั้งกับรายได้รัฐ การดำเนินงานของธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอง ธุรกิจขนาดเล็ก ตลอดจนเศรษฐกิจภาคครัวเรือน ประชาชนทั่วไป การทำงาน-แรงงาน ภาคเศรษฐกิจในภาพรวมของโลกนับวันจะเปลี่ยนโฉม ขณะที่ในแถบอาเซียนก็กำลังนับถอยหลังเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจหรือเออี ซี (AEC) ในปี 2558 ซึ่ง “เอสเอ็มอีไทย” จำเป็นที่จะ “ต้องปรับตัว” ยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการนี่สำคัญ ไม่เช่นนั้นอาจเกิดปัญหายึดโยงกันไปทั้งยวง ทั้งนี้ โครงการยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการธุรกิจเอสเอ็มอี โดยหลักสูตรนักบริหารเอสเอ็มอีระดับสูง (SMEs Advance) โดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นี่ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในกลไกที่น่าพิจารณา โครงการนี้เป็นการติวเข้ม เพื่อให้ผู้บริหารเอสเอ็มอีไทยรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ทั้งระดับภูมิภาค ระดับโลก และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง เพื่อจะสามารถพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจ ซึ่งถ้าทำได้ดี ผลดีก็จะบังเกิดกับทุกฝ่ายทุกระดับดังที่ว่าไว้ในตอนต้น โดยผู้บริหารเอสเอ็มอีที่เข้าโครงการ เช่น วศิน งามสรรพ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อะกริ บิซิเนส, สุรชัย ชัยโชติรุ่งเรือง ผู้อำนวยการด้านการตลาด หจก. ไอ เอ็น เค กราฟิคดีไซต์ แอนด์พริ้นต์, ยุวนิตย์ มานู กรรมการและผู้ช่วยประธานกรรมการ บริษัท ไทย อาร์ม, ยุทธพงษ์ กันทะวัง กรรมการผู้จัดการ หจก. เอ็กซ์เพิร์ท เอ็นจิเนียริ่งคอนซัลแตนท์ ต่างก็ขานรับว่าช่วย “พัฒนาเอสเอ็มอี” ได้มาก “เอสเอ็มอีจำเป็นต้องมีระบบการวางแผนและการจัดการธุรกิจเชิงกลยุทธ์ใน เชิงลึก เพื่อเพิ่มศักยภาพในการวางแผนและพัฒนาองค์กรให้รองรับกับการขยายตัวของ ธุรกิจในอนาคต...” “เอสเอ็มอีไทยจะกล้าแกร่ง ก้าวสู่ธุรกิจระดับชาติ แข่งขันได้ไม่แพ้ต่างชาติ จากการได้กำลังหนุนจากภาครัฐในการเสริมศักยภาพ...” “สามารถใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้จากวิทยากร เพื่อช่วยในเรื่องการวางแผนและการจัดการธุรกิจ ใช้ความรู้เชิงกลยุทธ์ต่อยอดธุรกิจเดิม...” “เพิ่มวิสัยทัศน์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายธุรกิจสู่ตลาดเออีซีในอนาคตน่าจะประสบความสำเร็จ ได้ง่ายขึ้น...” ...นี่เป็นตัวอย่างเสียงขานรับการยกระดับ “มาตรฐานการบริหารจัดการเอสเอ็มอี” กับหลักสูตรนักบริหารเอสเอ็มอีระดับสูง หรือ SMEs Advance ประธานอำนวยการหลักสูตร ดร.นพพร เรืองวานิช ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุไว้ว่า... เนื้อหาของหลักสูตรให้ความสำคัญต่อกิจกรรม 3 ส่วน ครอบคลุมเนื้อหาภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวม 112 ชั่วโมง ประกอบด้วย... การเสริมความรู้ธุรกิจ กลยุทธ์การบริหารจัดการและการบริหารห่วงโซ่อุปทาน, การสร้างแรงบันดาลใจ เปิดโลกทัศน์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ, การมุ่งสู่ภูมิภาค ศึกษาวิจัยทางธุรกิจ ค้นคว้าอิสระ รวมถึงศึกษาดูงานบริษัทที่ประสบความสำเร็จที่เคยเป็นระดับเอสเอ็มอีมาก่อน ทั้งในไทย และประเทศกลุ่มเออีซี เพื่อปรับกลยุทธ์รองรับการขยายธุรกิจอย่างมีชั้นเชิง หาลู่ทางธุรกิจ โอกาสขยายธุรกิจในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะเส้นทางการเชื่อมโยงจากระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ (หนานหนิง-เวียดนาม) ถึงระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (เวียดนาม-ลาว-ไทย-พม่า) ซึ่งในอนาคตคาดว่าจะเชื่อมโยงจีนกับอาเซียนได้สะดวกรวดเร็ว “ผู้ที่จะจบหลักสูตร จะต้องจัดทำแผนการศึกษาธุรกิจเกิดใหม่ ขึ้นมาจากการสร้างเครือข่ายและห่วงโซ่ซัพพลายเชนร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้อบรม ด้วยกัน เพื่อประยุกต์ความรู้จากการอบรมให้เกิดการต่อยอด เพื่อจะสร้างเป็นธุรกิจใหม่ได้จริง เป็น The Best SMEs Advance Business Planning” ...ทาง ดร.นพพร ระบุไว้ ขณะที่หลักสูตรนักบริหารเอสเอ็มอีระดับสูงนี้ รุ่นที่ 1 อบรมช่วง 30 ส.ค.-12 ต.ค. 2556 รุ่นที่ 2 ช่วง 7 ก.ย.-18 ต.ค. 2556 ซึ่งเมื่อเปิดตัวขึ้นมาก็มีผู้สนใจมากจนล้นจำนวนที่เปิดรับได้ในเบื้องต้น คือ 200 ที่นั่ง ทั้งนี้ ดร.วิมลกานต์ โกสุมาศ รองผู้อำนวยการ สสว. ระบุไว้ว่า... ขณะนี้ไทยมีเอสเอ็มอีประมาณ 2.652 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 99.76 ของผู้ประกอบการทั้งหมด เอสเอ็มอีจึงถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แต่ที่ผ่านมาผู้ประกอบการยังมีจุดอ่อนในการบริหารจัดการหลายด้าน โดยส่วนใหญ่มักดำเนินธุรกิจเพียงลำพัง ยังมีการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับภาคเอกชน และผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการด้วยกันเอง ค่อนข้างน้อย ทำให้ขาดความเข้มแข็งในกลุ่มธุรกิจ “หากเป็นเช่นนี้ต่อไป การดำเนินธุรกิจเอสเอ็มอีก็จะไม่แข็งแรง หรือดำเนินธุรกิจได้ในวงจำกัด ไม่สามารถขยายกิจการสู่ตลาดใหม่ได้ดีเท่าที่ควร” “เอสเอ็มอี” ไปได้ไม่ดีก็ดันเศรษฐกิจประเทศได้ไม่ดี “ยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการ” จึงสำคัญ ใช่แค่ย่อม ๆ กลาง ๆ แต่ “สำคัญมาก” เลยทีเดียว!!. ขอบคุณ... http://m.dailynews.co.th/article/223/236492 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...