กูรูย้ำ 'โซเชียลมีเดีย' มีอิทธิพลต่อองค์กรธุรกิจ

แสดงความคิดเห็น

กูรูย้ำ 'โซเชียลมีเดีย' มีอิทธิพลต่อองค์กรธุรกิจ

ในระยะเวลาไม่ถึง 1 สัปดาห์ โลกออนไลน์มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักใน 2 เรื่อง ที่เป็นหัวข้อสนทนาของสังคมในระยะเวลาชั่วข้ามคืน แสดงให้เห็นถึงความทรงพลังของ โซเชียลมีเดีย ที่มีอิทธิพลต่อภาคธุรกิจมากขึ้น ...

เริ่มจากกระทู้ พร้อมคลิปประกอบที่เป็นภาพหนอนจำนวนมากที่ปะปนมากับอาหาร ภายในร้านอาหารชื่อดังที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้าชั้นนำกลางกรุง ที่ปรากฏทางเว็บไซต์พันทิปดอทคอม ตามมาด้วยการส่งต่อข้อความผ่าน LINE เมื่อวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยอ้างว่ามีการระบาดของไข้หวัดนก H1N1 ที่ตึกซี.พี.ทาวเวอร์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ของ บมจ.เครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ ซีพีเอฟ และมีการนำข้อมูลดังกล่าวส่งต่อกันอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง และส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นของ ซีพีเอฟ ที่ปรับลดลงทันที 2.25 บาทต่อหุ้น มูลค่าหุ้นลดลงเหลือ 25.50 บาทต่อหุ้น ร่วงทันทีเมื่อปิดการซื้อขายวานนี้ (23 ก.ย.56) หลังจากมีข่าวเมื่อวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา

ใน ขณะที่ ซีพีเอฟ ได้ทำการชี้แจงผ่าน LINE และแฟนเพจเฟซบุ๊ก @CPF รวมทั้ง @Pr-cpgroup Charoenpokphand ทันที พร้อมชี้แจงว่าไม่มีการระบาดของไข้หวัดนก และ H1N1 ที่ตึก ซี.พี.ทาวเวอร์ และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นเพียงพนักงาน 1 คนป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ซึ่งขณะนี้รับการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาล พร้อมกันนี้ เจ้าหน้าที่พยาบาล และฝ่ายอาคารซีพีทาวเวอร์ได้ฉีดสเปรย์ฆ่าเชื้อในส่วนสำนักงานของพนักงานคน ดังกล่าว และปิดสำนักงานเพื่อฆ่าเชื้อ ซึ่งเป็นตามมาตรการการป้องกันการระบาดของไข้หวัดใหญ่ของเครือเจริญโภคภัณฑ์

จาก เหตุที่เกิดขึ้นทั้ง 2 กรณี เป็นการตอกย้ำว่า โซเชียลมีเดีย มีพลังอำนาจในการสื่อสารมากขึ้น "มาก!!!!!" จนทำให้เกิดผลกระทบต่อชื่อเสียง ภาพลักษณ์ ขององค์กร และหากขาดการบริหารจัดการที่ดี หรือขาดความเข้าใจในการติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวจาก โซเชียลมีเดีย ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะทวีความรุนแรงมากขึ้นไปอีก!!!!!

"บาง องค์กร มีโซเชียลมีเดียอยู่ในมือ แต่ทำงานสไตล์ออฟฟิศ ถึงเวลาก็เลิกงาน ไม่สอดส่องดูแล กรณีเกิดปัญหาการแชร์ข้อมูลที่เป็นผลลบต่อองค์กร การชี้แจงหรือตอบรับที่เร็วที่สุดจะช่วยให้ปัญหาคลี่คลายลงมากขึ้น ผลกระทบก็จะเบาลง" นายวีระ เจียรนัยพาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด และนักพัฒนาเครือข่ายเอสเอ็มอี กล่าวแสดงทรรศนะต่อเรื่องดังกล่าวกับ "ไทยรัฐออนไลน์" พร้อมระบุว่า ภาคธุรกิจควรหันมาให้ความสำคัญกับโซเขียลมีเดียอย่างจริงจังนานแล้ว เพราะมีผลโดยตรงต่องานด้านการประชาสัมพันธ์ การบริหารข้อมูลข่าวสาร การทำตลาด และภาพลักษณ์องค์กร

โดยในส่วนของธุรกิจขนาดกลางและขนาด เล็ก ควรจะเริ่มต้นด้วยการสร้างแฟนเพจ เฟซบุ๊ก หรือปักหมุดโลเกชั่น แสดงตำแหน่งที่ตั้งของธุรกิจ พร้อมระบุรูปแบบการทำธุรกิจ เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับสินค้า หรือสมัครอินสตาแกรม และสร้าง A/C ทวิตเตอร์ โดยใช้ชื่อแบรนด์ตัวเอง เพื่อสร้างความจดจำในแบรนด์สินค้า หรืออย่างน้อยก็เป็นการกำหนดทิศทางตลาด และข้อมูลทางการตลาด เมื่อเริ่มแข็งแกร่งขึ้นจึงพัฒนาเป็นเว็บไซต์ของตัวเองในลักษณะของเสิร์ช เอนจิ้น ที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึง

"เจ๊จงหมูทอด เป็นตัวอย่างของเอสเอ็มอีที่ใช้ประโยชน์จากโซเชียลมีเดียได้ดีที่สุด"

นายวีระ กล่าวถึง หมูทอดเจ๊จง ที่ใช้โซเชียลมีเดีย ให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างแบรนด์ ทั้งในเฟซบุ๊ก http://www.facebook.com/JehJong (ขนาดไฟล์: 0 ) และทวิตเตอร์ที่รู้จักเจ๊จงผ่านแอคเคาน์ @jehjong

สำหรับ องค์กรขนาดใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด และนักพัฒนาเครือข่ายเอสเอ็มอี ระบุว่า องค์กรยิ่งใหญ่ขึ้น ความจำเป็นที่จะต้องมีโซเชียลมีเดียก็เพิ่มมากขึ้น!!! และควรต้องมีทีมงานดูแลโดยเฉพาะ ดูแลอย่างต่อเนื่อง ทำเหมือน Call Center ที่พร้อมปฏิบัติหน้าที่ตลอดเวลา และพร้อมที่จะตอบโต้เมื่อลูกค้าเกิดคำถามหรือข้อสงสัยได้ทันที และประสานหัวหน้างานหรือผู้บริหารที่มีอำนาจตัดสินใจให้รับทราบ ไม่ใช่แจ้งข่าวสาร โปรโมชั่น อย่างเดียว โดยไม่ตอบโต้ใด ๆ กับลูกค้า ซึ่งส่วนใหญ่องค์กรขนาดใหญ่หลายรายทั้งภาครัฐและเอกชนมักจะใช้โซเชียลมีเดีย ในการส่งข่าวสารเพียงอย่างเดียว โดยไม่บริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ไม่มีการโต้ตอบกับลูกค้า ซึ่งไม่ใช่ผลดีของการใช้โซเชียลมีเดีย และน่าตกใจว่าองค์กรขนาดใหญ่ที่ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายจัดอยู่ในกลุ่ม นี้!!!

"ในขณะที่ผู้ประกอบการบางรายเพิกเฉยต่อโซเชียลมีเดีย และไม่นำแบรนด์ตัวเองมาสร้างแอคเคาน์ ทำให้เสียโอกาสในการสร้างแบรนด์"

นอก จากนี้ ผู้บริหารองค์กร ยังควรมีการปลูกฝังให้พนักงานทุกคนในองค์กร ช่วยกันร่วมมือกันในการสอดส่อง แจ้งข่าวสาร เมื่อมีการเผยแพร่ข้อมูลของบริษัทผ่านโซเชียลมีเดีย ก็พร้อมที่จะชี้แจงหรือตอบกลับผู้บริโภคได้ทันที มีทั้งรุกและรับ ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมได้เร็วที่สุด ในขณะที่ผู้บริโภคควรแชร์ข้อมูลอย่างมีสติ ดูความน่าเชื่อถือว่ามีมากน้อยแค่ไหน เพราะหากแชร์ข้อมูลที่เป็นเท็จและทำให้อีกฝ่ายได้รับความเสียหายต้องมีความ ผิดตาม พ.ร.บ.ข่าวสารฯ ส่วนการโพสต์ข้อความก็ควรระบุวัน เวลา และสถานที่ที่ชัดเจน เพื่อป้องกันการเข้าใจผิด และความล้าหลังของข้อมูล

ด้าน นายอภิศิลป์ ตรุงกานนท์ ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์พันทิปดอตคอม ระบุว่า ปัจจุบัน Facebook มีสมาชิกเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เป็นคนไทยมากกว่า 13 ล้านคน ในขณะที่ Twitter ที่มียอดคนไทยใช้งานมากกว่า 9 แสนรายชื่อ ไม่นับรวมโซเชียลมีเดียในรูปแบบอื่น เช่น การโพสต์ข้อมูลหรือเรื่องราวที่อยากบอกต่อผ่านหน้าเว็บบอร์ดต่าง ๆ อย่างบริการของ www.pantip.com ชุมชนออนไลน์ยักษ์ใหญ่ของไทยที่มีผู้เข้าชมวันละกว่า 8 แสนคน รวมทั้ง แอพพลิเคชั่น เพื่อการสนทนา เช่น LINE และ WECHAT ที่ทำให้จำนวนผู้เล่นในโลกโซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้น

ในขณะที่ภาคธุรกิจ เข้ามาใช้ประโยชน์จากช่องทางโซเชียลมีเดีย ด้วยเช่นเดียวกัน โดยกลุ่มธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับ โซเชียลมีเดีย ในอันดับต้น ๆ และถือเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่รุกโซเชียลมีเดีย คือ ธนาคารกสิกรไทย บมจ.แสนสิริ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค ที่ใช้โซเชียลมีเดีย เสริมธุรกิจได้ค่อนข้างดี กล่าวคือ มีการตอบโต้กับลูกค้าผ่านทางโซเชียลมีเดีย ในระยะเวลาอันรวดเร็วเมื่อเกิดปัญหาจากการแชร์ข้อมูลในโลกออนไลน์ และข้อมูลนั้น ๆ ส่งผลกระทบโดยตรงกับองค์กร

เอซี เนลเส็น บริษัทสำรวจและวิจัยด้านการตลาดชื่อดังระดับโลก ได้ทำรายงานการวิจัยที่สำรวจจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้บริโภคที่ใช้อิน เทอร์เน็ตกว่า 25,000 คน ใน 50 ประเทศทั่วโลก เมื่อปี ค.ศ. 2009 พบว่า 70% ของผู้บริโภคที่ใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้บริโภคคน อื่น ๆ ที่แสดงความเห็นผ่านโซเชียลมีเดีย ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กระทู้ ข้อความ ภาพถ่าย คลิป ที่นำมาเผยแพร่ผ่านโซเชียลมีเดีย มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคคนอื่น ๆ และภาคธุรกิจไม่ควรมองข้ามความสำคัญของโซเชียลมีเดียด้วยเช่นเดียวกัน.

ขอบคุณ http://m.thairath.co.th/content/eco/371699

ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ก.ย.56

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 25/09/2556 เวลา 04:06:53 ดูภาพสไลด์โชว์ กูรูย้ำ 'โซเชียลมีเดีย' มีอิทธิพลต่อองค์กรธุรกิจ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กูรูย้ำ \'โซเชียลมีเดีย\' มีอิทธิพลต่อองค์กรธุรกิจ ในระยะเวลาไม่ถึง 1 สัปดาห์ โลกออนไลน์มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักใน 2 เรื่อง ที่เป็นหัวข้อสนทนาของสังคมในระยะเวลาชั่วข้ามคืน แสดงให้เห็นถึงความทรงพลังของ โซเชียลมีเดีย ที่มีอิทธิพลต่อภาคธุรกิจมากขึ้น ... เริ่มจากกระทู้ พร้อมคลิปประกอบที่เป็นภาพหนอนจำนวนมากที่ปะปนมากับอาหาร ภายในร้านอาหารชื่อดังที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้าชั้นนำกลางกรุง ที่ปรากฏทางเว็บไซต์พันทิปดอทคอม ตามมาด้วยการส่งต่อข้อความผ่าน LINE เมื่อวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยอ้างว่ามีการระบาดของไข้หวัดนก H1N1 ที่ตึกซี.พี.ทาวเวอร์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ของ บมจ.เครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ ซีพีเอฟ และมีการนำข้อมูลดังกล่าวส่งต่อกันอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง และส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นของ ซีพีเอฟ ที่ปรับลดลงทันที 2.25 บาทต่อหุ้น มูลค่าหุ้นลดลงเหลือ 25.50 บาทต่อหุ้น ร่วงทันทีเมื่อปิดการซื้อขายวานนี้ (23 ก.ย.56) หลังจากมีข่าวเมื่อวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา ใน ขณะที่ ซีพีเอฟ ได้ทำการชี้แจงผ่าน LINE และแฟนเพจเฟซบุ๊ก @CPF รวมทั้ง @Pr-cpgroup Charoenpokphand ทันที พร้อมชี้แจงว่าไม่มีการระบาดของไข้หวัดนก และ H1N1 ที่ตึก ซี.พี.ทาวเวอร์ และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นเพียงพนักงาน 1 คนป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ซึ่งขณะนี้รับการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาล พร้อมกันนี้ เจ้าหน้าที่พยาบาล และฝ่ายอาคารซีพีทาวเวอร์ได้ฉีดสเปรย์ฆ่าเชื้อในส่วนสำนักงานของพนักงานคน ดังกล่าว และปิดสำนักงานเพื่อฆ่าเชื้อ ซึ่งเป็นตามมาตรการการป้องกันการระบาดของไข้หวัดใหญ่ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ จาก เหตุที่เกิดขึ้นทั้ง 2 กรณี เป็นการตอกย้ำว่า โซเชียลมีเดีย มีพลังอำนาจในการสื่อสารมากขึ้น "มาก!!!!!" จนทำให้เกิดผลกระทบต่อชื่อเสียง ภาพลักษณ์ ขององค์กร และหากขาดการบริหารจัดการที่ดี หรือขาดความเข้าใจในการติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวจาก โซเชียลมีเดีย ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะทวีความรุนแรงมากขึ้นไปอีก!!!!! "บาง องค์กร มีโซเชียลมีเดียอยู่ในมือ แต่ทำงานสไตล์ออฟฟิศ ถึงเวลาก็เลิกงาน ไม่สอดส่องดูแล กรณีเกิดปัญหาการแชร์ข้อมูลที่เป็นผลลบต่อองค์กร การชี้แจงหรือตอบรับที่เร็วที่สุดจะช่วยให้ปัญหาคลี่คลายลงมากขึ้น ผลกระทบก็จะเบาลง" นายวีระ เจียรนัยพาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด และนักพัฒนาเครือข่ายเอสเอ็มอี กล่าวแสดงทรรศนะต่อเรื่องดังกล่าวกับ "ไทยรัฐออนไลน์" พร้อมระบุว่า ภาคธุรกิจควรหันมาให้ความสำคัญกับโซเขียลมีเดียอย่างจริงจังนานแล้ว เพราะมีผลโดยตรงต่องานด้านการประชาสัมพันธ์ การบริหารข้อมูลข่าวสาร การทำตลาด และภาพลักษณ์องค์กร โดยในส่วนของธุรกิจขนาดกลางและขนาด เล็ก ควรจะเริ่มต้นด้วยการสร้างแฟนเพจ เฟซบุ๊ก หรือปักหมุดโลเกชั่น แสดงตำแหน่งที่ตั้งของธุรกิจ พร้อมระบุรูปแบบการทำธุรกิจ เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับสินค้า หรือสมัครอินสตาแกรม และสร้าง A/C ทวิตเตอร์ โดยใช้ชื่อแบรนด์ตัวเอง เพื่อสร้างความจดจำในแบรนด์สินค้า หรืออย่างน้อยก็เป็นการกำหนดทิศทางตลาด และข้อมูลทางการตลาด เมื่อเริ่มแข็งแกร่งขึ้นจึงพัฒนาเป็นเว็บไซต์ของตัวเองในลักษณะของเสิร์ช เอนจิ้น ที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึง "เจ๊จงหมูทอด เป็นตัวอย่างของเอสเอ็มอีที่ใช้ประโยชน์จากโซเชียลมีเดียได้ดีที่สุด" นายวีระ กล่าวถึง หมูทอดเจ๊จง ที่ใช้โซเชียลมีเดีย ให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างแบรนด์ ทั้งในเฟซบุ๊ก http://www.facebook.com/JehJong และทวิตเตอร์ที่รู้จักเจ๊จงผ่านแอคเคาน์ @jehjong สำหรับ องค์กรขนาดใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด และนักพัฒนาเครือข่ายเอสเอ็มอี ระบุว่า องค์กรยิ่งใหญ่ขึ้น ความจำเป็นที่จะต้องมีโซเชียลมีเดียก็เพิ่มมากขึ้น!!! และควรต้องมีทีมงานดูแลโดยเฉพาะ ดูแลอย่างต่อเนื่อง ทำเหมือน Call Center ที่พร้อมปฏิบัติหน้าที่ตลอดเวลา และพร้อมที่จะตอบโต้เมื่อลูกค้าเกิดคำถามหรือข้อสงสัยได้ทันที และประสานหัวหน้างานหรือผู้บริหารที่มีอำนาจตัดสินใจให้รับทราบ ไม่ใช่แจ้งข่าวสาร โปรโมชั่น อย่างเดียว โดยไม่ตอบโต้ใด ๆ กับลูกค้า ซึ่งส่วนใหญ่องค์กรขนาดใหญ่หลายรายทั้งภาครัฐและเอกชนมักจะใช้โซเชียลมีเดีย ในการส่งข่าวสารเพียงอย่างเดียว โดยไม่บริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ไม่มีการโต้ตอบกับลูกค้า ซึ่งไม่ใช่ผลดีของการใช้โซเชียลมีเดีย และน่าตกใจว่าองค์กรขนาดใหญ่ที่ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายจัดอยู่ในกลุ่ม นี้!!! "ในขณะที่ผู้ประกอบการบางรายเพิกเฉยต่อโซเชียลมีเดีย และไม่นำแบรนด์ตัวเองมาสร้างแอคเคาน์ ทำให้เสียโอกาสในการสร้างแบรนด์" นอก จากนี้ ผู้บริหารองค์กร ยังควรมีการปลูกฝังให้พนักงานทุกคนในองค์กร ช่วยกันร่วมมือกันในการสอดส่อง แจ้งข่าวสาร เมื่อมีการเผยแพร่ข้อมูลของบริษัทผ่านโซเชียลมีเดีย ก็พร้อมที่จะชี้แจงหรือตอบกลับผู้บริโภคได้ทันที มีทั้งรุกและรับ ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมได้เร็วที่สุด ในขณะที่ผู้บริโภคควรแชร์ข้อมูลอย่างมีสติ ดูความน่าเชื่อถือว่ามีมากน้อยแค่ไหน เพราะหากแชร์ข้อมูลที่เป็นเท็จและทำให้อีกฝ่ายได้รับความเสียหายต้องมีความ ผิดตาม พ.ร.บ.ข่าวสารฯ ส่วนการโพสต์ข้อความก็ควรระบุวัน เวลา และสถานที่ที่ชัดเจน เพื่อป้องกันการเข้าใจผิด และความล้าหลังของข้อมูล ด้าน นายอภิศิลป์ ตรุงกานนท์ ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์พันทิปดอตคอม ระบุว่า ปัจจุบัน Facebook มีสมาชิกเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เป็นคนไทยมากกว่า 13 ล้านคน ในขณะที่ Twitter ที่มียอดคนไทยใช้งานมากกว่า 9 แสนรายชื่อ ไม่นับรวมโซเชียลมีเดียในรูปแบบอื่น เช่น การโพสต์ข้อมูลหรือเรื่องราวที่อยากบอกต่อผ่านหน้าเว็บบอร์ดต่าง ๆ อย่างบริการของ www.pantip.com ชุมชนออนไลน์ยักษ์ใหญ่ของไทยที่มีผู้เข้าชมวันละกว่า 8 แสนคน รวมทั้ง แอพพลิเคชั่น เพื่อการสนทนา เช่น LINE และ WECHAT ที่ทำให้จำนวนผู้เล่นในโลกโซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้น ในขณะที่ภาคธุรกิจ เข้ามาใช้ประโยชน์จากช่องทางโซเชียลมีเดีย ด้วยเช่นเดียวกัน โดยกลุ่มธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับ โซเชียลมีเดีย ในอันดับต้น ๆ และถือเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่รุกโซเชียลมีเดีย คือ ธนาคารกสิกรไทย บมจ.แสนสิริ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค ที่ใช้โซเชียลมีเดีย เสริมธุรกิจได้ค่อนข้างดี กล่าวคือ มีการตอบโต้กับลูกค้าผ่านทางโซเชียลมีเดีย ในระยะเวลาอันรวดเร็วเมื่อเกิดปัญหาจากการแชร์ข้อมูลในโลกออนไลน์ และข้อมูลนั้น ๆ ส่งผลกระทบโดยตรงกับองค์กร เอซี เนลเส็น บริษัทสำรวจและวิจัยด้านการตลาดชื่อดังระดับโลก ได้ทำรายงานการวิจัยที่สำรวจจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้บริโภคที่ใช้อิน เทอร์เน็ตกว่า 25,000 คน ใน 50 ประเทศทั่วโลก เมื่อปี ค.ศ. 2009 พบว่า 70% ของผู้บริโภคที่ใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้บริโภคคน อื่น ๆ ที่แสดงความเห็นผ่านโซเชียลมีเดีย ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กระทู้ ข้อความ ภาพถ่าย คลิป ที่นำมาเผยแพร่ผ่านโซเชียลมีเดีย มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคคนอื่น ๆ และภาคธุรกิจไม่ควรมองข้ามความสำคัญของโซเชียลมีเดียด้วยเช่นเดียวกัน. ขอบคุณ … http://m.thairath.co.th/content/eco/371699 ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...