สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ สร้างสมรรถนะคนพัฒนาประเทศ

แสดงความคิดเห็น

หากมองดูแวดวงของการทำงาน จะเห็นได้ว่าบางคนทำงานข้ามสายงานจากที่เรียนมา หรือบางคนทำงานตามความเชี่ยวชาญ และความชอบของตนเอง แม้จะไม่ได้สำเร็จการศึกษาเกี่ยวกับอาชีพนั้นโดยตรง ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจมีปัญหาอยู่บ้างในประเด็นที่ว่าบริษัทอาจไม่เชื่อถือ ศักยภาพ เพราะไม่มีคุณวุฒิมารับรองให้เห็นชัดเจน อย่างไรก็ดี ปฏิเสธไม่ได้ว่าการทำงานในยุคปัจจุบันจะต้องใช้ความรู้และทักษะควบคู่กันไป หรือกล่าวอีกทางหนึ่งว่าควรมี "สมรรถนะ" ตามวิชาชีพนั้น ๆ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ จึงถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อให้การรับรองความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะทางด้านวิชาชีพ โดยกำหนดระดับสมรรถนะของบุคคลให้เป็นมาตรฐานสากล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

มาตรฐาน 40 กลุ่มอุตสาหกรรม

"วีระชัย ศรีขจร" ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กล่าวว่า สถาบันกำลังพัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพและมาตรฐานวิชาชีพแล้ว 6 กลุ่มอุตสาหกรรม คือ ปิโตรเลียมและปิโตรเคมี, ก่อสร้าง, เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, โลจิสติกส์, สปา, ผู้ประกอบอาหารไทย คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปลายปีนี้ โดยมีเป้าหมายว่าจะจัดทำมาตรฐานวิชาชีพ 40 กลุ่มอุตสาหกรรม หรือ 400-500 สาขาอาชีพ ให้แล้วเสร็จภายในปี 2558

"เรา จะทำเวิร์กช็อปกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อาชีวศึกษา หรือกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อมาร่วมกันดูว่าคุณวุฒิของอาชีพนั้น ๆ จะต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง รวมถึงมองว่าอาชีพใดที่จำเป็นควรทำก่อน หรืออาชีพใดที่ทำเกือบเสร็จแล้ว ก็นำมาใช้เลย เพราะหน่วยงานอื่นมีการทำมาตรฐานเรื่องอาชีพไปบ้างแล้ว"

วีระชัย ศรีขจร ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ

"ในส่วนของอาชีพที่เป็นผลกระทบต่อสังคม และเราต้องเริ่มทำเลย คือ อาชีพเกี่ยวกับการขับขี่สาธารณะ เช่น คนขับรถแท็กซี่ คนขับรถทัวร์ ซึ่งที่ผ่านมามีอุบัติเหตุบนท้องถนนเยอะมาก จึงจำเป็นที่จะต้องมีมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร"

ระบบ ISO สร้างความน่าเชื่อถือ

"วีระชัย" อธิบายว่า สิ่งที่เป็นปัญหาสำหรับภาคอุตสาหกรรมคือคนที่จบมามีทักษะไม่ตรงกับความต้อง การ ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ปรับหลักสูตรให้ตอบโจทย์เรียกว่า หลักสูตรฐานสมรรถนะ ซึ่ง MOU ที่ได้ทำกับ สอศ.ระบุไว้ว่า สถาบันจะนำมาตรฐานของแต่ละอาชีพที่ สอศ.ทำอยู่แล้วมาต่อยอดให้ครบถ้วน และเมื่อทำเสร็จแล้ว สอศ.สามารถนำไปใช้ในการปรับหลักสูตรการเรียนการสอน ทั้งนี้มีความเป็นไปได้ว่าในอนาคต นักศึกษาที่จบอาชีวศึกษาจะได้รับทั้งคุณวุฒิทางการศึกษา พร้อมกับประกาศนียบัตรรับรองคุณวุฒิวิชาชีพด้วย

"สถาบันเตรียมอบรม และสนับสนุนสถาบันการศึกษาที่มีความพร้อม ให้เป็นองค์กรที่มีหน้าที่ทดสอบและรับรองสมรรถนะของบุคลากรตามมาตรฐาน วิชาชีพ โดยตอนนี้มีการร่วมมือแล้ว 7 แห่ง และวางแผนจะให้วิทยาลัยอาชีวศึกษาเป็นศูนย์ทดสอบให้กับเราด้วย โดยสถาบันร่วมกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในการพัฒนาสถาบันการ ศึกษานั้น ๆ ให้เข้าสู่ระบบ ISO 17024 ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับโลกสำหรับองค์กรที่รับรองบุคคล เพื่อให้ผู้ประกอบการเชื่อมั่นในคุณสมบัติของคนที่ได้รับรองคุณวุฒิวิชาชีพ"

นอก จากนี้ยังมีแผนจะพัฒนาอาจารย์ในลักษณะเทรนนิ่งให้กับอาจารย์ที่สอนวิทยาลัย เทคนิค โดยจะเป็นการเทรนวิชาเฉพาะ โดยจะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยจัดคอร์สให้อาจารย์ที่จะเป็นผู้สอนวิชาเฉพาะ เหล่านั้นมารับการอบรม ซึ่งประกาศนียบัตรที่ได้รับจากสถาบันจะเป็นตัวบอกว่า อาจารย์มีความสามารถในการสอนเรื่องนั้น ๆ ได้

เพิ่มคุณค่าให้คนทำงาน

อย่าง ไรก็ตามจากเป้าหมายที่วางไว้ว่า อีก 2 ปีจะทำให้ครบ 40 กลุ่มอุตสาหกรรม "วีระชัย" ยอมรับว่า อาจทำแล้วเสร็จทุกกลุ่มอุตสาหกรรม แต่ไม่ครบทุกสาขาอาชีพ หรือครบทุกระดับ โดยจะทำในระดับที่ถือว่าเป็นกลุ่มใหญ่ และต้องการให้นำมาตรฐานมาจับเพื่อตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม คือ การมีความรู้ และทักษะเทียบเท่าระดับ ปวส. หลังจากนั้นจึงจะขยับไปปรับเพิ่มระดับของคุณวุฒิที่รับรองให้สูงมากขึ้น รวมถึงจะต้องทบทวนหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการรับรองคุณวุฒิทุก 3 ปี หรือเร็วกว่านั้นสำหรับสาขาอาชีพที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างสายไอ ที

"ผู้ประกอบการย่อมเชื่อมั่นกับคุณวุฒิที่เราออกไป เพราะเราเชิญคนจากตัวแทนของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมมาร่วมกำหนดทักษะที่ต้องการ ของอาชีพนั้น ๆ และเมื่อเขาเป็นคนกำหนดคุณสมบัติ เขาจะต้องเชื่อถือมาตรฐาน และคนที่มาจากการกำหนดของเขา"

ทั้งนี้แม้คุณวุฒิที่กำหนดขึ้นไม่มี ข้อบังคับเรื่องเงินเดือนตามระดับของทักษะ แต่สถาบันคาดหวังว่า คุณวุฒิวิชาชีพจะทำให้ผู้ประกอบการเห็นความแตกต่าง เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจว่าคนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสถาบัน ควรมีเงินตอบแทนดีกว่าคนทั่วไป

ขอบคุณ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1379923238 (ขนาดไฟล์: 143)

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ก.ย.56

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 24/09/2556 เวลา 04:04:14 ดูภาพสไลด์โชว์ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ สร้างสมรรถนะคนพัฒนาประเทศ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

หากมองดูแวดวงของการทำงาน จะเห็นได้ว่าบางคนทำงานข้ามสายงานจากที่เรียนมา หรือบางคนทำงานตามความเชี่ยวชาญ และความชอบของตนเอง แม้จะไม่ได้สำเร็จการศึกษาเกี่ยวกับอาชีพนั้นโดยตรง ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจมีปัญหาอยู่บ้างในประเด็นที่ว่าบริษัทอาจไม่เชื่อถือ ศักยภาพ เพราะไม่มีคุณวุฒิมารับรองให้เห็นชัดเจน อย่างไรก็ดี ปฏิเสธไม่ได้ว่าการทำงานในยุคปัจจุบันจะต้องใช้ความรู้และทักษะควบคู่กันไป หรือกล่าวอีกทางหนึ่งว่าควรมี "สมรรถนะ" ตามวิชาชีพนั้น ๆ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ จึงถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อให้การรับรองความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะทางด้านวิชาชีพ โดยกำหนดระดับสมรรถนะของบุคคลให้เป็นมาตรฐานสากล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ มาตรฐาน 40 กลุ่มอุตสาหกรรม "วีระชัย ศรีขจร" ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กล่าวว่า สถาบันกำลังพัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพและมาตรฐานวิชาชีพแล้ว 6 กลุ่มอุตสาหกรรม คือ ปิโตรเลียมและปิโตรเคมี, ก่อสร้าง, เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, โลจิสติกส์, สปา, ผู้ประกอบอาหารไทย คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปลายปีนี้ โดยมีเป้าหมายว่าจะจัดทำมาตรฐานวิชาชีพ 40 กลุ่มอุตสาหกรรม หรือ 400-500 สาขาอาชีพ ให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 "เรา จะทำเวิร์กช็อปกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อาชีวศึกษา หรือกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อมาร่วมกันดูว่าคุณวุฒิของอาชีพนั้น ๆ จะต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง รวมถึงมองว่าอาชีพใดที่จำเป็นควรทำก่อน หรืออาชีพใดที่ทำเกือบเสร็จแล้ว ก็นำมาใช้เลย เพราะหน่วยงานอื่นมีการทำมาตรฐานเรื่องอาชีพไปบ้างแล้ว" วีระชัย ศรีขจร ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ "ในส่วนของอาชีพที่เป็นผลกระทบต่อสังคม และเราต้องเริ่มทำเลย คือ อาชีพเกี่ยวกับการขับขี่สาธารณะ เช่น คนขับรถแท็กซี่ คนขับรถทัวร์ ซึ่งที่ผ่านมามีอุบัติเหตุบนท้องถนนเยอะมาก จึงจำเป็นที่จะต้องมีมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร" ระบบ ISO สร้างความน่าเชื่อถือ "วีระชัย" อธิบายว่า สิ่งที่เป็นปัญหาสำหรับภาคอุตสาหกรรมคือคนที่จบมามีทักษะไม่ตรงกับความต้อง การ ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ปรับหลักสูตรให้ตอบโจทย์เรียกว่า หลักสูตรฐานสมรรถนะ ซึ่ง MOU ที่ได้ทำกับ สอศ.ระบุไว้ว่า สถาบันจะนำมาตรฐานของแต่ละอาชีพที่ สอศ.ทำอยู่แล้วมาต่อยอดให้ครบถ้วน และเมื่อทำเสร็จแล้ว สอศ.สามารถนำไปใช้ในการปรับหลักสูตรการเรียนการสอน ทั้งนี้มีความเป็นไปได้ว่าในอนาคต นักศึกษาที่จบอาชีวศึกษาจะได้รับทั้งคุณวุฒิทางการศึกษา พร้อมกับประกาศนียบัตรรับรองคุณวุฒิวิชาชีพด้วย "สถาบันเตรียมอบรม และสนับสนุนสถาบันการศึกษาที่มีความพร้อม ให้เป็นองค์กรที่มีหน้าที่ทดสอบและรับรองสมรรถนะของบุคลากรตามมาตรฐาน วิชาชีพ โดยตอนนี้มีการร่วมมือแล้ว 7 แห่ง และวางแผนจะให้วิทยาลัยอาชีวศึกษาเป็นศูนย์ทดสอบให้กับเราด้วย โดยสถาบันร่วมกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในการพัฒนาสถาบันการ ศึกษานั้น ๆ ให้เข้าสู่ระบบ ISO 17024 ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับโลกสำหรับองค์กรที่รับรองบุคคล เพื่อให้ผู้ประกอบการเชื่อมั่นในคุณสมบัติของคนที่ได้รับรองคุณวุฒิวิชาชีพ" นอก จากนี้ยังมีแผนจะพัฒนาอาจารย์ในลักษณะเทรนนิ่งให้กับอาจารย์ที่สอนวิทยาลัย เทคนิค โดยจะเป็นการเทรนวิชาเฉพาะ โดยจะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยจัดคอร์สให้อาจารย์ที่จะเป็นผู้สอนวิชาเฉพาะ เหล่านั้นมารับการอบรม ซึ่งประกาศนียบัตรที่ได้รับจากสถาบันจะเป็นตัวบอกว่า อาจารย์มีความสามารถในการสอนเรื่องนั้น ๆ ได้ เพิ่มคุณค่าให้คนทำงาน อย่าง ไรก็ตามจากเป้าหมายที่วางไว้ว่า อีก 2 ปีจะทำให้ครบ 40 กลุ่มอุตสาหกรรม "วีระชัย" ยอมรับว่า อาจทำแล้วเสร็จทุกกลุ่มอุตสาหกรรม แต่ไม่ครบทุกสาขาอาชีพ หรือครบทุกระดับ โดยจะทำในระดับที่ถือว่าเป็นกลุ่มใหญ่ และต้องการให้นำมาตรฐานมาจับเพื่อตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม คือ การมีความรู้ และทักษะเทียบเท่าระดับ ปวส. หลังจากนั้นจึงจะขยับไปปรับเพิ่มระดับของคุณวุฒิที่รับรองให้สูงมากขึ้น รวมถึงจะต้องทบทวนหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการรับรองคุณวุฒิทุก 3 ปี หรือเร็วกว่านั้นสำหรับสาขาอาชีพที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างสายไอ ที "ผู้ประกอบการย่อมเชื่อมั่นกับคุณวุฒิที่เราออกไป เพราะเราเชิญคนจากตัวแทนของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมมาร่วมกำหนดทักษะที่ต้องการ ของอาชีพนั้น ๆ และเมื่อเขาเป็นคนกำหนดคุณสมบัติ เขาจะต้องเชื่อถือมาตรฐาน และคนที่มาจากการกำหนดของเขา" ทั้งนี้แม้คุณวุฒิที่กำหนดขึ้นไม่มี ข้อบังคับเรื่องเงินเดือนตามระดับของทักษะ แต่สถาบันคาดหวังว่า คุณวุฒิวิชาชีพจะทำให้ผู้ประกอบการเห็นความแตกต่าง เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจว่าคนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสถาบัน ควรมีเงินตอบแทนดีกว่าคนทั่วไป ขอบคุณ… http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1379923238 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...