การออกแบบประสบการณ์ปฏิวัติการศึกษาไทย

แสดงความคิดเห็น

การออกแบบประสบการณ์ปฏิวัติการศึกษาไทย

การออกแบบประสบการณ์ปฏิวัติการศึกษาไทย : คอลัมน์ แต่งร้านให้ได้ล้าน โดย... ผศ.เอกพงษ์ ตรีตรง

คุณภาพการศึกษาไทยที่ตกต่ำอยู่ในขณะนี้คือ การปฏิรูประบบการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมยังไม่เกิดขึ้น โดยการปฏิรูปที่ผ่านมาไม่ได้มองเป็นภาพรวม แต่กลับมีโครงการปฏิรูปในแบบเฉพาะกิจ เฉพาะเรื่องๆ เมื่อนำมารวมกันไม่สามารถมองเป็นภาพใหญ่อย่างเอกภาพได้ หลายๆ เรื่องยังบกพร่องอยู่มาก สำหรับการศึกษาไทย เช่นการเรียนการสอนยังเป็นรูปแบบเดิมๆ ไม่มีการพัฒนาคุณภาพ อาจารย์ ครูผู้สอน ที่มีคุณภาพ ระบบมีความล้าหลัง การตรวจสอบ การประเมินผลและประกันคุณภาพเชิงประจักษ์ ยังไม่เกิดความเป็นรูปธรรม แต่คงเน้น “กระดาษ” มากกว่าการกระทำและจิตวิญญาณ ทัศนคติ เด็กรุ่นใหม่ที่ขาดความแข็งแกร่งจากภายใน ซึ่งเกิดจากสภาพแวดล้อมรอบตัว บรรยากาศที่เป็นความฉาบฉวย เร่งรีบ เห็นแก่ตัว สิ่งเหล่านี้ไม่ได้บ่มเพาะให้คนไทยมีคุณภาพเลย

สิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตก็ไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพ ความรับผิดชอบของการศึกษาจึงไม่ใช่แต่เพียงในรั้วมหาวิทยาลัย และโรงเรียนเท่านั้นครับ แต่หมายถึงสื่อและสภาพแวดล้อมทุกอย่าง ที่ทำให้พลเมืองมีคุณภาพมากกว่า ในหลักคิด “HOME” ดังนี้ครับ

1. H คือ HOME บ้านและครอบครัวที่บ่มเพาะการศึกษาและประสบการณ์แรก

2. O คือ OFFICE ที่ทำงาน อาชีพ แหล่งความรู้ “จริง” ประสบการณ์ในการดำรงชีวิตการงาน

3. M คือ MEDIA สื่อต่างๆ ทั้งสังคมออนไลน์ โทรทัศน์ โทรศัพท์ สมาร์ทโฟน สื่อสิ่งพิมพ์ และสิ่งต่างๆ รอบตัว ประสบการณ์ที่ผ่านตาผ่านหูอยู่ทุกวัน

4. E คือ ENVIRONMENT และ EDUCATION สภาพแวดล้อมที่เป็นประโยชน์ ประสบการณ์ ในชีวิตประจำวันและการศึกษา ผ่านสถาบันการศึกษาต่างๆ ประสบการณ์ผ่านครู กูรู ผู้บ่มเพาะ

รวมกันเราเรียกว่า “HOME” ในโลกใบนี้ที่บ้านต้องสามารถบ่มเพาะการศึกษาตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ใช่ปล่อยภาระนี้ให้ระบบการเรียนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียว

ประสบการณ์ คือ การศึกษาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในระบบการเรียนการสอนก็เช่นกัน การทำให้นักเรียนมีประสบการณ์ผ่านสิ่งแนวใหม่ น่าจะเป็นทางออกสำหรับการเรียนรู้ รับรู้ เพื่อคุณภาพการศึกษา การออกแบบประสบการณ์ในการเรียนรู้ คือศาสตร์แห่งการพัฒนาการศึกษาแบบปฏิรูปมากที่สุดและทันสมัยที่สุด

การศึกษาในห้องเรียน วิธีการเรียน และแบบทดสอบที่ยังล้าหลังมาก ควรจะต้องเปลี่ยนแปลงให้บรรยากาศการเรียนมีความสนุก ไม่น่าเบื่อ อีกทั้งโครงสร้างการเรียนการสอนต้องผ่าตัดครั้งใหญ่ด้วยแนวทาง “CREATIVE EXPERIENCE DESIGN FOR LEARNING” การออกแบบประสบการณ์สร้างสรรค์ เพื่อการเรียนและการศึกษาอันประกอบด้วย

1. การปรับปรุงสื่อการสอนแนวใหม่ให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้แบบน่าสนใจ

สื่อการสอนแนวใหม่ สารสนเทศสำหรับการเรียนการสอนที่ควรมีระบบการนำเสนอให้เกิดความน่าสนใจ นักเรียนมีความสุขในการเรียนอาจจะทำในรูปแบบของภาพยนตร์ หนังสั้น คลิปวิดีโอ ภาพเคลื่อนไหวซึ่งสามารถนำมาใช้จากข้อมูลสื่อออนไลน์ต่างๆ อีกทั้งผู้สอนควรนำความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์สู่การสอนให้มีประสิทธิภาพ ทั้งการสอน การทดสอบ และควรเน้นการปฏิบัติการมากขึ้น ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจสร้างสรรค์ ผ่านการสัมผัสโสตประสาททั้ง 5 “รูป รส กลิ่น เสียง สี สัมผัส”

2. การปรับปรุงห้องเรียนสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีคุณภาพเพื่อก่อเกิดประสบการณ์รอบตัว รอบด้าน

ถ้ามองภาพรวมจะเห็นได้ว่าสถานศึกษาหลายแห่งไม่มีการพัฒนาบรรยากาศในการเรียน การสอนโดยเฉพาะ ในรูปแบบและพื้นที่ใหม่ๆ ให้มีประสิทธิภาพเลย การออกแบบบรรยากาศควรให้สมดุลไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำทั้งโรงเรียนที่มี ฐานะและโรงเรียนที่ยากจน การจัดบรรยากาศที่ดีก็มีส่วนในการสร้างเสริมแรงบันดาลใจของเด็ก ความสะอาดสะอ้าน สุขอนามัย ตลอดจนการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ทั่วประเทศ การจัดผังและบริเวณควรออกแบบให้เกิดประสิทธิภาพ อีกทั้งบรรยากาศที่มีไอเดีย สามารถก่อให้เกิดคนมีความคิดดีๆ ได้ครับ

3. การปรับปรุงการประกันคุณภาพแนวใหม่เชิงประจักษ์

โดยควรมุ่งเน้นการประกันคุณภาพที่มีผลงานขับเคลื่อนแบบรูปธรรม ไม่ใช้การเติมภาระงานในช่องว่างเพียงอย่างเดียวไม่ใช่แค่กระดาษ แต่เป็นจิตวิญญาณแห่งการเรียนรู้ ตัวชี้วัดที่เป็นหลักฐานเอกสารมีความจำเป็น แต่ถ้ามองไกลไปกว่านั้น คือ ทัศนคติต่อผู้รับผิดชอบทางการศึกษาที่ทำเพื่อการศึกษาที่มีคุณภาพจริงๆ มากกว่ากระดาษแน่นอน ระบบที่แข็งแกร่งถ้าได้ทัศนคติและจิตวิญญาณของครูกลับมาด้วย การฟื้นฟูการศึกษาก็จะเกิดดอกออกผล

4. การเสริมสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ

การศึกษาไม่ได้เกิดที่ระบบการศึกษาในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว แต่ต้องอยู่ที่ประสบการณ์ ทั้งหลับตาและลืมตาบนโลกซึ่งสามารถสร้างสรรค์ผ่านสิ่งทุกอย่างรอบตัว จึงควรต้องวางระบบให้เกิดบรรยากาศในการบ่มเพาะคุณภาพการศึกษา อันหมายถึงคุณภาพพลเมืองต่อไป และการศึกษาควรสะท้อนคุณภาพประชากรอย่างเป็นรูปธรรมตั่งแต่อยู่ในครรภ์มารดา แรกคลอด เด็ก ผู้ใหญ่ ตลอดถึงผู้สูงอายุใน แนวทาง UNIVERSAL DESIGN

5. การเข้าสู่ระบบครูอาจารย์ด้วยคุณภาพสูงสุด

มันเป็นสภาวะวนเวียนแห่งการอ่อนด้อยของระบบมาตรฐานครูอาจารย์ที่มีคุณภาพตก ต่ำลงแม้เรียนสูงมากแต่อาจมีประสิทธิภาพต่ำ เพราะขาดประสบการณ์ในการดำรงชีวิตขาดประสบการณ์ในการประกอบอาชีพในวิชาที่ สอนอาจารย์เรียนจบมาอย่างเดียว การกำหนดตัวชี้วัดก็มองไม่รอบด้าน เน้นแต่การต่อยอดการศึกษาแต่ไม่เน้นการพัฒนา ทักษะให้เกิดความเป็นอัจฉริยะเฉพาะด้าน เพื่อครูจะได้สร้างแรงบันดาลใจและไฟให้กับนักเรียนจากความเป็นจริง ไม่ใช่ทฤษฎีแต่กลับหลงวนเวียนอยู่กับภาระการกรอกเอกสาร ในอดีตครูผู้บ่มเพาะศิษย์จะมุ่งเน้นการถ่ายทอดความรู้แก่ศิษย์ จนศิษย์หลายคนเติบโตเป็นผู้เป็นคนมาได้มากมาย ซึ่งจิตวิญญาณครูเจือจางหายไป เพราะอะไร หรือเพราะระบบที่ไม่มีระบบ

ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20130921/168644/การออกแบบประสบการณ์ปฏิวัติการศึกษาไทย.html#.UjzpdjcrWg (ขนาดไฟล์: 167)

คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ก.ย.56

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 21/09/2556 เวลา 02:54:33 ดูภาพสไลด์โชว์ การออกแบบประสบการณ์ปฏิวัติการศึกษาไทย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การออกแบบประสบการณ์ปฏิวัติการศึกษาไทย การออกแบบประสบการณ์ปฏิวัติการศึกษาไทย : คอลัมน์ แต่งร้านให้ได้ล้าน โดย... ผศ.เอกพงษ์ ตรีตรง คุณภาพการศึกษาไทยที่ตกต่ำอยู่ในขณะนี้คือ การปฏิรูประบบการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมยังไม่เกิดขึ้น โดยการปฏิรูปที่ผ่านมาไม่ได้มองเป็นภาพรวม แต่กลับมีโครงการปฏิรูปในแบบเฉพาะกิจ เฉพาะเรื่องๆ เมื่อนำมารวมกันไม่สามารถมองเป็นภาพใหญ่อย่างเอกภาพได้ หลายๆ เรื่องยังบกพร่องอยู่มาก สำหรับการศึกษาไทย เช่นการเรียนการสอนยังเป็นรูปแบบเดิมๆ ไม่มีการพัฒนาคุณภาพ อาจารย์ ครูผู้สอน ที่มีคุณภาพ ระบบมีความล้าหลัง การตรวจสอบ การประเมินผลและประกันคุณภาพเชิงประจักษ์ ยังไม่เกิดความเป็นรูปธรรม แต่คงเน้น “กระดาษ” มากกว่าการกระทำและจิตวิญญาณ ทัศนคติ เด็กรุ่นใหม่ที่ขาดความแข็งแกร่งจากภายใน ซึ่งเกิดจากสภาพแวดล้อมรอบตัว บรรยากาศที่เป็นความฉาบฉวย เร่งรีบ เห็นแก่ตัว สิ่งเหล่านี้ไม่ได้บ่มเพาะให้คนไทยมีคุณภาพเลย สิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตก็ไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพ ความรับผิดชอบของการศึกษาจึงไม่ใช่แต่เพียงในรั้วมหาวิทยาลัย และโรงเรียนเท่านั้นครับ แต่หมายถึงสื่อและสภาพแวดล้อมทุกอย่าง ที่ทำให้พลเมืองมีคุณภาพมากกว่า ในหลักคิด “HOME” ดังนี้ครับ 1. H คือ HOME บ้านและครอบครัวที่บ่มเพาะการศึกษาและประสบการณ์แรก 2. O คือ OFFICE ที่ทำงาน อาชีพ แหล่งความรู้ “จริง” ประสบการณ์ในการดำรงชีวิตการงาน 3. M คือ MEDIA สื่อต่างๆ ทั้งสังคมออนไลน์ โทรทัศน์ โทรศัพท์ สมาร์ทโฟน สื่อสิ่งพิมพ์ และสิ่งต่างๆ รอบตัว ประสบการณ์ที่ผ่านตาผ่านหูอยู่ทุกวัน 4. E คือ ENVIRONMENT และ EDUCATION สภาพแวดล้อมที่เป็นประโยชน์ ประสบการณ์ ในชีวิตประจำวันและการศึกษา ผ่านสถาบันการศึกษาต่างๆ ประสบการณ์ผ่านครู กูรู ผู้บ่มเพาะ รวมกันเราเรียกว่า “HOME” ในโลกใบนี้ที่บ้านต้องสามารถบ่มเพาะการศึกษาตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ใช่ปล่อยภาระนี้ให้ระบบการเรียนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียว ประสบการณ์ คือ การศึกษาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในระบบการเรียนการสอนก็เช่นกัน การทำให้นักเรียนมีประสบการณ์ผ่านสิ่งแนวใหม่ น่าจะเป็นทางออกสำหรับการเรียนรู้ รับรู้ เพื่อคุณภาพการศึกษา การออกแบบประสบการณ์ในการเรียนรู้ คือศาสตร์แห่งการพัฒนาการศึกษาแบบปฏิรูปมากที่สุดและทันสมัยที่สุด การศึกษาในห้องเรียน วิธีการเรียน และแบบทดสอบที่ยังล้าหลังมาก ควรจะต้องเปลี่ยนแปลงให้บรรยากาศการเรียนมีความสนุก ไม่น่าเบื่อ อีกทั้งโครงสร้างการเรียนการสอนต้องผ่าตัดครั้งใหญ่ด้วยแนวทาง “CREATIVE EXPERIENCE DESIGN FOR LEARNING” การออกแบบประสบการณ์สร้างสรรค์ เพื่อการเรียนและการศึกษาอันประกอบด้วย 1. การปรับปรุงสื่อการสอนแนวใหม่ให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้แบบน่าสนใจ สื่อการสอนแนวใหม่ สารสนเทศสำหรับการเรียนการสอนที่ควรมีระบบการนำเสนอให้เกิดความน่าสนใจ นักเรียนมีความสุขในการเรียนอาจจะทำในรูปแบบของภาพยนตร์ หนังสั้น คลิปวิดีโอ ภาพเคลื่อนไหวซึ่งสามารถนำมาใช้จากข้อมูลสื่อออนไลน์ต่างๆ อีกทั้งผู้สอนควรนำความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์สู่การสอนให้มีประสิทธิภาพ ทั้งการสอน การทดสอบ และควรเน้นการปฏิบัติการมากขึ้น ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจสร้างสรรค์ ผ่านการสัมผัสโสตประสาททั้ง 5 “รูป รส กลิ่น เสียง สี สัมผัส” 2. การปรับปรุงห้องเรียนสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีคุณภาพเพื่อก่อเกิดประสบการณ์รอบตัว รอบด้าน ถ้ามองภาพรวมจะเห็นได้ว่าสถานศึกษาหลายแห่งไม่มีการพัฒนาบรรยากาศในการเรียน การสอนโดยเฉพาะ ในรูปแบบและพื้นที่ใหม่ๆ ให้มีประสิทธิภาพเลย การออกแบบบรรยากาศควรให้สมดุลไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำทั้งโรงเรียนที่มี ฐานะและโรงเรียนที่ยากจน การจัดบรรยากาศที่ดีก็มีส่วนในการสร้างเสริมแรงบันดาลใจของเด็ก ความสะอาดสะอ้าน สุขอนามัย ตลอดจนการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ทั่วประเทศ การจัดผังและบริเวณควรออกแบบให้เกิดประสิทธิภาพ อีกทั้งบรรยากาศที่มีไอเดีย สามารถก่อให้เกิดคนมีความคิดดีๆ ได้ครับ 3. การปรับปรุงการประกันคุณภาพแนวใหม่เชิงประจักษ์ โดยควรมุ่งเน้นการประกันคุณภาพที่มีผลงานขับเคลื่อนแบบรูปธรรม ไม่ใช้การเติมภาระงานในช่องว่างเพียงอย่างเดียวไม่ใช่แค่กระดาษ แต่เป็นจิตวิญญาณแห่งการเรียนรู้ ตัวชี้วัดที่เป็นหลักฐานเอกสารมีความจำเป็น แต่ถ้ามองไกลไปกว่านั้น คือ ทัศนคติต่อผู้รับผิดชอบทางการศึกษาที่ทำเพื่อการศึกษาที่มีคุณภาพจริงๆ มากกว่ากระดาษแน่นอน ระบบที่แข็งแกร่งถ้าได้ทัศนคติและจิตวิญญาณของครูกลับมาด้วย การฟื้นฟูการศึกษาก็จะเกิดดอกออกผล 4. การเสริมสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ การศึกษาไม่ได้เกิดที่ระบบการศึกษาในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว แต่ต้องอยู่ที่ประสบการณ์ ทั้งหลับตาและลืมตาบนโลกซึ่งสามารถสร้างสรรค์ผ่านสิ่งทุกอย่างรอบตัว จึงควรต้องวางระบบให้เกิดบรรยากาศในการบ่มเพาะคุณภาพการศึกษา อันหมายถึงคุณภาพพลเมืองต่อไป และการศึกษาควรสะท้อนคุณภาพประชากรอย่างเป็นรูปธรรมตั่งแต่อยู่ในครรภ์มารดา แรกคลอด เด็ก ผู้ใหญ่ ตลอดถึงผู้สูงอายุใน แนวทาง UNIVERSAL DESIGN 5. การเข้าสู่ระบบครูอาจารย์ด้วยคุณภาพสูงสุด มันเป็นสภาวะวนเวียนแห่งการอ่อนด้อยของระบบมาตรฐานครูอาจารย์ที่มีคุณภาพตก ต่ำลงแม้เรียนสูงมากแต่อาจมีประสิทธิภาพต่ำ เพราะขาดประสบการณ์ในการดำรงชีวิตขาดประสบการณ์ในการประกอบอาชีพในวิชาที่ สอนอาจารย์เรียนจบมาอย่างเดียว การกำหนดตัวชี้วัดก็มองไม่รอบด้าน เน้นแต่การต่อยอดการศึกษาแต่ไม่เน้นการพัฒนา ทักษะให้เกิดความเป็นอัจฉริยะเฉพาะด้าน เพื่อครูจะได้สร้างแรงบันดาลใจและไฟให้กับนักเรียนจากความเป็นจริง ไม่ใช่ทฤษฎีแต่กลับหลงวนเวียนอยู่กับภาระการกรอกเอกสาร ในอดีตครูผู้บ่มเพาะศิษย์จะมุ่งเน้นการถ่ายทอดความรู้แก่ศิษย์ จนศิษย์หลายคนเติบโตเป็นผู้เป็นคนมาได้มากมาย ซึ่งจิตวิญญาณครูเจือจางหายไป เพราะอะไร หรือเพราะระบบที่ไม่มีระบบ ขอบคุณ… http://www.komchadluek.net/detail/20130921/168644/การออกแบบประสบการณ์ปฏิวัติการศึกษาไทย.html#.UjzpdjcrWg คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...